°o.O[P]in[K]-[M]oo[N]O.o°

::บทที่ 4 ยาที่ใช้ในการรักษา::



กลุ่มยาแก้ปวดและลดไข้ (analgesssic & antipyretics)



ยาแก้ปวดลดไข้ชนิดไม่เสพติด (non-narcotic analgesic and antipyretics)
1. Paracetamol
- ชื่อสามัญ Acetaminophen

กลไกการออกฤทธิ์
- ฤทธิ์ระงับปวด มีฤทธิ์ระงับปวดในระดับความรุนแรงต่ำหรือปานกลาง เช่น ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ฯลฯ แต่ไม่มีผลในการรักษาความเจ็บปวดรุนแรง ปวดแผลผ่าตัด ปวดอวัยวะภายในช่องท้อง
กลไกการออกฤทธิ์ระงับปวด
ผ่านสมอง ออกฤทธิ์โดยตรงที่ hypothalamus ทำให้ลดความเจ็บปวดโดยไม่เกิดอาการเปลี่ยนแปลงทางจิต
ผ่านระบบประสาทส่วนปลาย ออกฤทธิ์โดยการสังเคราะห์ prostaglandin และ bradykinin ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด
- ฤทธิ์ในการลดไข้
ผ่านสมอง ออกฤทธิ์โดยตรงที่ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิใน hypothalamus ทำให้เพิ่มการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกายด้วยวิธีการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ผิวหนังและเพิ่มการขับเหงื่อแต่ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างความร้อนของร่างกาย
ลดการสังเคราะห์ Prostaglandin E

การดูดซึมแลการขับออกจากร่างกาย
ดูดซึมได้ดีจากทางเดินอาหาร ระดับยาสูงสุดในพลาสมาเกิดขึ้น ½-1 ชั่วโมง หลังกินยาค่าครึ่งชีวิตในซีรั่มประมาณ 1-3 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับและขับออกทางปัสสาวะ

ขนาดและวิถีทางที่ให้
ผู้ใหญ่หรือเด็กอายุเกิน 12 ปี
ชนิด : ยาเม็ด ยาน้ำเชื่อม แคปซูล
ขนาด : 325-1000 มก.ทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 4 กรัมต่อวัน หรือหากกินยานานๆ ไม่ควรเกิน 2-6 กรัมต่อวัน เริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีระดับยาสูงสุดในกระแสเลือด 10-60 นาทีออกฤทธิ์นาน 3-4 ชั่วโมง
ชนิด : เหน็บทางทวารหนัก
ขนาด : 325-650 มก. ทุก 4 ชั่วโมง เริ่มออกฤทธิ์ 30 นาที -1 ชั่วโมงระดับยาสูงสุดในกระแสเลือด 1-3 ชั่วโมงออกฤทธิ์นาน 3-4 ชั่วโมง

ฤทธิ์ข้างเคียงและพิษของยา
น้อยมากในขนาดรักษา ถ้าแพ้ยาจะพบผื่นขึ้นที่ผิวหนัง มีไข้ ขนาดยาสูงๆ อาจเกิดการทำลายของตับในทารกและทำลายไตได้

ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง
1. ผู้ป่วยโรคตับ
2. ผู้ที่ขาดเอนไซม์ G-6-PD

ยาแก้ปวดลดไข้ชนิดเสพติด (narcotic analgesic and antipyretics)
คือยาที่ใช้ระงับความเจ็บปวดที่เสพติดได้ ส่วนมากจะใช้ระงับความเจ็บปวดชนิดรุนแรงขณะเดียวกันก็จะกดการทำงานของสมองด้วย ทำให้ผู้ป่วยง่วงและหลับไป จุดประสงค์ในการใช้ยาประเภทนี้เน้นไปในด้านระงับปวดมากกว่าลดไข้ ยาแก้ปวดลดไข้ที่เป็นยาเสพติดแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ กลุ่มยาที่ได้จากธรรมชาติ (naural opium alkaloid) เป็นอัลคาลอยด์ที่ได้จากยางสีขาว ซึ่งกรีดจากยางฝิ่นตระกูล Papaver somniferum อัลคาลอยด์ตัวหลักๆ ได้แก่ มอร์ฟีน และ โคดีอีน ต่อมามีการพัฒนาโดยสังเคราะห์อัลคาลอยด์ที่ได้จากธรรมชาติ เกิดเป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่เป็นยาเสพติดกลุ่มที่สองขึ้นเรียกว่ายาสังเคราะห์ (synthetic drugs) ยาสังเคราะห์นี้สังเคราะห์เพื่อเพิ่มฤทธิ์ในการระงับปวดและลดการเสพติด

Morphine
Morphine เป็นอัลคาลอยด์ ที่ได้จากฝิ่นตัวที่สำคัญที่สุด เป็นสารตัวต้นที่จะสังเคราะห์เป็นยาอีกหลายประเภท เป็นยาที่นิยมใช้อันดับหนึ่งในการลดความเจ็บปวดรุนแรงหลังผ่าตัด



