ปฎิรูป-ถอยอย่างไรไม่ให้ล้ม*** WHITESPACE.CO.LTD

whitespace
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




เมื่อไม่มีสิ่งใดจริง จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
.....อ่านเรื่องพุทธบารมี
.....ลีลาสมเด็จพุฒาจารย์โต
.....ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา-หลวงปู่มั่น

Google..
.....................พ่อของแผ่นดิน...
Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2549
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
27 พฤษภาคม 2549
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add whitespace's blog to your web]
Links
 

 

ยูโทเปีย

..มามะ.. จากหนึ่งนิ้วนั้นชี้ขึ้นฟ้า
สู่โลกเชิงอุดมคติยูโทเปีย.. แล้วไปนิพพานกันเลย..


บ่นเป็นเรื่องกับอวกาศสีขาว


...ไ ห น ๆ ก็ ไ ห น ๆ ...หลังอวกาศสีขาวหลวมตัวพูดถึงสถานที่หนึ่ง ที่ใครๆ ก็เฝ้าฝันหากันนักกันหนา ว่ามีสถานที่หนึ่งนั้นซึ่งเต็มไปด้วยความสมบูรณ์แบบทั้งปวง... โดยน่าจะมีอยู่จริง

เลยรีเทิร์นกลับมาพูดอีกครั้งให้หมดกระบวนท่าไปเลยเสียดีกว่า (คาดว่าน่าจะมีอีกหลายคนที่นิยามและฝันถึงสถานที่นี้อีกมากค่ะ อวกาศตอนเด็กยังชอบจินตนาการถึงที่นั่น อาจเพราะไม่ชอบโลกมนุษย์แสนทุกข์นี่เท่าไหร่ แต่ด้วยภูมิความรู้อันต่ำต้อย ก็นิยามถึงสถานที่นั่นคงบรมสุขได้เท่านั้น ( -_-“) )

จะเป็นดินแดนหรืออาณาจักรที่จับต้องได้หรือไม่ได้ก็ตามที นักปราชญ์หลายท่านเองก็โหยหาถึงสถานที่นั้น จนขนาดนิยามถึง.. โดยพยายามอ้างถึงความเป็นไปได้ต่างๆ นานาของสถานที่หนึ่งนั้นซึ่งสมบูรณ์ไปทุกตารางอณูพื้นที่
แล้วคุณล่ะฝันถึงโลกที่สมบูรณ์บรมสุขนั่นอย่างไร

ยูโทเปีย ถูกนิยามความหมายจากพจนานุกรม Webster เอาไว้ดังนี้
1. ยูโทเปีย หมายถึง สถานที่แห่งความสมบูรณ์ในเชิงอุดมคติ และ
2. เป็นแบบแผนในจินตนาการสำหรับสังคมที่สมบูรณ์แบบสังคมหนึ่ง


ยูโทเปีย แนวคิดเชิงอุดมคติเกี่ยวกับโลกอันสมบูรณ์มีมาตั้งแต่ยุคคลาสิค ด้วยทฤษฎีโลกของแบบของเพลโตในสมัยกรีกโรมัน (347 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งโลกของแบบ (Theory of forms) ของเพลโตนั้น ดูจะยังเน้นความสมบูรณ์ด้วยความเป็นต้นแบบของสิ่งที่มีอยู่บนโลกมนุษย์ โดยภาพวาดท่านเพลโตนั้นจะเป็นรูปท่านชี้นิ้วขึ้นฟ้าแสดงว่าโลกของแบบมีอยู่.. จนกระทั่งมาเป็นแนวคิดสัญลักษณ์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นถึงสถานที่อันสมบูรณ์แห่งนั้น ด้วยไอคอนของคำว่า “ยูโทเปีย”

ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เซอร์โทมัสมอร์ Sir Thomas More นักปรัชญามนุษยนิยมชาวอังกฤษ ได้นิยามคำว่า "ยูโทเปีย" (Utopia) โดยมาจากภาษากรีก eu-topia ซึ่งหมายถึง "Good Place" (สถานที่ที่ดี) แต่เสียงของคำนี้ได้ไปพ้องกับคำในภาษากรีกว่า ou-topia ซึ่งหมายความว่า "No-place" (ไม่มีที่ใด) ...ไม่น่าเชื่อ!! กลับมีส่วนละม้ายคล้ายแดนนิพพานในพุทธศาสนา สถานที่หลุดจากทุกข์โดยลิ้นเชิง โดยจะว่าดินแดนนี้มีก็ไม่ได้ ไม่มีก็ไม่ได้ [-_-“] เหะ..เหะ

ช่วงยุคเรอเนสซองค์ แนวคิดยูโทเปียจากเซอร์โทมัสมอร์ ได้ก่อตัวขึ้นมาพร้อมกับความก้าวหน้า มีจุดหมายเพื่อปรับปรุงสังคมในทางที่สุดขั้ว เขานำเสนอเกาะในเชิงอุดมคติเกี่ยวกับยูโทเปีย (conceptual island of Utopia) โดยวิพากษ์ถึงสังคมร่วมสมัยของเขาในประเทศอังกฤษ ทั้งยังเป็นการนำเสนอรูปแบบซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ของสังคมที่ดีงามสมบูรณ์แบบ

แนวความคิดเกี่ยวกับ "ยูโทเปีย" มีผลต่อความคิดของระบบสังคม ลัทธิการเมือง การบริหารจัดการการปกครอง เศรษฐกิจ ฯลฯ มาช้านานตามยุคกาลสมัย ทั้งได้ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวมานับไม่ถ้วน คือมันอาจเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดยูโทเปียบนโลกมนุษย์ แต่ก็ยังเป็นดินแดนอะไรสักอย่างที่เราต่างยังวาดหวังจะได้อยู่ร่วมกันที่นั่น ต่างจากความเชื่อของชาวพุทธศาสนา ที่เห็นว่าโลกเป็นภพภูมิที่เป็นสถานที่เห็นทุกข์ได้ง่าย แล้วมันจะเป็นยูโทเปียไปได้อย่างไรล่ะคะ หุๆ (..แต่โลกก็สวยงามไม่น้อย.. ทั้งยังสะสมความดีและปัญญาขนาดพ้นทุกข์ได้..)

แนวความคิดเกี่ยวกับยูโทเปียนั้น จึงมีผลต่อรูปแบบของสังคมเชิงอุดมคติโดยไม่อาจชี้ลงไปได้ชัด ทั้งยังเป็นความคิดในลักษณะปรุงแต่ง ซึ่งต้องการจะวิพากษ์วิจารณ์สังคมร่วมสมัยในเวลานั้นๆ โดยหมายมั่นเอาว่ายูโทเปียอยู่ในฐานะที่เป็นสถานที่ที่ดี (Good-place) มีความปรารถนาของในความสุขและความรอด (salvation) ของสังคมนั้นๆ

ในตะวันตก ยูโทเปียถูกฝันถึงในหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน ในช่วงยุคกลาง ยูโทเปียถูกสื่อว่าหมู่บ้านหนึ่ง เป็นที่ซึ่งความปรารถนาทางโลกทั้งหมดจะได้รับการเติมเต็มหรือทำให้บรรลุผลได้ ส่วนคริสต์ศตวรรษที่ 18 "ความรอด" ได้รับการมองว่าเป็นความสมบูรณ์โดยผ่านความก้าวหน้าในยุคสมัยใหม่ (modern progress) และในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยูโทเปียกลับยึดรูปแบบเกี่ยวกับคอมมูนหรือชุมชนทางศาสนาต่างๆ ในการเสาะแสวงหาทางจิตวิญญาณสำหรับสวรรค์ในชีวิตหลังความตาย

