มิง-กะ-ลา-บา ลุยเที่ยวใน 8 วัน สัมผัสสถาปัตยกรรมและศรัทธา ประเทศ “พม่า” อย่างเต็มอิ่ม ภาค 1
สวัสดีครับ

    ทริปของผมเกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว ด้วยระยะเวลาในการเตรียมตัวที่สั้นมาก
หลังจาก กระทรวงต่างประเทศของไทยและพม่า ได้ลงนามร่วมกัน ให้คนไทย
สามารถเดินทางเข้าประเทศพม่าระยะเวลาไม่เกิน 14 วัน
ผ่านสนามบินนานาชาติ  3 แห่ง คือ กรุงเนปิดอว์ ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ โดยไม่ต้องขอวีซ่า

ก่อนเดินทาง ก็มีกังวลบ้าง ทั้งเรื่องเส้นทางการสัญจร เรื่องความปลอดภัย
แต่หลังจากกลับจากทริปนี้ ความคิดของผมเปลี่ยนไปสิ้นเชิง
ได้รู้ว่า การไปเที่ยวพม่า นั้นเดินทางไม่ยาก สะดวกพอสมควร

เมืองที่ผมเดินทางไปแต่ละจุด เป็นเมืองที่เดินทางง่าย
และมีความปลอดภัยในระดับดีทีเดียว

และต้องแนะนำให้คนที่ กำลังลังเล และ
นึกไม่ออกว่า พม่ามีอะไร ???
ต้องรีบไปเยือน ตั้งแต่ตอนนี้ ก่อนที่อะไรหลาย ๆ อย่างที่เป็นสิ่งดั้งเดิม
จะเปลี่ยนไป ตาม ผู้คนหน้าใหม่ ที่จะเข้าไปผลักดันให้ วิธีเดิมนั้นเปลี่ยนแปลงไป




ทริปนี้ ใช้ Nikon D7000 เป็นอุปกรณ์คู่ใจ
ใช้ gopro ในการเก็บภาพเคลื่อนไหว ระหว่างการเดินทางครับ



ทริปนี้ผมใช้เวลาในการเดินทางทั้งหมด 8 วัน
8 วันของการเดินทางทริปนี้ ผมกำหนดพิกัด การเดินทางไว้ทั้งหมดสี่ จุด
โดยวาง เส้นทางการเดินทาง จาก เหนือล่องมาทางใต้
ตามรูปในแผนที Google Map นี่คือ จุดที่ผม
วางพิกัดการเดินทางไว้


- Mandalay - Bagan -Inle  Lake  -Yangon-



เพื่อให้เรื่องเล่าในการเดินทางครั้งนี้ ไม่ยาวเกินไป
และอยากให้ทุกคนได้ ติดตามอ่าน แล้วปักหมุดเที่ยว
ไปพร้อม ๆกับผมในแต่ละจุด เหมือนเราได้เดินทาง
ไปพร้อม ๆกัน

ให้ความรู้สึกเหมือน กำลังเดินทางเปลี่ยนจาก เมืองหนึ่ง
ไปสู่อีกเมืองหนึ่ง ผมก็มีความตื่นเต้น และรอคอย
ที่จะพบเจอกับประสบการณ์ในเมืองพิกัดหน้า อยู่ทุกครั้ง

ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงยิ้ม และนั่งทบทวนถึงความทรงจำดีดี
ให้กับเมืองที่ผมกำลังเดินทางออกมา

กระทู้รีวิวนี้ ผมเลยจะแบ่ง ออกเป็นทั้งหมด 4 ภาค

ปฐมบท: เริ่มต้น และ เตรียมตัว
ภาค 1: ราชธานี “มัณฑะเลย์” ...เมืองเสน่ห์ แห่งประวัติศาสตร์ที่น่ารำพัน
ภาค 2: การเล่าเรื่องราวศรัทธา อดีตกาลของ อาณาจักรพุกาม จากธรรมชาติและสถาปัตยกรรม
ภาค 3: วิถีที่ยังคงอยู่ ปราชญ์ชาวบ้าน แห่งทะเลสาปน้ำจืด อินเล
ภาค 4: มหานครย่างกุ้ง เมืองวัยหนุ่มสาว ที่กำลังจะก้าวย่าง เข้าวัยทำงาน

