งาสาร ฤาห่อนเหี้ยน หดคืน คำกล่าว สาธุชนยืน อย่างนั้น
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2558
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
9 สิงหาคม 2558
 
All Blogs
 
อาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย

                   ในกลางพุทธศตวรรษที่๑๗ นั้น อาณาจักรขอมหรือเขมรโบราณได้มีอำนาจครอบครองดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไว้ได้ทั้งหมดและมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลวรัฐ ต่อมา ในปลายรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ อำนาจของอาณาจักรขอมได้เริ่มอ่อนแอลงคนเชื้อสายชาวสยามหรือคนไทย ภายใต้การนำของพ่อขุนศรีนาวนำถมจึงได้คิดหาทางก่อตั้งรัฐอิสระ ไม่ขึ้นต่ออำนาจการปกครองของพวกขอมที่เมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย

                  พ่อขุนศรีนาวนำถมมีโอรสองค์หนึ่งคือพ่อขุนผาเมือง ต่อมาได้อภิเษกกับ นางสิขรเทวี ธิดาของกษัตริย์ขอม จึงมีฐานะเป็นราชบุตรเขยกษัตริย์ขอมได้รับพระราชทานนามจากกษัตริย์ขอมว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์”พร้อมกับพระขรรค์ชัยศรี ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ ขุนนางขอมชื่อ“สบาดโขลญลำพง”ได้ เข้ายึดกรุงสุโขทัย

                 ต่อมาราว พ.ศ. ๑๗๘๓ พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด(โอรสพ่อขุนศรีนาวนำถม)ได้ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวหรือพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง(เข้าใจว่าคืออำเภอนครไทยอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก) รวบรวมกำลังทำการขับไล่ขอม สบาดโขลญลำพง ขุนนางขอมออกจากกรุงสุโขทัยได้สำเร็จแล้วได้ทำการสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของอาณาจักรของชาวสยาม เนื่องจากพ่อขุนผาเมืองนั้นมีฐานะเป็นพระราชบุตรเขยของกษัตริย์ขอมดังนั้นพ่อขุนผาเมืองจึงได้นำนาม”ขุนศรีอินทรบดินทราทิตย์”และพระขรรค์ชัยศรีมอบให้พ่อขุนบางกลางหาวสำหรับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ในนาม“พ่อขุนศรีอินทราทิตย์”(เพื่อให้ขอมเข้าใจว่าพระราชบุตรเขยของขอมได้ครองเมืองนี้อยู่)

                  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้ทรงปกครองอาณาจักรสุโขทัยเป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์พระร่วงโดยมีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด ด้วยความเป็นพระสหายของพ่อขุนทั้งสองและเครือญาติสนิททางการสมรส คือพระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั้นมีเชื้อพระวงศ์เป็นพระขนิษฐาของพ่อขุนผาเมืองมีพระนามว่า นางเสืองซึ่งต่อมาได้มีโอรสเสวยราชสมบัติปกครองอาณาจักรสุโขทัยให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาถึง2 พระองค์ คือ พ่อขุนบานเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

                     ราชวงศ์พระร่วงปกครองอาณาจักรสุโขทัยโดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกและมีพระมหากษัตริย์สืบต่อมารวม ๙ พระองค์ ตลอดเวลาเกือบ ๒๐๐ ปี ดังนี้.

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ.ศ.๑๗๙๒ – ไม่ปรากฏ)

พ่อขุนบานเมือง ( พ.ศ.ไม่ปรากฏ – พ.ศ.๑๘๒๒)

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ.๑๘๒๒ – ๑๘๔๑)

พระยาเลอไทย (พ.ศ. ๑๘๔๑ – ไม่ปรากฏ )

พระยางั่วนำถม (พ.ศ.ไม่ปรากฏ – พ.ศ.๑๘๙๐)

พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) (พ.ศ.๑๘๙๐ –พ.ศ.๑๙๑๑)

พระมหาธรรมราชาที่ ๒ (พ.ศ.๑๙๑๑ – พ.ศ.๑๙๔๒

พระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสยลือไท) (พ.ศ.๑๙๔๒ –พ.ศ.๑๙๖๒)

พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) (พ.ศ.๑๙๖๒ – พ.ศ.๑๙๘๑)

                 เริ่มต้นอาณาจักรในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั้น มีอาณาเขตไม่กว้างขวางนักมีเมืองสุโขทัยกับเมืองศรีสัชนาลัย (เมืองสวรรคโลกเก่า) เป็นราชธานีทั้งสองเมืองนอกจากนี้ก็มีหัวเมืองขึ้นทางริมลำน้ำปิง ยม น่าน เพียงไม่กี่เมือง

