Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
24 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 
iPhone 4s ถ้าไม่ใช่สิริ...แล้วจะเป็นอะไร - 1001=

เป็นอย่างไรกันบ้าง มีใครได้ลองเล่นสิริ (Siri) ในไอโฟน 4S แล้วบ้างครับ







หลังจากที่เพลิดเพลินกับการสั่งถูกบ้างผิดบ้างในสิริมาแล้ว คุณเคยลองนั่งคิดไหมครับว่า ต่อไปเราจะมีวิธีสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ ในรูปแบบอื่น ๆ อีกหรือไม่

หลังจากการแจ้งเกิดอย่างเป็นทาง การของสิริในไอโอเอสและวอยซ์แอ็กชันส์ (Voice Actions) ในแอนดรอยด์ ซึ่งถือเป็นไฮไลต์สำคัญในปี ค.ศ. 2011 ที่กำลังจะผ่านไปนี้ ในปีหน้า คุณคิดว่าอะไรเกิดขึ้นอีกบ้างครับ?

นับเป็นแนวปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลา 6 ปีแล้ว ที่ในช่วงปลายปี บริษัท ไอบีเอ็ม จะนำเสนอนวัตกรรมที่น่าจะเกิด ขึ้นบนโลกนี้ 5 อย่างในอีก 5 ปีข้างหน้า และในปีนี้ก็เช่นกัน ที่ไอบีเอ็มเสนอแนวคิดที่จะเกิดขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้าไว้ 5 ข้อ และหนึ่งในนั้น จะเป็นการใช้ความคิดเพื่อบังคับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือในศัพท์ที่ทางไอบีเอ็มใช้ คือ การอ่านใจ (Mind Reading)ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในส่วนต่อประสานระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์

ในทางการวิจัยทางด้านส่วนต่อประสานระหว่างสมองกับเครื่องนั้นมีมานานแล้ว งานวิจัยชิ้นแรก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การนำคลื่นอีอีจีมาประมวลผลเพื่อสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามรูปแบบที่วางไว้ เกิดขึ้นประมาณทศวรรษที่ 70 ซึ่ง ในยุคนั้น การจะวัดคลื่นสมองได้ จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนมาก




แต่ด้วยการ พัฒนาของเทคโนโลยีการผลิต ทำให้ทุกวันนี้ เรามีชิพที่สามารถวัดคลื่นสมองด้วยเซลล์แบบแห้ง และมีราคาถูกลงมาก ที่สำคัญ คือชิพเหล่านี้มีผู้นำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ออกมาหลายชิ้นทีเดียว บางชิ้นสามารถนำมาผนวกใช้ร่วมกับชุดพัฒนาหรือ SDK แล้วสร้างเป็นแอพพลิเคชั่นบนวินโดว์ส แมคโอเอส ไอโฟน แอนดรอยด์ และบอร์ดแอนดรูโน (Andruino) ได้อีกด้วย ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ได้แก่ ไมนด์เวฟ (MindWave) และไมนด์เซต (MindSet) จากบริษัทนิวโรสกาย (NeuroSky) ราคาอยู่ที่ 99 และ 199 เหรียญตามลำดับ นอกจากนี้ยังมี เอ็กซ์เวฟโซนิก (XWave Sonic) และเอ็กซ์เวฟบลูทูธ (XWave Bluetooth) ในประมาณ 90 เหรียญ จากบริษัท พีแอลเอ็กซ์ ซึ่งมีชุดพัฒนาให้เช่นเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ ทั้งสี่อันนี้จะมีเซ็นเซอร์ตัวเดียว สามารถ วัดคลื่นสมองจากบริเวณหน้าผาก โดยผลลัพธ์จากการวัด ได้ค่าแอมปลิจูดเป็นตัวเลขจำนวนเต็มออกมา ผู้พัฒนาสามารถนำไปต่อยอดเข้ากับอุปกรณ์อื่น ๆ อีกมากมาย

หากนักเรียน นิสิต นักศึกษากลุ่มใดสนใจจะลองพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เหล่านี้ สามารถหาอ่านได้จาก //developer.neurosky.com

“ขอให้สนุกกับของเล่นแห่งอนาคตชิ้นใหม่กันนะครับ”.

สุกรี สินธุภิญโญ
sukree@chula.ac.th
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คณะวิษวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



Create Date : 24 ธันวาคม 2554
Last Update : 24 ธันวาคม 2554 22:12:21 น. 0 comments
Counter : 589 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Wanlay_kukkuk
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Friends' blogs
[Add Wanlay_kukkuk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.