การปฏิวัติทางการเมืองและอุตสาหกรรมในทวีปยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้นำไปสู่การพัฒนาของนักคิดยูโทเปียแบบสังคมนิยม เพราะที่สุด Karl Marx และ Federich Engels มองว่า ความเจริญก้าวหน้านี้เป็นทั้งคุณและโทษ มีทั้งดีและเลว ก่อให้เกิดลัทธิสังคมนิยมอันลือลั่น เป็นปฏิกริยาโต้ตอบจากความยากจนข้นแค้นซึ่งเกิดขึ้นมาจากระบบทุนนิยม ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างระหว่างชนชั้น พวกเขารู้สึกว่าลัทธิทุนนิยมเป็นมูลเหตุของความเลวร้ายที่ทำให้มนุษย์ถูกกดขี่ และต้องการที่จะหยุดยั้งมันลงโดยการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ

บรรดานักสังคมนิยมเชื่อว่า ประชาชนจะปรับตัวกับวิถีชีวิตชุมชนแบบคอมมูนได้โดยการเสียสละอิสรภาพส่วนตัวเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกันของสังคม และเชื่อว่าสังคมตั้งอยู่บนพื้นฐานชีวิตแบบชนบท(ชุมชนเกษตรกรรม) ที่ดินคือทรัพย์สินส่วนรวมซึ่งเป็นสิ่งเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากัน แต่โอ้อนิจจา.. เมื่อพวกผู้นำทั้งหลายขึ้นมาเป็นใหญ่แล้วมีใครไม่บ้าอำนาจ ? กิเลสไม่เข้าใครออกใครนะนั่น ชนชั้นล่างก็ยังถูกกดขี่ หาความเสมอภาคแท้จริงได้ที่ไหน ที่สุด คอมมิวนิสต์ก็หาเป็นยูโทเปียได้ไม่.. ดังที่เราเห็นๆ กันอยู่ค่ะ

บรรดานักวิเคราะห์ยูโทเปียทั้งหลาย เริ่มมองไปยังสิ่งที่อยู่ลึกยิ่งกว่าต่อไป ถึงรากฐานของความเป็นปัจเจก ความเป็นตัวของตัวเอง และอิสรภาพเกี่ยวกับการเลือก สวนกระแสต่อการบงการหรือการชี้นำอย่างเผด็จการโดยสาธารณชนหรืออำนาจส่วนตัว พวกเขาแสวงหาทางให้พ้นไปจากลัทธิทุนนิยม สังคมนิยม และคอมมิวนิสต์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 บางชุมชนเกิดขึ้นเพื่อสร้างกลุ่มซึ่งจะเป็นอนาธิปไตย ปฏิเสธการข้องเกี่ยวกับสถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์ในความเสมอภาค อิสรภาพ มีความเชื่อมั่นศรัทธาในคุณความดีของมนุษยชาติ หลายชุมชนได้เจริญเติบโตขึ้นในยุโรป แต่ส่วนใหญ่นั้นยังมีขนาดเล็ก ดูๆ แล้วก็น่าจะมีความสุขดีนะคะ อวกาศอยากไปอยู่ด้วยสักชุมชนไหนก็ได้..^_^*

ยูโทเปียบนโลกจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ และจะเปลี่ยนไปตามกระแสเวลาอย่างไร คงยากจะเดา เพราะในขณะที่โลกซึ่งสรรพสิ่งสมมุติล้วนมีลักษณะทวิภาวะเป็นพื้นฐาน มีด้านหนึ่งสวยงามอีกด้านก็น่าเกลียด ด้านหนึ่งหอมหวานอีกด้านก็เน่าเหม็น ฯลฯ ทั้งยังเต็มไปด้วยมนุษย์ที่หนาไปด้วยกิเลส ยากเกินจะอยู่ร่วมอย่างอิสระโดยปราศจากกฎหมาย ตราบนั้นยูโทเปียจะเกิดได้จริง หรือควรเก็บเข้าลิ้นชักของความฝัน เรื่องนี้คงยากแก่การตรัสรู้สำหรับนักขี้เกียจคิดอย่างอวกาศค่ะ แต่อย่างน้อยเราสามารถสร้างสังคมที่มีความสุขได้ง่ายๆ ตากหลักของพุทธศาสนา คือเดินตามทางอริยมรรคมีองค์แปด กำหนดใจด้วยศีลห้า ชาวพุทธรู้กันบ้างไหมเนี่ย? -_-“

การสร้างโลกในเชิงอุดมคติที่สมบูรณ์ด้วยหลักการอ้างอิงต่างๆ เพื่อจะหลบรอดไปจากโลกเราๆ ที่ไร้ความยุติธรรม ไปสู่สถานที่น่าปรารถนาน่าใคร่นั้น มีมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะพุทธศาสนาพูดถึงแดนนิพพานอันเป็นสถานที่สุดแห่งทุกข์...

