แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
<<
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
24 มิถุนายน 2550
 
 
"สาส์นจากนายกแพทยสภา"การมีส่วนรวมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย"

จาก จดหมายข่าวแพทยสภา
ปีที่ 14 ฉบับที่ 4 เดือนเมษายน พ.ศ.2550

//www.tmc.or.th



"การมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย"

ในประเทศอเมริกา เมื่อปีที่แล้วมีความเห็นว่าคนที่ไม่ดูแลสุขภาพตนเอง เช่น สูบบุหรี่ ติดเหล้า อ้วนมาก ไม่ออกกำลังกาย มีพฤติกรรมเสี่ยง จะต้องเสียค่าประกันสุขภาพแพงกว่าคนธรรมดา เมื่อไปรักษาพยาบาลต้องร่วมจ่ายมากกว่าคนทั่วไป ถ้าอยากเสียปรกติก็ต้องละเลิกพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

องค์การอนามัยโลกจะไม่รับคนสูบบุหรี่เข้าทำงาน ตัวอย่างหน้าที่ และ ความรับผิดชอบของผู้ป่วยนี้ อาจจะใช้กับคนไทยไม่ได้ทั้งหมด แพทยสภาจะร่วมกับสภาวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นๆ รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพ กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค และ ภาคประชาชน มาร่วมพิจารณาและทำประชาพิจารณ์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุด



ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา

ในพ.ศ.2540 แพทยสภาร่วมกับสภาวิชาชีพอื่นและกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเรื่องสิทธิผู้ป่วย แต่ไม่ได้กล่าวถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ป่วย

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เขามักจะประกาศสิทธิและหน้าที่(Patients rights and responsibilities)ไปด้วยกัน หลายประเทศมีความเห็นว่าผู้ป่วยจะต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองด้วย

ในประเทศไทยเราให้การรักษาผู้ป่วยโดยไม่คิดมูลค่า นับว่าเป็นการดีเพราะทุกคนได้รับการรักษาเมื่อเจ็บป่วย โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีเงินจ่าย ผลกระทบในด้านลบก็มีมากเช่นกัน ผู้ป่วยไม่เห็นคุณค่าของการรักษาและการบริการ ผู้ป่วยเอายาไปทิ้งหรือใช้อย่างไม่ประหยัดเพราะเป็นของที่ได้มาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ป่วยมักเรียกร้องเอาของที่แพงที่สุดที่ตนไม่ต้องจ่าย ถ้าผู้ป่วยต้องร่วมจ่ายด้วยเขาจะประหยัดขึ้นทันที

ถ้าไม่มีการแก้ไข ในอนาคตการแพทย์ของรัฐจะต้องล้มละลาย ไม่มีเงินไปพัฒนาด้านอื่น ประเทศจะพัฒนาถอยหลังขณะที่เพื่อนบ้านพัฒนาไปข้างหน้า เราประกาศสิทธิของผู้ป่วยแล้วลองมาพิจารณาดูหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ป่วยบ้างเพื่อที่จะทำให้การรักษาได้ผลดีที่สุด

การมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยมีดังนี้

1.ผู้ป่วยต้องให้ข้อมูลการเจ็บป่วยในปัจจุบัน ในอดีต และ ประวัติที่เกี่ยวข้องตามความเป็นจริง ถ้าผู้ป่วยให้ข้อมูลเท็จ แพทย์อาจให้การวินิจฉัยผิด กว่าร้อยละ 80 ของการวินิจฉัยโรคได้จากการซักประวัติ และ การตรวจร่างกายอย่างละเอียด การตรวจทางห้องปฏิบัติการอาจเพิ่มการวินิจฉัยอีกประมาณร้อยละ15
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่ ใช้ในการยืนยันการวินิจฉัยจากการซักประวัติตรวจร่างกาย
อีกประมาณร้อยละ 5 ที่แพทย์เองก็ไม่ทราบว่าเป็นอะไร ถ้าผู้ป่วยไม่บอกความจริง เช่น
มีเพศสัมพันธ์แล้วบอกว่าไม่เคยมี แต่มาด้วยปวดท้องข้างขวา แพทย์อาจเข้าใจผิดว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ ปรากฏว่าไม่กี่ชั่วโมงต่อมาผู้ป่วยช็อก ผ่าเข้าไปพบว่าปีกมดลูกแตกจากท้องนอกมดลูก
ผู้ป่วยบางรายมาด้วยไข้สูง ช็อก ตัวเหลือง ผู้ป่วยปฏิเสธประวัติเพศสัมพันธ์ แพทย์หาสาเหตุการติดเชื้อไม่ได้ ในที่สุดเลยไม่เชื่อผู้ป่วย ทำการตรวจภายในพบว่า ผู้ป่วยไปทำแท้งมาแบบผิดกฏหมาย มีการติดเชื้อในมดลูก ช่วยเหลือไม่ท้น ผู้ป่วยถึงแก่กรรม เป็นต้น
ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยา ถ้าไม่บอกแพทย์ แพทย์จะไม่มี ทางทราบได้

