พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ จังหวัดสระบุรี


ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์

     นักประวัติศาสตร์ถือว่ายุคทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เป็นจุดเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์พื้นที่สระบุรีมีหลักฐานว่าอยู่ในยุคทวารวดีเช่นกัน เช่น ที่บ้านอู่ตะเภา ตำบลม่วงหวาน อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองเก่าครั้งทวารวดี ที่ถ้ำพระโพธิสัตว์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี พบภาพสลักนูนต่ำที่ผนังถ้ำเป็นลักษณะศิลปกรรมยุคทวารวดี
รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นที่จำศีลภาวนาของนักบวชและฤาษี ภายในถ้ำโอ่โถงพอสมควรพอเป็นที่พักพำนักได้ ถึงแม้ว่าจะอยู่ในระดับที่สูงแต่ก็ไม่มีอะไรที่ลำบากแก่การดำรงชีวิตอันเนื่องมาจากบริเวณที่ตีนเขา ตรงหน้าถ้ำนั้นมีธารน้ำตก เหมาะกับการตั้งหลักแหล่งพำนักอาศัยของบรรดานักบวช หรือไม่ก็ชุมชน และผู้คนที่อยู่ในที่สูงป่าเขา อาศัยผลผลิตของป่าในบริเวณนั้นหาเลี้ยงชีพ

    อีกแห่งหนึ่งคือ ที่ถ้ำเขาวง (ถ้ำนารายณ์) หมู่ 4ตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีมีจารึกที่ผนังถ้ำด้วยอักษรปัลลวะ ถ้อยคำที่จารึกเป็นภาษามอญโบราณ ข้อความนี้จารึกราวพุทธศตวรรษที่ 12อยู่ในสมัยทวราวดี

     ปิแอร์ ดูปองท์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสสันนิษฐานว่า ผู้คนในยุคทวารวดีเป็นคนมอญที่อพยพมาอยู่ถิ่นนี้เมื่อพุทธศตวรรษที่ 15 เพราะภาษาที่จารึกในยุคนี้เป็นภาษามอญทุกที่


ราวพุทธศตวรรษที่ 17 อาณาจักรทวารดีได้เสื่อมลง เนื่องจากขอมเข้ามาแผ่อิทธิพลปกครองในถิ่นนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในเรื่องตำนานเมืองสระบุรี ว่า
ท้องถิ่นอันเป็นเขตจังหวัดสระบุรีนี้แต่โบราณครั้งเมื่อขอมยังเป็นใหญ่ในประเทศนี้อยู่  ในทางหลวงสายหนึ่งซึ่งขอมไปมาติดต่อกับราชธานีที่นครหลวง (ซึ่งเรียกในภาษาขอมว่านครธม) ยังมีเทวสถาน ซึ่งพวกขอมสร้างเป็นปรางค์หินไว้ตามที่ได้ตั้งเมืองปรากฏเป็นระยะ คือ ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีที่อำเภอวัฒนานครแห่งหนึ่ง ที่ดงมหาโพธิ์แห่งหนึ่ง ต่อมาถึงเขตจังหวัดนครนายกมีที่ดงนครแห่งหนึ่ง แล้วมามีที่บางโขมดทางขึ้นพระพุทธบาทอีกแห่งหนึ่ง ต่อไปก็ถึงเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงมณฑลละโว้ที่พวกขอมปกครอง แต่ในที่ใกล้ลำน้ำป่าสักซึ่งตั้งเมืองสระบุรีหาปรากฏสิ่งสำคัญครั้งขอมอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ เพราะฉะนั้นเมืองสระบุรีเห็นจะเป็นเมืองต่อเมืองไทยได้ประเทศนี้จากพวกขอมแล้ว


