Group Blog
 
All Blogs
 

อุปสมบทหมู่บูชาธรรม 103 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง


บวชบูชาธรรม ๑๐๓ ปี คุณยายอาจารย์

 



โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ รุ่นบูชาธรรม ๑๐๓ ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์  ขนนกยูง




บวชบูชาธรรมคุณยาย 

 

บวชบูชาธรรมคุณยาย 




การรับสมัคร



      สมัครได้ที่ศูนย์ฝึกอบรมธรรมทายาท  อาคารแจ่มจันทร์  หรือในวันอาทิตย์ ที่ เสาเอ็ม ๗ (M7) สภาธรรมกายสากลวัดพระธรรมกาย  และสามารถดาวน์โหลดเอกสารการสมัครและคำขานนาคได้ที่ //www.dmycenter.com หรือ โทร. 08-3136-9516,08-1416-3823  รับสมัครตั้งแต่บัดนี้  ถึงวันเสาร์ ที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๕





หลักฐานการสมัคร





๑.    รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว หรือ ๒ นิ้ว  ไม่สวมหมวก  ไม่ใส่แว่นตาดำ  ถ่ายไม่เกิน ๖ เดือน  จำนวน ๒ ใบ
๒.    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  จำนวน ๒ ชุด
๓.    สำเนาทะเบียนบ้าน  จำนวน ๒ ชุด
๔.    สำเนาหลักฐานการศึกษา  จำนวน ๒ ชุด
๕.    ใบรับรองแพทย์  ผลการตรวจเลือด และผลเอ็กซเรย์ปอด
จากโรงพยาบาล
๖.    ใบรับรอง  และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับรอง


กำหนดการอบรม




๑.    ระยะเวลาการอบรมวันที่ ๗ มกราคม  ถึง ๕  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๕๕  (รวม ๓๐ วัน)
๒.    วันสัมภาษณ์และสอบท่องขานนาควันอาทิตย์  ที่ ๒๕ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๕๔  และ ๑ มกราคม  พ.ศ. ๒๕๕๕เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องสัมมนา SPD 7 (ชั้น ๑ สภาธรรมกายสากล)
๓.    กำหนดการวันเข้าวัด  ปฐมนิเทศ  ปลงผม ปฐมนิเทศวันเสาร์  ที่ ๗  มกราคม  พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๓๐ น.ณ หมู่บ้านบรรลุธรรม พิธีปลงผมวันอาทิตย์ที่ ๘  มกราคม  พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๑๖.๐๐ น.
๔.    พิธีบรรพชาอุปสมบท  วันที่  ๑๔ - ๑๖  มกราคม  พ.ศ. ๒๕๕๕
๕.    สิ้นสุดการอบรมวันที่ ๕  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๕๕


คุณสมบัติผู้เข้าอบรม




๑.    เป็นชายแท้  จบการศึกษาตั้งแต่ระดับ  ม.๖ หรือ ปวช. ขึ้นไป  และมีอายุระหว่าง ๒๐ - ๕๐ ปี
๒.    ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร
๓.    ผ่านการรับรองจากผู้นำบุญ  ผู้ประสานงานและหัวหน้าภาคที่ตนสังกัด
๔.    ผ่านการสัมภาษณ์และสอบขานนาค จากคณะกรรมการฯ ในวันสัมภาษณ์
๕.    สามารถเข้าอบรมได้ตลอดระยะเวลาการอบรม
๖.    เป็นผู้มีความประพฤติดี  พร้อมที่จะรักษาระเบียบวินัย
๗.    สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ  ไม่มีโรคประจำตัว เช่น  โรคลมชัก  โรคเบาหวาน  โรคจิตประสาท  โรคไต  โรคหอบหืด  ต้องไม่ติดยาเสพติด และผ่านการตรวจร่างกายในวันปฐมนิเทศ