2.ผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์ในการตอบประวัติ และ ยินยอมให้ตรวจร่างกาย เพื่อให้ได้คำวินิจฉัย และ ถามคำถามที่ตนเองไม่เข้าใจ หรือ มีข้อสงสัยในเรื่องการหาคำวินิจฉัย สงสัยเรื่องยาที่ใช้ หรือ สิ่งที่แพทย์ปฏิบัติ จะต้องถามบุคลากรทางการแพทย์ให้เข้าใจจนปฏิบัติได้ถูกต้อง

3.ถ้าผู้ป่วยมีความผิดปรกติเกิดขึ้นหลังจากได้รับการรักษา เช่น มีผื่นขึ้น เวียนศีรษะคลื่นไส้อาเจียน ผู้ป่วยจะต้องรีบแจ้งให้แพทย์ พยาบาล หรือ บุคลากรทางการแพทย์ทราบทันที ไม่ใช่รอให้แพทย์มาตรวจพบเอง

4.ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ถ้าปฏิบัติไม่ได้จะต้องแจ้งให้ทราบ ถ้าไม่เข้าใจต้องถาม (สาเหตุที่ผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามแพทย์สั่งอาจเกิดจากการติดต่อสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยไม่ดี ผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียงจากยาเลยไม่ยอมรับประทานยา หรือ คำแนะนำของแพทย์อาจไม่เหมาะสมเนื่องจากปฏิบัติไม่ได้ หรือ ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป)

5.ผู้ป่วยควรนำรายชื่อยาหรือยาที่รับประทานอยู่แจ้งให้แพทย์ทราบ รวมทั้งยาของแพทย์ทางเลือก การให้ยาหลายชนิดอาจเกิดปฏิกริยาระหว่างยา มีบางครั้งผู้ป่วยเกิดภาวะไตวายทั้งๆ ที่ยาและโรคที่ผู้ป่วยเป็นไม่เกี่ยวกับไต ปรากฏภายหลังว่าผู้ป่วยกินยาสมุนไพรที่เป็นพิษต่อไต โดยไม่บอกให้แพทย์ทราบ ผู้ป่วยอาจรับประทานยาลดความดันโลหิตสูง หรือ ยารักษาหัวใจอยู่ การวัดความดันโลหิต และ จังหวะการเต้นของหัวใจ จะปรกติเพราะยาควบคุมไว้ได้ดี เมื่อมาหาแพทย์อีกโรงพยาบาลหนึ่งด้วยเรื่องโรคปอดบวม แพทย์อาจจะรับไว้รักษาในโรงพยาบาลโดยให้ยาปฏิชีวนะ แต่ไม่ได้ให้ยาลดความดันโลหิตสูง หรือ ยาโรคหัวใจถ้าผู้ป่วยไม่บอก ทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจกำเริบเป็นอันตราย ต่อ ผู้ป่วยเอง

6.ผู้ป่วยต้องไม่รับประทานยานอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ไม่ทำในสิ่งที่แพทย์ห้าม ถ้าผู้ป่วยใช้การรักษาอื่นร่วมด้วย เช่น กินสมุนไพร ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย

7.ผู้ป่วยจะต้องแจ้งชื่อ ที่อยู่ และ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อของผู้แทนโดยชอบธรรมให้โรงพยาบาลทราบเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน หรือ ผู้ป่วยตัดสินใจเองไม่ได้

8.ผู้ป่วยควรให้ความเคารพต่อบุคลากรทางการแพทย์และสถานที่ ผู้ป่วยและผู้มาเยี่ยมต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของสถานพยาบาล เช่น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ทำเสียงรบกวนผู้อื่น ไม่ทำลายทรัพสินของโรงพยาบาล

9.ผู้ป่วยต้องมาตามแพทย์นัด ถ้ามาไม่ได้หรือจะไม่มาหรือขอเลื่อนนัดจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ แพทย์จะได้พิจารณาว่าจะมีอันตรายต่อผู้ป่วยหรือไม่ และบันทึกในเวชระเบียน

