ตัววัดต่าง ๆ ของผลการตรวจเลือด

A/G RATIO (Albumin/Globulin Ratio) เป็นอัตราส่วนของโปรตีน 2 ชนิด คือ Albumin ต่อ Globulin
• ค่าที่ต่ำพบได้ในโรคที่เกี่ยวข้องกับตับ ไต และการติดเชื้อ
• ถ้าสูงเกินไปไม่มีความสำคัญมากนัก
Range: 0.8 - 2.0

ALBUMIN เป็นรูปแบบของโปรตีนส่วนใหญ่ที่พบในเลือด ถูกสร้างโดยตับจากกรดอมิโนที่ได้รับจากอาหาร
• ค่าที่ต่ำแสดงถึง ภาวะขาดอาหาร ท้องเสีย ไข้ ติดเชื้อ โรคตับ ขาดสารอาหารประเภทเหล็ก
Range: 3.2 - 5.0 g/dl

ALKALINE PHOSPHATASE เป็นสารเอ็นไซม์ที่สร้างจากตับและกระดูก
• ค่าสูงขึ้นเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะโรคของตับ หรือ กระดูก สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมะเร็งได้
• ค่าที่ต่ำกว่าปกติเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะขาดโปรตีน ขาดอาหาร ขาดวิตามิน
Range: 20 - 125 U/L

BILIRUBIN ถูกผลิตภายในร่างกายจากการสลายฮีโมโกลบินและเม็ดเลือดแดงเนื่องจากหมดอายุหรือเม็ดเล
อดแดงแตกสลาย ตับจะขับสารนี้ออกจากเลือดไปทางน้ำดี Bilirubin เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีให้ทราบถึงภาวะการทำงานของตับ
• การเพิ่มขึ้นของ Bilirubin เป็นเพราะ ตับอักเสบ ภาวะตับล้มเหลว ท่อน้ำดีอุดตัน ภาวะเลือดถูกทำลายมากเกินไป
Range: 0 - 1.3 mg/dl

BLOOD UREA NITROGEN (BUN) เป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีน ถูกขับถ่ายโดยไต
• ค่าที่สูงบ่งชี้ว่า ไตทำงานไม่ดี ทานอาหารประเภทโปรตีนมากเกินไป ยาบางชนิด ดื่มน้ำน้อยไป เลือดออกในลำไส้เล็ก
• ค่าที่ต่ำบ่งชี้ว่าขาดอาหาร การดูดซึมอาหารไม่ดี ตับเสีย
Range: 7 - 25 mg/dl

CO2 (Carbon Dioxide) ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์มีความสัมพันธ์กับการฟอกเลือดเพื่อแลกเปลี่ยนอากาศที่ปอด
• ค่านี้ใช้ประกอบกับการตรวจสารประเภทเกลือแร่ต่างๆภายในร่างกายเพื่อเป็นประโยชน์ในกา
บ่งชี้ภาวะความเป็นกรด-ด่างภายในร่างกาย
Range: 22 - 32 mEq/L

CALCIUM เป็นเกลือแร่ที่มีมากที่สุดภายในร่างกาย ระดับภายในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงแคบๆ มีความสำคัญมากกับการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ การแข็งตัวของเลือด และอื่นๆ
• ค่าที่สูงบ่งชี้ถึง ภาวะการทำงานมากเกินของฮอร์โมนพาราธัยรอยด์ โรคกระดูก ทานอาหารที่มีแคลเช๊ยมมากเกินไป ยาบางชนิด
• ภาวะที่แคลเซี่ยมต่ำอาจทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ มีสาเหตุจาก การทำงานน้อยกว่าปกติของต่อมพาราธัยรอยด์ โรคไต ภาวะพร่องวิตามิน D
Range: 8.5 - 10.3 mEq/dl