กลไกการออกฤทธิ์
- ฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
morphine ฤทธิ์ระงับปวดโดยปกติความเจ็บปวดจะประกอบด้วย 2 องค์ประกอบได้แก่ความรู้สึกเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บปวด morphine ลดความเจ็บปวดทั้ง 2 องค์ประกอบ โดยทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ลดความวิตกกังวล ความหงุดหงิด และความเครียด ทำให้รู้สึกสบายขึ้น กดระบบประสาทส่วนกลางทำให้ง่วงซึม มักไปรบกวนต่อประสาทรับความรู้สึกอย่างอื่น เช่น สัมผัส การได้ยิน การมองเห็น การได้กลิ่น การสั่นสะเทือน ฯ ทำให้ม่านตาหดตัว กดการหายใจ เป็นอาการข้างเคียงของ morphine กดศูนย์การไอที่ medulla ทำให้เกิดการสะสมของ secretion ในทางเดินหายใจ
- ฤทธิ์ต่อระบบไหลเวียนโลหิต
เพิ่มความดันในกะโหลกศีรษะ (increase intracranial pressure) โดย morphine จะเพิ่มปริมาณ CO2 content ในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดในสมองขยายตัว
- ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร
ทำให้เกิดการท้องผูก เนื่องจาก morphine กดการหดตัวของลำไส้ ลดการหลั่ง secretion และทำให้กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักหดตัวมากขึ้น ทำให้มีการหดรัดตัวของท่อทางเดินน้ำดี ทำให้เกิดการคั่งของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ

การดูดซึมและการขับถ่ายออกจากร่างกาย
Morphine ดูดซึมได้ดีจากทางเดินอาหารและปอด (ในรูปฝิ่น) ถ้าให้ทางหลอดเลือดดำมอร์ฟีนจะออกฤทธิ์ทันทีแต่ถ้าฉีดเข้าใต้ผิวหนังจะออกฤทธิ์ภายใน 30-40 นาที เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว มอร์ฟีนจะกระจายไปยังเนื้อต่างๆ ได้ดี และไม่สะสมในร่างกายสามารถผ่าน blood brain barrier ได้ มอร์ฟีนผ่านรกได้จึงควรระวังในหญิงตั้งครรภ์ มอร์ฟีนถูกทำให้หมดฤทธิ์ที่ตับและขับอกทางปัสสาวะส่วนใหญ่ ส่วนน้อยขับออกทางอุจจาระ น้ำดีและเหงื่อ

ขนาดและวิถีทางที่ให้
รูปต่างๆ ของยาที่มีส่วนผสมของ มอร์ฟีน
รูปยากิน ยาน้ำ ได้แก่ tincture opium : ทางปาก 0.6 มก.วันละ 3 ครั้ง
รูปยาเม็ด ได้แก่ morphine sultfate มีขนาด 8, 10, 15 และ 30 มก.
รูปยาเหน็บ ได้แก่ opium and belladonna suppositories (Bando suppositories) ประกอบด้วย opium 1 เกรน และ belladonna 1/8 เกรน วิธีใช้ เหน็บทางทวารหนัก 3 ครั้งต่อวัน

สำหรับวิถีทางที่ให้ มอร์ฟีน อาจเป็น
1. ทางปากให้ 10-30 มก. ทุก 4 ชั่วโมง อาจให้สูงกว่า 75 มก. หรือมากกว่า
2. ทางกล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง
ผู้ใหญ่ เริ่มด้วย 5-10 มก. ทุก 4 ชั่วโมง จากนั้นปรับขนาดตามการตอบสนองของผู้ป่วย
เด็ก 0.1 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซ้ำได้ทุก 4 ชั่วโมง ขนาดสูงสุดไม่เกิน 15 มก.
3. ทางหลอดเลือดดำ
ผู้ใหญ่ 4-10 มก. ผสมเจือจางใน water for injection 4-5 มล.
เด็ก 0.05-0.1 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
4. ทางไขสันหลัง (epidural, intrathecal)
ผู้ใหญ่ : epidural ใช้ขนาด 5 มก.
: intrathecal ใช้ขนาดน้อยมากประมาณ 1 ส่วนสิบของขนาดที่ใช้กับ epidural

ฤทธิ์ข้างเคียงและพิษของยา
- คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก อารมณ์เปลี่ยนแปลง
- กดการหายใจ ง่วงนอน อาจเกิด orthostatic hypotension
- มีปัสสาวะคั่งในกระเพาะปัสสาวะ
- ตาพร่ามัว
- เกิดการเสพติด
- ถ้าได้รับยาเกินขนาด อาจเกิดการแพ้โดยมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง

ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic drugs)
Cefazolin
กลุ่ม Cephalosporin
มีฤทธิ์คลอบคลุมเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกเป็นหลักออกฤทธิ์ต้าน Escherichia coli, Klebsiella spp. การป้องกันการติดเชื้อทางศัลยกรรม cefazolin ยังคงเป็นยามาตรฐานในการป้องกันการติดเชื้อทางศัลยกรรมอยู่

การดูดซึมและการขับออกจากร่างกาย
เภสัชจลนศาสตร์ cephalosporin แตกต่างกันตามชนิดของยาโดยทั่วไปแล้วยาในกลุ่มนี้ในรูปกินจะถูกดูดซึมได้ดีปานกลางระดับ pH และอาหารในกระเพาะอาหารมักมีผลต่อการดูดซึมยาค่อนข้างมาก ยาในกลุ่มนี้มีการกระจายในเนื้อเยื่อต่างๆ เป็นแบบนอกเซลล์ (extracellular) ดังนั้นจึงไม่ควรนำยามาใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อที่อยู่ในเซลล์

ขนาดและวิถีทางที่ให้
ผู้ใหญ่ IM,IV 250 มก.ถึง 1 กรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง
เด็ก IM,IV 50-100 มก./กก/วัน แบ่งให้วันละ 4 ครั้งทุก 6 ชั่วโมง

ฤทธิ์ข้างเคียงและพิษของยา
ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ของยาในกลุ่ม cephalosporins คล้ายคลึงกับยาอื่นในกลุ่ม betalactam ที่แตกต่างกันมีดังนี้
1. การแพ้ยา พบไม่บ่อยเท่า benzylpenicillin และ aminopenicillin พบปฏิกิริยา anaphylaxis น้อยกว่า benzylpenicillin ไม่ทราบอุบัติการณ์ที่แท้จริงของการแพ้ยาข้ามกลุ่มกับยากลุ่ม benzylpenicillin แต่อุบัติการณ์โดยประมาณคือ ร้อยละ 8
2. ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ต่อระบบต่างๆ มีอุบัติการณ์ต่ำพบ pseudolithiasis ในถุงน้ำดีจากการใช้ ceftriaxone ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ตามระบบอื่นๆ เช่น ต่อระบบโลหิตวิทยา ไต อวัยวะสัมผัส ระบบประสาทส่วนกลาง พบได้น้อย
3. การเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยา เป็นปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ที่สำคัญ และพบได้บ่อยยารูปกินทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วงได้จากปฏิกิริยานี้ พบการติดเชื้อซ้ำเติมได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อที่เกิดโรคในการติดเชื้อซ้ำเติมที่พบได้บ่อยคือ เชื้อรา enterococus sp. เชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อต่อยา และ Pseudomonas aeruginosa ส่วนลำไส้อักเสบที่เกิดสัมพันธ์กับยาปฏิชีวนะ (antibiotic-associated colitis,AAC) อาจมีอุบัติการณ์ไม่แตกต่างจากยากลุ่ม Penicilin แต่ต่ำกว่ากลุ่ม lincosamide
4. ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ที่สำคัญที่สุด คือ เชื้อจะมีการพัฒนาการในการดื้อต่อยาในกลุ่ม cephalosporins ที่มีฤทธิ์กว้าง (broadspectrum) เพิ่มขึ้นได้แก่ cephalosporins รุ่นที่ 3 เป็นยาที่กระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรียผลิตเอนไซม์ ESB บ่อยที่สุด นอกจากนั้นยากลุ่มนี้ยังทำให้เชื้อกลุ่ม enterobacteriaceae ที่ผลิตเอนไซม์ cephalosporinase ในระดับต่ำ เปลี่ยนเป็นเชื้อที่ผลิตเอ็นไซม์ดังกล่าวในระดับสูงแบบถาวร การใช้ยากลุ่มนี้อย่างเหมาะสม (appropriate use) จะชะลอการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว







การพยาบาล
1. ซักประวัติการแพ้ยาให้ดี โดยเฉพาะการแพ้ยานี้
2. Cephalosporins ถ้าฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะเจ็บปวดมากและปวดนาน หากจำเป็นต้องฉีดควรฉีดให้ลึกที่กล้ามเนื้อใหญ่ เช่นกล้ามเนื้อที่สะโพกและเปลี่ยนที่ฉีดเสมอ

