bloggang.com mainmenu search




....ก่อนจะมากินแกงเนื้อใส่หน่อเหรียง ..เรามาทำความรู้จัก กันก่อนว่า หน่อเหรียง คืออะไร หน้าตาเป็นยังงัย



ชื่อ: เหรียง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Parkia timoricuna Merr

วงศ์ :LEGUMINOEAE

ลักษณะหรือลักษณะพิเศษ
เหรียงเป็นไม้ยืนต้น สูงถึง 50 เมตร ลำต้นเปลือกเรียบหนา สีเทาปนเขียวอ่อน มีกลิ่นฉุน ไม่ค่อยมีกิ่งก้านที่ลำต้น ลักษณะของใบเป็นแบบขนนก พุ่มกลม แผ่ ไม่กว้าง แต่พุ่มใบแน่น ทึบ มีสีเขียว แต่ละช่อใบมีใบย่อย 40-70 คู่ เมื่อใบแก่จัดจะเป็นสีเหลือง แล้วร่วงจนหมดต้นแล้วจึงผลิใบใหม่มาทดแทน ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกรวมกันเป็นกระจุก มีดอยย่อยจำนวนมากติดกันเป็นช่อกลมทรงพุ่ม ช่อดอกจะห้อยระย้า กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ดอกฝอยจะมีก้านดอกสั้น และใบประดับยาวรองรับ
ผลเหรียงจะออกเป็นฝักตรงกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 20-30 เซนติเมตร ฝักเหลืองอ่อนมีสีเขียว แก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีดำเปลือกฝักแข็ง เมล็ดเหรียงเรียงตามขวางของฝัก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ ขนาดเล็กกว่าสะตอ มีจำนวนประมาณ 15-20 เมล็ดต่อผัก เมล็ดมีเปลือกหุ้ม เนื้อในสีเขียวเข้ม มีกลิ่นฉุน

แหล่งที่พบ:
พบโดยทั่วไปในป่าของเทือกเขานครศรีธรรมราช ทั้งบริเวณป่าบนเขา ที่ราบเชิงเขา ป่าเบญจพรรณ

ความสัมพันธ์กับชุมชน
เหรียงเป็นไม้ที่แข็งแรงทนแทนต่อโรคและแมลง เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว จึงได้มีการนำต้นเหรียงมาเป็นต้นตอของสะตอ เพื่อขยายพันธุ์สะตอ ไม้เหรียงยังเป็นไม้ที่มีสีขาวนวล อ่อน ไม่มีแก่น จึงเหมาะแก่การนำมาทำลังใส่ของ รากและเปลือกเหรียง ยังให้สรรพคุณทางสมุนไพร ใช้เปลือกเป็นยาสมานแผล ลดน้ำเหลือง รากใช้รักษาโรคบิด ท้องร่วง และแก้อาการแพ้ต่าง ๆ เมล็ดเหรียงนำมาเพาะใช้รับประทานเป็นผักเหนาะ เนื้อหุ้มเมล็ดนำมาทำวุ้นกินได้

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เหรียงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจอยู่ตรงเมล็ด คนนครศรีธรรมราชและคนภาคใต้นิยมบริโภคเมล็ดเหรียงสดนำมาเพาะให้แตกรากสั้น ๆ เอาเปลือกสีดำออก จะได้ลูกเหรียงสด นำมารับประทานเป็นผักเหนาะสด ๆ กับขนมจีน แกงชนิดต่าง ๆ น้ำพริก และยังสามารถนำมาปรุงอาหาร ผัดเผ็ดเมล็ดเหรียงกับเนื้อสัตว่าง ๆ ประเภทต่าง ๆ เป็นผักใส่แกงชนิดต่าง ๆ และยังนำเมล็ดเหรียงไปดอง เก็บไว้กินได้นาน เมล็ดเหรียงจึงเป็นสินค้าที่ทำเงินและรายได้อย่างดีให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ

การเพาะเมล็ดเหรียงต้องขริบหัวเมล็ดเหรียง แล้วนำไปแช่ในน้ำสะอาด 1-2 คืน เอาขึ้นมาคลุกกับขี้เลื่อย ในแปลงเพาะ ลดน้ำวันละ 1-2 ครั้งเช้าเย็น ประมาณ 3-4 วัน เมล็ดเหรียงจะแตกหน่อ ถอนหน่อเหรียงนำไปล้างน้ำขายในตลาดได้ หน่อเหรียงขายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท สร้างรายได้กับผู้ประกอบการเพาะเมล็ดเหรียงมาก







● ● ● ●  .....ส่วนผสมเครื่องแกง ... ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● 


พริกแห้ง
หอม หนึ่งหัว กระเทียม 5-6 กลีบ
ตะไคร้ 1 ต้น( ซอย )
ข่า 5-6 แว่น
พริกไทยเม็ด 30 เม็ด
ขมิ้น ยาวประมาณ 1 นิ้ว


...........................ใครใคร่ตำ ตำ ...ใครใคร่ปั่น ปั่น................











....ส่วนผสมอื่น ....



เนื้อวัว หั่น หรือแล่ อย่าให้บางหรือหนาเกินไป
เกลือและ กะปิ (ใส่ทั้งสองอย่างค่ะ หรือจะใส่เกลือบดรวมกับเครื่องแกงก็ได้)


พระเอกของงาน ...หน่อเหรียง




....................ผัดเครื่องแกงกับหัวกะทิให้หอม ..ใส่กะปิผัดให้เข้ากัน ใส่เนื้อลงไป ผัดๆสองสามที ใส่หน่อเหรียง ใส่หางกะทิ ตั้งไฟกลางจนเนื้อสุกดี หน่อเหรียงไม่จำเป็นต้องให้สุกมากก็ได้ค่ะ .....


..........จะเห็นว่าเราไม่ปรุงรสอะไรเพิ่มเลยนะคะ เพราะถ้าเครื่องแกงอร่อยถึงรสอยู่แล้วก้ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวช่วยแล้วค่ะ..


........อร่อยๆ หอมๆด้วยกันค่ะ ใครไม่เคยลอง ก็ให้นึกถึงสะตอไว้ คล้ายๆกัน แต่เหรียงจะมีความกรอบกว่า...............


●● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● 





















Create Date :31 ตุลาคม 2555 Last Update :31 ตุลาคม 2555 1:06:53 น. Counter : 5129 Pageviews. Comments :48