อาทิตย์สาดส่อง..ความจริงจักปรากฎทั่วปฐพี!!!
Group Blog
 
 
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
11 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 

การพัฒนา : สื่อทำหน้าที่พอหรือยัง ?

ในศตวรรษที่21 สื่อมวลชนมีฐานะทำหน้าที่หลักในการนำเสนอสองประเด็นใหญ่ๆ คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง แต่ประเด็นอยู่ทีว่าสื่อนั้นทำหน้าที่ได้ดีเพียงพอหรือยัง ต่อประเด็นคำถามนี้ บ้างก็ว่า สื่อทำหน้าที่ได้ดีแล้ว บ้างก็ว่ายังไม่ดีพอ ความเห็นเหล่านี้มาล้วนมาจากนักวิชาการ นักเขียน นักวิทยาศาสตร์ และจากตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอ เจ้าหน้าที่รัฐ และเจ้าหน้าที่ของยูเอ็น

ฟารา คาริมี ผู้อำนวยการออกเฟม (Farah Karimi, director of OxfamNovib) ตั้งคำถามที่ว่า " สื่อนำเสนอประเด็นเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจ เรื่องสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และเรื่องวิกฤติความมั่นคงทางอาหาร ? " เมื่อประเด็นเรื่องสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง คือประเด็นที่สร้างความกังวลให้กับคนทั้งโลก

ดร. โมเฮน มูนาซิง,ผู้อำนวยการสถาบันการบริโภคที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ (Dr Mohan Munasinghe, director-general of the Sustainable Consumption Institute at the University of Manchester in the UK) ได้ตั้งคำถามที่ว่า" แต่ทำไมสื่อไม่ช่วยเราให้มีกำลังในการวางแผนจัดการกับสิ่งเหล่านี้ในระดับโลก ?"

ประเด็นการสนทนาภายใต้หัวข้อ ยุทธศาสตร์ในการปกป้องรักษาและเพิ่มการสนับสนุนพื้นฐานในเรื่องของการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก:บทบาทฐานะของสื่อ จัดโดย ออกเฟม นอวิบ คณะกรรมการนานาชาติฮอลแลนด์ของการร่วมมือนานาชาติและการพัฒนาที่ยั่งยืน และเอเย่นสื่อนานาชาติ

มูนาซิง (Munasinghe), ซึ่งเป็นผู้นำหลักของการพูดคุยในเรื่องของสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงกล่าวว่า ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องจริงที่ทุกคนบนโลกต้องยอมรับตอนนี้ก่อนที่มันจะสาย

เขากล่าวว่า ในดาเฟอ (Darfur) ผู้คนต้องตายเป็นจำนวนมากมาย เนื่องจากการขัดแย้งทางการเมือง สภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้น้ำแย่ลง และการขาดแคลนที่ดินเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการเสื่อมของดินจึงส่งผลให้มีการทำการเกษตรน้อยลง และยิ่งทำให้ทรัพยากรเหล่านี้น้อยลงในหมู่คนยากจน

ในอีกมุมหนึ่งของโลก เขากล่าวว่า ผู้คนบนหมู่เกาะแปซิฟิกและมัลดีฟทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย จะเป็นพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียงแค่หนึ่งเซนติเมตร

ประเด็นเหล่านี้สื่อมักจะไม่ได้นำเสนอ ซาบีน่า กล่าวว่า เมื่อสื่อมวลชนรายงานเรื่องสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงก็จะพูดถึงแต่เรื่องของหมีพอล่า แทนที่จะนำเสนอเรื่องราวของชีวิตคนบนประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องสูญเสียและได้รับผลกระทบจากภาวะแห้งแล้ง น้ำท่วมอย่างรุนแรง และสภาพอากาศที่เยือกเย็นโดยฉับพลัน

" สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อการเกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหารอย่างใหญ่หลวง และจะส่งผลร้ายแรงเพิ่มขึ้น เมื่อน้ำเริ่มขาดแคลน และเขตภูมิอากาศถูกเปลี่ยน และสัตว์และพืชบางประเภทหายไป ประเทศที่ร่ำรวยและองค์กรอย่างเวิร์ลแบงก์เลิกทำร้ายและจะต้องเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาเริ่มปรับสภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่นี้”