10.ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่โรงพยาบาลยกเว้นมีบุคคลที่สามรับผิดชอบแทน เช่น รัฐบาล สำนักงานหลักประกันสุขภาพ สำนักงานประกันสังคม หรือ บริษัทประกัน เป็นต้น

11.ผู้ป่วยจะต้องแจ้งสิทธิในการรักษาพยาบาลให้กับโรงพยาบาลทราบตามความเป็นจริง

12.ผู้ป่วยควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่ตนเป็นและยาที่ตนรับประทาน เช่น เป็นโรคเบาหวาน ควรทราบสาเหตุ กลไกในการเกิดโรค ยาที่ใช้ การดูแลตนเอง และ การป้องกันโรคแทรกซ้อน เป็นต้น
ถ้าได้รับการผ่าตัดควรจดและจำไว้ว่าผ่าตัดอะไร เป็นโรคอะไร มีบ่อยครั้งที่แพทย์บอกให้แล้วอีกสามเดือนต่อมาผู้ป่วยบอกว่าลืมไปแล้ว ไม่สนใจจำ ยกให้เป็นหน้าที่ของแพทย์ทั้งหมด
ถ้าผู้ป่วยแพ้ยาจะต้องถามแพทย์ว่าแพ้ยาอะไรแล้วจดไว้ และ จะต้องบอกแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งที่รับยา มีบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยบอกว่าเคยแพ้ยาแต่ไม่รู้ว่าแพ้ยาอะไร บางคนจำไม่ได้แม้แต่ว่ามีอาการแพ้อย่างไร

13.ผู้ป่วยควรไปห้องฉุกเฉินเฉพาะเมื่อเป็นโรคที่ฉุกเฉินจริง ไม่ใช่ไปห้องฉุกเฉินตอนเวลาติสองเพราะน้ำมูกไหลมาแล้วสองสัปดาห์ ผู้ป่วยไม่ควรเรียกร้องการตรวจการขอยาโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ แต่ขอไปเพียงเพราะตนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

14.ทรัพยากรของประเทศมีจำกัด ผู้ป่วยควรมีส่วนร่วมในการดูแลและป้องกันโรคของตน การเจ็บป่วยเล็กน้อยไม่มีความจำเป็นต้องพบแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้มีเวลาที่จะตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือ จำเป็นจริงๆ
ยามีคุณค่า และ ราคาแพง แม้ผู้ป่วยไม่ต้องจ่าย ไม่ควรเอายาไปทิ้ง ถ้ายังมียาเหลืออยู่ควรบอกให้แพทย์ทราบ

15.ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคติดต่อ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หรือ พยาบาลทราบ เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้ติดต่อไปยังผู้อื่น

ความจริงต้องยอมรับว่าคนไทยมีเสรีภาพที่จะกระทำต่อตนเองได้ เช่น ไม่รับประทานยาที่แพทย์สั่ง ไม่ปฏิบัติตามแพทย์สั่ง เช่น ไม่ยอมเลิกสูบบุหรี่ แพทย์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับผู้ป่วย แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตาม เขาจะต้องรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดตามมา จะมาโทษบุคลากรทางการแพทย์ไม่ได้

ในประเทศอเมริกา เมื่อปีที่แล้วมีความเห็นว่าคนที่ไม่ดูแลสุขภาพตนเอง เช่น สูบบุหรี่ ติดเหล้า อ้วนมาก ไม่ออกกำลังกาย มีพฤติกรรมเสี่ยง จะต้องเสียค่าประกันสุขภาพแพงกว่าคนธรรมดา เมื่อไปรักษาพยาบาลต้องร่วมจ่ายมากกว่าคนทั่วไป ถ้าอยากเสียปรกติก็ต้องละเลิกพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

องค์การอนามัยโลกจะไม่รับคนสูบบุหรี่เข้าทำงาน ตัวอย่างหน้าที่ และ ความรับผิดชอบของผู้ป่วยนี้ อาจจะใช้กับคนไทยไม่ได้ทั้งหมด แพทยสภาจะร่วมกับสภาวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นๆ รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพ กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค และ ภาคประชาชน มาร่วมพิจารณาและทำประชาพิจารณ์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุด




Create Date : 24 มิถุนายน 2550
Last Update : 24 มิถุนายน 2550 12:17:36 น. 0 comments
Counter : 1744 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samrotri
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน
ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ร.พ.พนมสารคาม และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โทรฯ 0896112714
[Add samrotri's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com