ปฐมบท: เริ่มต้น และ เตรียมตัว

{ ตรวจสอบสภาพ ภูมิอากาศ }
ประเทศพม่า มีภูมิอากาศคล้าย ๆ กับประเทศไทย
การตรวจสอบสภาพภูมิอากาศ ของช่วงที่จะเดินทาง มีผลอย่างมากต่อ
การเตรียมตัว เรื่องเครื่องแต่งกาย

อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นเพียงหลักการ ที่ตั้งไว้ ดูอากาศที่ไทยประกอบกับหลักการ
คู่กันละกันครับ เพราะอากาศปัจจุบันก็ไม่ได้ตรงตาม หลักการที่ได้ตั้งกันไว้ สักเท่าไหร่
ยิ่งเดี๋ยวนี้ มี Application เช็คสภาพภูมิอากาศ ก็ลองตรวจสอบเพิ่มเติม
เป็นข้อมูล ก่อนการเดินทางสักช่วง 1 สัปดาห์จะเดินทางจริง

ช่วงที่ผมไป ผมถือว่าเป็นช่วงปลายฝน
ก็มีเตรียมเสื้อกันฝน พกกันไว้ 1 ชุด เผื่อฉุกเฉิน

เมื่อเดินทางจริง ฝนมาตกเอาในวันสุดท้าย และเกิดเรื่องราว
ขึ้นมาด้วย ติดตามรายละเอียดได้ใน ภาค 4: ย่างกุ้ง

มี.ค.  – เม.ย. ฤดูร้อน
พ.ค. – ต.ค. ฤดูฝน
พ.ย. - ก.พ. ฤดูหนาว

{ Time Zone }
เวลาที่ พม่า ช้ากว่าไทย 30 นาที
อย่าลืมปรับนาฬืกา และเช็คเรื่องตารางเวลา การเดินทาง
ต่าง ๆ ดีดีนะครับ

{ เตรียมตัวเรื่องเงิน Money Money  }
-แลกเงิน ดอลล่าห์ US จากไทยไป แล้วไปแลกเงินจั๊ต(Kyat) ที่พม่า
พม่ารับเงิน ทั้ง 2 สกุล จั๊ต:Kyat  และ US Dollar
ถ้าใช้จ่ายปกติ จ่ายเป็น จั๊ต จะคุ้มกว่า แต่ค่าธรรมเนียม ในการเข้าสถานที่บางแห่ง
จะรับเป็น US Dollar เท่านั้น เราควรพกเงิน US Dollar ติดตัวไว้ด้วยนะครับ

อ้างอิงข้อมูล วันที่ผมเดินทาง
เรตค่าเงิน USD, 1 USD = 1,275.0 Kyat  

เลขคณิตคิดเร็ว  เงินจั๊ต  แปลงค่า เป็นเงินบาท
1000 จั๊ต = 30 บาท
10,000 จั๊ต = 300 บาท

{ อุปกรณ์เสริม แต่ จำเป็น }
นอกจากการเตรียมเสื้อผ้าเพื่อเดินทางตามปกติแล้ว สิ่งที่จำเป็นต้องพก ในทริป
พร้อมเหตุผล ตามสไตล์การเดินทางของผม คือ

1.หมวกและแว่นตากันแดด : แดดจัดและจ้า มาก ยิ่งในทะเลสาปอินเล จำเป็นมาก
2.ผ้าปิดจมูก (Mask) : ถนนหนทางต่าง ๆ มีฝุ่นเยอะ และใช้ปิดกันกลิ่นน้ำหมาก ที่จะกระจายไปทั่วทั้ง Taxi, รถ night bus ช่วยให้เราสามารถ หายใจได้คล่องมากขึ้น
3.ถุงพลาสติก : สำหรับใส่รองเท้า แล้วจับยัดกระเป๋าตั้งแต่ก่อนเข้าเขตวัด แน่นอนครับว่า วัดและโบราณสถานต่าง ๆ ในประเทศพม่า จะให้ถอดรองเท้าตั้งแต่ ก้าวเข้าเขตรั้ววัด และ แต่ละที่ มักจะมีที่ฝากรองเท้า พร้อมค่าทิปตามมา เพื่อความสบายใจ ในการลดค่าใช้จ่ายค่าทิป และป้องกันรองเท้าหาย ผมถอดใส่ถุง แล้วเก็บไว้ในกระเป๋าเป้ เตรียมไว้เลย
4.ทิชชู่เปียก : สำหรับเช็ดเท้า เช็ดมือ เช็ดคอ เช็ดหน้า เช็ดตา ครับ พกไปได้ใช้แน่นอน
5.ทิชชู่เช็ดหน้าแบบหนา : เอาไว้เช็ดทำความสะอาดให้แห้ง ต่อจากทิชชู่เปียก
6.เสื้อกันฝนแบบพกพา : เช็คฤดูที่เราจะเดินทางด้วยครับ หากเป็นฤดูฝน พกเสื้อกันฝน กันไว้
หากฝนตกกะทันหัน จะได้มีเสื้อกันฝน คลุมเพื่อป้องกัน อุปกรณ์อิเลคทรอนิคที่พกพาติดกับตัวพัง