CHOLESTEROL เป็นสารประเภทไขมันที่สำคัญมากในร่างกาย เป็นวัตถุดิบของสารจำเป็นมากมาย ถูกสังเคราะห์ภายในร่างกายโดยตับ และได้รับจากอาหาร เมื่ออยู่ในเลือดจะจับรวมกับโปรตีนเรียกว่า Lipoprotein ซึ่งมี 2 รูปแบบที่สำคัญคือ LDL, HDL ดังนั้นค่า Cholesterol ที่ตรวจวัดได้จึงเป็นค่าที่รวมกันของ LDL, HDL
• ค่าที่สูง จะเพิ่มความเสียงต่อการเป็นโรคหัวใจ โดยเกิดการหนา แข็งตัวของเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ
• ค่าที่ต่ำ พบได้ในภาวะขาดอาหาร ตับทำงานไม่ดี โลหิตจาง
Range: 120 - 240 mg/dl

CHLORIDE เป็นเกลือแร่ที่สำคัญตัวหนึ่งที่สำคัญในการดำรงอยู่ของเซลล์
• ค่าสูง สัมพันธ์กับภาวะความเป็นกรดของเลือด
• ค่าต่ำ ร่วมกับค่า Albumin ที่ต่ำลง หมายถึงภาวะบวมน้ำ
Range: 95 - 112 mEq/L

CREATININE เป็นของเสียที่เกิดจากกล้ามเนื้อ และเป็นค่าบ่งชี้ภาวะการทำงานของไต
• ค่าสูง โดยเฉพาะถ้า BUN สูงด้วย หมายถึง โรคไต
• ค่าต่ำ พบได้ใน โรคไต โรคตับ
Range: 0.7 - 1.4 mg/dl

FERRITIN คือโปรตีนที่มีส่วนประกอบของแร่เหล็กด้วย พบในเซลล์ และในเลือด เป็นค่าบ่งชี้สถานะของแร่เหล็กภายในร่างกาย
• ค่าสูง พบได้ในสภาวะหลายๆอย่างได้แก่ การอักเสบทั้งชนิดที่ติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อ โรคตับ Hemochromatosis
GGT (Gamma-Glutamyl Transpeptidase) เกี่ยวข้องในชบวนการขนส่งกรดอมิโนเข้าสู่เซลล์ พบได้มากในตับ ดังนั้นจึงใช้เป็นตัวบ่งชี้ได้ดีถึงการดื่มแอลกอฮอล์
• ค่าสูงพบได้ในผู้ติดเหล้า โรคตับ ท่อน้ำดีอุดตัน
Range: 0 - 65 U/L

GLOBULIN เป็นชื่อของกลุ่มโปรตีนกลุ่มหนึ่งนอกเหนือจาก Albumin ค่านี้ได้จากการนำค่า Total Protein ลบด้วยค่า Albumin
• ค่าสูง พบในภาวะอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง โรคตับ โรคข้ออักเสบ Rheumatoid arthritis และ Lupus
• ค่าต่ำพบได้ในภาวะโรคไตบางชนิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง อื่นๆ
Range: 2.2 - 4.2 g/dl

GLUCOSE เป็นผลผลิตจากการย่อยคาร์โบไฮเดรต และไกลโคเจนที่ตับ เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย
• ค่าสูง พบในโรคเบาหวาน โรคตับ ตับอ่อนอักเสบ
• ค่าต่ำ พบในโรคตับ ภาวะอินซูลินมากเกินไป ธัยรอยด์ทำงานน้อยผิดปกติ
Range: 60 - 115 mg/dl

HDL (High-Density Lipoprotein)
• ค่าสูงเป็นสัญญาณที่แสดงถึงภาวะการเผาผลาญอาหารที่ดี เนื่องจาก HDL ช่วยหยุดยั้งการดูดจับ LDL ของเซลล์ และเป็นตัวพาหะนำคลอเรสเตอรอลจากอวัยวะส่วนต่างๆนำกลับไปสู่ตับซึ่งจะถูกกำจัดออกไป
Range: 35 - 135 mg/dl