การประชุมยังได้พูดถึงเรื่องราวเหล่านี้ที่เกี่ยวข้องกับสื่อ โดยเฉพาะสื่อหลักๆ ในประเทศตะวันตกที่ยังคงเชื่อว่า สภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องราวที่หน้าสนใจในการนำเสนอ แต่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองน่าสนใจมากกว่า

ลิเน็ต ทอสเท็นเซ็น ผู้อำนวยการสื่อสารสถาบันธุรกิจโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ( Lynette Thorstensen, communications director at the World Business Council for Sustainable Development) กล่าวว่า ใครก็ตามที่พุดเรื่องเหล่านี้กับสื่อจะต้องบอกเล่าเรื่องราวด้วยความเชี่ยวชาญ เธอยังบอกอีกว่า หลายคนที่ทำงานด้านสื่อได้พยายามที่จะนำเสนอเกี่ยวกับคนเป็นล้านๆ คนที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำและผลกระทบจากน้ำที่ไม่สะอาดในประเทศกำลังพัฒนา

เธอกล่าวว่า หนังสือพิมพ์บางฉบับต่างเห็นว่า เรื่องสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจ น่าเบื่อ และเป็นเรื่องเทคนิค แต่ก็ปล่อยให้แต่ละคนได้พลิกแพลงเรื่องราวเหล่านี้ให้น่าสนใจมากขึ้นและนำเสนอเรื่องเกี่ยวข้องกับมนุษย์ให้มากขึ้นะภูมาบางฉบับเห็นว่าเรื่องของสภาวะภูมาทบจากการขาดแคลนน้ำและผลกระทบจากน้ำที่ไม่สะอาดในประเทศกำลังพัฒนาากาศเปลี่ย

ศาสตราจารย์ ซีส์ ฮามิลิงค์ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอัมสเตอดัม (Prof. Cees Hamelink, scientist at Amsterdam University) กล่าวว่า แต่ต้องเป็นเนื้อหาเรื่องราวครอบจักรวาล ผู้คนโดยทั่วไปมีข้อมูลมากพอ โดยเฉพาะเรื่องของผลกระทบ แต่ก็ไม่มีใครทำอะไรสักอย่างบนฐานความรู้ที่ตัวเองมี

นอกเหนือจากข้อมูลแล้ว สิ่งที่จำเป็นก็คือ การสื่อสารและการพร้อมที่จะรับฟัง มีรายการมากมายที่มักจะพูดมาก แต่ที่จะต้องมีมากขึ้นก็คือรายการเกี่ยวกับการรับฟัง

มาริโอ ลูเบ็ตกิน ผู้อำนวยการไอพีเอส (Mario Lubetkin, Director-General of IPS) ชี้ว่า มันไม่มีคำตอบเดียวและบทบาทเดียวของสื่อต่อประเด็นเรื่องสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง มันเป็นเรื่องของกระบวนการ คำถามก็คือ ทำอย่างไรที่ทำให้กระบวนการนี้มีทางออก

มาริโอ กล่าวว่า การรายงานในเรื่องของสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในวันนี้ยังดีกว่าเมื่อห้าหรือสิบปีที่แล้ว

สื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือกได้นำเสนอเรื่องราวสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงมากขึ้น และผู้คนเป็นล้านๆ คนก็สามารถอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนได้เช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็มีการทำงานร่วมกันของเอ็นจีโอและสำนักข่าว ซึ่งต่างจากเมื่อห้าปีที่แล้ว ที่เขาไม่เคยได้ยินการทำงานร่วมกันแบบนี้มาก่อนเลย
//www.ips.org/ / IPS - Inter Press Service News Agency

เรื่อง: เบเฮอร์ คาเมล แปล: จันเพ็ญ รุยันต์




 

Create Date : 11 มีนาคม 2552
0 comments
Last Update : 11 มีนาคม 2552 1:03:04 น.
Counter : 883 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สุริยาอัสดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เปิดโลกด้วยแสงแห่งปัญญา
Thaiflood
Friends' blogs
[Add สุริยาอัสดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.