{ โทรศัพท์ และเครือข่าย internet }
การเดินทางเป็นระยะเวลาหลายวัน และหลายเมือง ทำให้ผมพิจารณาที่จะเลือกใช้
เครือข่ายบริการมือถือ ของพม่า แทนการเปิด Roaming

ซึ่งที่พม่า จะมีอยู่ 2 ค่ายเอกชนที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐ คือ Telenor และ Ooredoo  
ตามแผนแรก ผมตั้งใจที่จะซื้อ SIM ตั้งแต่สนามบิน
แต่วันที่ผมเดินทาง แถว ตม. ค่อนข้างยาวและใช้เวลานาน
กว่าจะผ่าน ตม. ออกมาได้
เกือบจะไม่ทันเวลา รอบรถของ Air Port Shuttle Bus ของแอร์เอเชีย
ผมเลยปรับแผน ค่อยไปหาซื้อเอาในร้านตัวเมือง อีกทั้ง โรงแรมที่จะเข้าพัก ก็มี Free Wifi
หากต้องการใช้ก็ค่อยไปใช้ ที่โรงแรม อีกทีก็ได้

ถ้าเทียบทั้ง 2 ค่าย ทาง Ooredoo จะมีโปรโมชั่นและ Package Internet ให้เลือกหลากหลาย กว่า
ผมเลยเลือก Ooredoo ไม่คิดว่า Ooredoo จะงอแง ในภาวะที่ผมจำเป็นต้องใช้ ซะงั้น
(อ่าน เรื่องราวเหตุการณ์ Ooredoo งอแง ได้ตอนที่ผม เดินทางไปถึงท่ารถ เมืองพุกาม ภาค 2: Bagan)

ราคา SIM ทั้งสองเจ้า ราคาเท่ากัน คือ 1500 จั๊ต (ประมาณ 50 บาท)
โดยอ้างอิงราคาจากร้าน ที่ผมซื้อในตัวเมืองมัณฑะเลย์
มีบัตรเติมเงิน 3000 จั๊ต  5000 จั๊ต 10,000 จั๊ต เติมเงินแล้วก็
กดซื้อ Package Internet ที่เหมาะสมกับการใช้งานของเรา
1.     50MB     390Ks       กด *140*1#    2.    500MB    3,900Ks    กด *140*2#
3.    1GB        6,900Ks    กด *140*3#     4.    2GB        12,900Ks  กด *140*4#
5.    5GB        29,900Ks  กด *140*5#     6.    10 GB     55,900Ks  กด *140*6#

ผมเลือก Package 1GB มาก่อน  ซึ่ง 8 วันตามทริปผมใช้ไม่หมด จบทริป ใช้ไปประมาณ 700MB
ส่วนใหญ่เวลาที่จะได้เล่น ก็จะเป็นเวลาที่เข้าพักโรงแรมแล้ว
ซึ่งโรงแรมทุกที่มี Free Wifi และใช้งานได้ดีทีเดียว
เวลาอยู่ข้างนอก หลัก ๆแล้วผมใช้ในการเปิด Google Map เพื่อดูระยะห่างของสถานที่
ต่าง ๆแล้วก็โพสรูปลง Social บ้างเล็กน้อย

สำหรับ Ooradoo ใช้งานได้ ในพื้นที่ปกติครับ แต่มีปัญหาเรื่องอับสัญญาณ
ในบางพื้นที่ ซึ่งหากเดินทางหลายคนแล้ว ผมแนะนำว่า ควรจะมี Telenor
อย่างน้อย 1 เบอร์ หากเดินทางคนเดียว เลือก Telenor ดีกว่าครับ เพราะบางที
เราอาจจำเป็นต้องใช้สัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งสัญญาณของ Telenor จะครอบคลุมพื้นที่มากกว่า

{ ข้อควรทราบอื่น ๆ }
1.ปลั๊กไฟ พม่าใช้กระแสไฟ 220-240 โวลต์ เหมือนบ้านเรา สามารถเอาอุปกรณ์ไฟฟ้าเรา
ไปใช้กับไฟที่พม่าได้ แต่รูปแบบปลั๊กที่พม่า มีหลายแบบเลยที่ผมเจอ ทั้ง 2 รู 3 รู มีกลม มีแบน อีก
ถ้ามี Universal Adaptor พกไปด้วย ก็จะหมดปัญหาเรื่องรูปแบบปลั๊ก
ที่อุปกรณ์เราไม่สามารถเสียบได้
สำหรับผมพก Universal Adaptor 1 อันและปลั๊กราง 1 อัน สบายทั้งทริปครับ

2.ซื้อของทุกอย่าง ให้ขอใบเสร็ ด้วยทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบราคา และ เป็นหลักฐานประกอบกรณีซื้อสินค้าที่ทางการต้องการตรวจสอบแหล่งที่มา

3.เวลาทานอาหารในห้างหรือร้านใหญ่ ๆ นอกจากค่า Service charge แล้ว ยังมี ค่าภาษี Commercial TAX ที่ต้องจ่ายด้วยอีก 5%

เกริ่นนำ เตรียมตัวกันพอหอมปากหอมคอแล้ว
ต่อไปนี้

ตอนนี้ ถึงวลาที่เรา จะเริ่มออกเดินทางกัน ตั้งแต่เริ่มบินที่สนามบินดอนเมือง
กับ

ภาคที่ 1: ราชธานี “มัณฑะเลย์” ...เมืองเสน่ห์ แห่งประวัติศาสตร์ที่น่ารำพัน


ภาค 1: ราชธานี “มัณฑะเลย์” ...เมืองเสน่ห์ แห่งประวัติศาสตร์ที่น่ารำพัน

{ เริ่มบิน กรุงเทพฯ – มัณฑะเลย์ }
การเดินทางครั้งนี้ ผมใช้บริการของสายการบิน AirAsia ทั้งขาไปและขากลับ
ขาไปออกจากสนามบินดอนเมืองเวลา 10.50 น.



Depart    DMK - MDL
FD 244    

Bangkok - Don Mueang (DMK)
Don Mueang International Airport ( T1) (DMK)
1050 AM (10:50 AM)

Mandalay (MDL)
Mandalay International Airport (MDL)
1215 PM (12:15 PM)



เดินทางช่วงเที่ยงพอดี ผมเลย สั่งข้าวไว้ล่วงหน้าด้วย
ไปถึง  “มัณฑะเลย์” จะได้พร้อมลุยได้ทันที
ส่วน Coke นี้ได้จาก สิทธิ์สมาชิกบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ
หน้าบัตร AirAsia ครับ และผมยังใช้สิทธิ์บัตรเครดิต AirAsia
ในการ โหลดกระเป๋าฟรี 15 kg. ด้วย โดยการใช้ Voucher
ที่บัตรเครดิตให้มา



ถึงสนามบินนานาชาติ มัณฑะเลย์ (Mandalay)  เวลา 12.30 pm
ด้วย local time ที่ช้ากว่าไทย 30 นาที นะครับ





เมื่อประทับตรา ผ่าน ตม. เข้าประเทศพม่าได้เรียบร้อย

สิ่งที่ต้องทำคือ การแลกเงินดอลล่าเป็นเงินจั๊ต
ซึ่ง เรตแต่ละ Counter ไม่ค่อยต่างกันมากนัก หากเป็นแบงค์ USD มูลค่า 50,100 USD ขึ้นไป
แต่ถ้าเป็น แบงค์ 1,10 USD ราคาจะต่างกันเยอะ พอสมควร

สำหรับที่พักที่ “มัณฑะเลย์” ผมทำการจองไว้แล้วล่วงหน้า
เพื่อกระชับแผนการเดินทาง ซึ่งที่พักที่ผมจองไว้ ไม่ห่างจากจุดจอดรถ
ของจุดจอดรถ Free Airport Shuttle Bus ของ AirAsia มากนัก
ประมาณ 1 km.