HEMATOCRIT (HCT) วัดความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในเลือด ปกติเท่ากับ 45 % โดยทั่วไปผู้หญิงจะต่ำกว่าผู้ชาย
• ค่าสูง คือ ภาวะขาดน้ำ
• ค่าต่ำ คือ โลหิตจาง
Range: 37 - 54 %

HEMOGLOBIN (HGB) เป็นสารสีแดงที่สำคัญในเม็ดเลือดแดง กล่าวคือทำหน้าที่นำออกซิเจนไปสู่เซลล์ นำคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปขับออกที่ปอด พบในเม็ดเลือดแดงมากถึง 1 ใน 3 ของเม็ดเลือดแดง
• ค่าต่ำ หมายถึง ขาดอาหาร เสียเลือดมาก
Range: 14 - 18 %

IRON เหล็กมีความจำเป็นในการสร้าง โปรตีน ฮีโมโกลบิน Cytochrome & Myoglobin
• ค่าสูง พบใน ตับเสื่อมเสียหาย , Pernicious anemia, Hemolytic anemia, Hemochromitosis
• ค่าต่ำ พบในโลหิตจาง ขาดแร่ธาตุทองแดง ทานวิตามินซีน้อย โรคตับ การติดเชื้อเรื้อรัง ทานแคลเซียมมากไป หญิงมีรอบเดือนมาก
Range: 30 - 170 mcg/dl

LAH (Lactic Acid Dehydrogenase) เป็นเอ็นไซม์พบที่ไต หัวใจ กล้ามเนื้อ สมอง ตับ ปอด
• ค่าสูง พบใน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย กล้ามเนื้อปอดตาย
Range: 0 - 250 u/L

LDH (Lactate Dehydrogenase) เป็นเอ็นไซม์ในเซลล์ส่วนใหญ่ทั่วร่างกาย ดังนั้นถ้าเซลล์ตาย LDH จะถูกปลดปล่อยออกมา
• ค่าสูงเพิ่มเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ค่าอื่นที่เกี่ยวข้องไม่เกี่ยวข้อง ไม่ถือว่าผิดปกติอะไร
LDL ตรงข้ามกับ HDL ยิ่งมากยิ่งไม่ดี
• ค่าสูง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเส้นเลือดแข็ง
Range: 62 - 130 mg/dl

LYMPHOCYTES เป็นเม็ดเลือดขาวที่ต่อต้านกับเชื้อโรคโดยเฉพาะไวรัส เช่น หัด หัดเยอรมัน อีสุกอีใส
• ค่าสูง จึงมักหมายถึงการติดเชื้อไวรัส
• ค่าต่ำ หมายถึง ภาวะภูมิคุ้มกันไม่ดี ขณะเดียวกัน ถ้า Neutrophil สูงขึ้นหมายถึงภาวะมีการติดเชื้อ
Range: 18 - 48 %

MCHC (Mean Corpuscular Hemoglobin Concentration) ตรวจวัดค่าความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง มีประโยชน์ในการประเมินผลการรักษาโรคโลหิตจาง
• ค่าสูง พบได้ใน Spherocytosis
• ค่าต่ำ พบได้ใน ภาวะขาดเหล็ก, สูญเสียเลือด, ธาลัสซีเมีย
Range: 32 - 36 %

MONOCYTES เป็นเซลล์ที่มีประโยชน์ในการต่อสู้กับเชื้อจุลินทรีย์ในการติดเชื้อ เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบการไหลเวียนโลหิต
• ค่าสูง หมายถึง การอักเสบเรื้อรัง, มะเร็ง, ลิวคีเมีย
• ค่าต่ำ แสดงถึงภาวะสุขภาพไม่ดี
Range: 0 - 9 %

PHOSPHORUS เป็นแร่ธาตุที่มีมากในร่างกาย ( แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุด ) อาหารที่รับประทานมีผลต่อ Phosphorus ในเลือดมาก ตัวนี้จะต้องดูควบคู่ไปกับระดับแคลเซียมในเลือด เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญในการเคลื่อนย้ายของแคลเซียม และ รักษาความเป็นกรดด่างภายในร่างกาย
Range : 2.5 - 4.5 mEq/dl