3. การฉีดเข้าหลอดเลือดดำมักพบว่ามีการอักเสบบริเวณรอยฉีดยา การให้หยดทางหลอดเลือดดำในขนาดสูงเกิน 6 กรัม/วัน นานเกิน 3 วัน มักพบว่าทำให้เกิดหลอดเลือดดำอักเสบฉะนั้นควรสังเกตอาการให้ดีและอาจหลีกเลี่ยงได้โดยเจือจางยาให้มากและฉีดหรือหยดช้าๆ
4. การผสมยาทิ้งไว้ในตู้เย็นอาจมีการตกผลึก การละลายผลึกให้วางไว้อุณหภูมิห้องสักครู่หรือเขย่าเบาๆ
5. ผู้ป่วยที่มีประวัติโรคไตและได้รับยาในขนาดสูงและและมีภาวะขาดน้ำมักพบว่าเกิดพิษต่อไตได้สูงควรตวงบันทึกจำนวนน้ำและปัสสาวะให้ดีในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคไตทุกราย
6. สังเกตอาการที่อาจเกิดจากการแพ้ยา ต้องหยุดยาทันทีและรายงานแพทย์
7. รักษาความสะอาดของปาก ฟัน ช่องคลอด และทวารหนักเป็นพิเศษในผู้ป่วยที่ได้รับยานานๆ เพราะมักเกิด superinfection ได้บ่อย
8. ผู้ป่วยเบาหวานที่กำลังได้รับการรักษาด้วย cephalosporins การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะไม่ควรใช้ copper reduction agent เช่น Benedict solution, clinitest เพราะจะได้ผลคลาดเคลื่อน ควรใช้ clinistix ซึ่งเป็นการทดสอบที่อาศัย enzymatic glucose oxidase reaction ซึ่งไม่ทำให้ผลเปลี่ยนแปลง
9. การใช้ cephalosporins จะเสริมฤทธิ์ยาต้านการแข็งตัวของหลอดเลือดที่ใช้รับประทาน (oral anticoagulant)
10. Cephalosporins จะเสริมฤทธิ์ยาต้านการแข็งตัวของหลอดเลือดที่ใช้รับประทาน (oralanticoagulant)
11. Cephalosporins ชนิดรับประทานไม่ถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะแต่ถ้าให้รับประทานในขณะที่มีอาหารอยู่ด้วยจะดูดซึมช้าลง
12. การเก็บยาที่ยังไม่ได้ละลายต้องเก็บในที่อุณหภูมิไม่เกิน 25 °c อย่าให้ถูกแสง
13. การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำโดยตรง ต้องฉีดช้าๆ (3-5 นาที) เพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดและการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ
14. ห้ามผสม cephalosporins กับ sodium bicarbonate หรือฉีดใน IV line เดียวกัน
15. แม้อาการแพ้แบบ anaphylaxis จะเกิดน้อยมาก แต่ก็ควรระมัดระวังเตรียมการช่วยเหลือไว้เสมอถ้ามีอาการเหงื่อออก อาเจียน ตัวเขียว ต้องหยุดยาทันที
Dicloxcillin
กลุ่ม Penicillin
กลุ่มเบตา-แลคแตม (-lactam antibotic) มีผลต่อเชื้อแกรมบวก ทนต่อเอนไซม์เพนนิซิลลินเนสใช้ได้กับเชื้อ Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermis
ประโยชน์ที่ใช้ในการรักษา
1. การติดเชื้อ Staphylococcus ของผิวหนัง soft tissue รวมทั้งการติดเชื้อที่เรื้อรัง เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ กระดูกอักเสบ โดยต้องผ่าตัดเอาหนองออกด้วย เพราะหนองทำให้ผนังเซลล์ไม่แบ่งตัว ยาเข้าไม่ถึงเชื้อ
2. ใช้ป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนัง การใส่อวัยวะเทียมที่หลอดเลือด หรือสิ่งแปลกปลอมที่กระดูกจากเชื้อแกรมบวกรูปทรงกลม
3. ใช้ป้องกันการติดเชื้อ S.epidermidis และ S.aureus ในผู้ป่วย acute bacteriaendocarditis ก่อนการผ่าตัดลิ้นหัวใจ
พิษและฤทธิ์ไม่พึงประสงค์
1. แพ้ยาหรือภาวะคุ้มกันไว มีอาการเกิดผื่น ลมพิษ ผื่นมีลักษณะเป็น maculopapular rash มีไข้ หลอดเลือดอักเสบ exfoliative dermatitis, stevens juhnsan syndrome ถ้าอาการแพ้รุนแรงถึงขั้น anaphylaxis การแพ้ยาเกิดจากระบบคุ้มกันของร่างกายถูกกระตุ้นโดยเพนนิซิลลิน หรือเมตะบอไลท์ของยาสลายตัวเปลี่ยนเป็น pennicilloic acid เมื่อรวมกับโปรตีนจะได้ penicilloy protien haptens ซึ่งเป็นแอนติเจนที่สำคัญทำให้เกิดการแพ้ยา
2. ผลต่อระบบประสาท การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทำให้ปวดบริเวณที่ฉีด การฉีดเข้าหลอดเลือดดำในขนาดที่สูง หรือให้ผู้ป่วยที่ไตเสื่อมจะเกิดเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการทางจิตประสาท และอาจชักได้ โดยเฉพาะในทารกแรกเกิด
3. ผลต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องอืดปากลิ้นอักเสบ ปวดท้อง ปวดเกร็งอุจจาระร่วง อาจพบ pseudomembranous Colitis
4. มีผลต่อตับ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ อาจมีการทำลายเนื้อเยื่อมีผลทำให้รับ SGOT และ LDH สูงขึ้น โดยไม่มีผิดปกติที่ตับ
5. ผลต่อระบบโลหิต อาจทำให้เลือดหยุดได้ยาก จากการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกชนิด Coombs เป็นผลบวก เช่น penicillin G.

