Group Blog
 
<<
เมษายน 2548
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
30 เมษายน 2548
 
All Blogs
 
กว่าจะมาเป็น Sony ตอนที่ 2 สิ่งประดิษฐ์ที่ต้องทำ

Chapter 2
1.This Is The Product We Must Produce!


ข้าม Chapter 1 ตอนที่ 2-4 ไป เพราะ ไม่มันส์..


เมื่อได้รับแรงบีบทางธุรกิจ ทอตสุโกะ (ชื่อเดิมก่อนเป็น Sony) ตัดสินใจที่จะทำ เครื่องบันทึกเสียงแบบแม่เหล็ก ส่วนมาซารุ อิบุกะ ก็อยากจะทำอะไรสักอย่าง ที่มีประโยชน์กับคนทั่วไป
ซึ่งต่างจากความต้องการของลูกค้าที่เป็นองค์กรรัฐ หรือลูกค้าที่เป็นสถาบันอื่นๆ แต่มันก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่อิบุกะต้องการทำ ส่วนวิทยุ ก็มีบริษัทใหญ่อื่นทำอยู่แล้ว
อะกิโอะ โมริตะ นั้นมองจากมุมของธุรกิจโดยแท้ สำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งทอตสุโกะสามารถขยายช่องทางการขายเข้าไปใน NHK มันคือเครื่องบันทึกเสียงระบบสายลวด ซึ่งเป็นที่สนใจของทั้งอิบุกะและโมริตะ


พนักงานของทอตสุโกะ ที่ร่วมกันสร้างตัวขึ้นมาใหม่ โมริตะ และ อิบุกะในแถวหน้า ขวามาซ้าย


วิศวกรของ ท็อตสุโกะ เริ้มทำงานวิจัยในทันที มาซาโนบุ ทาดา แห่ง Nipon Electric Co.(NEC Corporation) ใจดีขนาดยกเอาเครื่องบันทึกเสียงแบบสายลวดมาตัวนึง "คุณต้องสนใจเจ้านี่แน่ๆ" มันเคยถูกใช้ในสงครามด้วย
วิศวกรของท็อตสุโกะ ถอดมันออกเป็นชิ้นๆ และศึกษากลไกการทำงานบันทึก และเล่นของมันทั้งหมด ในช่วงเวลานั้น เพื่อนของโมริตะในอเมริกา ส่งชุดคิตเครื่องบันทึกเสียงของ Webster มาให้ มันใช้ลวดสเตนเลส มีกลไกม้วนสายลวดง่ายๆ และหัวบันทึก
ตอนนั้น โนบุโตชิ คิฮารา (ตอนนี้เป็นประธานของห้องแล็บโซนี่-คิฮาร่า) เป็นผู้ประกอบชุดคิตนี้ทั้งหมดรวมทั้งส่วนของเครื่องขยายเสียง เสียงแรกที่บันทึก คือ เสียงจากของ NHK ข่าวนักว่ายน้ำของญี่ปุ่น ฮิโรโนชิน ฟุรุฮาชิ
สร้างสถิติโลกใหม่ ที่ all-American aquatic championships ทำไว้ ที่ ลอส แองเจอลิส

คิฮาร่า เคยเป็นลูกศิษย์ของอิบุกะ ที่ Mechanical Engineering Department of Waseda University ก่อนที่จะจบ คิฮาร่า อ่านพบใบโฆษณาสมัครงานของทอตสุโกะที่โรงเรียน คิฮาร่าไปสัมภาษณ์งานพร้อมใบสมัคร
ในใบ resume เขาเขียนรายละเอียดไว้ว่า มีความสามารถพิเศษในเรื่องไฟฟ้า และมีข้อความ "ผมสามารถสร้างเครื่องรับวิทยุคลื่นสั้น ขนาด 5 หลอด ระบบซูเปอร์เฮทเทอร์โรไดน์ และเครื่องขยายเสียงไฮไฟ"
ใบสมัครถูกส่งให้ ฮิกูชิ ผู้สัมภาษณ์ เขาถามคิฮารา ว่า "คุณทำงานไฟฟ้าได้ในขณะที่เรียนวิชาหลักเป็นวิศวกรรมเครื่องกลเนี่ยนะ พิลึกคนจริงๆ" คนพิลึกคนนี้แหละ ได้เข้ามาร่วมงานกับทอตสุโกะ เพื่อออกแบบเครื่องบันทึกเสียงแบบลวด และแบบเทป

ระหว่างที่ทำงานอย่างหนักกับเครื่องบันทึกเสียงแบบลวด ทางทอตสุโกะ ได้ยินมาว่ามีเครื่องที่สามารถบันทึกเสียงลงบนเส้นเทป ในเวลานั้น อิบุกะและโมริตะ ได้ไปที่สำนักงานใหญ่ Occupation Forces ที่ตึก NHK บ่อยๆ วันหนึ่งสมาชิกของ
Civil Information and Education (CIE) ได้ให้เขาดูเครื่องเทปบันทึกเสียง เสียงที่ได้ ดีกว่าเครื่องแบบสายลวดเป็นอันมาก "นี่แหละ นี่แหละ ที่เราจะทำออกสู่ตลาดให้ได้ มีความเป็นไปได้สูงที่จะทำโดยใช้เทปแบบนี้" อิบุกะพูด
แล้วเครื่องบันทึกแบบสายลวดก็ถูกลืมโดยสิ้นเชิงนับแต่บัดนั้น


เครื่องบันทึกเสียง สายลวด เว็บสเตอร์



ลวดบันทึกเสียง



กว่าจะมาเป็น Sony ตอนที่ 3



Create Date : 30 เมษายน 2548
Last Update : 11 พฤษภาคม 2548 20:20:40 น. 2 comments
Counter : 1031 Pageviews.

 
ยยยยยยยยยยยยยยยยย


โดย: มาลวย IP: 58.147.108.210 วันที่: 20 กันยายน 2549 เวลา:15:12:14 น.  

 
เก่าเก็บ


โดย: รูซี่เเลนดอม IP: 58.147.108.210 วันที่: 20 กันยายน 2549 เวลา:15:13:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

NaCl
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




Friends' blogs
[Add NaCl's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.