เมืองสระบุรีเริ่มปรากฏชื่อในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางด้วยมีคำว่า เมืองสระบุรี ปรากฏในพงศาวดารครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราชคราวที่พระเจ้าหงสาวดียกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหินทราธิราชทรงมีพระราชสาส์นถึงพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งนครเวียงจันทน์ให้นำทัพมาช่วยไทย แต่ทัพลาวถูกทหารพม่าซุ่มตีที่เมืองสระบุรี ทัพลาวแตกกลับเวียงจันทน์ เหตุการณ์นี้เกิดเมื่อ พ.ศ. 2112   แสดงว่าเมืองสระบุรีต้องตั้งมาก่อน พ.ศ. 2112 แต่จะก่อตั้งเมื่อใดไม่มีหลักฐานเอกสารอ้างอิง

     สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานการตั้งเมืองสระบุรีไว้ดังนี้ เมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชบิดาของสมเด็จพระมหินทราธิราชนั้น พระเจ้าหงสาวดีตะเบงชะเวตี้ ยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2091ในสมัยนั้นมีป้อมปราการเป็นเขื่อนขัณฑ์กันราชธานีอยู่ทั้ง 4ทิศ คือ เมืองสุพรรณบุรี อยู่ทางทิศตะวันตก เมืองลพบุรี อยู่ทางทิศเหนือ เมืองนครนายก อยู่ทางทิศตะวันออก และเมืองพระประแดง (ภายหลังเปลี่ยนไปเป็นเมืองธนบุรี) อยู่ทางทิศใต้ กองทัพพระเจ้าหงสาวดียกเข้าทางด่านพระเจดีย์ 3องค์ ข้างทิศตะวันตก กองทัพไทยจึงไปต่อสู้ที่เมืองสุพรรณบุรี รับข้าศึกไม่อยู่ต้องถอยกลับมาเอาพระนครศรีอยุธยาเป็นที่มั่นจึงได้ชัยชนะ เป็นเหตุให้เห็นว่าเมืองที่ตั้งขึ้นเป็นเขื่อนขัณฑ์กันพระนครนั้นหาเป็นประโยชน์ดังคาดมาแต่ก่อนไม่ที่สร้างป้อมปราการไว้ถ้าข้าศึกยึดเอาเป็นที่มั่นสำหรับทำการสงครามแรมปี ตีพระนคร ก็จะกลับเป็นประโยชน์แก่ข้าศึกจึงให้รื้อป้อมปราการเมืองสุพรรณบุรี เมืองลพบุรี และเมืองนครนายกเสียทั้ง 3 เมือง คงไว้แต่ที่เมืองพระประแดงซึ่งรักษาทางปากน้ำอีกประการหนึ่งเห็นว่าที่รวบรวมผู้คนในเวลาเกณฑ์ทัพยังมีน้อยนักจึงให้ตั้งตัวเมืองเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายเมืองสำหรับเป็นที่รวบรวมผู้คนเพื่อจะได้เรียกระดมรักษาพระนครได้ทันท่วงทีในเวลาการสงครามมีมาอีก เมืองที่ตั้งใหม่ครั้งนั้นระบุชื่อไว้ในพระราชพงศาวดารแต่ทางทิศใต้กับทางทิศตะวันตกคือเมืองนนทบุรี เมืองสาครบุรี (สมุทรสาคร) และเมืองนครไชยศรี แต่ทางทิศอื่นหาได้กล่าวถึงไม่ เมืองสระบุรี (แลเมืองฉะเชิงเทรา) เห็นจะตั้งในครั้งนี้นั่นเอง คือตั้งราว พ.ศ. 2092ก่อนที่จะปรากฏชื่อในหนังสือพระราชพงศาวดารเพียง 20 ปี เมืองที่ตั้งครั้งนั้นเห็นเป็นแต่สำหรับรวบรวมผู้คนดังกล่าวมา จึงกำหนดแต่เขตแดน มิได้สร้างบริเวณเมืองผู้รั้งตั้งจวนอยู่ที่ไหนก็เชื่อว่าเมืองอยู่ตรงนั้น