ขนาดและวิธีการให้
ผู้ใหญ่ ขนาด 250-500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง
เด็ก ขนาด 250 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง

ยาลดความดันโลหิต (hypotensive drugs)
Enalapril
ชื่อสามัญ Enalapril maleate เป็นยาลดความดันโลหิตที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแองจิโอเทนซิน I ให้เป็นแองจิโอเทนซิน II เพราะแองจิโอเทนซิน II มีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว ลดระดับการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเธติก และเพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนแอน-โดเทอโรน ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงทุกระดับและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดไตผิดปกติ
ขนาดและวิถีทางที่ให้
ให้ 10-40 มก.รับประทานวันละ 1-2 ครั้ง

ฤทธิ์ข้างเคียงและพิษของยา
อาการที่พบบ่อยคือ ผื่นคัน เป็นไข้ และเบื่ออาหาร อาการรุนแรงคือ เม็ดเลือดขาวต่ำและไตเสียหน้าที่ พบไข่ขาวในปัสสาวะและกลุ่มอาการเนฟโฟติค

การพยาบาล
1. ควรให้ยานี้ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมงเพราะอาหารจะทำให้การดูดซึมลดลงร้อยละ 30-40 ยานี้จะมีกลิ่นกำมะถัน
2. การให้ยานี้ครั้งแรก ควรระวังความดันโลหิตต่ำอย่างรวดเร็วซึ่งจะเกิดได้ในเวลา 1-3 ชั่วโมง หลังจากได้รับยา ควรวัดความดันโลหิตบ่อยๆ ในช่วง 3 ชั่วโมงแรกและให้นอนพักภายหลังรับยา
3. ควรตรวจปัสสาวะเป็นระยะๆ เพื่อหาไข่ขาวและตรวจดูการทำงานของไต เช่น BUN Creatinine ทั้งก่อนและขณะรับการรักษา
4. บันทึกและสังเกต intake และ output
5. ผู้ป่วยที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกง่ายควรได้รับการตรวจเลือดหาเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ก่อนได้รับการรักษาและภายหลังการรักษาได้ 2 อาทิตย์
6. ผู้ป่วยที่ได้รับยานี้ร่วมกับยาขับปัสสาวะ หรือได้รับอาหารรสเค็มควรระวังมากเพราะจะทำ ให้ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 ชั่วโมง
7. หลังจากเลิกให้ยาขับปัสสาวะชนิดที่ไม่ทำให้เสียโปรแตสเซียม เช่น spironolactone เมื่อได้รับยานี้เข้าไปจะทำให้เกิดภาวะโปรแตสเซียมในเลือดสูงได้

ยากล่อมประสาท (sedative)
Diazepam
กลไกการออกฤทธิ์
Diazepam ออกฤทธิ์เสริม GABA ที่ตัวรับในสมองและไขสันหลังโดยไม่ออกฤทธิ์โดยตรงที่กล้ามเนื้อลาย ได้มีการทดลองในสัตว์พบว่า ยาออกฤทธิ์กด spinal reflex ได้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเกิดจากฤทธิ์ที่ทำให้หลับ จึงสามารถคลายกล้ามเนื้อได้ ยาจะช่วยลดอาการปวด บวม และช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อเฉพาะในผู้ที่มีการเกร็งของกล้ามเนื้อเฉพาะที่ แต่ใช้ไม่ได้ผลในผู้ที่มารเกร็งของกล้ามเนื้อจากมีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง

ฤทธิ์ข้างเคียงและพิษของยา
1. ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยกดระบบประสาททำให้ง่วงซึม มึนงง อ่อนล้า และ อ่อนแรง โดยเฉพาะในช่วงแรกของการรักษา ถ้าให้ขนาดสูงๆ อาจหมดสติ และกดการหายใจ
2. ถ้าหยุดทันที อาจทำให้ประสาทหลอน หลงผิด และชักได้
3. อื่นๆ เช่น คลื่นไส้ ท้องผูก และปัสสาวะคั่ง

ขนาดและวิถีทางที่ให้
ชนิดเม็ดขนาด 2, 5 และ 10 มก.
ชนิดแคปซูลขนาด 15 มก.
ชนิดน้ำ 1 และ 5 มก./มล.