ซึ่งผมกันไว้เป็นแผนสอง หากตกลงราคา หรือหา Taxi เหมาทริปในวันแรกที่เราพึงพอใจไม่ได้
ก็จะเดิน ตามแผนที่ เพื่อเข้าพักในโรงแรมก่อน

ตาราง เวลา Airport Shuttle Bus ของ AirAsia ตามเว็บมีอยู่ 2 เที่ยวครับ
12.45 กับ 13.00



แต่พอเดินทางจริงๆ มีเพียงเที่ยวเดียว คือรอบ 13.00 hrs. และคนก็ขึ้นประมาณ 10 กว่าคน รถโล่งมาก
เป็นรถแอร์ สภาพดี ตอนจอดรถแอร์เย็นดี แต่พอขับเข้าเมืองแอร์ไม่ค่อยเย็นเท่าไหร่



รถออกจากสนามบิน ประมาณ 13.15 hrs.
มีการตรวจสอบ Boarding Pass ตอนขึ้นรถด้วย
ระยะทางจากสนามบินนานาชาติมัณฑะเลย์ เข้าตัวเมืองมัณฑะเลย์
ประมาณ 40 km ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง

ข้างทางก็จะพบกับเจดีย์องค์ใหญ่ ตามรายทางเป็นระยะ
ทีเป็นลาย ๆคือ ลายฟิล์มกระจก รถครับ


{ เปิดแผน หมุดการเดินทางที่หนี่ง : มัณฑะเลย์ }

สำหรับแผนการเดินทาง ที่ผมเตรียมไว้สำหรับ มัณฑะเลย์
ผมแบ่งไว้ 2 ส่วนคือ

Plan: ครึ่งบ่าย Day 1 (35,000 จั๊ต)

1.Pick up at Taw Win Myanmar Hotel
2.Buy night bus ticket to Bagan (Shwe Man Thu)
3.Mandalay Palace  ( Open-Closed 7.00 – 17.00 )  (Fee: 10,000 Kyats)
4.Shwenandaw Monastery
5.Kuthodaw Pagoda
6.Atumashi Monastry
7.Sunset at Mandalay Hill
8.Take us at Taw Win Myanmar Hotel

Plan: เต็มวัน Day 2 (60,000 จั๊ต)
1. Pick up at Taw Win Myanmar Hotel 4.00 a.m
2. Mahamuni Buddha Temple
3. Take me at Taw Win Myanmar Hotel (for breakfast)
4. Zegyo Market
5. Shwe In Bin Monastery
6. Mingkul  (Mungun-Sagaing Archaeological Admision Ticket 5000 Kyats)
    6.1 เจดีย์ชินพิวเม
    6.2 เจดีย์มิงกุน
    6.3 ทัชมาฮาล
7.Aungwa ค่าเรือข้ามพาก 1000 จั๊ต/คน
  ต้องนั่งรถม้า เที่ยวเมืองอังวะ ค่ารถม้า 3000 จั๊ต/คน
   7.1 Lunch at Small River (AVA) Restaurant
   7.2 Yanana Simme Pagoda
   6.3 Bagaya Monastery
   6.4 ป้องเอียง อังวะ Palace Tower
   6.5 วัดมหาอ่องเหม่ บอนซาน
8. Sunset at U Beng Bridge
9. Sent us at Taw Win Myanmar Hotel
10. Sent us at Shwe Man Thu Bus Station

นี่คือหมุดย่อย ที่ผมจะเที่ยวในพิกัดของ มัณฑะเลย์




หลังจากลงจากรถ Air Port Shuttle Bus ผมก็ถูกรุมล้อมด้วยเหล่า Taxi
ต้องแหวกตัวออกมา รับกระเป๋า แล้วเดินหาที่ร่ม ๆ ยืนตั้งสติก่อน
แล้วก็มี คนขับแท๊กซี่ เดินตามเข้ามาถาม ทั้งถามว่า มีที่พักรึยัง
จะไปไหนบ้าง