     จากนิพนธ์นี้เข้าใจว่า ยุคนั้นคงมีผู้คนอยู่ในถิ่นนี้พอสมควร จึงตั้งเมืองขึ้นที่นี่เพื่อให้ทำหน้าที่ช่วยรบ และเตรียมเสบียงไว้ในการสงคราม สระบุรี คงมีความหมายว่า เมืองแห่งน้ำ หรือ ตัวเมืองใกล้น้ำ เพราะครั้งแรกที่ตั้งเมืองอยู่บริเวณบึงโง้ง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ในปัจจุบัน


สระบุรีสมัยกรุงศรีอยุธยา

     ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองสระบุรีมีบทบาทที่เกี่ยวข้องในเรื่องสงครามและการพระศาสนาเป็นสำคัญ ในเรื่องการสงครามเช่น
-พ.ศ.2125 พระเจ้าแปรยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีรับสั่งให้พระยานครนายก พระยาปราจีนบุรี พระวิเศษเมืองฉะเชิงเทรา พระสระบุรี 4 หัวเมือง ให้พระยานครนายกเป็นแม่ทัพใหญ่คุมพล 10,000 คน ออกไปตั้งค่าย ขุดคู ปลูกยุ้งฉาง ถ่ายลำเลียงไว้ตำบลทำนบรักษาไว้ให้มั่น
-พ.ศ.2126 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพออกไปลาดตระเวน ฟังราชการให้ถึงทัพหลวง
-พ.ศ 2227 อ้ายธรรมเถียร คนนครนายกปลอมตนว่าเป็นเจ้าฟ้าอภัยทศลวงผู้คนให้หลงเชื่อมาถึงสระบุรีและลพบุรี แล้วนำผู้หลงเชื่อบุกเข้าไปถึงกรุง แต่ก็พ่ายแพ้และถูกประหารชีวิต
-พ.ศ. 2235 เกิด กบฏบุญกว้าง เป็นคนมีวิชาอาคมดีนำพวก 28 คนยึดเมืองนครราชสีมาได้ เจ้าเมืองนครราชสีมาลวงว่าควรนำทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา บุญกว้างเชื่อจึงนำผู้คนผ่านมาถึงลพบุรี กรมการเมืองสระบุรี 
บทบาทเกี่ยวข้องกับการพระศาสนาก็คือ
-พ.ศ. 2149 ได้พบรอยพระพุทธบาทสระบุรีในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จากนั้นมาเป็นราชประเพณีนิยมที่พระมหากษัตริย์จะเสด็จมานมัสการพระพุทธละ ทรงนำนุบำรุงพระพุทธบาทรวมทั้งเสด็จไปนมัสการพระพุทธฉาย


เมืองสระบุรีสมัยกรุงธนบุรี ถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

     ช่วงนี้พระมหากษัตริย์ก็ยังทรงมีพระราชนิยมเสด็จมานมัสการพระพุทธบาทรวมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมพระพุทธบาท เนื่องจากคราวที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ.2310 นั้น จีนค่ายคลองสวนพลู 400 คน ขึ้นไปทำลายพระพุทธบาท ลอกเอาเงินดาดพื้น ทองหุ้มพระมณฑปน้อยไป ในสมัย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดฯให้ซ่อมพระมณฑปพระพุทธบาทแต่ยังไม่เสร็จ ครั้นถึง - พ.ศ.2330 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯให้สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จขึ้นไปเป็นแม่การยกพระมณฑปพระพุทธบาท และทำพระมณฑปน้อยกั้นรอยพระพุทธบาทภายในพระมณฑปใหญ่เสาทั้งสี่ กับทั้งเครื่องบน และยอดล้วนหุ้มแผ่น ทองทั้งสิ้น

