ขั้นตอนการจดทะเบียนคนเกิด (ออกสูติบัตร) ให้แก่เด็กสัญชาติไทยที่เกิดนอกราชอาณาจักร


ขั้นตอนการจดทะเบียนคนเกิด (ออกสูติบัตร)
• การออกสูติบัตร
นายทะเบียนสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่มีหน้าที่ออกสูติบัตรให้แก่เด็กสัญชาติไทย
ที่เกิดนอกราชอาณาจักรที่สถานเอกอัคราชทูตหรือสถานกงสุลมีเขตอาณาครอบคลุมเด็กสัญชาติไทย
ที่เกิดนอกราชอาณาจักรหมายถึง เด็กที่เกิดจากบิดาหรือมารดาเป็นบุคคลสัญชาติไทย (มาตรา 7
(1) พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508) แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2535 ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับกับผู้ที่เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ ดังนั้นเด็กที่เกิดก่อนวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตาม
พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 อาจได้สัญชาติไทยโดยการเกิดย้อนหลัง

• หลักฐานประกอบในการออกสูติบัตร

• หนังสือรับรองการเกิดหรือสูติบัตรท้องถิ่น ซึ่งเป็นเอกสารการเกิด
หรือสูติบัตรท้องถิ่นที่ระบุชื่อเด็ก บิดา มารดาเด็ก ฯลฯ เพื่อตรวจสอบสัญชาติของเด็ก

• เอกสารหลักฐานของบิดามารดา ทั้งนี้หลักฐานที่นำมาแสดงต้องเป็นหลักฐานที่ทางราชการไทยออกให้ เช่น
บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หรือสำเนาทะเบียนบ้าน
สำเนาทะเบียนสมรสกรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อต้องมีหลักฐานมาแสดงด้วย

• ข้อควรระวังในการออกสูติบัตร (ท.ร.10)

• ให้พิมพ์หมายเหตุคำว่า "แจ้งเกิดเกินกำหนด" กรณีแจ้งเกิดเกิน 15 วัน
หลังเด็กเกิด บนด้านขวาระหว่างเลขที่ทะเบียนสูติบัตร กับ ท.ร.10

• รายการของเด็ก ข้อ 1.4 ให้กรอกวัน เดือน ปี เวลาเกิดตามปฏิทินสากล
และข้างขึ้นข้างแรมเดือนปีนั้น ให้กรอกตามปีทางจันทรคติ

• ข้อ2 รายการเกี่ยวกับมารดา ช่อง 2.6 กรณีมารดาเป็นบุคคลสัญชาติไทย
ให้กรอกที่อยู่ของมารดาตามที่อยู่ที่มารดามีชื่อในทะเบียนบ้าน
มิใช่ที่อยู่ในต่างประเทศ

• ข้อที่ 3 รายการเกี่ยวกับบิดา แม้บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
แต่ถ้าหนังสือรับรองการเกิดหรือสูติบัตรที่ทางการท้องถิ่นออกให้ระบุชื่อบิดา
ให้ระบุชื่อบิดาไว้ด้วยในสูติบัตรที่นายทะเบียนออกให้เพื่อให้ทราบว่าบิดาเด็กเป็นใคร

• อายุของบิดามารดาให้ระบุอายุในขณะที่เด็กเกิด

• ข้อมูลที่นายทะเบียนควรแนะนำกรณีการขอเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนบ้าน

• การขอเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนบ้าน
สำหรับคนไทยที่เกิดในต่างประเทศจะต้องนำหลักฐานไปยื่นคำร้องต่อ
นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาพร้อม
เอกสารหลักฐานประกอบด้วยสูติบัตร(ท.ร.10) ซึ่งออกโดยนายทะเบียน
สถานทูตหรือสถานกงสุล และหนังสือเดินทางของเด็กที่จะขอเพิ่มชื่อ

• สำหรับ "หนังสือเดินทางของเด็ก" ที่นำไปแสดงประกอบเป็นหลักฐานจะต้องเป็นหนังสือเดินทางไทยซึ่งมี
ตราประทับเดินทางเข้าประเทศไทยเท่านั้น ดังนั้น
เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งเกิดและออกสูติบัตรให้กับเด็กไปแล้ว
ควรแนะนำให้บิดามารดาของเด็กยื่นขอทำหนังสือเดินทางให้เด็กด้วย

• การดำเนินการภายหลังการจดทะเบียนคนเกิด
เมื่อนายทะเบียนได้ดำเนินการกรอกข้อมูลใน ท.ร.10 เรียบร้อยแล้ว
ทั้ง 3 ตอน ให้ดำเนินการ ดังนี้

• มอบ สูติบัตรตอนที่ 1 ให้ผู้แจ้ง

• ส่ง สูติบัตรตอนที่ 2 ไปให้กระทรวงฯเพื่อส่งไปยังสำนักทะเบียนกลาง กระทรวงมหาดไทย

• เก็บ สูติบัตรตอนที่ 3 เข้าแฟ้มทะเบียนคนเกิดของสถานทูตสถานกงสุล

ที่มา : //www.mfa.go.th/web/29.php



Create Date : 16 ตุลาคม 2551
Last Update : 3 เมษายน 2552 21:10:32 น.
Counter : 1460 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

NuiErnik
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]





ตุลาคม 2551

 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog