No more sailin' … So long sailin' … Bye, bye sailin'... Move on out, Captain...
 
มกราคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
4 มกราคม 2554

บทที่ 9 การคัดเลือกแอร์-สจ๊วต


ผมขอสรุปสั้นๆ ในหัวข้อนี้แล้วกันนะครับ เนื่องจากท่านที่สนใจสามารถ หาข้อมูลได้จากสื่อต่างๆ ในปัจจุบัน
และมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียด ตามสถานการณ์อยู่เสมอ

คุณสมบัติพื้นฐาน แอร์-สจ๊วต (เอเชีย)

อายุ 20-26 ปี
ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 156 เซนติเมตร บางสายการบินอาจต้องการให้คุณถอดรองเท้า แล้วเขย่งเท้าได้สุดเอื้อมแขน ปลายนิ้วจะต้องสัมผัสความสูงได้ตามที่เขากำหนด และมักจะเข้าใจกันว่า เป็นความสูงของที่เก็บสัมภาระเหนือศีรษะในเครื่องบิน หรือความสูงที่สามารถเอื้อมถึงอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร ???

การศึกษา จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีใจรักงานบริการเป็นคุณสมบัติพื้นฐาน
ภาษาอังกฤษ อยู่ในเกณฑ์ดี
สายการบินบางแห่ง…ไม่เอาคะแนน TOEIC และหากมีความสามารถท้องถิ่นก็จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
สุขภาพร่างกายแข็งแรง
สายตาสั้นได้ แต่ห้ามสวมใส่แว่นตา ทำเลสิก ได้

กระบวนการคัดเลือก

1. Pre-Screening

ก็จะดูบุคลิกทั่วไป สำหรับเหล็กดัดฟัน ลูกเรือบางสายการบินจะใส่เหล็กดัดฟันไม่ได้ ยกเว้นดัดจากข้างในได้ ที่ยิ้มแล้วจะไม่เห็นเหล็กดัดฟัน
นอกจากดัดฟันไม่ได้แล้ว... มีเขี้ยวก็ดูไม่ดี..อันนี้คือเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร คือพนักงานต้อนรับต้องฟันเรียงสวย ฟันไม่เก ฟันไม่ห่าง ไม่มีเขี้ยว (ข้อกำหนดเฉพาะสายการบินบางแห่งเท่านั้น)


2. การทดสอบภาษาอังกฤษ

Group Discussion หรือ สัมภาษณ์กลุ่ม คือ ให้หัวข้อมาแล้วก็ให้เราไปคุยกันกับเพื่อนในกลุ่ม กรรมการจะเป็นผู้สังเกตการณ์ หรือเป็น Observer เพื่อคัดผู้สมัครที่กรรมการมีความเห็นว่าไม่เหมาะสมออก
เมื่อผ่าน Group Discussion แล้ว ต้องทำ English Test ทดสอบเรื่อง Vocabulary Grammar รวมทั้ง Writing การเขียนเรียงความ 200 words

3. ทดสอบบุคลิกภาพ (Personality Test)

4. สัมภาษณ์รายบุคคล (Final Interview)

5. ตรวจร่างกาย (Medical Check up)



แอร์-สจ๊วต (ยุโรป)

ก่อนอื่น ผมว่าเรามารู้จักกับวัฒนธรรมองค์กร หรือ Organization Culture ของทางสายการบินชาวตะวันตก กันก่อน ดีกว่า ฝรั่งชาติตะวันตกจะมีมุมมอง หรือทัศนคติต่อการให้บริการบนเครื่องบิน...แตกต่างออกไปจากชาวเอเชีย

สายการบินในแถบเอเชีย ส่วนมากจะเน้นการให้บริการอย่างดีเลิศเป็นด่านแรก เพราะเหมือนกับเป็นหน้าตาที่ต้องสร้างความประทับใจให้ได้ตั้งแต่แรกเห็น ดังนั้นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจะต้องบริการให้ดีที่สุด