                เมื่ออาณาจักรสุโขทัยได้รับการสถาปนาขึ้นมาเป็นอิสระจากขอมได้นั้นเจ้าเมืองต่างๆ ในดินแดนใกล้เคียงกับสุโขทัยยอมรับในความสามารถของผู้นำสุโขทัยจึงอ่อนน้อมโดยสันติรวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัย แต่เจ้าเมืองบางเมืองคิดว่าตนมีอำนาจเข้มแข็งพอจึ่งมิได้อ่อนน้อมต่อกรุงสุโขทัย และก่อสงครามขึ้นเพื่อแข่งขันการมีอำนาจในบรรดาเจ้าเมืองประเภทหลังนี้ ปรากฏว่าขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด(เมืองฉอดปัจจุบันเป็นเมืองร้าง อยู่ที่ด่านแม่สอดทางทิศตะวันตกของจังหวัดตาก) ได้ยกทัพมาตีเมืองตากอันเป็นเมืองในอาณาเขตของสุโขทัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงยกทัพไปปราบ เกิดสงครามครั้งสำคัญขึ้นในการรบครั้งนี้พระราชโอรสองค์เล็ก ซึ่งมีชันษา ๑๙ปีได้เข้าชนช้างกับขุนสามชนจนได้รับชัยชนะ ทำให้กองทัพเมืองฉอดแตกพ่ายไปพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงประทานนามพระราชโอรสว่า พระรามคำแหง เพื่อเป็นการบำเหน็จศึกครั้งนี้ทำให้เกียรติยศชื่อเสียงของพระโอรสแผ่ไปทั่ว

นับแต่นั้นมาพระรามคำแหงได้เป็นกำลังสำคัญของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ในการทำศึกสงครามสร้างกำลังรบให้สุโขทัยเข้มแข็งพอที่จะป้องกันตนและปราบศัตรูได้ราบคาบ เป็นผลดีแก่อาณาจักรคือ มีความมั่นคง และมีอำนาจทางการเมืองเหนืออาณาจักรอื่นๆและเป็นรากฐานให้ชาติบ้านมีความเจริญก้าวหน้าสืบต่อมา

                 ขุนบาลเมืองหรือพ่อขุนปาลราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขึ้นครองในปีใดไม่ปรากฏ ประมาณว่า พ.ศ. ๑๘๐๐ สวรรคตปีพ.ศ. ๑๘๒๐ – ๑๘๒๒

                 ขุนรามคำแหง โอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์หรืออนุชาของพ่อขุนบาลเมืองขึ้นครองราชประมาณก่อนพ.ศ. ๑๘๒๐ (บางแห่งว่า พ.ศ. ๑๘๒๒)รัชกาลพ่อขุนรามคำแหงกรุงสุโขทัยมีการเปลี่ยนแปลงและเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าไปจากเดิมมากเป็นต้นว่ามีการปกครองเข้มแข็ง ใกล้ชิดราษฎรไพร่ฟ้าประชาชนมีความอยู่ดีกินดีมีการนำชลประทานมาใช้ทางการเกษตร ทำให้ได้ผลดีขึ้น การอุตสาหกรรมมีความก้าวหน้ามีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ การเศรษฐกิจ และการเมืองมั่งคงทำให้มีอำนาจทางการเมืองแผ่ไปกว้างใหญ่ไพศาล จนได้รับการเทิดพระเกียรติด้วยพระนามว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในภายหลัง

มีอาณาเขตแผ่ออกไปกว้างขวางมาก มีเมืองสำคัญคือ เมืองสุโขทัยกับเมืองชเลียง(ศรีสัชนาลัย) ดินแดนทิศเหนือถึงเมืองแพร่ อำเภอปัว จังหวัดน่าน(เมืองพลัว) ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงหลวงพระบาง(ชะวา) ดินแดนด้านทิศใต้ถึงคณที( บ้านโคนอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ) พระบาง( นครสวรรค์) แพรก( อำเภอสรรคบุรีจังหวัดชัยนาท) สุพรรณภูมิ(สุพรรณบุรี) ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช(นครศรีธรรมราช)จรดฝั่งทะเลดินแดนด้านทิศตะวันออก ถึงสรวลวง(พิจิตร) สองแคว( พิษณุโลก) ลุมบาจาย(อำเภอหล่มเก่าในเพชรบูรณ์) เวียงจันทน์ เวียงคำ ถึงฝั่งแม่น้ำโขง ดินแดนด้านทิศตะวันตกถึงฉอด(อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก) หงสาวดี จด สมุทรห้าเป็นแดน(อ่าวเบงกอล)

ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ทำให้ไทยมีตัวหนังสือประจำชาติ มีความเจริญรุ่งเรืองทางวรรณกรรม ก่อให้เกิดวรรณคดีล้ำค่าสืบมา

ทรงเป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภกทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบต่อจากรัชกาลก่อนโดยนิมนตร์พระภิกษุที่เคร่งครัดในทางพระวินัยและพระปรมัตถ์จากเมืองนครศรีธรรมราชมาเป็นผู้สั่งสอนเพื่อให้พระพุทธศาสนาเป็นแบบเดียวกัน คือ แบบเถรวาท หรือ หินยาน พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทหรือหินยานได้เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

                    พระยาเลอไท พระราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชครองราชย์ประมาณ ๔๐ ปี พระยาเลยไททรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาทรงศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน มุ่งปฎิบัติจนแตกฉาน มุ่งปฏิบัติธรรม บำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองการศึกษาพระธรรมและภาษาบาลีได้เริ่มขึ้นและเจริญก้าวหน้าในรัชกาลนี้

                   พระยางั่วนำถม พระอนุชาของพระยาเลอไทยเมื่อราชาภิเษกแล้วได้ทรงแต่งพระยาลิไท(พระราชโอรสของพระยาเลอไท)ไปปกครองเมืองศรีสัชนาลัย อันเป็นเมืองที่ถือว่ารัชทายาทแห่งราชบัลลังค์จะพึงครองก่อนเป็นพระมหากษัตริย์ในรัชกาลนี้ได้มีการปราบปรามเมืองต่างๆ ที่แข็งเมืองมาตั้งแต่รัชกาลพระยาเลอไทแต่ไม่สำเร็จทั้งยังไม่สามารถแก้ไขความเสื่อมโทรม และความแตกแยกภายในได้ ตอนปลายรัชกาลจึงเกิดจลาจลขึ้นพระยาลิไทองค์รัชทายาทจึงยกกำลังจากเมืองศรีสัชนาลัยเข้าเมืองสุโขทัยเพื่อปราบจลาจล

                    พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท)พระราชโอรสของพระยาเลอไท(รัชกาลที่ ๔) หลังจากปราบการจลาจลในกรุงสุโขทัยได้สำเร็จ และขึ้นครองราชย์แล้วทรงพิจารณาเห็นว่าเกิดความแตกแยกและขาดความไว้วางใจกันในอาณาจักร จึงทรงริเริ่มรวบรวมกำลังอำนาจสร้างความสามัคคีเพื่อพัฒนาบ้านเมืองใหม่ ทำให้สุโขทัยเข้มแข็งขึ้น

ในพ.ศ. ๑๘๙๓ เมืองสุพรรณภูมิและเมืองละโว้ (ลพบุรี) ได้รวมกันตั้งอาณาจักรอโยธยาขึ้นมีพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์ประกาศเป็นอาณาจักรอิสระไม่ขึ้นต่อสุโขทัย และเมืองลาวก็ได้ขยายอาณาเขตเข้ามาจดแดนของอาณาจักรสุโขทัย ทรงตระหนักในภัยที่อาจเกิดขั้นได้จึงได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ผนึกกำลังรักษาบ้านเมืองไว้ได้อย่างปลอดภัยนอกจากนี้พระองค์พยายามฟื้นฟูอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นที่ยอมรับของอาณาจักรใกล้เคียงด้วยการสร้างกำลังกองทัพทำศึกสงครามมยกทัพไปตีเมืองแพร่ และปราบหัวเมืองต่างๆอาณาเขตของสุโขทัยในสมัยของพระองค์ลดลงจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงมากกว่าครี่ง ทรงศรัทธาพระพุทธศาสนามากพระองค์ทรงผนวชอยู่หนึ่งพรรษา โดยทรงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชชาวลังกาซึ่งจำพรรษาอยู่ที่เมืองนครพัน (ปัจจุบันคือ เมทืองเมาะตะมะ หรือมะตะบัน)มาเป็นพระอุปัชฌาย์ในการผนวชของพระองค์พระองค์ทรงบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมีการสร้างพระพุทธบาทโดยจำลองรอยพระพุทธบาทมาจากประเทศลังกาสร้างสถูปเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่เมืองนครชุม และสร้างศาสนสถานอื่นๆ เป็นการชักชวนให้ประชาชนจากเมืองต่างๆมานมัสการสถานศักดิ์สิทธิ์ที่พระองค์สร้างขึ้น ช่วยให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาและง่ายแก่การเผยแผ่ปฏิบัติธรรมะ ส่งผลให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ ทรงนิพนธ์หนังสือ เตภูมิกถา (เตภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง) หนังสือเล่มนี้ จัดเป็นวรรณคดีล้ำค่าที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันพระองค์ทรงนิพนธ์เพื่อนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาเผยแผ่เพื่อประพฤติปฏิบัติเป็นการปลูกฝังธรรมะให้ประชาชนรู้จักประพฤติในทางที่ชอบและดีงามมีการนำสวรรค์และนรกมาแสดงเป็นรูปธรรมเพื่อให้ประชาชนเห้นผลของการประพฤติดีประพฤติชั่ว ปรากฏว่ามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนมาก

                    พระมหาธรรมราชาที่ ๒พระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่1 (ลิไท) เหตุการณ์สำคัญในรัชกาลนี้ คือกรุงสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา ใน พ.ศ. ๑๙๒๑ ขณะที่พระมหาธรรมราชาที่๒ ขึ้นครองราชย์นั้น พระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) แห่งอาณาจักรอยุธยามีพระราชประสงค์จะรวมชนชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นเป็นปึกแผ่นเป็นอาณาจักรเดียวกันจึงยกทัพรุกรานอาณาจักรสุโขทัยหลายครั้ง ครั้งสำคัญ คือ ใน พ.ศ. ๑๙๒๑ได้ยกไปตีเมืองชากังราวพระมหาธรรมราชาที่ ๒ ทรงเห็นว่าจะสู้รบต่อไปไม่ได้จึงยอมอ่อนน้อมต่ออยุธยา พระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)จึงโปรดให้ครองสุโขทัยต่อไปในฐานะเมืองประเทศราช จนกระทั่งถึง พ.ศ. ๑๙๓๑สุโขทัยจึงประกาศตนเป็นอิสระจากอยุธยา

                    พระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสยลือไท)พระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่๒ ในรัชสมัยนี้พระองค์ได้ทำสัญญากับเจ้าเมืองน่าน ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อถูกอาณาจักรอื่นรุกรานสุโขทัยจึงมีความสงบในระยะเวลาหนึ่ง พระองค์ทรงมีพระราชโอรส๒ พระองค์ คือ พระยาบาลเมือง กับ พระยารามแต่มิได้ทรงแต่งตั้งให้พระองค์ใดเป็นรัชทายาท ดังนั้นเมื่อเสด็จสวรรคตพระยาบาลเมือง กับพระยาราม จึงชิงราชสมบัติกันเป็นโอกาสให้สมเด็จพระอินทราชาแห่งอาณาจักรอยุธยา เสด็จมาระงับการจลาจล และไกล่เกลี่ยการแย่งชิงราชสมบัติครั้งนี้ทรงอภิเษกให้พระยาบาลเมืองครองเมือง และพระอินทรราชาทรงขอพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่๓ อภิเษกสมรสกับเจ้าสามพระยาพระราชโอรสของพระองค์นับเป็นครั้งแรกที่ราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยกับราชวงศ์สุพรรณภูมิแห่งกรุงศรีอยุธยามีความเกี่ยงดองเป็นเครือญาติกัน

                  พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) พระยาบาลเมืองได้รับการอภิเษกให้ครองกรุงสุโขทัย(ในฐานะประเทศราชของอยุธยา) ทรงพระนามว่า พระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชานับว่าพระองค์ได้ทรงเป็นพระมหาธรรมราชาที่ ๔ ต่อจากพระราชบิดา (พระมหาธรรมราชาที่ ๓) เมื่อพระองค์สวรรคตใน พ.ศ. ๑๙๘๑สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงส่งพระราเมศวร(พระราชโอรสซึ่งประสูติจากพระอัครชายาที่เป็นพระธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ ๓) ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกซี่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย ทำให้อาณาจักรสุโขทัยรวมกับอาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรเดียวกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและนับเป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัย

-- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 




Create Date : 09 สิงหาคม 2558
Last Update : 9 สิงหาคม 2558 13:25:37 น. 0 comments
Counter : 1634 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sathit 1
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add sathit 1's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.