ผมเลยยื่นทริปของผมให้เค้าดู ตามที่ได้วางแผนมา มีราคาในใจอยู่แล้ว
เพราะก่อนมา ได้ลองส่งแผน เพื่อสอบถามราคาเหมา Taxi จากทางโรงแรมไว้ด้วย
และหาข้อมูลจากใน Internet ไว้บ้าง ตั้งธงไว้ในใจแล้วว่า ถ้า Taxi บอกราคาเท่าไหร่
เราจะรับได้ ปรากฎว่า Taxi แจ้งราคาเหมาทริป ทั้ง 2 วันไว้ตรงกับ ราคาที่ผมมีไว้ในใจ
แถมยัง ต่อราคาได้ถูกลงไปอีก  10,000 จั๊ต

ราคาต่อทริปผมวงเล็บไว้ด้านบน Plan ด้านบนเลย

คนขับ Taxi ผมชื่อว่า AUNG SOE เบอร์โทรพม่า 09-402744979
ตลอดทริป ผมก็เรียกว่า อูอองซู



คำว่า อู เป็นคำนำหน้าที่ให้เกียรติคนที่เราเรียก เหมือนคำว่า คุณ ในภาษาไทย
ถ้า หม่อง ใช้เรียกนำหน้า คนที่เด็กกว่า    
อู ออง ซู เป็น Taxi ที่บริการดีมากครับ แนะนำสำหรับใคร
ที่มีโอกาสจะติดต่อ เพื่อใช้บริการ ก็ลองดู

ตอนขึ้นรถได้บอก อู ออง ซู ด้วยว่าให้พาไปซื้อตั๋วรถไปพุกามด้วย แต่เมื่อ
เมื่อถึงโรงแรม ผมลองสอบถามทางโรงแรม ก็ได้ข้อมูลว่า ทางโรงแรม
สามารถจองให้ได้เหมือนกัน ราคาเท่ากัน และสามารถมารับตั๋วรถ
ได้ที่ Front ในตอนเย็นได้เลย ผมเลยจองรถ Night Bus ไปพุกามกับทางโรงแรมทันที
(ตั๋วรถไปพุกาม รอบ สามทุ่มครึ่ง 8,500 Kyats/Person )

{ ราชธานี “มัณฑะเลย์” ...เมืองเสน่ห์ แห่งประวัติศาสตร์ ที่น่ารำพัน }

“มัณฑะเลย์”
เป็นอดีตเมืองหลวงราชธานีแห่งสุดท้ายของพม่า ก่อนที่จะการสูญสิ้นเอกราชให้แก่อังกฤษ
ในยุคล่าอาณานิคม
ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1857 (ตรงกับรัชกาลที่ 4 ของไทย)
นับอายุถึงปัจจุบันก็ราว ๆ 158 ปีมาแล้ว โดย “พระเจ้ามินดง”
ทรงตั้งชื่อ ราชธานีตามภูเขามัณฑะเลย์ ที่อยู่ใกล้เคียง



“พระราชวังมัณฑะเลย์” เป็นแลนด์มาร์ค ที่ใหญ่มากของเมือง มัณฑะเลย์
ตั้งอยู่ที่เชิงเขามัณฑะเลย์ มีพื้นที่เป็นทรงสี่เลี่ยมจัตตุรัส ล้อบรอบด้วยกำแพงพระราชวัง
ที่แต่ละด้านยาวเกือบ 2 กิโลเมตร มีคูน้ำกว้าง 64 เมตร ล้อมรอบกำแพงพระราชวัง

ทั้ง  4 ทิศจะมีประตูทางเข้า 3 ประตู ใช้เข้าออกจริงๆ คือ 1 ประตูที่อยู่ตรงกลางในแต่ละด้าน
และฝั่งด้านทิศตะวันตก จะมีอีก 1 ประตูที่เปิดใช้สำหรับ ขนคนตายออกราชวัง ที่เรียกว่า
“ประตูผี” ซึ่งประตูผี ก็ปรากฎเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ของพม่า

ว่า เมื่อครั้งอังกฤษเข้ายึดมัณฑะเลย์ ได้สำเร็จ อังกฤษได้เนรเทศ ผู้ปกครองมัณฑะเลย์
และเหล่าราชวงค์ ให้ออกทางประตูผีอย่างไร้พระเกียรติ
อุปมาอุปมัยถึงการ สิ้นแล้วแห่งอำนาจ และเกียรติยศ  อย่างที่สุด


สำหรับประตูที่ใช้ซื้อตั๋วเข้าชมพระราชวัง กับ ประตูที่เราสามารถเดินเข้าไป
ชมได้ พระราชวังได้นั้น อยู่คนละทางกัน
อูอองซู พามาส่งให้ซื้อตั๋วเข้าชมก่อน
แล้วค่อยขับรถพาไปทางเข้า อีกทาง

ตั๋วที่ซื้อมานั้น ราคา 10,000 จั๊ต/คน เป็น Mandalay Archaeological Zone
ซึ่งใช้เป็นตั๋วเข้า สถานที่ อีกหลาย ๆที่ใน มัณฑะเลย์ ต้องเก็บให้ดีนะครับ
ได้ใช้ต่อ


“พระราชวังมัณฑะเลย์” ณ วันนี้
เป็นสถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นมาใหม่ ทดแทนของเดิม
ที่ถูกเผาวอด มอดไหม้จากไฟสงคราม ในยุคล่าอาณานิคม
พร้อม ๆกับการสูญสิ้นยังเอกราชของพม่า เหลือไว้เพียงเรื่องราว
บันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์

ในอดีต ..พระราชวังมัณฑะเลย์ คงเป็นที่ ยิ่งใหญ่อย่างประจักษ์ และงดงามยิ่งนัก


ปัจจุบันตัวพระราชวัง ขาดการทำนุ บำรุงอยู่พอสมควร
ด้วยความกว้างของพื้นที่ ผมก็เดินสำรวจเรื่อย ๆ
อาคารและสถานที่ มีฝุ่น หยากไย่ ค่อยข้างเยอะ

ในพื้นที่ของพระราชวังค์ ยังคงมีรูปปั้นคู่ ของกษัตริย์และพระมเหสี
ผู้ก่อตั้งและสร้างพระราชวังมัณฑะเลย์ แห่งนี้ นามว่า พระเจ้ามินดง (Mindon)


ซึ่งพระองค์ ทรงสร้างเมืองมัณฑะเลย์ขึ้น ภายหลังจากทรงชิงราชบัลลังก์จากพระเชษฐา
และย้ายราชธานีจาก เมืองอมรปุระ(Amarapura) มายังมัณฑะเลย์

ภายใต้ความสวยงามและอลังการของ พระราชวังมัณฑะเลย์ แห่งนี้
หากได้ย้อนไปอ่าน ถึงบันทึกเรื่องราว เหตุการณ์ต่าง ๆ
ไม่ได้สวยงาม ตามสถาปัตยกรรมที่เห็น

หากแต่ในอดีต ตามความเชื่อของการสร้างเมือง จะมีพิธีกรรมฝังคนเป็น
ตามประตูเมือง และเสาหลักเมืองต่าง ๆ เพื่อปกป้องคุ้มครองเมือง สถานที่แห่งนี้ก็เช่นกัน

รวมถึง เรื่องราวของการสืบทอดบัลลังก์ ของราชวงค์ ณ ราชธานี มัณฑะเลย์
ต่างถูกบันทึก และเล่าต่อกันไว้ด้วย เหตุการณ์ของการสังหารหมู่ เหล่าราชวงศ์ ญาติมิตร
เพื่อป้องกันการก่อกบฏและแย่งบัลลังค์ของ พระเจ้าตี่ป่อ (พระโอรส) กับพระนางสุภายาลัด
ที่ขึ้นครองบัลลังก์ต่อ หลังจากการงสิ้นแผ่นดินสวรรณคตพระเจ้ามินดง

ผมคงไม่ได้ลงบันทึก และรายละเอียดของประวัติส่วนนั้น ไว้ในรีวิวนี้
หากใครสนใจ ได้อ่านก่อนไปเที่ยวจริง ก็จะทำให้ เราได้อินไปกับ
สถานที่ และเที่ยวเยี่ยมชม ในแต่ละสถานที่ได้สนุกมากขึ้น