แต่ทางสายการบินของฝรั่ง มีนโยบายหลักคือ Safety เป็นอันดับแรก ดังนั้นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยในทุกกรณี ทางสายการบินจะมุ่งเน้นเป็นลำดับแรก ด้วยเหตุนี้ลูกเรือสายการบินฝรั่งมักจะไม่สนใจที่จะช่วยผู้โดยสารจัดเก็บสัมภาระ ไม่ช่วยยกกระเป๋า เพราะเขาถูกฝึกอบรมกันมาว่าต้องดูแลตนเองให้ดีก่อน เพราะว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินในเที่ยวบิน แล้วลูกเรือเกิดการบาดเจ็บโดยบังเอิญ เช่น หลังยอก หรือกล้ามเนื้ออักเสบขึ้นมาในระหว่างที่ช่วยผู้โดยสารยกของหนัก จนไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมปฎิบัติงาน ก็ไม่สามารถจะช่วยผู้โดยสารคนอื่น ๆ ได้

เพราะฉะนั้น ถ้าผู้โดยสารสามารถลากประเป๋าขึ้นมาบนเครื่องได้ ลากกระเป๋าเดินในสนามบินได้ ก็น่าจะสามารถยกกระเป๋าเก็บเองได้ด้วย (คิดแบบฝรั่ง ก็มีเหตุผลนะครับ)


คุณสมบัติของ แอร์-สจ๊วต (ยุโรป)


ท่านที่สนใจสามารถ หาข้อมูลได้จากสื่อต่างๆ ในปัจจุบัน และมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียด ตามสถานการณ์อยู่เสมอ

คุณสมบัติทั่ว ๆ ไป ของพนักงานต้อนรับของสายการบินตะวันตก ก็จะต่างกันนิด ๆ หน่อย ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับของสายการบินชาติอื่น ๆ อย่างเช่น ส่วนสูงของสายการบินฝรั่งขั้นต่ำ 163 เซนติเมตร ทั้งหญิงและชาย ต้องว่ายน้ำ 50 เมตร ไป-กลับได้โดยไม่หยุด นอกจากนั้น ต้องลอยตัวในน้ำได้ นานอย่างน้อย 3 นาที
ต้องสามารถยกของที่มีน้ำหนัก 28 กิโลกรัม เดินไปได้ 3 ก้าว ได้อย่างสบายๆ

ความหมายของมันก็คือ เวลาคุณไปเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน คุณต้องมีกำลังแขนที่แข็งแรงพอที่จะทำงานบางอย่างได้ เช่น... หากคุณต้องบินกับเครื่องบินที่มีประตูฉุกเฉินเป็นระบบถอดยก แล้วทิ้งออกไปข้างนอก คุณจะต้องมีความสามารถที่จะยกประตูฉุกเฉินบานนี้ได้ ประตูบานนี้นี้มีน้ำหนักราว 28 กิโลกรัม

การทดสอบด่านนี้ก็เพื่อยืนยันว่า คุณสามารถที่จะยก และโยนมันออกไปนอกเครื่องบินในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินได้ นั่นเองครับ ...


ขั้นตอนการคัดเลือก

กระบวนการคัดเลือก ก็ใกล้เคียงกับของสายการบินในเอเชีย

TOEIC 550 คะแนน

1. walk in เพื่อเข้าไปรับแบบฟอร์มใบสมัคร
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ยกของหนัก 28 กิโลกรัม ทำทุกอย่างในวันแรก


2.การสัมภาษณ์ Group Discussion 1

เป็นการทำ Group Discussion ประมาณ 40 คน 2 รอบ ถามเรื่องทั่ว ๆ ไปว่า รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับประเทศเจ้าของสายการบินบ้าง รู้เรื่องราวเกี่ยวกับสายการบินอะไรบ้าง ใครรู้ก็ยกมือตอบ แต่อย่าลืมว่า เราต้องฟังคนอื่นบ้าง ไม่ใช่ยกมืออยู่คนเดียว แล้วก็ไม่ฟังคนอื่นๆ เลยนะครับ แต่ก็ไม่ใช่ว่าถ้าเราไม่ได้ยกมือ หรือไม่มีโอกาสถูกถามเลยเราจะสอบไม่ผ่าน อันนี้ก็ไม่ใช่เหมือนกัน ครับ


