ชนะคนอื่นเป็นร้อย ยังไม่ยากเท่าชนะตนแค่คนเดียว...

ร่างกายของมนุษย์ตอน กล้ามเนื้อ (muscle)



     กล้ามเนื้อเป็นเนื้อเยื่อที่พบในอวัยวะเกือบทุกชนิดในร่างกายของเรา เพราะกล้ามเนื้อมีความสำคัญต่อเราในฐานะที่ช่วยพยุงโครงสร้างร่างกายให้คงอิริยาบถ นั่ง นอน ยืน ได้ และยังเป็นหน่วยปฏิบัติการการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ
     การออกท่าออกทางทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นการเดินเหิน ร้องไห้ พูดคุย กระดิกหู กินอาหาร ขับถ่าย หยิบจับสิ่งของ หลับตา หรือการทำงานของอวัยวะภายในที่เรามิอาจควบคุมได้ตามความต้องการ เช่น การไหลเวียนของเลือด การเต้นของหัวใจ การเคลื่อนที่ของอาหารไปตามทางเดินอาหาร การบีบตัวของมดลูก เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการที่ร่างกายสามารถตั้งตรงอยู่ได้ไม่ล้ม ล้วนแล้วแต่อาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสิ้น

     การทำงานของกล้ามเนื้อใดๆ ก็ตามเป็นผลจากการหดตัวของกล้ามเนื้อชนิดนั้นๆ และโดยที่ต้องอาศัยพลังงานจากสารอาหารเช่นเดียวกับการทำงานของเครื่องจักรที่ต้องใช้เชื้อเพลิง

                             



     เวลา เราพูดถึงกล้ามเนื้อ เรามักนึกถึงแต่กล้ามเนื้อที่เป็นมัดๆ ตามแขน ขา ลำตัว แต่แท้จริงแล้วเรายังพบกล้ามเนื้อได้ในอวัยวะอื่นๆ อีกทั่วร่างกาย เราสามารถแบ่งชนิดของกล้ามเนื้อเหล่านี้ได้ตามลักษณะโครงสร้างทางกายวิภาค และหน้าที่การทำงานทางสรีรวิทยาได้เป็น 3 ประเภท คือ กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบ

    1 กล้ามเนื้อลาย (striated muscle หรือ skeletal muscle) เป็นกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของร่างกาย ที่เราพบได้โดยทั่วไปที่ใต้ผิวหนัง เป็นกล้ามเนื้อที่ประกอบขึ้นเป็นใบหน้า คอ แขน ขา ลำตัว กล้ามเนื้อลายมีอยู่ประมาณ 640 ชนิด และมีชื่อเรียกที่ต่างๆ กันไปตามรูปร่างลักษณะ หน้าที่ ขนาดความยาว หรือตำแหน่งที่มันอยู่ กล้ามเนื้อลายช่วยให้ร่างกายของเราเป็นทรวดเป็นทรงและคงอิริยาบถอยู่ได้ กล้ามเนื้อลายพาเราเคลื่อนที่ไปไหนมาไหน ช่วยให้เราขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายส่วนต่างๆ แถมยังช่วยให้เราสามารถยืนตรงท้าแรงโน้มถ่วงของโลกได้อีกด้วย

     เราสามารถควบคุมการเคลื่อนไหว ของอวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อลายได้ตามความต้องการ เพราะมันเป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานโดยประสาทสั่งงานจากความรู้สึก (conscious) ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง จึงถือได้ว่ามันเป็นกล้ามเนื้อชนิดที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ (voluntary muscle)

     กล้ามเนื้อลายแต่ละมัดจะยึดเกาะอยู่กับกระดูกจึงอาจเรียกว่า skeletal muscle และที่เราเรียกมันว่ากล้ามเนื้อลาย (striated muscle) ก็เพราะเซลล์ของมันมีลายนั่นเอง เราสามารถเพิ่มขนาดและความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อชนิดนี้ได้ด้วยการออกกำลัง กาย

