ธันวาคม 2552

 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
17 ธันวาคม 2552
คอ
เข่าหรือหัวเข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย มีภาระต้องแบกรับน้ำหนักของท่านในขณะที่ท่าน
เคลื่อนไหว ไม่ว่าท่านจะทำงานอาชีพอะไรก็ตาม เข่าก็มีความสำคัญสำหรับตัวท่าน ถ้าไม่มีหัวเข่า
หัวเข่าตาย หรือหัวเข่าไม่ทำงาน ก็ลองคิดดูเอาเองว่าจะมีสภาพอย่างไร จะเดินก็ต้องไปทั้งท่อนแข็ง
ไม่สามารถที่จะงอ หรือเหยียดเข่าได้ เข่าจึงมีความสำคัญมาก เปรียบเสมือนบานพับของร่างกายที่ทำการ
เคลื่อนไหวส่วนล่าง
บริเวณ ที่ตั้งของเข่าคือ อยู่ระหว่างช่วงกลางของขาทั้งหมด โดยแบ่งขาออกเป็นสองท่อน คือขาท่อนบน
ในฉบับที่แล้วได้พูดถึงการนวด โดยเริ่มกันที่ศีรษะเป็นอันดับแรก ต่อจากศีรษะก็มาถึงคอ ซึ่งมี
รายละเอียดและวิธีการนวดแตกต่างกันออกไป
คอ
คอ เป็นอวัยวะอีกส่วนหนึ่งที่มีส่วนประกอบมากมาย อีกทั้งยังต้องรับน้ำหนักอีก หรือต้องทำหน้าที่มากกว่า อวัยวะส่วนอื่นๆของร่างกาย เมื่อพิจารณาดูให้ดี คอของคนเราเป็นส่วนที่บอบบางไม่แพ้ใบหน้าหรือศีรษะของคนเรา แต่มีส่วนประกอบที่ค่อนข้างจะแข็งแรง นอกจากกระดูกก้านคอแล้วยัง ประกอบด้วยกล้ามเนื้ออีก 2 ข้างที่อยู่ติดกับกระดูกก้านคอ นอกจากนั้นก็เป็น
ส่วนประกอบของหลอดเลือดดำและแดง หลอดลม หลอดเสียง เส้นเอ็นและเส้นประสาท ซึ่งส่วนต่างๆเหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่รับน้ำหนัก หรือช่วยกล้ามเนื้อที่อยู่ตรงท้ายทอย ดังนั้นกล้ามเนื้อทั้ง 2 ข้าง ตรงท้ายทอยจึงต้องรับหน้าที่อันหนักหน่วง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้เกิดอาการเครียดของกล้ามเนื้อคอ ทำให้เกิดอาการปวดคอ เมื่อเกิดอาการปวดเมื่อยอันเนื่องจากความเครียดแล้ว ก็จะทำให้มีอาการเกร็งเมื่อเครียดและเกร็งมากๆ นานๆก็จะทำให้ปวดหัว มึน และรู้สึกขี้เกียจ อยากจะนอนเมื่อเป็นเช่นนี้ก็ให้นวดที่บริเวณต้นคอ ตั้งแต่บริเวณตีนผมตรงท้ายทอย เริ่มต้นที่ตีนผมโดยกดที่จุดตีนผมทีละข้างให้นิ่งและนานประมาณ 10 วินาที แล้วค่อยๆเลื่อนต่ำลงเรื่อยๆจนถึงต้นคอบริเวณที่ติดกับบ่า การนวดจะสัังเกตได้จากการหาจุดที่กระดูกก้านคอก่อน โดยใช้นิ้วหัวแม่มือคลึงเบาๆ หากระดูกก้านคอ เมื่อพบแล้วให้เอานิ้ววางทาบที่กระดูกต้นคอไว้แล้วเริ่มจุดนวดที่บริเวณที่ ห่างออกมาจากกระดูกก้านคอประมาณ 1 นิ้วมือ โดยให้กดหรือคลึงก็ได้ตลอดแนวประมาณ 3-4 จุด โดยกดหรือคลึงประมาณแนวละ 3-5 ครั้ง ให้ทำเช่นนี้ทั้ง 2 ข้างเช่นกัน อีกอาการหนึ่งเกิดจากการนอน เมื่อตื่นขึ้นมา จะมีอาการปวด
ต้นคอ หันศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้ จะก้มหรือเงยไม่ได้ อาการเช่นนี้ชาวบ้านเรียกว่า โรคตกหมอน คำว่าตกหมอนมักจะเข้าใจกันว่าเป็นอาการของคนที่ชอบนอนดิ้น ที่เป็นการเข้าใจของชาวบ้านทั่วไป แต่ความเป็นจริงการตกหมอนหาได้เกิดจากการนอนแล้วนอนดิ้นจนตกหมอน แต่เกิดจากการกระทำต่อตนเองโดยการปรับกิริยาอาการในการทำงานไม่ถูกต้องและ เกิดจากการนอนหลับบ้าง การทำงานหนัก การใช้สมองมาก กล้ามเนื้อบริเวณคอทำงานหนัก การพักผ่อนไม่เพียงพอ
โรคตกหมอนที่เกิด ขึ้นในขณะที่นอนหลับสนิทหรือไม่ก็ตามหาก ผู้ที่เป็นนั้นใช้หมอนที่สูงเกินไปหรือแข็ง ก็อาจจะเป็นต้น เหตุทำให้เกิดอาการของโรคตกหมอนได้ เพราะหมอนที่สูงหรือแข็งเกินไปนั้นผู้ใช้จะต้องชันคอมาก ทำให้กล้ามเนื้อต้นคอต้องยืดตัวมาก กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่อยู่ด้านหลังท้ายทอยต้องออกแรงยืดและดึงกลับให้ เข้าที่ตามธรรมชาติ หากมีการพลิกตัวในขณะนอนก็จะทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นปรับตัวไม่ทัน ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้นได้
อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ การยกของหนักเป็นเวลานาน ก็ทำให้เกิดอาการเกร็งและหดตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นของแขนไหล่ ต้นคอ การ เกร็งตัวและหดตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆนั้น เป็นการเกร็งตัวเมื่อต่อต้านและช่วยกันออกแรงยกของ หากผู้ที่กำลังยกหรือหิ้วของหนักอยู่นั้นมีคนเรียกหรืออะไรก็ตาม จะ
หันศีรษะไปทางเสียงที่เรียกอย่างกะทันหันแล้วก็จะทำให้คอเคล็ดหรือโรคตก หมอนได้หรืออีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากการทำงานโดยอยู่ในอิริยาบถที่ไม่เหมาะ สม การก้มคอนานๆเช่น การนั่งดูหนังสือ หรือนั่งเขียนหนังสือนานๆ ช่างเย็บผ้า หรือการที่ต้องก้มเงยคออยู่ตลอดเวลา เช่น ช่างทาสี ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคตกหมอนได้แต่ไม่รุนแรงมากเท่ากับอาการที่เกิดจาก สาเหตุที่ได้เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น
คัดมาจากนิตยสาร หมอชาวบ้านค่ะ



Create Date : 17 ธันวาคม 2552
Last Update : 17 ธันวาคม 2552 0:17:29 น.
Counter : 469 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

poochita_tai
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]