POTASSIUM เป็นแร่ธาตุ พบมากภายในตัวเซลล์มากกว่าในเลือดถึง 25 เท่า มีความสำคัญมากในการทำงานของเซลล์ การทำงานของกล้ามเนื้อ และหัวใจ ถือเป็นตัวที่มีความสำคัญมาก
• ค่าต่ำ พบได้ในกรณี อาเจียนอย่างรุนแรง ท้องร่วง โรคไต ได้รับยาขับปัสสาวะบางตัว
Range: 3.5 - 5.5 mEq/L

PLATELETS เป็นชิ้นส่วนของเม็ดเลือดแดง มีขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดแดงมาก ในเลือด 1 หยด จะมีเม็ดเลือดแดง 5,000,000 เซลล์ มีเกล็ดเลือดประมาณ 140,000 - 450,000 มีความสำคัญในการแข็งตัวของเลือดเมื่อมีแผลเพื่อป้องกันการเสียเลือดมากเกินไป
• ค่าสูง ได้แก่ โรคของไขกระดูกซึ่งเป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด
• ค่าต่ำ อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน และอีกหลายๆโรค
Range : 130 - 400 thous

PROTEIN โปรตีนมีความสำคัญมาก เป็นเอ็นไซม์ต่างๆ ฮอร์โมน ภูมิคุ้มกัน ปรับรักษาระดับความเป็นกรด ด่างในร่างกาย เป็นอาหาร แหล่งพลังงาน มีโปรตีนที่สำคัญหลายชนิด ที่น่าสนใจได้แก่ Albumin และ Globulin
• ค่าสูง พบได้ใน Lupus, โรคตับ, การอักเสบเรื้อรัง, ลิวคีเมีย, อื่นๆ
• ค่าต่ำ พบใน ขาดอาหาร, โรคตับ , การดูดซึมอาหารไม่ดี
Range : 6.0 - 8.5 g/dl

RED BLOOD CELL COUNT (RBC) เม็ดเลือดแดงมีหน้าที่นำพาออกซิเจนไปตามเลือดไปให้เซลล์ต่างๆและขนคาร์บอนไดออกไซด์กับไปทิ้งที่ปอด
ในเลือดหยดหนึ่ง มีเม็ดเลือดแดงมากถึงประมาณ 5 ล้านเซลล์ ถูกผลิตจากไขกระดูก
Range : 4.2 - 5.6 mill/mcl

RETICULOCYTE COUNT คือเม็ดเลือดแดงที่ยังอ่อนอยู่ ซึ่งไม่ควรมีมากนักในเลือด

SODIUM เป็นแร่ธาตุ เป็น 1 ใน 4 ของแร่ธาตุที่พบมากในร่างกาย มีความสำคัญต่อความสมดุลย์ของเกลือและน้ำ การนำกระแสประสาท
• ค่าสูง พบใน สูญเสียน้ำมากเกินไป
• ค่าต่ำ พบใน ท้องร่วง, โรคไต
Range: 135 - 146 mEq/L

TRANSAMINASE SGOT (AST) Serum Glutamic Oxalocetic Transaminase คือเอ็นไซม์ที่พบได้ใน หัวใจ, ตับ, กล้ามเนื้อ
• ค่าสูง พบใน ภายหลังภาวะ Heart Attack , โรคตับ, โรคการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
Range: 0 - 42 U/L

TRANSAMINASE SGPT (ALT) Serum Glutamic Pyruvic Transaminase เป็นเอ็นไซม์ที่พบได้ใน ตับเป็นหลัก ในกล้ามเนื้อพบได้บ้าง ดังนั้นค่านี้จึงจำเพาะเจาะจงถึงโรคตับมากกว่า SGOT หรือ AST
• ค่าสูง พบใน โรคตับ
Range: 0 - 48 U/L

