Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2548
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
30 พฤษภาคม 2548
 
All Blogs
 
ใครอยากแต่งเคสคอมด้วยไฟ LED สี แต่ ต่อ R ไม่ถูก เชิญทางนี้

เห็นมีคนถามเรื่อง R กับ LED และวิธีต่ออยู่บ่อยมากๆ เพราะว่าสีมันสวย แต่ ใช้งานไม่เหมือนหลอดไฟธรรมดาโดยสิ้นเชิง ต้องมีเทคนิควิธีการทางช่างนิโหน่ย ถึงจะใช้ได้ผล หลายคนทำพังแล้วพังอีก ใช้ไม่ได้ซะที หลายคนก็ว่า ทำไมมันไม่สว่างเท่าที่ควรเลย มาดูกาน..... ครับ




LED ทำงานในโหมด Current ไม่ใช่ Voltage

มีน้อยคนที่จะเฉลียวใจครับ ส่วนใหญ่นึกว่าเอา DC จ่ายตามแรงดันแล้วใช้ได้เลย

แต่หาไม่ครับ คุณต้องใช้แหล่งจ่ายกระแส ค่าไม่เกิน 20 mA และมีแรงดันขั้นต่ำ 3.5 โวลต์

วิธีว่ายที่สุดที่จะแปลงแหล่งจ่ายแรงดันเป็นแหล่งจ่ายกระแส คือ ใช้ R 1 ตัว


ที่ร้านริมถนนบ้านหม้อ หรือแม้แต่ร้านใหญ่ ผู้ขายไม่ใช่ช่าง (ช่างบางคนยังไม่รู้เลย) มานก็เล่น DC จากถ่านจ่ายอัดเข้าไป มันก็ได้อะนะ ถ้าถ่าน 2 ก้อน เพราะแรงดันไม่สูงมากนัก ความต้านทานแฝงภายในชิพ LED มันช่วยจำกัดกระแสไว้ให้

การต่อ LED กับแหล่งจ่ายแรงดันโดยไม่มี R ก็เหมือนต่อไดโอดฟอร์เวิดไบแอสคร่อม (ช๊อต) แหล่งจ่ายไฟ มันก็พังเท่านั้นเอง

เมื่อเราจ่ายกระแสให้ LED ตัว LED จะปล่อยกระแสไหลผ่านตัวมันเต็มที่เท่าที่แหล่งจ่ายกระแสจ่ายมา ถ้าแหล่งจ่ายกระแส จ่ายกระแสได้ 20 มิลลิแอมป์ ไม่เกินนี้ LED ก็แฮบปี้ สว่างเต็มที่โดยไม่ร้อน ไม่พังไว

ถ้ากระแสมากกว่านี้ เช่น 50 มิลลิแอมป์ มันสว่างมากก็จริง แต่มันก็ร้อน ถ้าคุณสามารถระบายความร้อนให้มันได้ มันก็ทำงานได้ดี แต่ อายุมันจะสั้นลงมาก

ถ้ากระแสสูงขึ้นไปอีก เช่น 100 มิลลิแอมป์ คราวนี้ทำอย่างไรมันก็ระบายความร้อนออกจากขาเล็กๆ ไม่ทันแล้วละ สี LED จะเปลี่ยนไปเนื่องจากความร้อน และมันก็พังอย่างไว ในไม่กี่นาที


ไม่ต้องไปหวางจรขับวุ่นวายหรอก ถ้าคุณเอาไปใส่เคสคอม เพราะแหล่งพลังงานคุณมหาศาลมากๆ เมื่อเทียบกับพลังงานที่ LED ใช้