สิ่งที่ผมอยากถ่ายทอดคือ สถาปัตยกรรม ในปัจจุบัน
ที่ยังคง ความสวยงามและอลังการได้ มาอยู่จนถึงทุกวันนี้



หากในอดีต จะมีความสวยงามและยิ่งใหญ่มากแค่ไหน
ฝีมือช่าง ความศรัทธา และ กำลังในการก่อสร้างแต่ละที่
จะมีความยากลำบากถึงเพียงไร



มนุษย์ในรุ่นหลัง อย่างเรา คงได้แต่เพียงศึกษา
และซึมทราบได้เพียง บันทึกในหน้าประวัติศาสตร์
และร่องรอยของสถาปัตยกรรม ที่คงเหลืออยู่



และจากรุ่นสู่รุ่น ก็ไม่รู้ว่าอีก หนึ่งร้อย สองร้อยปี
ต่อจากนี้ จะมีหลงเหลือไว้มากน้อย สักแค่ไหน

ในภาพจะเห็น บ้านหลังเล็ก ๆ สีขาว อยู่บนยอดหลังคา
หากคิดเผิน ๆ ก็คงคิดว่าเอาไว้ เฝ้าเวรยามดูความปลอดภัย
แต่จริงๆ แล้ว
เป็น ที่สำหรับให้ทหาร ขึ้นไปไล่กา ไม่ให้ขึ้นมาเกาะหลังคาพระราชวัง
สืบเนื่องจากความเชื่อที่ว่า กาเป็นสัตว์อัปมงคล จึงไม่ควรเกาะอยู่บนหลังคา



หอคอยป้อมปราการสูง เดินวนขึ้นไป มีไว้สำหรับตรวจเวรยามดูความปลอดภัย
หอคอยนี้ สร้างด้วยไม้ทาสีแดง มีบันไดเวียนขึ้นไปด้านบนได้ ส่วนหลังคาเป็นทรงชั้นซ้อนแบบปราสาท



ขึ้นไปข้างบน ก็จะทำให้เราเห็น พระราชวังมัณฑะเลย์
ในมุมสูง เพลินตาดี



ผมใช้ระยะเวลาอยู่กับ “พระราชวังมัณฑะเลย์” ประมาณ 1 ชั่วโมง
จึงออกมาพบ อูอองซู เพื่อให้ อูอองซู
พาไปสถานที่ต่อไป คือ

((พระตำหนักไม้สักชเวนานดอร์ (Shwenandaw Monastery) ))



พระตำหนักไม้สักชเวนานดอร์ เป็นพระตำหนักที่สร้างจากไม้สัก แกะสลักด้วยลวดลายพม่า
เป็นสถาปัตกรรมดั้งเดิมในสมัยพระเจ้ามินดงที่ยังคงเหลือรอดจากไฟสงคราม



เดิมมีการปิดด้วยแผ่นทองทั้งหลัง เป็นวังที่ประทับส่วนพระองค์
ของพระเจ้ามินดงในพระราชวังมัณฑะเลย์
แต่ภายหลังพระเจ้ามินดงทรงสวรรคต พระเจ้าธีบอพระโอรส
ได้ทำการรื้อย้ายวังดังกล่าวออก มาไว้ ณ สถานที่ปัจจุบัน หากไม่มีการรื้อย้าย
พระตำหนักไม้สักชเวนานดอร์ แห่งนี้ ก็คงจะถูกไฟเผาวอด ดัง
พระตำหนักต่าง ๆ ในพระราชวัง

ปัจจุบันภายนอกพระตำหนักปรากฎเหลือเพียงเนื้อไม้ ส่วนภายใน ยังคงมี
ร่องรอยของการปิดทองให้เห็น











Create Date : 29 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 13 ธันวาคม 2558 12:45:52 น.
Counter : 920 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

SOtraveler
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 20 คน [?]






SOtraveler.COM : Significant Of romantic, boutique and luxury Traveler เรื่องเล่าของการเดินทาง การพักผ่อน การท่องเที่ยว การกิน ที่จะเป็นแรงบรรดาลใจ ในการออกเดินทางของใครหลาย ๆ คน
:-SOtraveler-:
hello@sotraveler.com

พฤศจิกายน 2558

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30