ยาต้านวัณโรค (Antituberculous agant)

Isoniazid (INH)
ข้อบ่งใช้
เป็นยาที่ใช้ในสูตรยาทุกสูตรสำหรับรักษาวัณโรค ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ในขณะนี้ ในบางครั้งจะใช้ isoniazid เพียงอย่างเดียวในการป้องกันวัณโรคในกรณีดังนี้
- ป้องกันการติดเชื้อของผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคมาก จนมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นวัณ-โรค
- ป้องกันการเป็น Primary complex ของผู้ติดเชื้อวัณโรค แต่ยังไม่แสดงอาการของโรค
- ป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ขนาดและวิธีใช้
โดยทั่วไปจะให้ isoniazid โดยการรับประทาน แต่อาจใช้ยาฉีดให้แก่ผู้ป่วยที่มีอาการหนักมาก
เพื่อการรักษา (โดยใช้ร่วมกับยาวัณโรคชนิดอื่น)
วันละ 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ขนาดสูงสุดไม่เกิน 300 มิลลิกรัม
สัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
สัปดาห์ละ 2 ครั้งๆ ละ 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
เพื่อการป้องกัน
ผู้ใหญ่ วันละ 300 มิลลิกรัม เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
เด็ก วันละ 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ขนาดสูงสุดไม่เกิน 300 มิลลิกรัม) เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
ข้อห้ามใช้
- ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยากลุ่มนี้
- ผู้ที่กำลังป่วยเป็นโรคตับ
ข้อควรระวัง
- ผู้ที่เคยเป็นโรคตับเรื้อรัง ควรได้รับการตรวจหาความเข้มข้นของ hepatic transaminase ในซีรัม
- ถ้าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคของประสาทส่วนปลาย ซึ่งมีสาเหตุเนื่องจากการขาดอาหาร ติดสุราเรื้อรัง หรือเป็นโรคเบาหวาน ควรให้รับประทาน pyridoxine (B6) ร่วมด้วย วันละ 10 มิลลิกรัม ถ้าชุมชนใดมีมาตรฐานของภาวะโภชนาการต่ำควรให้ผู้ป่วยวัณโรครับประทาน pyridoxine ร่วมด้วยทุกครั้ง
- การดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นโรคลมชักด้วยความระมัดระวัง เพราะ isoniazid อาจกระตุ้นให้เกิดการชักได้
อาการอันไม่พึงประสงค์
- โดยทั่วไปผู้ป่วยที่รับประทานยาตามขนาดที่แนะนำจะทนต่ออาการข้างเคียงของยาได้อาการแพ้ยาที่เกิดขึ้นที่ผิวหนังหรือทั่วร่างกายอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างสัปดาห์แรกของการรักษา
- ผู้ป่วยจะไม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคของประสาทส่วนปลาย ถ้าผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคของประสาทส่วนปลาย ด้วยสาเหตุดังกล่าวให้ B6 ร่วมด้วยทุกวัน
- ผู้ป่วยที่มีความไวต่อยาอาจมีความผิดปกติของระบบประสาทได้แก่ประสาทตาอักเสบโรคจิตและชักโดยเฉพาะในช่วงหลังของการรักษาบางครั้งจึงจำเป็นต้องหยุดยา
- ตับอักเสบ เป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วจะรุนแรงมาก ต้องหยุดยาทันที

Rifampicin
สรรพคุณ
ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อวัณโรค และยับยั้งไม่ให้เชื้อโรคเพิ่มจำนวนขึ้น โดยจะมีผลต่อเชื้อทั้งที่อยู่ในและนอกเซลล์
ข้อบ่งใช้
เป็นยาซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ในขณะนี้ สำหรับรักษาวัณโรคเป็นเวลา 6 เดือนและ 8 เดือน
ขนาดและวิธีใช้
วันละ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ขนาดสูงสุดไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อวัน หรืออาจใช้เว้นระยะสัปดาห์ละ 2 หรือ 3 ครั้ง
ควรรับประทานยาก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที เนื่องจากยาจะถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหารลดลงถ้ารับประทานยาพร้อมอาหาร
ข้อห้ามใช้
- ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยากลุ่ม rifamycins
- ผู้ที่มีการทำงานของตับเสื่อมลง
ข้อควรระวัง
มีรายงาน (พบน้อยมาก) ว่าผู้ป่วยที่กลับมารับประทานยาอีกครั้ง หลังจากที่เคยได้รับมาแล้วเป็นเวลานานจะมีปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่รุนแรงทำให้การทำงานของไตเสื่อมลง เกิดการแตกแยกของเม็ดเลือดแดง หรือจำนวนเกล็ดเลือดลดลง ในกรณีนี้จะต้องหยุดยาทันที
ผู้ป่วยที่สูงอายุติดสุราหรือเป็นโรคตับจะต้องได้รับการตรวจวัดการทำงานของตับ
ยาจะทำให้ปัสสาวะ น้ำตา น้ำลายและเสมหะมีสีแดงได้ รวมทั้งเลนส์สัมผัสอาจเปลี่ยนสีได้
อาการอันไม่พึงประสงค์
อาจมีผื่นบนผิวหนัง มีไข้ มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ และมีจำนวนเกล็ดเลือดลดลง ผู้ป่วยที่มี HIV – positive มักมีอาการผิวหนังอักเสบจนหลุดล่อนออกเป็นแผ่นหรือเกล็ด




