ชนะคนอื่นเป็นร้อย ยังไม่ยากเท่าชนะตนแค่คนเดียว...
ร่างกายของมนุษย์ตอน ลำไส้ใหญ่ (large intestine)

ลำไส้ใหญ่ มีลักษณะเป็นกระพุ้งและเป็นปล้องๆ มีความยาวประมาณ 150 ซม. กว้างประมาณ  6  เซนติเมตร  แบ่งออกเป็น  3  ส่วนคือ
   1. ไส้ตัน (cecum) เป็นที่ตั้งต้นของลำไส้ใหญ่ ลักษณะเป็นกระพุ้งใหญ่ มีลิ้นซึ่งทำด้วยรอยพับของเยื่อบุลำไส้ (Mucous membrane) เรียกว่า ทวารลำไส้ใหญ่ (ileccecal valve) ปิดกั้นระหว่างลำไส้เล็กส่วนปลายกับไส้ตัน ทำหน้าที่ให้อาหารผ่านเข้าไปในลำไส้ใหญ่ทางเดียวไม่ให้ย้อนกลับมาในลำไส้ เล็กอีก โดยทั่วไปทวารลำไส้ใหญ่นี้จะทนความดันย้อนกลับได้มากถึง 50-60 ซม . น้ำ ผนังของลำไส้เล็กส่วนปลายก่อนถึงทวารลำไส้ใหญ่นี้จะหนาขึ้น ทำหน้าที่เป็นหูรูด (ileocecal sphincter) ซึ่งตามปกติจะหดตัวเพื่อกั้นไม่ให้อาหารเข้าไปในไส้ตัน นอกจากภายหลังรับประทานอาหาร โดยการทำงานของ Gastrc-ideal reflex ซึ่งจะเร่งการบีบตัวเป็นคลื่นของลำไส้เล็กส่วนปลายให้ขับอาหาร ประมาณ 4 ลบ . ซม . ต่อการบีบไล่ครั้งหนึ่งผ่านทวารนี้ไป ถึงกระนั้นจะมีกากอาหารเพียงประมาณ 450 ลบ . ซม . ที่ถูกขับออกไปสู่ไส้ตันใน 1 วัน และเมื่อมีความต้านทานต่อการปล่อยอาหารผ่านทวารลำไส้ใหญ่นี้จะทำให้อาหาร ค้างอยู่ในลำไส้เล็กส่วนปลายนาน เป็นการเพิ่มการดูดซึม
       การควบคุมหูรูดทวารลำไส้ใหญ่ การหดตัวของกล้ามเนื้อหูรูดนี้ถูกควบคุมโดยรีเฟล็กซ์จากไส้ตัน เมื่อใดก็ตามที่ไส้ตันถูกดันให้ตึง หูรูดก็จะหดแรงขึ้น เป็นการถ่วงเวลาให้อาหารจากลำไส้เล็กส่วนปลายผ่านไปสู่ไส้ตันช้าลง รีเฟล็กซ์นี้อาศัยทางเดินประสาทของกลุ่มประสาทไมเอนเทอริก (myenteric plexus) นอกจากนั้น Viscero-Sympathetic reflex หลายอย่างที่เกิดจากการระคายของระบบทางเดินอาหารส่วนอื่น เช่น จากไตหรือจากเยื่อบุช่องท้องจะทำให้หูรูดหดตัวอย่างรุนแรง มีผลทำให้อาหารเคลื่อนผ่านทวารลำไส้ใหญ่ช้าไปหรือหยุดเลยก็ได้
   2.โคล่อน (colon) เป็นส่วนที่ต่อจากไส้ตัน แบ่งออกเป็นตอน ๆ ดังนี้
      2.1 ลำไส้ใหญ่ส่วนขึ้น (ascending colon) คือ ลำไส้ใหญ่ที่ต่อจากไส้ตันทอดขึ้นข้างบนทางขวาของช่องท้องไปจนถึงพื้นล่างใต้ตับ
      2.2 ลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง (transverse colon) คือ ลำไส้ใหญ่ส่วนที่ทอดขวางช่องท้องไปทางซ้าย แล้วโค้งไปใต้ปลายล่างของม้าม
      2.3 ลำไส้ใหญ่ส่วนลง (descending colon) คือ ลำไส้ใหญ่ส่วนที่ทอดลงมาข้างล่างซ้ายของช่องท้อง แล้วทอดโค้งคล้ายรูปอักษรตัวเอส (S) เรียกว่า Sigmoid colon
   3.ไส้ตรง (rectum) มีความยาวประมาณ 5 นิ้ว ตรงบริเวณส่วนล่างมีลักษณะพองโตออกมามาก เพื่อเก็บอุจจาระไว้โดยมีลิ้นช่วยพยุงอยู่ ตำแหน่งที่ตั้งในเพศชายอยู่ข้างหลังกระเพาะปัสสาวะ ในเพศหญิงอยู่ข้างหลังมดลูก
   4.ท่อทวารหนัก (anal canal) เป็นส่วนปลายล่าง ของลำไส้ใหญ่ ยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว มีช่องเปิดออกสู่ภายนอกเรียกว่า ปากทวารหนัก (anus) ที่ปากทวารหนักจะมีกล้ามเนื้อหุ้มล้อมเป็นวงอยู่โดยรอบ 2 วง วงในเรียกว่า หูรูดชั้นใน (internal sphincter) วงนอกเรียกว่าหูรูดชั้นนอก (external sphinctar) กล้ามเนื้อเหล่านี้มีหน้าที่สำหรับเปิดให้อุจจาระผ่านออกไปแล้วปิดอย่างเดิม

