Group Blog
 
 
มิถุนายน 2554
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
15 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
จันทรุปราคาครั้งสำคัญในอดีต

เนื่องในโอกาศเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงคืนนี้ ผมจึงขอนำเรื่องราวของจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งสำคัญในอดีตมาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ หลังจากที่เคยนำเรื่องสุริยุปราคาครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลกมาให้ได้ชมกันไปแล้ว อาจจะมีเรื่องราวน้อยกว่าสุริยุปราคา เพราะเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อย แต่ก็พอจะมีอยู่บ้าง ดังต่อไปนี้




27 สิงหาคม พ.ศ. 130 เป็นช่วงเกิดสงครามกลางเมือง กองทัพทหารชาวเอเธนส์นำโดย นิเซียส พร้อมที่จะเคลื่อนย้ายกำลังออกจากเมืองซีราคูสที่ยึดไว้ได้ แต่เกิดจันทรุปราคาขึ้น เหล่าทหารขวัญเสียหวาดกลัว จึงไม่สู้เต็มใจออกเดินทาง นิเซียสตัดสินใจเลื่อนการเดินทางออกไปอีก 27 วัน เป็นวันเพ็ญครั้งต่อไป การเดินทางที่ล่าช้าทำให้ต้องพ่ายแพ้แก่ชาวซีราคูสคู่ศัตรู กองทัพทหารถูกจับกุมและนิเซียสถูกฆ่าในที่สุด (ทำไมเค้าไม่เลือกเดินทางในวันถัดไปนะ พระจันทร์ก็สว่างเกือบเหมือนกัน)

แต่จากการตรวจสอบ วันที่ถูกต้องเป็น 9 กันยายน 130






คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
นักเดินเรือชาวสเปนผู้ค้นพบทวีปอเมริกา เดินทางไปยังทวีปอเมริกาเป็นครั้งที่ 4 แต่เรืออัปปางลงต้องหยุดพักขึ้นฝั่งที่เกาะจาไมกา ระยะแรกโคลัมบัสและลูกเรือยังได้รับอาหารจากชาวพื้นเมืองอยู่บ้าง โดยการแลกเปลี่ยนกับของเล่นและของประดับผู้หญิง แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานหลายเดือน เมื่อต้องผจญกับภาวะขาดแคลนอาหาร ชาวเกาะจาไมกาปฏิเสธไม่ยอมให้อาหาร โคลัมบัสจึงเริ่มคิดหาทางออก
เขารู้จากตารางเดินเรือว่า จะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงขึ้นในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2047 เขาจึงนัดพบชาวพื้นเมืองในตอนค่ำเพื่อให้พอดีกับการเริ่มเกิดจันทรุปราคา และประกาศว่าพระเจ้าไม่พอใจที่ชาวเกาะจาไมกากระทำต่อตนและลูกเรือ จึงจะแสดงอิทธิฤทธิ์จับดวงจันทร์ไปเสีย ตารางเวลาของโคลัมบัสใช้ได้แม่นยำ เพราะไม่ช้าดวงจันทร์ก็เคลื่อนหายเข้าไปในเขตเงามืดของโลก
ชาวพื้นเมืองต่างหวาดวิตกเมื่อเห็นดวงจันทร์ค่อยๆเลือนหายไป พร่ำขอร้องให้โคลัมบัสนำดวงจันทร์คืนมาอย่างเดิม และจะจัดหาอาหารและสรรพสิ่งที่ต้องการมาให้ โคลัมบัสขอเวลาปรึกษากับพระเจ้าเพื่อถ่วงเวลาระหว่างเกิดคราสนานนับชั่วโมง จนใกล้เวลาที่จันทรุปราคาเต็มดวงจะสิ้นสุด โคลัมบัสซึ่งรู้ดีว่าดวงจันทร์จะกลับมาอยู่ในสภาพเดิม จึงประกาศว่าพระเจ้ายกโทษให้ชาวเกาะจาไมกาแล้ว และจะคืนดวงจันทร์กลับมาอย่างเดิม ชาวพื้นเมืองต่างพากันดีใจยกย่องชื่นชมโคลัมบัส และนำอาหารมาให้มากมาย โคลัมบัสและลูกเรือจึงรอดชีวิตกลับคืนสู่ยุโรปโดยปลอดภัย