    2 กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle หรือ heart muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่พบที่หัวใจและเส้นเลือดใหญ่บริเวณที่ติดกับหัวใจเท่านั้น การเต้นตุบตับของหัวใจแต่ละจังหวะหมายถึงกล้ามเนื้อหัวใจมีการหดตัวและคลาย ตัว การหดตัวมีผลทำให้โลหิตถูกฉีดออกไปทางเส้นเลือดแดง เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อหัวใจคลายตัว เลือดจะไหลเข้าสู่หัวใจทางเส้นเลือดดำ ในแต่ละวันหัวใจเราเต้นได้เป็นแสนครั้งโดยไม่มีการหยุดพัก แต่เราไม่อาจบังคับให้หัวใจเต้นไปตามจังหวะเพลงอย่างที่แขน ขา ลำตัว ทำได้ เพราะกล้ามเนื้อหัวใจหดตัวเองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องรอฟังคำสั่งจากสมอง อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอันเนื่องมาจากสภาวะต่างๆ ของร่างกาย จากอารมณ์ หรืออุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นจากการควบคุมของระบบประสาทอัตโนวัติ (autonomic nervous system) และฮอร์โมนต่างๆ

    3 กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ประกอบขึ้นเป็นผนังส่วนกลางของอวัยวะภายในที่มีลักษณะเป็น โพรงหรือเป็นท่อ เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร มดลูก ไต ลำไส้ หลอดลม หลอดเลือดและท่อปัสสาวะ เป็นกล้ามเนื้อหูรูดของม่านตา และยังเป็นกล้ามเนื้อที่ทำให้ขนลุกซู่อีกด้วย การหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบทำให้เกิดการเคลื่อนที่เดินทางของสารหรือสิ่งที่ อยู่ภายในอวัยวะส่วนนั้น เช่น การที่กล้ามเนื้อในหลอดอาหารผลักก้อนอาหารต่อๆ กันไปเป็นจังหวะ (peristalsis) นอกจากนี้กล้ามเนื้อเรียบในส่วนกระเพาะอาหารยังช่วยบด และคลุกเคล้าอาหารเข้ากับน้ำย่อย ทำให้โมเลกุลของสารอาหารแตกตัว สำหรับวงกล้ามเนื้อของม่านตามีหน้าที่ในการปรับขนาดรูม่านตา ป้องกันแสงไม่ให้เข้าสู่ลูกตามากเกินไปจนเป็นอันตราย การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบไม่อยู่ในความควบคุมโดยตรงของจิตใจ มันจะถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติและฮอร์โมนต่างๆ

     กล้ามเนื้อลายซึ่งห่อหุ้มร่างกายของเราไว้นั้นมีลักษณะเป็นมัดๆ มัดกล้ามเนื้อมีแผ่นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ซึ่งประกอบด้วยเส้นใยคอลลาเจน (collagen) และอีลาสติน (elastin) เป็นส่วนใหญ่หุ้มอยู่โดยรอบ ปลายข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างของมัดกล้ามเนื้อเป็นคอลลาเจนที่ยึดติด กันเป็นเอ็น (tendon) ที่มีความเหนียวมากและยึดติดอยู่กับกระดูกอีกทีหนึ่ง เอ็นที่ปลายของกล้ามเนื้อบางชนิดอาจแผ่ออกเป็นแผ่นบางๆ (aponeuroses) ยึดติดกับกระดูกได้เป็นบริเวณกว้าง ภายในตัวกล้ามเนื้อมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเชื่อมต่อกับแผ่นด้านนอกแทรก อยู่โดยตลอด ใยประสาทและเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อจะซุกตัวอยู่ในเนื้อเยื่อ เกี่ยวพันเหล่านี้


                  ^ส่วนประกอบของกล้ามเนื้อลาย^

     กล้ามเนื้อลายแต่ละมัดใช้ส่วนปลายที่เป็นเอ็นยึดกระดูกเอาไว้อย่างแน่นหนา เอ็นของมัดกล้ามเนื้อจะทอดตัวเป็นสะพานข้ามผ่านข้อต่อของกระดูกอย่างน้อยหนึ่งข้อหรือมากกว่านั้น แต่โดยทั่วไปแล้วจะพาดข้ามสองข้อ ดังนั้นเวลากล้ามเนื้อหดตัวจึงพาให้กระดูกหนึ่งชิ้น สองชิ้น หรือมากกว่าขยับเคลื่อน

     เมื่อกล้ามเนื้อหดตัว ปลายเหนียวที่เป็นเอ็นจะยืดออกคล้ายๆ กับการยืดตัวของสปริง ในขณะที่เอ็นถูกยืดจะเกิดแรงตึงที่ไปดึงให้กระดูกเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่ไปตามทิศทางที่ต้องการต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อกลุ่มนำร่องที่เรียกว่า prime movers และยังต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อชุดที่ทำงานเสริม (synergistic muscles) ที่จะทำให้ทิศทางการเคลื่อนที่ถูกต้องยิ่งขึ้น แถมยังช่วยทำหน้าที่ตรึง เพื่อไม่ให้ข้อต่อที่ไม่ต้องการเคลื่อนที่อีกด้วย