๘.    เป็นผู้อยู่ง่ายกินง่าย  ไม่เลือกอาหาร  ให้เป็นภาระต่อตนเองและผู้อื่น
๙.    ไม่เป็นผู้ที่มีร่างกายในลักษณะทุพพลภาพ
๑๐.    ต้องมีคุณสมบัติตามกฎมหาเถรสมาคมและไม่มีรอยสักอันไม่เหมาะสม


ของใช้ในการอบรม




๑.    ผ้าห่มกันหนาวสีเหลือง ๑ ผืน  ถุงเท้ากันหนาวสีเหลืองหรือน้ำตาล ๑ คู่
๒.    ชุดอบรมธรรมทายาท  สีขาวล้วน  ไม่มีลาย  จำนวน ๒ ชุด
๓.    เสื้อพระราชทานแขนสั้น  สีขาว  ไม่มีลาย  ๑ ตัว
๔.    ของใช้ส่วนตัว เช่น ขันน้ำสีขาว  สบู่  แชมพูสระผม  แปรงสีฟันยาสีฟัน  ไฟฉายและถ่านไฟฉาย
๕.    กางเกงขาสั้นสำหรับใส่อาบน้ำหรือผ้าขาวม้า  และผ้าเช็ดตัว
สีเหลือง
๖.    ยาประจำตัว  เช่น ยาแก้แพ้  ยาทากันยุง  ยาแก้โรคกระเพาะ
๗.    มีดโกนหนวดและใบมีดโกน  อย่างน้อย ๔ ใบ
๘.    รองเท้าสุภาพ  สีน้ำตาล ๑ คู่


ของที่ไม่ควรนำมาในการอบรม




๑.    หนังสืออ่านเล่น  หรือหนังสือที่เป็นอุปสรรคต่อการฝึกสมาธิ(Meditation)
๒.    อาหารและของขบเคี้ยวทุกชนิด
๓.    เครื่องเล่นสื่อต่างๆ ทุกชนิด  เช่น  วิทยุ  MP3  MP4 Notebook
๔.    กระจกเงา  รูปภาพญาติมิตร  และกล้องถ่ายรูป
๕.    ของมีค่าและเครื่องประดับ  เช่น  แหวน  สร้อยคอ  นาฬิกาข้อมือ  นาฬิกาปลุก
๖.    อุปกรณ์สำหรับสื่อสารทุกชนิด  เช่น โทรศัพท์มือถือ (คณะกรรมการจะตรวจและเก็บดูแลของเหล่านั้นแทนระหว่างการอบรม)


ของที่ห้ามนำติดตัวตลอดการอบรม




๑.    วัตถุมีคม อาวุธ  สิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ
๒.    บุหรี่  ยาเส้นไม้ขีดไฟไฟแช็ก รวมทั้งยาเสพติดทุกชนิด





Free TextEditor




 

Create Date : 28 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2554 10:37:51 น.
Counter : 1212 Pageviews.  

ร่วมบุญสร้างพระประธานทุกวัดทั่วยุโรป

พิธีฉลองพระประธานทุกวัดทั่วยุโรป วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ณ วัดพระธรรมกาย บาวาเรีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ท่านสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างพระธรรมกายประดิษฐานเป็นประธานทุกวัดสาขาของวัดพระธรรมกายในทวีปยุโรปได้เติมกำลังศรัทธา


ร่วมบุญสร้างพระประธานทุกวัดทั่วยุโรป
พิธีฉลองพระประธานทุกวัดทั่วยุโรป
วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ณ วัดพระธรรมกาย บาวาเรีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี





พระธรรมกาย ประดิษฐานเป็นพระประธานทุกวัดในทวีปยุโรป


มหาอานิสงส์อันยิ่งใหญ่สร้างพระธรรมกาย ประดิษฐานเป็นพระประธานทุกวัดในทวีปยุโรป พิธีฉลองพระประธานทุกวัดทั่วยุโรป วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ณ วัดพระธรรมกาย บาวาเรีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ท่านสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างพระธรรมกายประดิษฐานเป็นประธานทุกวัดสาขาของวัดพระธรรมกายในทวีปยุโรปได้เติมกำลังศรัทธา และหากท่านปรารถนาจะร่วมจารึกชื่อและครอบครัวจำนวน 20 ตัวอักษร (รวมช่องไฟด้วย) ที่แผ่นฌาน ขององค์พระประธานทุกองค์ ท่านสามารถร่วมบุญ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่วัดสาขาวัดพระธรรมกายทุกวัดในทวีปยุโรป

กองบุญกิตติมศักดิ์ (จารึกชื่อบนฐานองค์พระขนาด 24 พอยต์)
กองบุญกิตติมเสริม (จารึกชื่อบนฐานองค์พระขนาด 24 พอยต์)
กองบุญกิตติมสุข (จารึกชื่อบนฐานองค์พระขนาด 24 พอยต์)
กองบุญกิตติมใส (จารึกชื่อบนฐานองค์พระขนาด 24 พอยต์)


รับแผ่นทองจารึกชื่อนำไปอธิษฐานจิตและนำมาร่วมประกอบพิธีในวันฉลองพระประธาน

การร่วมบุญสร้างพระประธาน

การสร้างพระประธาน นับเป็นการสร้างพระพุทธรูปที่สำคัญและทำได้ยากประการหนึ่ง เนื่องจาก พระประธาน เป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในสถานที่สำคัญที่สุดของวัด เช่น อุโบสถ หรือวิหาร อันเสมือนเป็นที่ประทับของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งในแต่ละวัดจะมีพระประธานเพียงองค์เดียวเท่านั้น และยิ่งไปกว่านั้น การสร้างพระประธานที่จำลองแบบลักษณะมหาบุรุษที่สมส่วน สง่างามสมบูรณ์แบบกว่ากายใดๆ ที่มีอยู่ในภพทั้งสาม ให้บังเกิดขึ้นในโลก ย่อมมีผลานิสงส์นับประมาณมิได้ และผู้สร้างจะมีผังสำเร็จแห่งการได้กายลักษณะมหาบุรุษติดตามตัวไป นำพาชีวิตไปสู่ความเป็นเลิศในทุกๆ ด้าน ทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ และคุณสมบัติ

ในโอกาสนี้ นับว่า เป็นบุญทับเท่าทวีคูณ เพราะทุกท่านได้มีโอกาสได้สร้างพระธรรมกาย ประดิษฐานเป็นพระประธาน หน้าตักขนาด 1.8 เมตร จำนวนถึง 21 องค์ เพื่อประดิษฐานในเป็นหลักเป็นประธาน ทั่วทุกวัดสาขาของวัดพระธรรมกายในทวีปยุโรป ให้มนุษย์และเทวาได้สักการบูชา ดังนั้นจึงขอเชิญผู้มีบุญมาร่วมสร้างพระประธานกายลักษณะมหาบุรุษ และมาเป็นส่วนหนึ่งในการจารึกชื่อที่แผ่นฌานของพระประธานทุกองค์ในทวีปยุโรป ซึ่งโอกาสดีๆ อย่างนี้มีครั้งเดียวเท่านั้น ที่ทุกท่านไม่ควรพลาด