- พ.ศ. 2400พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะมณฑปพระพุทธบาท และทำที่ประทับใหม่หลายหลังในพระราชวังท้ายพิกุล รวมพระราชทรัพย์ ครั้งนี้เป็นเงิน 441 ชั่ง 4 ตำลึง 3 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง ต่อมาปี พ.ศ. 2403 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาทอีก ทรงยกยอดพระมณฑปและทรงบรรจุพระบรมธาตุ และได้เสด็จนมัสการพระพุทธฉาย แล้วเสด็จประทับแรมที่เขาแก้ว (ปัจจุบันคือ วัดเขาแก้ว ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี) ทรงรับช้างเผือกที่ พระสุนทรราชวงศ์ เจ้าเมืองสีทา (ปัจจุบัน คือ หมู่ 8 ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย) และจัดให้เขาคอกเป็นที่ฝึกทหาร และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จพระราชดำเนินหลายครั้ง
ช่วงสมัยนี้มีการสงครามที่มีผลต่อเมืองสระบุรีด้วยคือ

- พ.ศ.2314พระเจ้าสุริยวงศ์แห่งนครหลวงพระบางมีเรื่องวิวาทกับพระเจ้าสิริบุญสารแห่งนครเวียงจันทน์พระเจ้าสุริยวงศ์ยกทัพไปล้อมนครเวียงจันทน์นานถึงสองเดือนพระเจ้าสิริบุญสารส่งสาสน์ไปยังพม่าที่นครเชียงใหม่ให้ยกทัพมาช่วยตีทัพนครหลวงพระบางพระเจ้าสุริยวงศ์ทรงทราบเรื่องจึงเจรจาขอเป็นไมตรีกับพม่าเหตุการณ์ครั้งนี้ชาวเวียงจันทน์เกรงว่าจะเกิดศึกใหญ่จึงพากันอพยพมายังเมืองนครราชสีมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯให้ชาวลาวเหล่านี้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองสระบุรีพาไพร่พลหนีมาเรื่อยๆพระเจ้าสิริบุญสารก็ตามมารบจนพระตาตายพระวอพาไพร่พลหนีมายังบ้านดอนมดแดงจังหวัดอุบลราชธานี
- พ.ศ.2319พระเจ้าสิริบุญสารให้พระยาสุโพยกทัพมาตีและฆ่าพระวอตายทหารของพระวอที่เหลือมีหนังสือขอความช่วยเหลือมายังเจ้าเมืองนครราชสีมาเจ้าเมืองนครราชสีมานำหนังสือกราบทูลมายังสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกริ้วว่าพระเจ้าสิริบุญสารมาฆ่าพระวอผู้มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินของพระองค์
- พ.ศ.2321ได้ทรงมอบให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์นำทัพไปตีนครเวียงจันทน์แลยึดนครเวียงจันทน์ได้ในคราวนั้นได้กวาดต้อนชาวเวียงจันทน์มาจำนวนมากรวมทั้งนำพระราชบุตรของพระเจ้าสิริบุญสารมาด้วยพร้อมกับอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาถึงเมืองสระบุรีเมื่อเดือน4ปีกุนเอกศกจุลศักราช1141 (พ.ศ.2322) โปรดฯให้ชาวเวียงจันทน์ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สระบุรีเรียกว่าลาวเวียงส่วนพระบรมวงศานุวงศ์ของลาวได้นำไปยังกรุงธนบุรีทรงชุบเลี้ยงเป็นอย่างดีสำหรับพระบางนั้นไทยได้คืนไปให้แก่ลาวเมื่อวันที่ 13 มีนาคมพ.ศ.2408
- พ.ศ.2347พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯให้กรมหลวงเทพหริรักษ์และพระยายมราชนำทัพไปขับไล่พม่าให้ออกจากเมืองเชียงแสนเมื่อได้ชัยชนะแล้วก็รวบรวมชาวเชียงแสนได้23,000ครอบครัวแบ่งออกเป็น5ส่วนส่วนหนึ่งให้ไปอยู่ที่เชียงใหม่ส่วนหนึ่งให้ไปอยู่ลำปางส่วนหนึ่งให้ไปอยู่น่านส่วนหนึ่งให้ไปอยู่เวียงจันทน์อีกส่วนหนึ่งถวายลงกรุงเทพฯโปรดฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่เมืองสระบุรีบ้างแบ่งไปอยู่ราชบุรีบ้าง

