Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2548
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
11 พฤษภาคม 2548
 
All Blogs
 

กว่าจะมาเป็น Sony ตอนที่ 5 (ครึ่ง) กระดาษพูดได้ สำเร็จแล้ว !

Chapter 2
4.Talking Paper"Completed"




การค้นคว้าดำเนินต่อไป ยังผลให้ได้ผงแม่เหล็ก และวัสดุทำเส้นเทปที่ดีขึ้น ปัญหาถูกแก้ไปทีละเปลาะ
คิฮาราสร้างเครื่องมือง่ายๆ เพื่อทดสอบเทป เขาใช้เครื่องบันทึกแผ่นเสียงขนาด 78 rpm 2 เครื่อง วางไว้ทางซ้ายและขวา ติดแป้นกลมขนาด 3 ซม. ไว้ตรงกลางแท่นหมุนด้านหนึ่ง และม้วนเทปไว้อีกด้านหนึ่ง เส้นเทปโยงจากม้วนเทป ไปอีกด้านหนึ่ง
เทปถูกม้วนโดยการหมุนของแท่นหมุนแผ่นเสียง หัวเทปวางอยู่ระหว่างแท่นหมุนทั้งสอง ซึ่งจะบันทึกเสียงลงในเส้นเทป เป็นเครื่องมือที่ง่ายมากๆ เทปความยาว 10 เมตร ถูกม้วนกลับได้ด้วยมือ คิฮาราบันทึกคำพูด "วันนี้อากาศดีจัง" แล้วก็เล่นเทปกลับ
เขาพูดกับตัวเอง "แจ่มมม .. ได้ยินแล้ว"

ตอนนี้เครื่องทดลองทำงานได้แล้วทางทอตสุโกะตัดสินใจว่าต้องออกแบบเครื่องบันทึกเสียงตัวที่จะวางจำหน่ายได้ คิฮาราไปที่ NHK เพื่อดูเครื่องตัวจริงที่นั่น เพียงแค่มองดู เขาก็รู้ทุกอย่างที่เขาต้องการ "มันทำอย่างนี้นี่เอง" เขาคิด
งานที่เขาทำก่อนหน้านี้ กับเครื่องบันทึกแบบสายลวด และเครื่องบันทึกเทปตัวทดลองได้ทำให้เขาเข้าใจในหลักการ

เมื่อกลับมาจาก NHK คิฮาราทำงานออกแบบเครื่องบันทึกเสียงทั้งคืน วันต่อมา เขาทำงานกับช่างที่ทอตสุโกะ เริ่มสร้างเครื่องบันทึกเสียงกันด้วยตัวเอง ใช้เครื่องกลึงทำแคปสตัน (แกนเหล็กกลมที่นำเส้นเทปให้เคลื่อนที่) ฟลายวีลล์ (ล้อถ่วงด้านหลังแกนแคปสตัน เพื่อช่วยให้รอบการหมุนคงที่) และชิ้นส่วนอื่นๆ
เขาสร้างเครื่องต้นแบบเสร็จในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ งานที่ยากที่สุดคือการหามอเตอร์ที่เหมาะสม และยาง ไม่มีมอเตอร์ใดที่มีแรงพอจะหมุนขับเคลื่อนกลไกเทปได้ เมื่อไม่มีทางไหนให้เลือก คิฮาราใช้อินดัคชั่นมอเตอร์กำลังต่ำของ บริษัท ฟูจิยาอิเล็กทริค ซึ่งผลิตมอเตอร์สำหรับเครื่องเล่นแผ่นเสียง
อย่างไรก็ตาม ความเร็วของมอเตอร์เปลี่ยนแปลงง่าย ขึ้นกับแรงดันและความถี่ไฟฟ้าที่ไม่คงที่ ส่วนยางที่หาได้ ก็เป็นยางจากธรรมชาติ ซึ่งสึกหรอและติดขัดง่าย

ตัวต้นแบบเครื่องแรก คิฮาราออกแบบมาเป็นเครื่องแบบแบวตั้ง หลังจากที่เครื่อง Magnetocorder ได้มีการใช้งานจริงเป็นเครื่องแรกในอเมริกา เขาทำสำเร็จในเดือนกันยายน ปี 1949 หลังจากนี้ ก็มีเครื่องรุ่นต่อมา คือเครื่อต้นแบบรุ่น G และรุ่น A ในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ปี 1950 ตามลำดับ
ทอตสุโกะได้ดำเนินงานต่อไปเพื่อผลิตเครื่องบันทึกเสียงเครื่องแรกที่จำหน่ายในญี่ปุ่น เครื่องรุ่น G ออกแบบสำหรับงานในองค์กร ซึ่งสามารถบันทึกได้ 1 ชั่วโมง ส่วน รุ่น A ออกแบบสำหรับใช้ในบ้าน สามารถบันทึกได้ 30 นาที
แม้ว่าเครื่องรุ่น A จะไม่มีอะไรที่ก้าวหน้าไปกว่าเครื่องต้นแบบ แต่คอนเซปต์ของมันถูกนำไปใส่ในเครื่องรุ่น H ซึ่งต่อมา ได้ทำตลาดเป็นเครื่องเทปที่ใช้ในบ้านเครื่องแรก ด้วยแนวทางการออกแบบนี้ ต่อมา เครื่องรุ่น G ก็เสร็จสมบูรณ์






การวางตลาดเครื่องรุ่น G ทอตสุโกะ จดทะเบียนเป็นชื่อทางการค้าว่า Tapecorder ส่วนม้วนเทป ก็จดทะเบียนเป็น SONI-TAPE

ในเดือนมีนาคม ปี 1950 หนังสือ Mainichi Graph ได้ลงบทความและภาพของเครื่อง Tapecorder ของทอตสุโกะ อ่านได้ความว่า ที่คือเครื่องเทปบันทึกเสียงที่จะผลิตออกมาจำหน่ายในญี่ปุ่น เครื่องนี้อาจจะถูกเรียกว่า "กระดาษพูดได้"
บริษัทผู้ผลิตเห็นว่า มันจะถูกพิสูจน์ว่า ใช้งานง่าย ที่ไหนก็ได้ แล้ว "แมกกาซีนพูดได้" และ "หนังสือพิมพ์พูดได้" ก็จะเกิดขึ้นในอนาคต
คอลัมนิสต์ Captain Uncannily ทำนายว่า "เครื่องแผ่นเสียง จะถูกแทนที่ด้วยเครื่องเทปบันทึกเสียงนี้ในที่สุด"

หนึ่งปีผ่านไป และอิบุกะ เป็นบุคคลแรกที่กลายเป็นคนสำคัญที่ให้กำเนิดเครื่องเทปบันทึกเสียง การค้นคว้าด้วยความไม่ย่อท้อ และการลองผิดลองถูกนับไม่ถ้วน ในที่สุดก็กลับมาให้ผลเป็นรายได้งามของทีมงานในทอตสุโกะ






 

Create Date : 11 พฤษภาคม 2548
3 comments
Last Update : 12 พฤษภาคม 2548 8:43:59 น.
Counter : 1447 Pageviews.

 

มาอ่านแล้วทักทายค่ะ

 

โดย: zaesun 11 พฤษภาคม 2548 21:15:37 น.  

 

เยี่ยมมากครับ

 

โดย: papercut IP: 202.5.95.205 11 พฤษภาคม 2548 23:49:32 น.  

 

เก๋า เก่า
เข้ามาทักทายคะ สะบายดีนะคะ

 

โดย: A~MING IP: 58.10.243.29 14 พฤษภาคม 2548 0:15:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


NaCl
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




Friends' blogs
[Add NaCl's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.