จากการตรวจสอบ พบว่าเมื่อตอนพระจันทร์โผล่ขึ้นมา ก็ถูกคราสมืดจับไปบางส่วนแล้ว



จันทรุปราคาในครั้งนั้น ยังเห็นไกลถึงกรุงศรีอยุธยาด้วย ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พระเชษฐา) แต่ในขณะที่คราสจับเพียงบางส่วนอยู่ พระจันทร์ก็ตกดินไปเสียก่อนที่คราสจะกินหมดดวง



แต่ก็แปลกนะ ชาวเกาะจาไมก้าจะไม่รู้เลยเหรอ ว่านั่นคือจันทรุปราคา
ก็คงเหมือนปรากฏการณ์ฟ้าร้องฟ้าผ่าหรือพระอาทิตย์ทรงกลดนั่นหละครับ ซึ่งสามารถโยงมาหาเรื่องอำนาจวิเศษได้เหมือนกัน เช่น พอมีพิธีปลุกเสกสิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไรแล้วเกิดพระอาทิตย์ทรงกลดขึ้น ก็พากันตื่นตาตื่นใจ ได้เปลืองเนื้อที่หนังสือพิมพ์อีก - -! หรือถ้ามีโปรเฟสเซอร์ทางด้านอุตุนิยม สามารถมาบันดาลให้เกิดพายุได้ ชี้พายุให้หยุดได้ ก็คงได้รับการบูชาไม่น้อย - -!




ส่วนในประวัติศาสตร์ไทยหรือประวัติศาสตร์สยาม ก็พอจะมีจันทรุปราคาเต็มดวงที่ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เช่นกัน

พ.ศ. ๒๒๒๘ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฝรั่งเศสได้ส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยา โดยมีบาทหลวงเจซูอิตจำนวน ๖ ท่านเดินทางร่วมมาด้วย โดยคณะบาทหลวงดังกล่าวเป็นนักวิชาการที่มีความรู้ด้านภูมิศาสตร์ และดาราศาสตร์ ในช่วงเวลาที่อยู่ในราชอาณาจักรสยาม คณะบาทหลวงเจซูอิตได้สังเกตการณ์และบันทึกจันทรุปราคาไว้ถึง ๒ ครั้ง ซึ่งครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 11 ธันวาคม 2228 เป็นชนิดเต็มดวง และครั้งที่สองวันที่ 30 พฤศจิกายน 2229 เป็นชนิดบางส่วน
แต่ประวัติการทอดพระเนตรจันทรุปราคาของสมเด็จพระนารายณ์ คือตอนเช้ามืดในวันที่ 11 ธันวาคม 2228 เท่านั้น โดยทรงทอดพระเนตร ณ พระที่นั่งเย็น เมืองลพบุรี เหตุที่ใช้พระที่นั่งเย็นเป็นที่ศึกษาจันทรุปราคามีบันทึกของชาวฝรั่งเศสว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมมองท้องฟ้าได้ทุกด้าน มีพื้นที่กว้างพอในการติดตั้งเครื่องมือ มีหลักฐานภาพวาดการศึกษาจันทรุปราคาที่วาดโดยชาวฝรั่งเศสแสดงภาพสมเด็จพระนารายณ์ทรงสวมลอมพอก ทรงกล้องยาวบนขาตั้งทอดพระเนตรดวงจันทร์จากสีหบัญชร และตรงเฉลียงหน้าสีหบัญชรด้านหนึ่งมีขุนนางหมอบกราบ อีกด้านหนึ่งมีนักดาราศาสตร์กำลังสังเกตการณ์โดยใช้กล้องส่องดาว กล่าวได้ว่าการศึกษาดาราศาสตร์เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ณ พระที่นั่งเย็นเมืองลพบุรีนี่เอง

ภาพนี้สมาคมดาราศาสตร์ไทยได้นำไปเป็นโลโก้ของสมาคมฯ



จากการตรวจสอบ พบว่าจันทรุปราคาในครั้งนั้น กำลังจะตกดินเมื่อคราสเริ่มคลาย



บาทหลวงเจซูฮิตกล่าวว่า
“ชาวสยามมีความรู้เกี่ยวกับอุปราคาพอควร โดยสามารถคำนวณเวลาเกิดจันทรุปราคาได้อย่างคร่าว ๆ แต่ที่เกี่ยวกับการคำนวณเวลาเกิดสุริยุปราคานั้น ชาวสยามไม่มีความรู้เรื่องนี้แม้แต่น้อย”
ซึ่งนั่นเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๔) ทรงศึกษาดาราศาสตร์จนพยากรณ์การเกิดสุริยุปราคาได้ด้วยพระองค์เอง




