กุมภาพันธ์ 2551

 
 
 
 
 
2
3
4
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
 
 
All Blog
ความเห็นแพทย์ที่สอง เรื่องเล็กน้อยที่ใหญ่โต
ตั้งแต่ขึ้นปีใหม่ที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีข่าวที่เกี่ยวข้องกับทางแพทย์ในแง่ลบออกมามากมาย และถ้าสังเกตกันให้ดีจะเห็นว่า เนื้อข่าวนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ ผุ้ป่วยได้รับการรักษาอย่างหนึ่ง เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น และในที่สุดเมื่อไปรักษากับแพทย์อีกคนหนึ่งแล้วก็ได้รับคำพูดหรือชี้แจงที่ทำให้รู้สึกว่าการรักษาที่ได้ในครั้งแรกนั้นผิดจากที่ควรจะเป็น เป็นเหตุทำให้เกิดผลเสียหายขึ้น
หลายๆกรณีมีให้เห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์และPOCKET BOOKอยู่แล้ว ดังนั้นคิดว่าคงไม่ต้องยกตัวอย่างแต่ประการใด

อะไรคือความเห็นที่สอง
ความเห็นที่สอง หรือที่เรียกกันว่า Second opnion เป็นสิ่งที่มีมานานแล้วในการทำงานด้านสุขภาพ เนื่องจากเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องใหญ่ของชีวิตคนๆหนึ่ง โรคบางโรคมีการรักษาที่หากรักษาแล้วจะไม่สามารถแก้ไขกลับคืนได้ บางโรคหากตรวจรักษาจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่มากมาย ... และโดยที่ธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนเมื่อประสบกับเรื่องเลวร้ายหรือสิ่งที่ไม่คาดฝัน จะเกิดการตอบสนองอย่างแรกคือการปฏิเสธ (ตามหลักElisabeth Kubler - Ross Model)
ซึ่งตามหลักแล้วแพทย์เอง แม้จะรู้ว่าโรคของผู้ป่วยนั้นจำเป็นต้องรักษาแต่หากผู้ป่วยไม่ยินยอมก็ไม่อาจจะทำการรักษาได้ ดังนั้น ทำให้เกิดการ"ส่งต่อ"เพื่อพบผู้เชี่ยวชาญ หรือ การส่งเพื่อให้พบกับแพทย์ผู้ให้ความเห็นคนที่สอง
เพื่อว่าเมื่อมีแพทย์ถึงสองคนที่ให้ความเห็นตรงกัน ผู้ป่วยจะได้สบายใจและยินยอมรับการรักษานั้น

ปัญหาเบื้องต้นของเรื่องความเห็นที่สอง
ปัญหาพื้นฐานของเรื่องนี้ คือ หากความเห็นแรกกับความเห็นที่สองไม่ตรงกัน จะเกิดอะไรตามมา
ต้องอย่าลืมครับว่า คนที่มีปัญหาทางสุขภาพ เวลาไปหาหมอแล้วเกิดอาการไม่แน่ใจจนต้องไปหาหมอคนที่สอง สิ่งที่มีอยู่แน่ๆทุกคนคือ "ความไม่แน่ใจ"
อันดับต่อมาคือ สุดท้ายแล้วผู้ป่วยรายนั้นต้องมอบความไว้วางใจให้กับความเห็นใดความเห็นหนึ่ง
และเมื่อทำการรักษาต่อไปแล้วจะมีสิ่งที่ตามมาอีกก็คือ จะมีหมอคนนึงที่พูดไม่ตรงกันกับผลสุดท้าย
อย่างเช่น หมอคนแรกบอกว่าเป็นหวัด รักษาไปสามวันไม่ดีขึ้นก็เลยไปหาหมอคนที่สอง หมอคนที่สองบอกว่าเป็นไข้เลือดออก ... รักษาต่อไปอีกสองวันก็หาย
หมอคนแรกบอกว่าเป็นมะเร็ง แต่ไปตรวจกับอีกคนกลับไม่พบว่าเป็นมะเร็ง และก็ยังมีชีวิตอยู่ต่อมาอย่างปกติ
หรือหมอคนแรกบอกว่าเป็นหวัดเจ็บคอ ไม่ต้องกินยาฆ่าเชื้อ รักษาไปสามวันยังไม่ดีขึ้นไปหาหมอคนที่สอง หมอบอกว่าคออักเสบจ่ายยาแก้อักเสบฆ่าเชื้อมาให้ ... รักษาต่อไปอีกสองวันอาการก็ทุเลา
หรือแม้แต่วิงเวียนมึนงง หมอคนแรกตรวจแล้วบอกว่าไม่ได้เป็นอะไร แต่ไปตรวจกับหมอคนที่สองสั่งให้เข้าเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์สมอง กลับเจอว่าในสมองมีร่องรอยการขาดเลือด

ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ป่วย"รู้สึก"ว่ามีแพทย์อยู่คนนึงที่ได้ให้ความเห็นที่ผิดไปจากสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นหรือ"เชื่อว่าเป็น" ความรู้สึกที่มีต่อมาก็คือ ผิดหวังหรือโกรธ
แนวโน้มที่จะผิดหวังหรือโกรธนั้นมีแน่นอนครับ เพราะว่าสิ่งที่ผู้ป่วยมีเมื่อเริ่มไปหาหมอคนที่สองคือ "ความไม่แน่ใจ" ซึ่งเจ้าความไม่แน่ใจนี้ เมื่อบวกเข้าไปกับความเชื่อที่ว่าตนเองได้รับการวินิจฉัยหรือรักษาที่ไม่ถูกต้อง ย่อมนำมาซึ่งความรู้สึกในแง่ลบต่างๆนานากับแพทย์ที่ผู้ป่วยผู้นั้น"เชื่อ"ว่าได้ทำการวินิจฉัยหรือรักษาผิดพลาด

เรื่องราวแบบนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นมากเรื่อยๆในสังคมไทย เพราะว่าความพัฒนาทางด้านการขนส่งเดินทางติดต่อสื่อสารที่มีมากขึ้น
การเดินทางง่ายขึ้น ทำให้คนเราสามารถเดินทางไปพบหมอในที่ต่างๆได้ง่ายขึ้น
การติดต่อสื่อสารที่ง่ายขึ้น ทำให้เราสามารถสอบถามความเห็นจากคนหลายคนได้ง่ายขึ้น และเมื่อรู้สึกไม่ดีก็บ่นได้ง่ายขึ้นและวงกว้างขึ้น
ซึ่งเรื่องพวกนี้เมื่อมีมากขึ้น ยิ่งชักนำให้คนเกิดความไม่พอใจได้ง่ายและมีแนวโน้มที่จะไม่เชื่อใจสูงเป็นวัฏจักรวนเวียนไปไม่สิ้นสุด

อะไรเป็นเหตุที่ทำให้"ความเห็นที่สอง"ต่างจากความเห็นแรกและเป็นเรื่องเป็นราวได้
เวลาบอกว่าหมอสองคนรักษาไม่ตรงกัน ความเห็นที่เห็นในกระทู้จำนวนมากก็คือ มีหมอคนนึงไม่ดี ไม่ตั้งใจรักษา ไร้จรรยาบรรณ
แต่ในทางกลับกันบางเรื่องเป็นเรื่องเดียวกันที่เล่ามาจากการมองคนละฝั่ง เป็นการเล่าจากการมองของแพทย์ทั้งสองฝั่ง คนอ่านก็กลับมีความเห็นกลับกัน
ดังนั้นผมเลยอยากจะแจงสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดี อันเกี่ยวเนื่องมาจาก "ความเห็นที่สอง" ครับ

(ยังมีต่อ)



Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2551 20:57:32 น.
Counter : 2963 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หมอแมว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]