ร่วมบุญสร้างพระประธาน


อานิสงส์ของการสร้างพระประธาน

1. ทำให้มีกำลังใจสูงส่ง อานุภาพพุทธคุณจะคุ้มครองป้องภัยให้สามารถเอาชนะอุปสรรคทั้งปวงได้โดยง่าย
2. ทำให้เกิดในตระกูลสูง เป็นที่เคารพกราบไหว้ของมนุษย์และเทวดา
3. ทำให้มีรูปงาม ผิวพรรณผ่องใส ร่างกายได้สัดส่วน สุขภาพแข็งแรง โรคภัยไม่เบียดเบียน
4. ทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด รู้เหตุ รู้ผล ประกอบกิจการใดๆ ก็สำเร็จได้โดยง่าย
5. ทำให้มีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกต้อง มีความคิดดี สร้างสรรค์ประโยชน์และความสุขให้แก่ตนเองและเพื่อนร่วมโลก
6. ทำให้มีจิตใจหนักแน่นมั่นคงในธรรม สามารถบรรลุธรรมได้โดยง่าย
7. ทำให้เข้าถึงฐานะอันเลิศ สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ ทั้งโลกิยทรัพย์ และอริยทรัพย์ ทุกภพทุกชาติ
8. ทำให้ได้สั่งสมเหตุแห่งการได้ลักษณะมหาบุรุษในภายภาคหน้า

ท่านสามารถร่วมบุญ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Wat Phra Dhammakya Bavaria
Addresse: Heinkelstr.1 86343 Königsbrunn, Deutschland Telefonnummer: (+49)82319574530
Mobile: (+49)15254597283 และทุกวัดสาขาทั่วทวีปยุโรป หรือร่วมบุญได้ที่ห้องขันติ




 

Create Date : 25 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2554 20:36:58 น.
Counter : 1999 Pageviews.  

เชิญตักบาตรพระ 11,111 รูป จ.ชัยภูมิ 18 ธ.ค. 54



มหาสังฆทานครั้งยิ่งใหญ่ตักบาตรพระ 11,111 รูป จ.ชัยภูมิ

ร่วมฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ธรรม

ขอเชิญผู้มีบุญทุกท่าน ร่วมสร้างมหาสังฆทานครั้งยิ่งใหญ่
พิธีตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ 11,111 รูป จ.ชัยภูมิ

ถวายเป็นพุทธบูชา ช่วยเหลือคณะสงฆ์ 286 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้
และผู้ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ

ในวันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 06.00 น.
ณ บริเวณอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
081-593-8923,
089-717-8104,
089-491-5770

...เปลี่ยนน้ำท่วมให้เป็นน้ำใจ เราคนไทยไม่เคยทิ้งกัน....
พุทธบริษัท 4 ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว


ข้อปฏิบัติที่ดีงามในการตักบาตร

- แต่งการด้วยชุดขาวหรือเสื้อขาวเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
- อาหารใส่บาตรควรเป็นอาหารแห้ง
- ข้าวสารควรบรรจุถุงให้เรียบร้อย
- งดใส่น้ำดื่มชนิดแก้วพลาสติก
- งดใส่ปัจจัยลงในบาตร ท่านสามารถบริจาคได้ที่จุดรับบริจาคหรือต้นผ้าป่าที่มีเจ้าหน้าที่ดูแล
- รักษาใจให้ผ่องใส น้อมถวายไทยธรรมเป็นสังฆทาน
- ใส่บาตรด้วยความเคารพ ด้วยการนั่งใส่บาตรโดยให้แถวหน้าใส่ให้เสร็จก่อน

อานิสงส์ของการตักบาตรพระ

1. เกิดในร่มเงาบวรพระพุทธศาสนาไปทุกภพทุกชาติ
2. ย่อมเจริญด้วยโภคทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก
3. ทรัพย์สมบัติคงทนถาวร ไม่วิบัติด้วยภัยใดๆ
4. ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจของคนหมู่มาก
5. คนดีเป็นอันมาก ย่อมคบหาผู้ให้ทาน
6. ชื่อเสียงอันดีงามของผู้ให้ ย่อมฟุ้งขจรไป
7. ผู้ให้ย่อมแกล้วกล้าอาจหาญ ไม่เก้อเขินในที่ประชุม
8. เมื่อสิ้นอายุขัย ย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์
9. บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย


....................................สาธุ......................................................





 

Create Date : 23 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2554 22:31:20 น.
Counter : 4038 Pageviews.  