ในพุทธศาสนิกนิกายเถรวาท ต่างแสวงหาความหลุดพ้นทางโลกและทางจิตวิญญาณจากความทุกข์ พวกเขาจินตนาการถึงความสุขของสวรรค์บนดิน สวรรค์ต่างๆ อันเป็นอาณาจักรที่ได้รับการปกครองโดยเทพผู้ทรงสถิตความยุติธรรมแต่ก็ยังเป็นสถานที่ที่มีความสิ้นสุด สุขกว่านั้นคือการเปลื้องทุกข์และน้อมนำไปสู่นิรวาณหรือพระนิพพาน

พระนิพพานนี้จึงต่างไปจากโลกของแบบและยูโทเปียอย่างลุ่มลึกกว่า บุคคลที่จะล่วงเข้าสู่สถานที่นี้ได้ต้องเป็นผู้ที่ปราศจากแล้วซึ่งตัวตน ที่นี่จึงไม่ใช่ชุมชนของการอยู่ร่วมแบบมีตัวตน และการก้าวข้ามไปถึงดินแดนที่สุดของความไม่มีอะไร.. คือความว่าง ที่ซึ่งไม่อาจกล่าวอ้างว่าเป็นดินแดนหรือไม่เป็นดินแดน เพราะแท้จริงคือจิตเดิมอันไร้ขอบเขต เป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง ไร้นิยามที่จะกำหนดลงไปได้..( -_-“)

แม้นิรวาณหรือพระนิพพานจะเป็นแนวคิดหนึ่ง ที่อาจนำไปสัมพันธ์เชื่อมความคิดเกี่ยวกับยูโทเปีย ในฐานะที่เป็น "No-place" (ไม่มีที่ใด) เพราะมันดำรงอยู่นอกเหนือกาละและเทศะ (ไร้กาลเวลาและสถานที่) แต่ในขณะที่ยูโทเปียเป็นสิ่งที่เติบโตต่อเนื่องบนวัฏฏะของความคิดและรูปลักษณ์ที่เป็นพลวัต Nochlin เป็นอัตลักษณ์และมีรูปลักษณ์หลากหลายตามจินตนาการ แต่พระนิพพานกลับเป็นความหลุดพ้นจากวัฏฏะสังสารของการมีชีวิต สิ้นสุดกระแสการเวียนว่ายของตัวตนต่อเนื่อง เข้าไปสู่ภาวะสุญญตาความว่าง โดยไร้รูปลักษณ์อย่างสิ้นเชิง


...................
**อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจากเว็บมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความเกี่ยวกับปรัชญาศิลปะ
The Concept of Utopia : Utopia Station
แนวความคิดเกี่ยวกับยูโทเปีย : ฐานปฏิบัติการยูโทเปีย
By Graduate Student of Art History & Criticism: Karen Demavivas, Hunter College, New York
บรรยายพิเศษให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ระดับปริญญาตรี, กระบวนวิชาศิลปะวิจารณ์ ผู้ควบคุมกระบวนวิชา: สมเกียรติ ตั้งนโม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
**ไม่เข้าใจตัวเอง ดันทุรังมาเขียนเรื่องนี้ทำไม
**หรือยูโทเปียจะอยู่ในซอกเล็บจริงๆ?




 

Create Date : 27 พฤษภาคม 2549
0 comments
Last Update : 5 ตุลาคม 2549 17:47:30 น.
Counter : 7681 Pageviews.

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.