- พ.ศ.2368เจ้าอนุวงศ์ราชบุตรของพระเจ้าสิริบุญสารผู้เคยมาอยู่เมืองไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่1ต่อมากลับไปครองนครเวียงจันทน์ได้ลงมาร่วมงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยครั้งนั้นได้ทูลขอชาวลาวที่อยู่ในเมืองไทยกลับไปยังเวียงจันทน์แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงอนุญาตเมื่อเจ้าอนุวงศ์เสด็จกลับไปยังนครเวียงจันทน์แล้วเดือนยี่ปีจออัฐศกจุลศักราช1188 (พ.ศ.2369) ได้นำทัพลงมาลวงเจ้าเมืองตามหัวเมืองต่างๆว่าทางกรุงเทพฯสั่งให้นำทัพมาช่วยรบกับอังกฤษในพงศาวดารกล่าวว่าลวงเบิกเสบียงอาหารที่นครราชสีมาได้แล้วลงมาตั้งอยู่ณตำบลขอนขว้างใกล้กับเมืองสระบุรีให้ลงมาเกลี้ยกล่อมพระยาสระบุรีซึ่งเป็นลาวพุงดำและนายครัวลาวพุงขาวเข้าด้วยกวาดครอบครัวอพยพไทยจีนลาวซึ่งตั้งอยู่เมืองสระบุรีได้เป็นอันมากขณะนั้นทางกรุงเทพฯก็รู้ความเคลื่อนไหวของเจ้าอนุวงศ์คาดว่าเจ้าอนุวงศ์จะยกทัพไปถึงกรุงเทพฯจึงเตรียมรับมืออยู่ที่กรุงเทพฯ
-พ.ศ. 2370 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพพระยาราชสุภาวดีและเจ้าเมืองนครราชสีมานำทัพไปตีนครเวียงจันทน์เมื่อทัพไทยชนะเจ้าอนุวงศ์นำครอบครัวไปพึ่งญวนแต่ถูกจับกุมส่งมายังกรุงเทพฯต้องโทษถูกนำออกประจานจนถึงแก่พิราลัย

- พ.ศ.2371 ทัพไทยไปตีนครเวียงจันทน์อีกครั้ง คราวนี้ได้นำครอบครัวลาวเวียงจันทน์ ลาวพวน (เมืองเชียงขวาง) ลงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ลพบุรีบ้าง สระบุรีบ้าง สระบุรีจึงมีประชาการลาวมากขึ้น
สงครามทั้ง 4 ครั้งนี้ ทำให้เมืองสระบุรีมีผู้คนมาอยู่อาศัยมากขึ้น

นามเจ้าเมืองสระบุรีคนแรกไม่ปรากฏหลักฐานคงมีเพียงตำแหน่งบรรดาศักดิ์เจ้าเมืองสระบุรีซึ่งปรากฏเด่นชัดในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อพ.ศ. 2125 ทราบแต่ว่ามีบรรดาศักดิ์เป็น“ พระสระบุรี ” เท่านั้นโดยสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นคนไทยภาคกลางมีหน้าที่คุมรักษาฉางข้าวไว้ให้กองทัพหลวงครั้งยกไปตีเขมร ซึ่งคงจะเป็นเพราะให้ชาวเมืองสระบุรีสมัยนั้นทำไร่ทำนาเก็บเกี่ยวไว้สำหรับงานสงคราม

     จวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าเมืองสระบุรีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาสุราราชวงศ์ ” ซึ่งตามพงศาวดารว่าเป็นชนเผ่าลาวพุงดำซึ่งถูกเกณฑ์อพยพมาแต่ครั้ง เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) พาทัพไปตีนครเวียงจันท์ (สมัยกรุงธนบุรี ) แล้วมาตั้งรกราก ณ แขวงเมืองสระบุรี พ.ศ. 2324