ผ้าป่าผ้าป่าธรรมชัย เพื่อสร้างทุกสิ่ง 1 มกราคม 2555

พิธีทอดผ้าป่า

ผ้าป่า คือ ผ้าที่ถวายแต่พระโดยวิธีปล่อยทิ้งไว้ให้พระมาหยิบเอาไปเอง ครั้งพุทธกาลเรียกผ้าบังสุกลจีวร ตามธรรมเนียมจะถวายหลังเทศกาลกฐินออกไป

การทอดผ้าป่ามีหลายชนิด ที่เรียกว่าผ้าป่าแถมกฐิน หรือ ผ้าป่าหางกฐิน คือ การทอดกฐินแล้วทอดผ้าป่าด้วย บางแห่งนำผ้าป่าบรรทุกเรือพ่วงไปทางน้ำ เรียกกันว่า ผ้าป่าโยง ผ่านไปถึงวัดไหนก็ทอดวัดนั้น

พิธีทอดผ้าป่าข้อสำคัญมีอยู่ว่า ให้อุทิศเป็นผ้าป่าจริงๆ อย่าถวายแก่ใครโดยเฉพาะ เพียงแต่ตั้งใจในขณะทอด ขออุทิศผ้าและเครื่องบริวารเหล่านี้แด่ภิกษุผู้ต้องการผ้าบังสุกุลมาถึง เฉพาะหน้าเท่านี้ก็ได้ชื่อว่าทอดและถวายผ้าป่าแล้ว

หรือ

ผ้าป่า เดิมหมายถึงผ้าที่ทิ้งอยู่ในป่าจริง ๆ ปัจจุบันหมายถึงผ้าที่สมมุติว่าตกอยู่ทอดทิ้งอยู่ในป่า นิยมถวายแก่พระสงฆ์อีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากผ้ากฐิน ผ้าป่านั้นนับเข้าในผ้าบังสุกุล

ผ้าบังสุกุล แปลว่า ผ้าเปื้อนฝุ่น เป็นชื่อของผ้าซึ่งไม่มีเจ้าของ เป็นเศษผ้าที่เขาทิ้งตามกองขยะบ้าง ผ้าที่เจ้าของทอดทิ้งเพราะสกปรกบ้าง ผ้าเช่นนั้นพระภิกษุเก็บเอามาปะติดปะต่อ ซักฟอก แล้วย้อมด้วยด้วยน้ำฝาดทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม มาภายหลังประชาชนมุ่งถวายความสะดวกแก่พระ จึงเอาผ้าดี ๆ ทำเป็นจีวรสำเร็จรูปไปทอดทิ้งไว้ในป่าบ้าง ในป่าช้าบ้าง ตามปกติเจ้าภาพจะเอาผ้าพาดไว้บนกิ่งไม้แล้วทิ้งไว้ พระรูปใดมาพบเข้าก็ชักเอาไป หรือจะนิมนต์พระให้มาชักผ้าป่าก็ได้ ต่อมาก็นิยมทอดที่โลงศพ หรือทอดบนสายโยงศพเพื่อให้พระชักผ้านั้นไป เป็นการอุทิศกุศลให้แก่ผู้ตาย

การทอดผ้าป่าไม่มีกำหนดเหมือนทอดกฐิน จะทอดได้ทุกฤดูกาล แต่นิยมทำต่อท้ายทอดกฐิน คือ เมื่อทอดกฐินแล้วก็จัดการทอดผ้าป่าตามไปด้วย ซึ่งเรียกว่า ผ้าป่าหางกฐิน เวลาจะทอดผ้าป่านั้น ท่านให้ตั้งใจถวายต่อสงฆ์ไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง โดยการนำไปวางเสมือนว่าเป็นผ้าทิ้งอยู่ในป่า เมื่อภิกษุสามเณรมาพบเข้าก็ทำพิธีบังสุกุลเอาไป ก็เป็นอันหมดพิธี ไม่มีพิธีมากมายเหมือนการทอดกฐิน

