จาก"ตู้หนังสือ"ที่อเมริกา สู่"ตู้ปันสุข" ที่เมืองไทย



หนังสือที่อเมริกาส่วนใหญ่มีรูปเล่มสีสรรสวยงามน่าอ่าน พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ต4สี ตัวเล่มคงทน ไม่ยับยุ่ย ไม่ขาดง่าย ตัวหนังสือไม่เลือนจาง และมีราคาเเพง หนังสือที่ไม่ใช้เเล้ว คนที่นี่เขาไม่ทิ้ง นิยมนำไปบริจาคที่ห้องสมุด, ตามโรงเรียนต่างๆ, นำไปบริจาคที่ร้านค้ามือสอง หรือนำไปใส่ใว้ตู้หนังสือ

ท่านใดที่ไปอเมริกาใหม่ๆ คงจะเคยเห็นตู้หนังสือเเบบในภาพ อาจมองเหมือนตู้รับจดหมาย เเต่จริงๆเเล้วมันคือห้องสมุดขนาดจิ๋ว หรือบ้านหนังสือนั่นเอง 





ใครที่มีหนังสือที่ไม่อ่านเเล้ว ก็จะเอามาวางใว้ที่นี่ ใครที่เดินผ่านไปผ่านมา หยิบเอากลับไปอ่านบ้านได้ฟรี ไม่จำเป็นต้องเอามาคืน

รอบๆบ้านเรามีตู้หนังสือหลายเเห่ง รวมทั้งที่หน้าตึกที่ทำงานเราก็มี ตัวเราเองเคยเอาหนังสือที่ไม่อ่านเเล้วมาใส่ตู้เช่นกัน เป็นการเพื่อแบ่งปันเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้อื่น



จุดเริ่มต้นของตู้หนังสือ หรือ Little Free Libraries ในชุมชนต่างๆ เกิดขึ้นในปี 2009 โดย “ทอดด์ โบล” (Todd Bol) ชาวเมืองฮัดสัน รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ต้องการยกย่องแม่ของเขาซึ่งเป็นครู ซึ่งเป็นคนที่รักการอ่านมาก ทอดด์เอาเศษไม้เหลือๆ ในโรงรถมาสร้างตู้เล็กๆคล้ายบ้านหลังจิ๋ว ติดตั้งไว้ที่สนามหญ้าหน้าบ้าน แล้วใส่หนังสือลงไปจนเป็นเหมือนห้องสมุดจิ๋ว เพื่อแบ่งปันความรู้และการอ่านไปสู่คนในชุมชน ภายใต้เเนวคิด  “Take a book, leave a book” คุณสามารถหยิบหนังสือไปอ่านได้เลย ฟรี! แต่ถ้าวันไหนคุณมีหนังสือที่อ่านแล้วและอยากแบ่งปัน ก็เอากลับมาเติมใส่ตู้ได้

เพื่อนบ้านของทอดด์ชอบใจไอเดียนี้ และอยากมีตู้หนังสือแบ่งปันกันอ่านบ้าง ทอดด์ก็ทำแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านไปเรื่อยๆ กระทั้งในปี 2012 ทอดด์ได้ตั้งมูลนิธิชื่อ little Free Library ขึ้น เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการแบ่งปันของคนในชุมชน มีคนขอนำไอเดียตู้หนังสือจิ๋วไปใช้ และมาขึ้นทะเบียนกับมูลนิธิเกือบ 100,000 ตู้ทั่วสหรัฐฯ

ทอดด์เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อปี 2018 ในวัย 62 ปี แต่วัฒนธรรมตู้แบ่งปันหนังสือของเขากระจายไปทั่วประเทศ แล้วยังแพร่หลายไปในต่างประเทศด้วย ทั้งที่แคนาดา เนเธอร์แลนด์ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย บราซิล ฯลฯ



ต่อมามีคนเห็นว่าหากดัดแปลงตู้แบ่งปันการอ่าน มาเป็นตู้แบ่งปันอาหาร เพื่อแบ่งอาหารให้คนไร้บ้าน คนยากจน หรือคนตกงานก็คงจะดี จึงเริ่มมีการดัดแปลงไปเรื่อย ๆ ในหลายพื้นที่ แต่ยังคงคอนเซ็ปต์เดิมไว้คือ Take what you need, leave what you can (หยิบไปแต่พอดี ถ้ามีเอามาแบ่งปัน)

ยิ่งในช่วงโควิด-19 ระบาด ก็ยิ่งมีคนดัดแปลงตู้หนังสือ ให้เป็นตู้อาหารอาหารมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น 

แต่น่าเสียดาย ที่คนไทยบางคนยังไม่เข้าใจเรื่องการแบ่งปันและเอาไปแต่พอดี จึงมีคนตระเวนขนอาหารในตู้ปันสุขตามที่ต่าง ๆ ไม่เหลือให้คนอื่น บางคนเอารถเก๋งมาขน บางแห่งก็แย่งชิงกันชุลมุน เมื่อของหมดก็เรียกร้องให้เจ้าของนำมาเติม จนหลายคนเสียกําลังใจที่จะแบ่งปันต่อ



