พฤษภาคม 2552

 
 
 
 
 
1
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
พระราชวังดุสิต : พระตำหนักสวนหงส์


พระตำหนักสวนหงส์ เป็นพระตำหนักภายในพระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ปัจจุบัน ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงภาพงานพระราชพิธีโบราณต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีสมโภชเดือนขึ้นพระอู่ พระราชพิธีตรียัมปวาย รวมทั้ง จัดแสดงพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชวังดุสิตโดยแบ่งอาณาเขตของพระราชวังเป็นเขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง และเขตพระราชฐานชั้นในดังเช่นแบบแผนการสร้างพระราชวังโดยทั่วไป ในเขตพระราชฐานชั้นในนั้นพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างพระตำหนักและตำหนักต่าง ๆ ขึ้น โดยแต่ละแห่งขึ้นต้นด้วยคำว่า "สวน" โดยพระตำหนักที่พระองค์ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีนั้นพระราชทานนามว่า พระตำหนักสวนหงส์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับประตูนกร้อย

ก่อนหน้านั้นสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีได้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักศรีราชาเพื่อพักฟื้นจากพระอาการประชวร ระหว่างนั้นพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหูกทอผ้าพื้นบ้านขึ้นภายในพระตำหนัก เมื่อพระองค์เสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักสวนหงส์จึงได้จัดตั้งกองทอผ้าส่วนพระองค์ขึ้นภายในพระตำหนัก ผ้าจากกองทอนี้โปรดให้นำออกจัดจำหน่ายให้แก่ประชาชน เพื่อนำรายได้มาเลี้ยงข้าราชบริพารเรื่อยมา

พระองค์เสด็จพระทับภายในพระตำหนักสวนหงส์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2445 จนถึง พ.ศ. 2453 หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีเสด็จไปประทับกับสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถที่พระราชวังพญาไทเป็นเวลาหลายเดือน และได้กลับมาประทับที่พระตำหนักสวนหงส์เป็นครั้งคราว ก่อนที่จะเสด็จไปประทับยังวังสระปทุมเป็นการถาวรตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์

เมื่อเกิด การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 พื้นที่บางส่วนของพระราชวังดุสิตตกไปอยู่ภายใต้ความดูแลของกองทัพบก รวมทั้ง พระตำหนักสวนหงส์ด้วย จนกระทั่ง พ.ศ. 2532 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายคืนพื้นที่ภายใต้ความดูแลของกองทัพบกให้แก่สำนักพระราชวัง พระตำหนักสวนหงส์จึงได้รับการบูรณะซ่อมแซมให้มีความสมบูรณ์อีกครั้ง

ปัจจุบัน พระตำหนักสวนหงส์ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงภาพงานพระราชพิธีโบราณต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีสมโภชเดือนขึ้นพระอู่ พระราชพิธีตรียัมปวาย พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีเสด็จทางสถลมารคและชลมารค รวมทั้ง จัดแสดงพระฉายาลักษณ์เกี่ยวกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เช่น พระฉายาลักษณ์เมื่อทรงผนวชและพระราชพิธีสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร

สถาปัตยกรรม

พระตำหนักสวนหงส์ เป็นพระตำหนักไม้ 2 ชั้น บริเวณเชิงชาย ระเบียง และคอสองตกแต่งด้วยไม้แกะสลักลวดลายขนมปังขิง ตัวอาคารทาสีเขียวและขาว บริเวณด้านหน้าพระตำหนักตั้งรูปปฏิมากรรมรูปหงส์ประดับไว้ด้วย พระตำหนักออกแบบและก่อสร้างโดยกลุ่มนายช่างประจำราชสำนัก ซึ่งเป็นชาวตะวันตก ได้แก่ ชาวอิตาเลียน เยอมัน และอังกฤษ สถาปัตยกรรมของพระตำหนักสวนหงส์นั้นเมื่อพิจารณาตามส่วนต่าง ๆ แล้วน่าจะมีสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียน กอทิค ซึ่งเป็นศิลปะร่วมสมัยกับพระที่นั่งวิมานเมฆ แต่เมื่อพิจารณาแบบองค์รวมแล้วจัดเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Picturesque มากกว่า และนับเป็นสถาปัตยกรรมแนวสัญลักษณ์นิยมที่สามารถผสมผสานวัฒนธรรมไทย จีน และแขกได้อย่างลงตัว

อ้างอิง

* แน่งน้อย ศักดิ์ศรี,หม่อมราชวงศ์, พระราชวังและวังในกรุงเทพฯ (พ.ศ. 2325-2525) , โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
* มูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า, ศรีสวรินทิรานุสรณีย์ น้อมรำลึกถึงสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า, พิมพ์ครั้งที่ 5 (ISBN 974-94727-9-9)
* //www.vimanmek.com/exhibit/suanhong.php?lang=thai พระตำหนักสวนหงส์ จาก //www.vimanmek.com
* นิตยสารสารคดี , //www.sarakadee.com/feature/2002/09/dusit_4.htm พระตำหนักสวนหงส์ นิมิตมงคลแห่งพระชนมายุ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า], ปีที่ ๑๗, ฉบับที่ ๒๑๑, กันยายน ๒๕๔๕



Create Date : 04 พฤษภาคม 2552
Last Update : 5 พฤษภาคม 2552 1:11:45 น.
Counter : 6352 Pageviews.

4 comments
  
ใน FireFox 3.0 มองไม่เห็นตัวหนังสือ เป็นสีดำเหมือนพื้นหลัง เห็นแค่หัวข้อ ครับ
โดย: ผ่านมาเจอ IP: 125.25.150.5 วันที่: 5 พฤษภาคม 2552 เวลา:13:00:28 น.
  
งั้นคงต้องใช้ IE ดูแล้วกันครับ พอดีไม่นิยม FF ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
โดย: Antares Kung วันที่: 1 พฤศจิกายน 2552 เวลา:21:26:23 น.
  
เวลาผ่านมาก็ปีกว่าแล้วเพิ่งมาพบ บล็อกนี้ดีจังเลยชอบค่ะ มากด้วยคุณค่าและสาระของตวามเป็นไทยแท้ๆ
แต่ทำไมไม่เขียนเรื่องดีๆลงอีกล่ะคะ.....น่าเสียดาย
โดย: nathanon วันที่: 25 สิงหาคม 2553 เวลา:4:56:33 น.
  
ดีมากๆคะ
โดย: suluxkana IP: 106.0.211.122 วันที่: 13 มีนาคม 2558 เวลา:11:11:04 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อยากขอบใจสักครั้งหนึ่ง
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]