TRIGLYCERIDES คือรูปแบบของไขมันที่พบได้ในธรรมชาติ และรูปแบบของไขมันที่ถูกเก็บในร่างกายซึ่งจะถูกเก็บในเซลล์ไขมัน (Adipose Tissue) มีหน้าที่หลักคือ เป็นแหล่งของพลังงาน ระดับภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงตามอาหารที่ทาน และอัตราการกำจัดออก
• ค่าสูง พบได้ใน Artherosclerosis, Hypothyroidism, โรคตับ, ตับอ่อนอักเสบ, Myocardial Infarction, Metabolic disorders, Toxemia, Nephrotic Syndrome
• ค่าต่ำ พบได้ใน Chronic obstructive pulmonary disease, Brain infarction, hyperthyroidism, malnutrition, malabsorption
Range : 0 - 200 mg/dl

URIC ACID เป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญ ( metabolism ) ซึ่งจะถูกขับถ่ายโดยไต
• ค่าสูง พบได้ใน ทานอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะประเภทเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ , โรคเก๊าท์ , โรคไต, เบาหวาน, กำลังทานยาขับปัสสาวะบางชนิด
• ค่าต่ำ พบใน โรคไต, Malabsorption, poor diet, liver damage
Range : 3.5 - 7.5 mg/dl

WHITE BLOOD CELL COUNT (WBC) เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด มีหน้าทีในการต่อสู้กับเชื้อโรคที่มารุกราน
• ค่าสูง พบใน การติดเชื้อ , การบาดเจ็ล , หลังผ่าตัด
• ค่าต่ำ พบใน ภาวะบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน
Range : 3.8 - 10.8 thous/mcl

PLASMA THROMBIN TIME (THROMBIN CLOTTING TIME) ตรวจสอบสภาพของ Fibrinogen เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยโรคตับ
Range : 10 - 15 วินาที

PLASMA AMMONIA ตรวจสภาพตับ วัดผลการรักษาโรคตับว่าอาการทรุด หรือ ฟื้นได้ดีเพียงใด ถ้าค่ายิ่งสูงจะหมายถึงสภาวะโคม่าของตับ

TOTAL PROTEIN TEST
• ค่าสูง พบใน Polyclonal or monoclonal gammopathies, marked dehydration, ยาบางชนิด ได้แก่ Anabolic steroids, Androgens, Corticosteroids, Epinephrine
• ค่าต่ำ พบใน Protein-losing gastroenteropathis, acute burns, nephrotic syndrome, severe dietary protein deficiency, chronic liver disease, malabsorption syndrome, agammaglobulinemia

ข้อมูล: //www.geocities.com/HotSprings/Bath/8143/bloodtest.html

Smiley บีบี้ Smiley





 

Create Date : 14 สิงหาคม 2552    
Last Update : 15 สิงหาคม 2552 22:57:21 น.
Counter : 1407 Pageviews.  


bee4ever
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]









บีบี้รู้สึกว่าบีบี้ชอบทำอาหารเอามากๆ หลังจากที่บีบี้ทดลองอบขนมหลายๆ อย่าง หลังจากทำเสร็จก็จะมีขนมหลายแบบหลายรสชาติทั้งแบบที่แทบจะกินไม่ได้จนถึงกระทั่งแบบที่อร่อยจนหมดหลังจากอบเสร็จ แต่ขนมทุกอย่างก็ต้องผ่านการชิมจากบีบี้ทั้งสิ้น

ด้วยเหตุนี้ น้ำหนักตัวและสัดส่วนของบีบี้ก็เริ่มเปลี่ยนไป ทำให้บีบี้ต้องกลับไปเล่นโยคะร้อนอีกครั้ง ซึ่งภายใน 3 สัปดาห์นี้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก บีบี้กำลังรอลุ้นว่าโยคะร้อนคราวนี้จะทำให้สิวขึ้นเขรอะอีกหรือเปล่า

Smiley บีบี้ Smiley



Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add bee4ever's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.