ลำไส้ใหญ่ประกอบด้วย 4 ชั้น คือ
   1.Serous cost เป็นชั้นนอกหุ้มอยู่เป็นตอน ๆ ในบางส่วนของลำไส้ใหญ่เท่านั้น ส่วนของปากทวารหนักจะไม่มีชั้นนี้หุ้มอยู่
   2.Muscular cost เรียงกันอยู่เป็น 2 ชั้น ชั้นในเรียงกันเป็นวงโดยรอบ (circular layer) ชั้นนอกทอดไปตามยาว แต่รวมแยกกันเป็น 3 แถบ ตั้งต้นจากไส้ตันจนถึงส่วนต้นของไส้ตรง เรียกว่า Taeniae coli ซึ่งอาจมองเห็นด้วยตาเปล่า ผนังลำไส้ใหญ่ จะเห็นโป่งเป็นกระพุ้งเป็นระยะ ๆ เรียกว่า Succulation
   3.Submucous cost
   4.Mucous cost เป็นชั้นในสุด ไม่มี Villi หรือ Circular folds มีแต่ Intestinal glands ซึ่งจะขับเมือก (mucous) ออกมาเป็นจำนวนมาก
     จะเห็นว่าไม่มีการสร้างเอ็นไซม์ (enzyme) ที่บริเวณลำไส้ใหญ่เลย จะมีแต่เฉพาะเซลล์เยื่อเมือกที่บุผนังลำไส้ใหญ่เท่านั้นที่สร้างน้ำเมือกออก มาเป็นจำนวนมาก มีลักษณะข้น ฤทธิ์เป็นด่าง pH 8-8.4 ทำหน้าที่หล่อลื่นกากอาหารให้เคลื่อนที่ผ่านไปได้สะดวก การที่ลำไส้ใหญ่ไม่มีเอ็นไซม์ เนื่องจากอาหารที่ผ่านกระเพาะมาถึงลำไส้ใหญ่นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกากอาหารที่เหลวและไม่ย่อยแล้ว แต่ยังมีส่วนที่เป็นน้ำและเกลือแร่มาก
     เส้นประสาท (nerves) ที่มาสู่ลำไส้ใหญ่ คือ เส้นประสาทอัตโนมัติที่แตกมาจากมิเชนเทอริก เพกซัส (mesenteric plexus) และไฮโปแกสติก เพกซัส (Hypo-gastric plexua)
     หลอดโลหิตที่มาสู่ลำไส้ใหญ่ คือ แขนงของ Superior mesenteric artery และ Inferior mesenteric artery นอกจากนี้ในส่วนของไส้ตรงยังได้รับโลหิตมาจากแขนงของ Hypogastric arteries

หน้าที่ของลำไส้ใหญ่
   1.ช่วยย่อยอาหารเพียงเล็กน้อย
   2.ถ่ายระบายกากอาหาร (Wastse product) ออกจากร่างกาย
   3.ดูดซึมน้ำและอิเล็คโตรลัยต์จากอาหารที่ถูกย่อยแล้ว เช่น โซเดียม และเกลือแร่อื่น ๆ ทีเหลืออยู่ในกากอาหาร รวมทั้งวิตามินบางอย่างที่สร้างจากแบคทีเรีย ซึ่งอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ ได้แก่ วิตามินบีรวม วิตามินเค ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหนทางสำหรับให้น้ำ อาหารและยาแก่ผู้รับบริการทางทวารหนักได้
   4.ทำหน้าที่เก็บอุจจาระไว้จนกว่าจะถึงเวลาอันสมควรที่จะถ่ายออกนอกร่างกาย

 
ที่่มา :ข้อมูล  
//student.mahidol.ac.th/
         ภาพ   //writer.dek-d.com/piz-za/story/viewlongc.php?id=614234&chapter=3

Smileyขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับSmiley




Create Date : 11 กันยายน 2555
Last Update : 11 กันยายน 2555 10:34:24 น. 0 comments
Counter : 18973 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kitpooh22
Location :
ตรัง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 27 คน [?]




สวัสดีครับ
..............................
ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม และมาเม้นให้ครับ



ขอบคุณครับ :-)
THX


วันเกิดบล็อก 25/5/2009
Google+
Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
11 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kitpooh22's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.