ความจริง ผ้าป่า กับ กฐิน ก็เป็นสังฆทานด้วยกันทั้งคู่นะ แต่ทว่าอานิสงส์ โดยเฉพาะ กฐิน ได้มากกว่า เพราะว่ากฐินมีเวลาจำกัด คือจะทอดได้ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 แต่อานิสงส์ได้ทั้งสองฝ่าย คือ ผู้ทอดก็ได้ พระผู้รับก็ได้ พระผู้รับมีอำนาจคุ้มครองพระวินัยได้หลายสิกขาบท ทำให้สบายขึ้น ต้นเหตุแห่ง การทอดกฐินนี้ ก็มีนางวิสาขาเป็นคนแรก ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติการจำพรรษา เพื่อป้องกันพระไปเดินเหยียบต้นพืช ต้นข้าว ที่ชาวบ้านเขาปลูกไว้ในฤดูฝน ไม่ให้เสียหาย

ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว ภิกษุชาวปาฐา 30 รูป เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งในเวลานั้น พระสงฆ์ทั้งหลายมีผ้าจำกัดเพียง 3 ผืนเท่านั้น เมื่อมาถึง ในขณะที่นางวิสาขาเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่พอดี เห็นพระมีผ้าสบงจีวรเปียกโชก ด้วยน้ำฝนและน้ำค้าง จึงได้กราบทูลขอพรแด่พระพุทธเจ้าว่า

"หลังจากออกพรรษาแล้ว ขอบรรดาประชาชนทั้งหลายจงมีโอกาสถวายผ้าไตรจีวร แก่คณะสงฆ์ด้วยเถิด" พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุมัติ

ส่วนผ้าป่าก็เป็นสังฆทาน แต่อานิสงส์จะน้อยไปนิดหนึ่ง แต่ทั้งสองอย่างก็เป็นสังฆทานเหมือนกัน แต่เป็นสังฆทานเฉพาะกิจ กับสังฆทานไม่เฉพาะกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ้าป่า ผู้ให้ก็ได้อานิสงส์ ผู้รับก็มีอานิสงส์แต่เพียงแค่ใช้ เป็นอันว่า ทั้งสองอย่างนี้ ถือว่าอานิสงส์ การทอดกฐินมากกว่าผ้าป่า

เรียนเชิญทอดผ้าป่าธรรมชัย เพื่อสร้างทุกสิ่ง

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ.2555
ณ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี



ภาคเช้า

06.30น. พิธีตักบาตร
ภาคสาย
09.30น. ปฏิบัติธรรม / พิธีบูชาข้าวพระ
11.00น. พิธีถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน
11.15น. เสร็จพิธี

ภาคบ่าย

13.30น. - พระราชภาวนาวิสุทธิ์ เดินทางมาถึงศูนย์กลางพิธี
- ริ้วขบวนอัญเชิญผ้าป่าเดินทางเข้าสู่ศูนย์กลางพิธี
14.15น. นั่งสมาธิ(Meditation)
15.00น. พิธีทอดผ้าป่าธรรมชัย
- เจ้าภาพกล่าวคำถวายผ้าป่า
- คณะสงฆ์แปรแถวประจำแท่นผ้าป่า
- คณะสงฆ์พิจารณาผ้าป่า
- คณะสงฆ์แปรแถวกลับ
- คณะสงฆ์ให้พร
15.30น. เสร็จพิธีทอดผ้าป่าธรรมชัย
15.45น. พิธีถวายปัจจัย
16.15น. เสร็จพิธี

//www.dmc.tv




 

Create Date : 18 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2554 8:42:47 น.
Counter : 1236 Pageviews.  

ตักบาตร พระ 12,600 รูป ถ.ช้างคลาน จ.เชียงใหม่ วันที่ 27 พ.ย. 54


ตักบาตรเชียงใหม่
โครงการตักบาตรพระ 1 ล้านรูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย

ตักบาตรพระ 12,600 รูป

ในวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
เวลา 06.00 - 08.00 น.