     ในการเคลื่อนที่ของกระดูกกลับที่เดิม กล้ามเนื้อชุดที่พามันเคลื่อนที่มาไม่สามารถออกแรงดันได้เอง มันจึงต้องมีทีมกล้ามเนื้อคู่หู (antagonistic muscles) ที่ทำงานในสภาวะตรงกันข้าม มาช่วยทำงาน ทีมกล้ามเนื้อคู่หูจะทำหน้าที่ในการหดตัวเพื่อดึงกระดูกกลับมาที่ตำแหน่ง เดิมหลังจากที่กล้ามเนื้อชุดแรกหดตัวแล้วพากระดูกให้เคลื่อนที่ไป

             ^กล้ามเนื้อไตรเซ็ป (Triceps brachii ) , กล้ามเนื้อไบเซ็ป (Biceps brachii)^

     ในการเคลื่อนที่ของกระดูกกลับที่เดิม กล้ามเนื้อชุดที่พามันเคลื่อนที่มาไม่สามารถออกแรงดันได้เอง มันจึงต้องมีทีมกล้ามเนื้อคู่หู (antagonistic muscles) ที่ทำงานในสภาวะตรงกันข้าม มาช่วยทำงาน ทีมกล้ามเนื้อคู่หูจะทำหน้าที่ในการหดตัวเพื่อดึงกระดูกกลับมาที่ตำแหน่ง เดิมหลังจากที่กล้ามเนื้อชุดแรกหดตัวแล้วพากระดูกให้เคลื่อนที่ไป

     ในขณะที่กล้ามเนื้อชุดหนึ่งหดตัวเพื่อดึงกระดูกให้ขยับเคลื่อนไปด้านหนึ่งนั้น ทีมกล้ามเนื้อคู่หูก็จะคลายตัว เพื่อให้กล้ามเนื้อชุดแรกเคลื่อนที่รอบแกนของข้อต่อได้ตามความเหมาะสม แต่ก็ไม่ปล่อยเสียทีเดียว มันยังคงมีการหดตัวแต่เพียงน้อยๆ เพื่อให้การเคลื่อนไหวของกระดูกเป็นไปอย่างนุ่มนวล

     ผลการทำงานของกล้ามเนื้อลายทั้งหมดแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ การงอ (flexion) และการเหยียด (extension)

    กล้ามเนื้อที่หดตัวแล้วทำให้อวัยวะนั้นงอเข้ามาเราเรียกว่า กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ (flexor) และกล้ามเนื้อที่หดตัวแล้วทำให้อวัยวะนั้นเหยียดออกเราเรียกว่า กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ (extensor)

    กล้ามเนื้อลายแต่ละมัดประกอบขึ้นด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) เรียงขนานกันเป็นจำนวนมาก เส้นใยกล้ามเนื้อแต่ละเส้นคือเซลล์หนึ่งเซลล์ เซลล์กล้ามเนื้อลายมีลักษณะเซลล์เป็นรูปทรงกระบอก มีความยาวตั้งแต่ 2-3 มิลลิเมตร ไปจนถึง 40 มิลลิเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 10 ไมโครเมตร ถึง 100 ไมโครเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์อื่นในร่างกาย เราจะพบว่าเซลล์กล้ามเนื้อลายมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์ร่างกายโดยทั่วไปที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ไมโครเมตร เท่านั้นเอง



         ^องค์ประกอบของเส้นใยกล้ามเนื้อ^


ที่มา : //www.il.mahidol.ac.th/e-media/muscle

Smileyขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับSmiley




 

Create Date : 23 มิถุนายน 2555
2 comments
Last Update : 23 มิถุนายน 2555 11:02:09 น.
Counter : 11229 Pageviews.

 

แวะมาเยี่ยมค่ะ ดีใจได้เจิม 555

 

โดย: kimmy (kimmybangkok ) 23 มิถุนายน 2555 11:56:01 น.  

 

ขอบคุณครับ ได้ความรู้มากเลย พอดีกำลังฝึกโยคะครับ

 

โดย: siroth_u 26 มีนาคม 2558 20:31:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


kitpooh22
Location :
ตรัง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 27 คน [?]




สวัสดีครับ
..............................
ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม และมาเม้นให้ครับ



ขอบคุณครับ :-)
THX


วันเกิดบล็อก 25/5/2009
Google+
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
23 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kitpooh22's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.