ล่วงถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทางการมีการแต่งชื่อเจ้าเมืองใหม่ดังนี้

- เจ้าเมืองพระพุทธบาท (แก้วประศักดิ์เมืองปรันตปะ ) เดิมนามว่าขุนอนันตคีรีตั้งใหม่เป็นหลวงสัจจภัญฑคิรีศรีรัตนไพรวันเจติยาสันคามวาสีนพคูหาพนมโขลน

-  เจ้าเมืองสระบุรีเดิมนามว่าขุนสรบุรีปลัดตั้งใหม่เป็นพระสยามลาวบดีปลัดตำแหน่งเจ้าเมือง
 

ในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2435) มีการจัดรูปการปกครองใหม่เป็นเทศาภิบาลโดยจัดตั้งเป็นมณฑลเทศาภิบาลจังหวัดอำเภอตำบลหมู่บ้านลดหลั่นกันลงไปเมืองสระบุรีขึ้นอยู่กับมณฑลกรุงเก่ามีการส่งข้าราชการมาปกครองแทนการตั้งเจ้าเมืองสำหรับที่ตั้งเมืองสระบุรีครั้งแรกไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอนคงทราบแต่เพียงว่าตั้งอยู่ที่หัวจวนบริเวณบึงหนองโง้งใกล้วัดจันทบุรี   ตำบลศาลารีลาวปัจจุบันคือตำบลเมืองเก่าอำเภอเสาไห้    มีพระยาสระบุรี (เลี้ยง) เป็นเจ้าเมืองปีพ.ศ. 2433 พระยาสระบุรี (เลี้ยง) ถึงแก่กรรมจ่าเริงเป็น เจ้าเมืองแทนได้ย้ายศาลากลางเมืองสระบุรีไปอยู่ที่บ้านไผ่ล้อมน้อย  อ.เสาไห้ ( บ้านเรือนที่เจ้าเมืองสร้างอยู่อาศัยคือศาลากลางเมือง )

     จนถึงสมัยที่พระยาพิชัยรณรงค์สงครามเป็นเจ้าเมืองเห็นว่าตัวเมืองเดิมที่เสาไห้อยู่ห่างไกลจากทางรถไฟมาก (รัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้สร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นมาถึงเมืองสระบุรีเมื่อ พ.ศ.2439) ประกอบกับภูมิประเทศไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในสมัยนั้นยากแก่การขยายเมืองในอนาคตจึงได้สร้างศาลากลาง ขึ้นใหม่   ณ   บริเวณตำบลปากเพรียวการก่อสร้างเสร็จในสมัยเจ้าเมืองคนที่ 3 คือพระยาบุรีสราธิการ (เป้า   จารุเสถียร) ในปีพ.ศ. 2509 ก็ได้รื้อและสร้างศาลากลางหลังใหม่ขึ้นแทน 
 

ข้อมูลจาก https://www.saraburi.go.th/srb1/?open=เกี่ยวกับจังหวัดสระบุรี 



Create Date : 10 เมษายน 2561
Last Update : 10 เมษายน 2561 11:19:24 น.
Counter : 1000 Pageviews.

2 comments
  
สวัสดีจ้ะ เราแวะมาทักทายนะ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ Cover Paint สักไรผม 3D Eyebrow ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: สมาชิกหมายเลข 4468429 วันที่: 10 เมษายน 2561 เวลา:17:20:42 น.
  
มากด Like ให้เลยค่ะ
ได้ความรู้ของจ.สระบุรี
แบบเต็มๆ เลยค่ะป้า
โดย: อุ้มสี วันที่: 26 มิถุนายน 2561 เวลา:10:17:55 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ป้าทุยบ้านทุ่ง
Location :
สระบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



บ้านฉันอยู่กลางทุ่งนา มีปู่ มีย่า มีหมา มีควาย เอิงเงย
New Comments
เมษายน 2561

1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
  •  Bloggang.com