ที่เขาจะใช้วงจรขับกันก็คือ แหล่งจ่ายไฟแรงดันต่ำเกินไป หรือ ต้องการประหยัดพลังงาน เช่น ในโทรศัพท์มือถือ ในนั้นจะมีวงจรสวิทชิ่งพาวเวอร์ซัพพลาย จัดการพลังงานให้มันโดยเฉพาะ ซึ่งจะไม่มี R อนุกรม LED (ถ้ามีก็ค่าต่ำประมาณ 0.1 โอห์ม ใช้วัดกระแสและป้อนกลับไปยังวงจรควบคุม) เพื่อหลีกเลี่ยงกำลังงานสูญเสียใน R

การใช้งาน LED ง่ายนิดเดียว แค่หาแรงดันที่ตกคร่อม R จำกัดกระแส เอามาหารด้วยกระแสที่ LED ใช้ ก็ได้ค่าความต้านทานมาแล้ว

หาได้ไงเหรอ ก็ แหล่งจ่ายมีเท่าไรล่ะ งานนี้ 5 โวลต์ ใช่ไม๊ ลบด้วยแรงดันทำงานของ LED คือ 3.5-4 โวลต์ (แล้วแต่ยี่ห้อ เป็นค่าประมาณ)

(๑) Vin - Vled = Vr
5 - 3.5 = 1.5 โวลต์

กระแสที่ปลอดภัยของ LED คือ 20 mA
(๒) Vr / Iled = R
1.5 / 0.02 = 75 โอห์ม

อ่ะ แล้ว R ที่ใช้ ใช้กี่วัตต์ดีล่ะ
นิยามกำลังไฟฟ้าคืออะไร ? แรงดัน x กระแส ใช่มะ

ตอนนี้แรงดันคร่อม R เราเท่าไร จากข้างบน สมการ (๑) เห็นมั๊ย 1.5โวลต์

แล้วกระแสผ่าน R ล่ะ ดูกระแสที่ไหลผ่าน LED เท่ากับที่ไหลผ่าน R เพราะเป็นวงจรอนุกรม เรากำหนดไว้ตอนคำนวณสมการ (๒) คือ 0.02 แอมแปร์ (20 มิลลิแอมป์)

หากำลังที่ R
(๓) Vr x Ir = P
1.5 x 0.02 = 0.03 วัตต์

โหย น้อยนิดนึง R บ้านหม้อ มีเกลื่อน ค่า 1/4 วัตต์ (เท่ากับ 0.25 วัตต์) ใช้ได้สบายบร๋อออ

รีบไปซื้อมาเลย R 1/4 วัตต์ 75 โอห์ม
ต่อ R 1 ตัว ต่อ LED 1 ดวง

หรือถ้าอยากต่อเยอะๆ มีวิธีอีก เอามาอนุกรมกัน จะขนานก็ได้ แต่คุณต้องใช้ LED รุ่นเดียวกัน ล็อตเดียวกัน มาใช้ จึงจะขนานได้ผลดี เพราะ LED ต่างล็อต ต่างยี่ห้อ จะมีแรงดันตกคร่อมขณะทำงานไม่เท่ากัน กระแสจะไหลลงตัวที่มีแรงดันตกคร่อมต่ำสุดจนตัวนั้นพังไปซะก่อน

การอนุกรม ก็เหมือนต่ออนุกรมถ่านไฟฉายเลย แต่ คุณต้องคำนวนว่า LED จำนวนเท่าไร จึงจะใช้ได้ เพราะถ้าคุณต่ออนุกรมมากๆ แรงดันที่ใช้ขั้นต่ำ มันก็จะสูงตามไปด้วย เหมือนถ่านที่ต่ออนุกรมยิ่งมากก้อน ยิ่งมีแรงดันสูง

ในคอม มีแหล่งจ่าย 12 โวลต์ด้วย เราจะใช้แรงดันนี้

LED 1 ดวง ต้องการแรงดัน 3.5 โวลต์ ดังนั้น 12 หาร 3.5 ได้ 3.4

ใช้ LED 3 หลอด อนุกรมกัน

อ่ะ แล้ว R เท่าไรดี ? 75 โอห์มเหรอ ? ไม่รู้ดิ ลองดูกัน..