มีรายงานว่าผู้ป่วยที่รับประทานยาสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จะมีปัสสาวะน้อยกว่าปกติ หายใจลำบาก และ heamolytic anemia ซึ่งอาการเหล่านี้จะลดความรุนแรงลง ถ้าเปลี่ยนวิธีเป็นรับประทานยาทุกวัน

Pyrazinamide
สรรพคุณ
มีความสามารถสูงในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อวัณโรค โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมภายในเซลล์ที่เป็นกรดของ macrophages และในบริเวณที่มีการอักเสบอย่างเฉียบพลัน แต่มีฤทธิ์ต่ำในการฆ่าเชื้อ M.Tuberculosis
ข้อบ่งใช้
เป็นยาซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ในขณะนี้ที่สำหรับรักษาวัณโรคเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนและ 8 เดือน
ขนาดและวิธีใช้
วันละ 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (20-30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม)
สัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 35 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (30-40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม)
สัปดาห์ละ 2 ครั้งๆ ละ 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (40-60 มิลลิกรัม/กิโลกรัม)
ข้อห้ามใช้
- ผู้ที่มีประวัติแพ้ยา
- ผู้ที่ตับถูกทำลายอย่างรุนแรง
ข้อควรระวัง
ควรติดตามวัดความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นเบาหวานด้วยเพราะน้ำตาลในเลือดอาจไม่คงที่หรือเปลี่ยนแปลงง่าย
อาการอันไม่พึงประสงค์
ผู้ป่วยมักจะทนต่ออาการข้างเคียงของยาได้ อาการแพ้ยาจะมีน้อย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผิวหนังแดงเล็กน้อย
เมื่อเริ่มการรักษามักจะพบว่าความเข้มข้นของ Transaminase ในซีรัมจะสูงขึ้นความเป็นพิษต่อตับอย่างรุนแรงจะพบน้อย
เนื่องจากยาจะยับยั้งการขับกรดยูริคออกทางไต จึงทำให้กรดยูริคในเลือดสูงขึ้น แต่มักจะไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติ บางครั้งอาจเกิดเกาต์ขึ้นได้ ซึ่งต้องรักษาด้วย allopurinal ความเจ็บปวดที่ข้อต่อโดยเฉพาะไหล่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งบรรเทาด้วยยาแก้ปวด


Ethambutal
สรรพคุณ
เป็นยาต้านวัณโรคที่ได้จากการสังเคราะห์ ยานี้ออกฤทธิ์ยับยั้วเชื้อไมโครแบคทีเรีย (เช่น M.tuberculosis , M.bovis) โดยขัดขวางการสังเคราะห์ RNA ของเชื้อในระยะที่เชื้อวัณโรคมีการแบ่งตัว แต่การใช้ยาเอ็ธแธมบูตอลเพียงขนานเดียวเพื่อรักษาวัณโรคจะทำให้เกิดการดื้อยาได้ง่ายและรวดเร็ว จึงควรใช้ร่วมกับยาต้านวัณโรคชนิดอื่น
เมื่อรับประทานยาเอ็ธแธมบูตอล 75-80% ของยาจะถูกดูดซึมจากทางเดินอาหาร ให้ความเข้มข้นสูงสุดในพลาสมาภายใน 2-4 ชั่วโมง ยากระจายไปในเนื้อเยื่อและของเหลวทั่วร่างกายแต่ไม่ผ่านเข้าสู่น้ำสมองไขสันหลัง ยาจับกับพลาสมาโปรตีนได้ 20-30% มีระยะครึ่งชีวิตในร่างกายนาน 3-4 ชั่วโมง ประมาณ 15% ของยาที่รับประทานถูกแปรรูปที่ตับเป็นเมตาบอไลท์ที่ไม่มีฤทธิ์และขับออกมาทางปัสสาวะ อีกประมาณ 50% จะถูกขับออกมาในรูปเดิม เอ็ธแธมบูตอลสามารถผ่านรกและถูกขับออกทางน้ำนมได้
ข้อบ่งใช้
ใช้ยารักษาวัณโรคของปอดและวัณโรคของอวัยวะอื่นๆ โดยให้ร่วมกับยาวัณโรคชนิดอื่นๆ
ขนาดและวิธีใช้
การใช้ยาเอ็ธแธมบูตอลเพื่อการรักษาวัณโรค ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาต้านวัณโรคชนิดอื่นอีก อย่างน้อยหนึ่งชนิดร่วมด้วย
ผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 13 ปี
ในผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับยาวัณโรคมาก่อน ให้รับประทานขนาด 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม วันละครั้ง
ในผู้ป่วยที่เคยได้รับยาวัณโรคมาก่อน ให้รับประทานขนาด 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 60 วัน จากนั้นลดขนาดยาลงเหลือ 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม วันละครั้ง
เด็กอายุมากกว่า 6 ปี
อาจให้รับประทานขนาด 10-15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม วันละครั้ง ในกรณีที่จำเป็น
ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ และผู้ป่วยที่ประสาทตาอักเสบ
2. ยังไม่มีรายงานความปลอดภัยของการใช้ยานี้ในหญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร และเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี
3. ควรใช้ยานี้อย่างระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางตา เช่น ต้อกระจก diabetic retinopathy และควรลดขนาดยาลงในผู้ป่วยโรคไต
4. ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจประสิทธิภาพของตา เช่น การเห็นความกว้างของภาพ การเห็นสี เป็นต้น ก่อนการรักษาและทุกๆ เดือนในระหว่างที่ใช้ยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ได้รับยาเป็นเวลานาน หรือใช้ยาในขนาดสูงกว่า 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
อาการข้างเคียง
ผู้ป่วยได้รับยาวันละ 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และได้รับยานานเกิน 2 เดือน มักพบอาการประสาทตาอักเสบ ผู้ป่วยจะมองภาพไม่ชัด ปวดตา ตาบอดสีเขียว หรือตาบอด นอกจากนี้อาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีไข้ ปวดศีรษะ มึนงง สับสน ปวดหรือบวมที่หัวเข่าและข้อเท้า ผิวหนังอักเสบและคัน