นอกนั้นจะเป็นประวัติศาสตร์ที่อาจไม่สำคัญนัก ข้อมูลจาก Blog เรื่องเชิญชมปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ตลอดสมัย ร.๔


1 กรกฎาคม 2395 สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี (ปฐมบรมราชอัครมเหสีในล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔) ทอดพระเนตรจันทรุปราคาเต็มดวงแล้ว ทรงหายประชวรไปได้ราว 40 วัน แต่สุดท้ายก็เสด็จสวรรค์คตในที่สุด


17 กุมภาพันธ์ 2402 ตรงกับวันมาฆบูชา โดยพระจันทร์โผล่ขึ้นมาก็ถูกคราสจับเต็มดวงแล้ว มีบันทึกในราชกิจจานุเบกษาว่า
“ในวันเกิดจันทรุปราคานั้น แต่ก่อนราษฏรบางคนที่มีปืนคาบสิลาก็ออกมายิงเล่นในเวลาที่เห็นอุปราคา ถ้าใครจะเล่นดังนั้นก็ไม่ห้ามดอก แต่ให้มาบอกนายอำเภอให้ทราบแห่งไว้ แต่อย่าไปเที่ยวยิงให้ผิดที่ผิดทางไป”
วันพฤหัสเดือนสามขึ้นสิบห้าค่ำ ปีมะเมียสัมฤทธิ์ศก


13 สิงหาคม 2402 ร.๔ ทรงทอดพระเนตรจันทรุปราคาเต็มดวงที่หัวเมืองนครศรีธรรมราช โดยขณะนั้นทรงเสด็จไปนมัสการพระมหาธาตุเจดีย์ ครั้งนั้นนับเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่ยาวนานที่สุดในรัชสมัย (จากทั้งหมด 4 ครั้ง) คือมืดนานประมาณ 1 ชั่วโมง 44 นาที จุดกึ่งกลางเงาโลกแทบจะผ่านจุดกึ่งกลางดวงจันทร์เลย แต่ไม่มีปรากฎหลักฐานว่าทรงทราบล่วงหน้ามาก่อนหรือไม่




15 พฤศจิกายน 2434 ร.๕ ทรงกริ้วโหรว่า “เกิดจันทรุปราคาแล้วหาเชิญเสด็จสู่ที่สรงไม่”
จึงไม่ทรงพระราชทานรางวัล ได้รับพระราชทานแต่เงินแจกตามเคย เพราะตามพระราชประเพณีของไทยที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณนั้น เมื่อเกิดจันทรุปราคา พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จเข้าที่สรงเป็นประจำ และเป็นหน้าที่ของโหรที่จะต้องกราบทูลให้ทรงทราบทุกครั้ง

จากการตรวจสอบ พบว่าเหตุการณ์ข้ามมาเป็นเช้ามืดวันที่ 16 พฤศจิกายน 2434 ความจริงแล้วเป็นจันทรุปราคาชนิดเต็มดวง แต่ว่าพระจันทร์ได้ตกดินไปก่อนที่คราสจะจับหมด
แต่อย่างน้อยก็ทำให้เราได้ทราบว่า แม้จันทรุปราคาบางส่วน พระเจ้าแผ่นดินก็จะเสด็จเข้าที่สรงเหมือนกัน และยังทำให้ทราบว่าทรงตื่นบรรทมแต่เช้ามืดก่อนพวกโหร






!!!อุปราคากับภัยพิบัติ!!!