ดังนั้น ขอแนะนำว่า จงแสดงออกถึงความตั้งใจ ฟังความคิดเห็นของคนอื่น ฟังว่าทุกคนที่ได้รับโอกาสให้เลือกขึ้นมาตอบ เขาตอบว่าอะไร แล้วเรารู้เรื่องไหม แสดงความตั้งใจ ไม่ใช่ว่าคุยกันเองคนสองสามคน อย่าลืมเรื่อง team work นะครับเพราะว่ากรรมการจะมองเห็นทุกคน เพราะฉะนั้นเวลาไปสัมภาษณ์ Group Discussion แล้วนั่งข้างหลัง อย่าคิดว่ากรรมการจะมองไม่เห็น ฉะนั้น เป็นตัวของตัวเอง แต่ก็ฟังความคิดเห็นของคนอื่นด้วย ครับ


3.การสัมภาษณ์ Group Discussion 2

จากนั้นก็จะคัดตัดลงมาเป็น Group Discussion กลุ่มเล็กมีหัวข้อให้ Discuss กัน
ตัวอย่าง สมมุติมีผู้โดยสารต้องมารอต่อเครื่อง 5-6 ชั่วโมง เราจะพาเขาไปที่ไหนบ้าง เหมือนกับว่าให้คุยกันเองในกลุ่มว่าเราจะวางแผนเป็นขั้นตอนอย่างไร ก่อนจะนำไป Present ให้กับกลุ่มใหญ่ฟัง
ซึ่งมีกรณีตัวอย่าง Group Discussion ที่เขาก็แสดงความคิดเห็นกัน คนนู้นก็บอกว่าไปเที่ยวที่นั่นดีกว่า ที่นี่ดีกว่า คนนี้ก็บอกว่าไปวัดพระแก้วแล้วกลับมาชอบปิ้งย่านประตูน้ำหรือราชประสงค์ ดีกว่า พอตอนที่สรุปกัน กลุ่มเห็นว่ามีเวลาไม่มากนัก เผื่อเวลาเดินทางไปกลับด้วย ก็สรุปกันว่าไปกันแค่วัดพระแก้ว เพียงแห่งเดียว

แล้วก็มีคนหนึ่งพูดออกมาว่า ไปแค่นี้เหรอ ??? แบบแสดงอาการหงุดหงิดเข้าใส่นิดหน่อย คุณคิดว่ากรรมการที่มองดูอยู่จะให้คนนี้ผ่านเข้ารอบต่อไปหรือไม่ละครับ การแสดงความคิดเห็นเราต้องแสดงให้เขาเห็นว่า เราให้เกียรติผู้อื่นด้วย

หากเปลี่ยนใหม่เป็นว่า ไปแค่นี้เองเหรอ... เอ๊ะ... เราคิดว่าไปทำอย่างนั้นอย่างนี้ด้วยจะดีไหม..พร้อมแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม มันก็จะฟังดูดีกว่า... เพราะฉะนั้นก็พึงระวัง นะครับ


4.การสอบ Writhing

เป็นการสอบเขียน Essay ประมาณ 10 บรรทัด จากหัวข้อที่กำหนดให้

5.การสอบสัมภาษณ์

จากนั้นก็จะเป็นการ Interview มี Translation เป็นการให้แปลข่าวภาษาอังกฤษเป็นไทย แปลข่าวภาษาไทยเป็นอังกฤษ

6.การทดสอบทางจิตวิทยา

เมื่อผ่านจากการทดสอบทั้งหมดแล้ว ขั้นต่อมาก็จะเป็นการทดสอบทางจิตวิทยา เพื่อดูว่าบุคลิกภาพของแต่ละคนเหมาะสมที่จะมาทำอาชีพนี้ มากน้อยแค่ไหน



Create Date : 04 มกราคม 2554
Last Update : 4 มกราคม 2554 10:27:22 น. 0 comments
Counter : 615 Pageviews.  

ชนาวิน
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




"หากฉันบินๆไปได้ดั่งนก ฉันจะบินๆไปในนภา...."
MySpace Comments
Comments For MySpace Counter Stats

MySpace Comments
New Comments
[Add ชนาวิน's blog to your web]

MY VIP Friend