ครีมบรรเทาอาการปวดเมื่อย

Blam
กลุ่ม Analgesic & Anti-inflammatories
สรรพคุณ
ใช้ทาถูนวด บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก ช้ำบวมถูกแมลงกัดต่อยเป็นการรักษาเฉพาะที่ ภายนอกที่มีอาการชอกช้ำ-การอักเสบของเอ็น, กล้ามเนื้อ, ข้อต่างๆ และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ขนาดและวิธีใช้
ทาครีมให้ทั่วบริเวณที่ปวดเมื่อย ถูนวดจนยาซึมเข้าผิวหนัง ใช้ทาวันละ 3-4 ครั้ง
ข้อห้ามและข้อควรระวัง
ห้ามใช้ทาบริเวณที่มีแผลเปิด หรือในผู้ป่วยที่ผิวหนังอักเสบแพ้ง่าย ระวังไม่ให้เข้าตาหรือรับประทานเข้าไป








 

Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2551
1 comments
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2551 14:26:37 น.
Counter : 19930 Pageviews.

 

tkkk


มาก ๆ

 

โดย: min IP: 125.26.106.8 17 กุมภาพันธ์ 2553 16:57:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


หนูเดินบนเส้นทางอันโดดเดี่ยว




เราจักภูมิใจ...ในชีวิต

ถ้าโกรธกับเพื่อน.....มองคนไม่มีใครรัก
ถ้าเรียนหนักๆ.....มองคนอดเรียนหนังสือ
ถ้างานลำบาก.....มองคนอดแสดงฝีมือ
ถ้าเหนื่อยงั้นหรือ.....มองคนที่ตายหมดลม
ถ้าขี้เกียจนัก.....มองคนไม่มีโอกาส
ถ้างานผิดพลาด.....มองคนไม่เคยฝึกฝน
ถ้ากายพิการ.....มองคนไม่เคยอดทน
ถ้างานรีบรน.....มองคนไม่มีเวลา
ถ้าตังค์ไม่มี.....มองคนขอทานข้างถนน
ถ้าหนี้สินล้น.....มองคนแย่งกินกับหมา
ถ้าข้าวไม่ดี.....มองคนไม่มีที่นา
ถ้าใจอ่อนล้า.....มองคนไม่รู้จักรัก
ถ้าชีวิตแย่.....จงมองคนแย่ยิ่งกว่า
อย่ามองแต่ฟ้า.....ที่สูงเกินตาประจักษ์
ความสุขข้างล่าง.....มีได้ไม่ยากเย็นนัก
เมื่อรู้แล้วจัก.....ภาคภูมิชีวิตแห่งตน

Location :
นครสวรรค์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





When I miss you,I just close my eyes::ยามใดที่ฉันคิดถึงเธอ ฉันจะเจอเธอได้เพียงหลับตา

°o.O[P]in[K]-[M]oo[N]O.o°




Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
7 กุมภาพันธ์ 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนูเดินบนเส้นทางอันโดดเดี่ยว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.