3 หลอด x 3.5 โวลต์ = 10.5 โวลต์

LED ชุดนี้ ต้องการ 10.5 โวลต์

จากสมการ (๑) และ (๒)

Vin - Vled = Vr
12 - 10.5 = 1.5 โวลต์ โหย เท่ากันกับหลอดเดียว 5 โวลต์เลย

Vr / Iled = R
1.5 / 0.02 = 75 โอห์ม

อ่ะ งานนี้ ประหยัดไป ซื้อ R ค่าเดียวพอ 75 โอห์ม ซื้อมาทีละ 20 - 30 ตัวไปเลย สงสารคนหยิบ R ตัวละไม่ถึงสลึง ซื้อ 2 ตัว อนาถมากๆ เลย

ส่วนการต่อขนาน ที่ไม่แนะนำ แต่จะเล่นดูก็ได้ ย้ำว่าต้องสีเดียวกัน ซื้อร้านเดียวกันในคราวเดียว

คำนวณคล้ายกัน แต่ ค่ากระแสจะเพิ่ตาม LED ที่เพิ่มมา เช่น 2 ดวง ก็ 40 มิลลิแอมป์ 5 ดวง ก็ 100 มิลลิแอมป์ ที่กระแสสามารถจ่ายเพิ่มขึ้นได้เพราะว่ามี LED หลายๆ ดวงมารับกระแสนั้นไป แบ่งๆ กันอ่ะครับ

ใครอยากต่อแบบผสม ขนาน อนุกรม ก็พลิกแพลงกันดูครับ หลักการถ้าเข้าใจแล้ว เหมือนกัน



เกือบลืมบอก LED ทนแรงดันกลับขั้ว หรือ รีเวิร์สไบแอส ได้ต่ำมากๆ ระวังอย่าต่อกลับขั้ว แค่ 5 โวลต์ก็อาจจะพังได้ครับ


อีกอย่าง ไฟฟ้าสถิตย์ทำให้ LED พังได้ โดยเฉพาะสีเขียวมรกต สีน้ำเงิน สีขาว สีม่วง และสีประหลาดๆ อื่น ถ้าซื้อมาเยอะแล้วใช้ไม่หมด เอาแผ่นฟอยล์อลูมิเนียม เอามาห่อ LED ก่อนแล้วใส่ถุงเก็บไว้จะเป็นการดีนักแล....


แล้วเล่นให้สนุกนะครับ



Create Date : 30 พฤษภาคม 2548
Last Update : 30 พฤษภาคม 2548 20:52:00 น. 9 comments
Counter : 9833 Pageviews.

 
เคยต่อไฟเข้าไม่ผ่าน R แค่1โวลกว่าๆปลายๆมันก็ on แล้วไม่ใช่เหรอ


โดย: panumas05 วันที่: 30 พฤษภาคม 2548 เวลา:21:53:30 น.  

 
ใช่ครับ เฉพาะหลอดสีแดงนะ

หลอดสีแดง1.8 โวลต์
สีเหลือง 2 โวลต์
สีเขียวอ่อน 2.2 โวลต์
สีเขียวมรกต 3-3.5 โวลต์
สีฟ้าอมเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง สีขาว 3.3-4 โวลต์

แต่ละสีแรงดันมะเท่ากัน


โดย: NaCl IP: 203.170.228.229 วันที่: 31 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:17:39 น.  

 
เคยเอา signal gen จ่ายพัลล์ 10 V ขับ led ให้สว่างจ้ากว่าปรกติ (เเอบทำในเเลป) พอจะเอามาใช้จิงดันพังเร็วเพราะคำนวนหาจุดที่ led แปล่งเเสงเต็มที่โดยไม่พังไม่ได้


โดย: ton IP: 58.8.37.81 วันที่: 8 มิถุนายน 2548 เวลา:23:07:37 น.  

