แป้งดีย่อยช้า แป้งเลวย่อยเร็ว
สวัสดีคะนานาเองน้า วันนี้เอาความรู้เรื่องแป้งมาฝากกันคะ มีใครชอบทานแป้งกันบ้างค๊าา
นานาเป็นหนึ่งคนที่รักการทานแป้งมากๆ แต่พักหลังๆ รู้สึกว่าระบบย่อยทำงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรคะเลยศึกษาเรื่องการทานแป้งมา คือมันมีทั้งแป้งดีและแป้งเลว
ถ้าเราเลือกกินแป้งดีทำให้ระบบในร่างกายเราทำงานได้ดีและไม่อ้วนด้วยคะ
ถ้าใครสนใจเชิญไปดูกันเลยจ้าา

นักโภชนาการศาสตร์มีคำแนะนำว่า.....

"แป้งดีที่ย่อยได้ช้า นอกจากจะอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานแล้วยังมีสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการอย่าง วิตามิน เกลือแร่ กากใยอาหารอีกด้วย ช่วยให้สุขภาพดี
อีกทั้งยังดีต่อระบบขับถ่ายและการควบคุมน้ำหนัก พบได้ในอาหารจำพวกข้าวกล้อง ธัญพืช ขนมปังโฮลวีต เผือก มัน และแป้งชนิดต่างๆ ที่ไม่ผ่านการแปรรูปขัดสี
แนะนำให้รับประทาน"

"แป้งเลวที่ย่อยได้เร็ว แต่ให้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตล้วนๆ พบได้ในข้าวขาว น้ำตาลทรายขัดขาว น้ำอัดลม แป้งขาว ขนมปังขาว แนะนำให้หลีกเลี่ยง"

สงสัยกันไหมว่า? ทำไมกุรูผู้เชี่ยวชาญด้านการลดน้ำหนัก นักโภชนาการศาสตร์ ผู้ฝึกสอนการออกกำลังกาย และแพทย์โดยทั่วไปถึงมีคำแนะนำเช่นนี้ ทั้งๆที่อาหารทุกชนิดที่กล่าวมา เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ก็จะถูกย่อยให้เป็นสารคาร์โบไฮเดรตเหมือนกันทั้งหมด

เพื่อความเข้าใจ เราต้องแยกประเภทของคาร์โบไฮเดรตให้ชัดเจน ตามลักษณะการเรียงตัวของโมเลกุลเสียก่อน เพื่อจะได้เห็นความแตกต่าง คุณสมบัติ และคุณประโยชน์ที่ให้ต่อร่างกายเมื่อเรารับประทานเข้าไป ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 3 ชนิดได้แก่

1. คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเดียว มีขนาดเล็กที่สุด
(กลูโคส ฟรุคโตส กาแล็กโทส) ร่างกายสามารถถูกดูดซึมได้โดยไม่ต้องย่อย ผ่านทางเลือดไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานได้ทันที ทำให้รู้สึกสดชื่นมีชีวิตชีวาขึ้น
อย่างรวดเร็ว สังเกตง่ายๆ เช่น เมื่อเราดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำเกลือแร่ซึ่งทำมาจากน้ำตาลกลูโคสละลายในน้ำและแต่งกลิ่นรส เราจะรู้สึกหายอ่อนเพลียในทันที พบในน้ำผลไม้สด น้ำอัดลมทุกชนิด น้ำเกลือแร่ และเครื่องดื่มให้พลังงาน

2. คาร์โบไฮเดรตเชิงคู่ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโครงสร้างโมเลกุลจับตัวง่ายๆ ประกอบขึ้นจากคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวสองตัวมารวมกัน โดยร่างกายจะต้องย่อยออกให้เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวเสียก่อน จึงจะสามรถนำไปใชัในการสร้างพลังงานได้ จัดเป็นอาหาร
ประเภทที่ย่อยได้ง่ายและรวดเร็ว พบในอาหารจำพวก ข้าวขาว น้ำตาลทราย น้ำอ้อย นมสด ขนมปังขาว

3. คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ และมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวและเชิงคู่มาจับตัวรวมกัน ตัวอย่างเช่น เส้นใยพืช ( Fiber)ไกลโคเจนที่ พบในเครื่องในสัตว์ และอาหารที่มีกากใยมากๆ เช่นข้าวกล้อง ธัญพืช ลูกเดือย แป้งสาลีดิบ แป้งที่ยังไม่ผ่านขบวนการแปรรูปขัดสี ขนมปังโฮลวีต เผือก มัน ข้าวโพด ฯลฯ ก่อนที่ร่างกายจะนำคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนไปใช้เป็นพลังงานได้ ต้องผ่านกระบวนการย่อยที่ยาวนานที่สุด มากกว่าคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวหรือเชิงคู่

ความแตกต่างคือร่างกายสามารถดูดซึมคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว



Create Date : 02 เมษายน 2559
Last Update : 7 เมษายน 2559 21:31:40 น.
Counter : 931 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 3074205
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



สวัสดีคะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่บ้านเล็กๆของเรานะคะ
หากว่ามีท่านใดสนใจเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพเชิญแวะเข้ามาดูข้อมูลความรู้ต่างๆกันนะคะ จะพยายามลงบ่อยๆค่า ขอบคุณคะ^^
New Comments
Group Blog
เมษายน 2559

 
 
 
 
 
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30