ณ ถนนช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่

มหาสังฆทานครั้งยิ่งใหญ่ ทำบุญเมืองเชียงใหม่ ตักบาตรพระ 12,600 รูป ขอเชิญผู้มีบุญชาวเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง ร่วมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง แด่พระภิกษุสงฆ์ 12,600 รูป เพื่อถวายแด่คณะสงฆ์ 286 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2554 เวลา 06.00 น. ณ ถนนช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่

นางสาวสุชาดา ศรีสมบุญ กองเลขาการจัดงานตักบาตพระสงฆ์ 12,600 รูป เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เปิดเผยว่า กองเลขาการจัดงานตักบาตรพระสงฆ์ 12,600 รูป ที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2554 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ที่ถ.ช้างคลาน ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เริ่มตั้งแต่บริเวณสี่แยกแสงตะวันถึงสี่แยกโรงแรมลานนาพาเลซ โดยได้นิมนต์พระสงฆ์ 12,600 รูป จาก 4 จังหวัดในภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน มารับบิณฑบาตรจากประชาชน นอกจากเพื่อเป็นการฉลองพุทธชยัน 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ ยังเป็นการบิณฑบาตรเพื่อนำสิ่งของที่ประชาชนนำมาใส่บาตรไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดต่างๆด้วย

ส่วนการจัดงานตักบาตรพระสงฆ์ 12,600 รูปจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 8 แต่ละปีมีพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมพิธีตักบาตรเป็นจำนวนมาก สำหรับสิ่งของที่ตักบาตรปีนี้เน้นอาหารแห้ง เช่น ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ฯลฯ เพื่อสะดวกต่อการจัดส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยผ่านช่องทางคณะสงฆ์หรือเจ้าคณะในจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยสิ่งของที่ได้จากการบิณฑบาตรส่วนหนึ่งจะถวายให้พระสงฆ์แต่ละวัดที่มารับบิณฑบาตร และอีกส่วนหนึ่งจะจัดสรรไปยังวัดที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมเพื่อนำไปช่วยเหลือพระสงฆ์ สามเณร รวมทั้งชาวบ้านในชุมชนละแวกวัด

อานิสงส์ของการตักบาตรพระ

1. เกิดในร่มเงาบวชพระพุทธศาสนาไปทุกภพทุกชาติ
2. ย่อมเจริญด้วยโภคทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก
3. ทรัพย์สมบัติคงทนถาวร ไม่วิบัติด้วยภัยใดๆ
4. ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจของคนหมูมาก
5. คนดีเป็นอันมาก ย่อมคบหาผู้ให้ทาน
6. ชื่อเสียงอันดีงามของผู้ให้ ย่อมฟุ้งขจรไป
7. ผู้ให้ย่อมแกล้วกล้าอาจหาญ ไม่เก้อเขินในที่ประชุม
8. เมื่อสิ้นอายุขัย ย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์
9. บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย

ข้อปฏิบัติที่ดีงามในการตักบาตร

- แต่งการด้วยชุดขาว หรือเสื้อขาวเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
- อาหารใส่บาตรควารเป็นอาหารแห้ง
- ข้าวสารควรบรรจุถุงให้เรียบร้อย
- งดใส่ น้ำดื่มชนิดแก้วพลาสติก
- งดใส่ปัจจัยลงในบาตรท่านสามารถบริจาคได้ที่จุดรับบริจาค หรือต้นผ้าป่าที่มีเจ้าหน้าที่ดูแล
- รักษาใจให้ ผ่องใส น้อมถวายไทยธรรมเป็นสังฆทาน
- ใส่บาตรด้วยความเคารพ ด้วยการนั่งใส่บาตรโดยให้แถวหน้าใส่ให้เสร็จก่อน


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ 083-540-5046, 086-916-5933

//www.dmc.tv




 

Create Date : 17 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2554 10:28:35 น.
Counter : 1112 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  

อุ่นอาวรณ์
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุ่นอาวรณ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.