 
พังแหงดิ เพราะกระแสวิ่งเข้า LED แบบไม่มียั้ง อัดเข้าไปตั้ง 10 โวลต์ ไม่พังก็แปลก


โดย: NaCl วันที่: 14 มิถุนายน 2548 เวลา:17:58:28 น.  

 
จิงๆมานต้องเอา
(VS-VLED)/ ILED = R
แรงดันแหล่งจ่าย ลบ แรงดันตกคร่อมเอลอีดี(เวลาที่มันทำงานจะมีแรงดันตกคร่อมตัวมันอยู่ค่าหนึ่ง ถ้าเป็นไดโอดทำมะดาก็ 0.3, 0.7ส่วนLED ก็ประมานที่ท่านๆว่ามาน่านหละ)หารด้วยกระแสสูงสุดที่มันทนได้ จะเท่ากับค่า R
ไฟ 220 AC ผมยังต่อมาเลยเลย ต่ออนุกรมกับ R 12K แต่ต้องต่อไดโอดคร่อมไดLED กลับหัวกันไว้หรือ LED 2 ตัว ต่อกลับหัวกันก็ได้



โดย: เสือกไปทั่ว IP: 221.128.101.231 วันที่: 15 มิถุนายน 2548 เวลา:0:19:06 น.  

 
ถ้าเป็น super LED ใช้เหมือนกันหรือป่าว...ครับ


โดย: อยากรู้ IP: 125.24.244.194 วันที่: 2 ตุลาคม 2549 เวลา:9:43:52 น.  

 


โดย: boom IP: 125.24.137.144 วันที่: 29 มิถุนายน 2550 เวลา:18:47:56 น.  

 
ผมมีอีกวิธีมาเสนอ ครับ
ซึ่งเป้นวิธีที่ผมใช้เอง
ตัวผมเองใช้ R1/4W 300โอม 1ตัว
ต่อดรอบไว้ที่สาย + ใช้ 1ตัว นะครับ ต่อ LED 1แถวได้เลย
จากนั้นก็เอา ขา+ต่อขา6 ขาลบต่อขาลบ ได้เลย แล้วก็เอา สาย + ที่ต่อ กับ R แล้ว มาต่อเข้ากับ ขา+ ของ LED
ส่วนขาลบนะหรอไม่ต้องต่อ ผมจิ้มเคส เลยเพราะตัวเคส เป้นกราว อยู่แล้ว

LED สีน้ำเงินขนาด 5mm ผมต่อ 10หลอด/แถว/R 1/4W 300โอม/เส้น(*เส้น คือ ไฟ ที่จะ Input เข้ามา)
หากต่อมากกว่า10หลอด จะทำให้แสงหลี่ลง
แสงที่แมชจริงๆผมว่าประมาณ5-7หลอด แต่ผม ต่อ10หลอดเพื่อโหลดกระแส ไม่ให้หลอดมันร้อนไปด้วย ตอนนี้ว่างๆว่าจะ ต่อ เพิ่มอีก 10หลอด รู้สึกจะยังฟ้าไม่พอ


โดย: NeMeSyS IP: 124.120.73.144 วันที่: 22 มีนาคม 2551 เวลา:17:27:12 น.  

 
ขอบคุณเจ้าของประทู้นี้มากครับที่ทำให้ผมกระจ่าง

10หลอดเลยหรอ ไฟ12V เนี่ยนะ ทำไมผมต่อได้แค่3หล่ะ

พอขึ้นหลอดที่4 แทบจะไม่มีแสง ใช้R100โอห์ม (อนุกรมLED 4ขา) แหล่งจ่าย12V T^T


โดย: คลั่งแสง IP: 117.47.45.19 วันที่: 24 สิงหาคม 2551 เวลา:22:24:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

NaCl
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




Friends' blogs
[Add NaCl's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.