ความเชื่อเรื่องอุปราคากับภัยพิบัติก็มีมานานแล้วเช่นกัน เช่นเมื่อครั้งสงครามระหว่างชาวเมืองเอเธนส์กับชาวเมืองซีราคูส ครั้งนั้นมีบันทึกในประวัติศาสตร์ชาติกรีกกล่าวไว้ด้วยว่า เมื่อเกิดสงครามและเกิดอุปราคาขึ้นครั้งนั้น ก็มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในเดือนเดียวกันด้วย ชาวบาบิโลเนียเชื่อว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวซึ่งไม่อาจทำนายล่วงหน้าได้นั้น เกิดจากอิทธิพลของดวงดาว จึงพยายามจับเหตุการณ์อุปราคากับแผ่นดินไหวเข้าด้วยกัน

ในทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์หาความสัมพันธ์ระหว่างแผ่นดินไหวกับอุปราคาได้ หากเกิดตรงกันก็ถือเป็นเรื่องบังเอิญ ซึ่งก็มีเกิดขึ้นบ้างเหมือนกัน เช่น เมื่อเกิดแผ่นดินไหวในอิหร่านเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2521 กลืนชีวิตผู้คนไปมากกว่า 25,000 คน นับเป็นภัยพิบัติหนักที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศอิหร่าน



เหตุการณ์เกิดขึ้นเพียง 3 ชั่วโมงครึ่ง ก่อนหน้าจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง เห็นได้ที่นั่น และเห็นได้ที่ประเทศไทยเช่นกัน






จันทรุปราคาเต็มดวงเห็นได้ที่กรุงเทพฯ ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา
4 มีนาคม 2550, 5 พฤษภาคม 2547, 10 มกราคม 2544, 16 กรกฎาคม 2543 (เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่ยาวนานที่สุดในรอบ 140 ปี แต่ถูกเมฆบังทั่วประเทศ), 17 กันยายน 2540, 4 มิถุนายน 2536, 10 ธันวาคม 2535 (เกิดวันรัฐธรรมนูญครั้งแรกนับตั้งแต่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ), 10 กุมภาพันธ์ 2533, 20 กุมภาพันธ์ 2532, 18 ตุลาคม 2529, 24 เมษายน 2529 (อีก 2 วันต่อมาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลก็ระเบิด), 29 ตุลาคม 2528, 5 พฤษภาคม 2528, 30 ธันวาคม 2525, 10 มกราคม 2525


จันทรุปราคาเต็มดวงที่จะเห็นได้ที่กรุงเทพฯ อีก 10 ปีข้างหน้า (ขี้เกียจดูไปไกล)
10 ธันวาคม 2554, 8 ตุลาคม 2557, 4 เมษายน 2558 (อันนี้ไม่เต็มดวง แต่อีกนิดดดดเดียวจะเต็มดวง), 31 มกราคม 2561, 28 กรกฎาคม 2561



และอย่าลืมนะครับ ชมจันทรุปราคาอย่างสร้างสรรค์ อย่ายิงปืนไล่ราหูนะครับ





Create Date : 15 มิถุนายน 2554
Last Update : 29 สิงหาคม 2554 13:42:01 น. 2 comments
Counter : 7324 Pageviews.

 
เชื่อโบราณไว้บ้างก็ดี


โดย: ฐิตาภรณ์ IP: 202.80.238.74 วันที่: 11 ธันวาคม 2554 เวลา:19:37:37 น.  

 
สนุกจัง


โดย: baipai IP: 110.168.182.131 วันที่: 21 สิงหาคม 2555 เวลา:20:08:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมภพ เจ้าเก่า
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 26 คน [?]




รูปภาพทั้งหมดในนี้ สามารถนำไปใช้ได้ฟรีนะครับ แต่ไม่ควรลบสัญลักษณ์แสดงความเป็นเจ้าของในรูปออกไป รูปใดไม่มีสัญลักษณ์ อยากให้ช่วยอ้างอิง จาก sompop.bloggang.com ด้วยครับ
Blog ล่าสุด
* สัมภาษณ์เทวดาในพระแก้วมรกต 18 มิ.ย. 60
* การสำรวจหินลอยได้ที่เขาคิชฌกูฏ 3 มี.ค. 60
* บทสัมภาษณ์เจ้าพ่อหลักเมือง กทม. 16 ธ.ค. 59
เรื่องเล่าบอกต่อ
* บั้งไฟพญานาค ถ่ายจากโดรนมุมสูง
* เชิญโหลด 7 ภาพยนต์เฉลิมพระเกียรติ
* เช็คอันดับ Blog ของคุณกับ truehits
Blog แนะนำ
* บทสัมภาษณ์เจ้าพ่อหลักเมืองกรุงเทพฯ 19 ก.ย. 57
* ยานพาหนะที่แล่นตามและทวนน้ำได้โดยไม่ใช้พลังงานอื่น
* ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ปี 2012
New Comments
Friends' blogs
[Add สมภพ เจ้าเก่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.