bloggang.com mainmenu search
วัดบางยี่ขัน ฝั่งธนบุีรี ถือเป็นวัดเล็กๆในสวน (สมัยโบราณนะ) ที่สวยงามอลังการวัดหนึ่ง นัีกประัวัติศาสตร์ศิลปะส่วนใหญ่จะรู้จักกับภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่ว่ากันว่าเป็นฝีมือครูคงแป๊ะ ผู้เคยเขียนงานอันลือเลื่องแห่งวัดทอง (วัดสุวรรณาราม) ตัวอาคารเองก็เป็นงานสมัยอยุธยา มีทั้งไม้แกะสลัก และปูนปั้นประดับเต็มไปหมด


แต่วันที่ผมไปสำรวจมาเมื่อปีที่ีแล้ว (2010) พบงานวิเศษชิ้นหนึ่ง ตั้งอยู่บนหอระฆังในสภาพน่าสังเวช งานนี้สมควรเป็นศิลปกรรมแห่งชาติ เป็นงานช่างหลวงที่ทั้งประเทศไทยเหลือไม่ถึง 10 ชิ้น ไม่ทราบว่าทำอะไรกันอยู่ จึงปล่อยให้้ของดีของงามกลายเป็นที่ให้อาหารสุนัข!!

ธรรมาสน์องค์นี้ถูกแยกออกเป็นชิ้นๆ กำลังจะพังเพราะมีของวางทับระเกะระกะ พื้นก็เจิ่งนองไปด้วยน้ำกับอาหารหมา น่าสมเพชเวทนาจริงๆครับ ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายก็ไม่ได้หาง่ายๆแล้ว ยิ่งฝีมือละเอียดปราณีตขนาดนี้ ปล่อยไว้คงจะผุพังเข้าสักวัน




ใครอยากไปชมก็รีบๆไปนะครับ ตั้งอยู่ใต้หอระฆังวัด แต่ขอร้องว่า กรุณาอย่าเก็บไปเป็นสมบัติส่วนตัวเลย เอาของวัดบาปทั้งนั้นครับ คนอื่นมาทีหลังก็จะไม่ได้ดูด้วย เสียดายของเปล่าๆ



ลายแผงรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนประดับช่องท้องไม้ เอกลักษณ์ของศิลปะอยุธยา ที่รัตนโกสินทร์ไม่ค่อยเห็นครับ



ส่วนหลังคาของธรรมาสน์องค์นี้ครับ จะเห็นว่าธรรมาสน์สมัยอยุธยานิยมระบบสี่เสา ไม่ใช่เพิ่มมุมแบบรัตนโกสินทร์ ส่วนเครื่องยอด ปลีต่างๆ หายไปไหนหมดก็ไม่รู้ เฮ้อครับ



ส่วนทวยรับหลังคาครับ ขนาดเล็กน่ารัก แต่ก็ทำงามจริงๆ



กาบตรงเชิงเสาครับ เป็นกาบแบบที่เรียกว่า "กาบไผ่" เี่ราอาจจะคุ้นหูคุ้นตากับกาบที่ปลายสะบัด อย่างนั้นเรียกว่า "กาบพรหมศร" ครับ เป็นรุ่นลูกรุ่นหลานของกาบแบบนี้ ซึ่งนิยมมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย ส่วนกาบสะบัดๆ อย่างนั้น เป็นของที่นิยมในยุคกรุงเทพ สืบมาจนปัจจุบัน (ผมว่าแบบกาบไผ่นี่มันมีพลังกว่านะ ไม่อ่อนช้อยมาก)




ขาิสิงห์ของฐานธรรมาสน์ครับ เป็นขาสิงห์ยาว พัฒนาการมาจากขาสิงห์ลอย (สมัยพระนารายณ์) ขาสิงห์แบบนี้หาชมได้ยาก และคงมีอยู่ช่วงสั้นๆในยุคอยุธยาตอนปลายสุด บางครั้งจะเปลี่ียนจากขาสิงห์ให้เป็นหัวนาคด้วยครับ

Create Date :03 พฤษภาคม 2554 Last Update :9 กรกฎาคม 2554 15:35:42 น. Counter : Pageviews. Comments :3