เราเดินผ่านตู้หนังสือเเห่งนี้ทุกวัน รวมทั้งวันนี้ด้วย เราเเวะมาดูกันค่ะว่าในตู้หนังสือมีอะไรบ้าง เริ่มจากหนังสือการ์ตูน ปกเเข็ง สีสันสวยงาม น่าอ่าน





นิตยสารบันเทิง สาระ ความรู้ทั่วไป



หนังสือเกี่ยวกับการเรียนทุกระดับชั้น หนังสือติว หนังสือเเนวข้อสอบต่างๆ



หนังสือออกกำลังกาย "Anatomy of Muscle Building" กายวิภาคของการสร้างกล้ามเนื้อ ในหนังสือก็จะบอกท่าออกกำลังกาย เเต่ละท่าจะสร้างกล้ามเนื้อส่วนไหนบ้าง เหมาะสำหรับคนที่เล่นกล้าม เล่มนี้ถ้าไปซื้อในร้านหนังสือ ราคาประมาณ 17 ดอลล์ เเต่วันนี้เรามาเปิดอ่านฟรี จะหยิบเอาไปอ่านต่อที่บ้านหรือจะเก็บใว้เป็นสมบัติส่วนตัวก็ได้









ตู้หนังสือนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ริมถนน หรือทางเดินเท้า บางเเห่งก็มีเก้าอี้ให้นั่งอ่าน เป็นการส่งเสริมให้รักการอ่านอย่างดี

แล้วถ้าใครสร้างตู้หนังสือ แต่ไม่มีหนังสือ เข้าไปที่  https://littlefreelibrary.org  ทางมูลนิธิจะบริจาคหนังสือมาให้ และปักหมุดตำแหน่งห้องสมุดเล็กๆ บนแผนที่โลก



จากตู้หนังสือ กลายมาเป็นตู้ปันสุขได้อย่างไร?

ในปี 2016  "เจสสิก้า แมคคลาร์ด" แปรตู้หนังสือที่แบ่งกันอ่าน สู่ตู้อาหารที่แบ่งกันอิ่ม ในแถวบริเวณบ้านของเธอ ที่รัฐอาร์คันซอ ด้วยแนวคิด Take what you need, leave what you can หยิบในสิ่งที่คุณต้องการ และแบ่งปันในสิ่งที่คุณสามารถให้ได้

“อาร์คันซอเป็นหนึ่งในรัฐที่มีความมั่นคงด้านอาหารต่ำ ผู้คนยากจน คนไร้บ้าน คนตกงานมีอยู่ไม่น้อย ฉันคิดว่าแนวคิดของ Little Free Library ที่คนคุ้นเคยอยู่แล้ว น่าจะช่วยแก้ปัญหาพวกนี้ได้บ้าง หยิบไปแค่พอที่ตัวเองต้องการ และนำมาแบ่งปันในวันที่ตัวเองมี”

แนวคิดดังกล่าวกระจายไปทั่วอเมริกา ตู้หนังสือจิ๋วหลายตู้ แปรเป็นตู้อาหารและของใช้ในพื้นที่ขาดแคลน บางตู้ตั้งอยู่คู่กัน

ในสถานการณ์วิกฤต Covid-19 ที่กระทบไปถึงเรื่องเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน ตู้แบ่งปันอาหาร โดยเฉพาะอาหารแห้งและของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน กระจายยิ่งกว่าเดิม และการที่ตู้ทั้งหลายถูกปักหมุดในกูเกิ้ลแมพไว้แล้วนั้น สร้างความสะดวกให้กับทั้งคนรับและคนให้มากๆ แผนที่ออนไลน์ทำให้เห็นถึงจุดวางตู้แบ่งปันอาหารมากมายทั่วอเมริกากว่า 500 ตู้ โดยมีการจัดการกันเองในชุมชน ซึ่งผู้ได้รับก็จะทิ้งโน้ตขอบคุณไว้ และยังมีในอีกหลายประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย อิตาลี อินเดีย



ภาพระหว่างทางดินกลับบ้าน ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง









ขอบคุณทุกท่านที่เเวะมาเยี่ยมบล้อกนะคะ


Create Date : 24 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2564 9:08:25 น. 3 comments
Counter : 1145 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร, คุณhaiku, คุณทนายอ้วน, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา


 
บรรยากาศเมืองนอกนี่ดูดีจริงๆ ค่ะ



โดย: หอมกร วันที่: 24 พฤศจิกายน 2564 เวลา:7:38:16 น.  

 
ไอเดียเป็นกุศลมากมายจริงๆค่ะ

ใบไม้เปลี่ยนเป็นสีเหลืองสวยจังเลยค่ะ


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 25 พฤศจิกายน 2564 เวลา:9:01:13 น.  

 
สวัสดีครับ

ขอบคุณที่ไปพูดคุยที่บล็อกนะครับ

ชอบตู้หนังสือนะครับ ทำให้รู้สึกถึงความห่วงใยที่ส่งต่อถึงกัน ที่เมืองไทยก็เคยมีนะครับ เคยเห็นแถวป้ายรถเมลบางที่ เค้านำตู้เย็นเก่ามาใส่หนังสือ แต่เพราะบ้านเรานิสัยในในการอ่านยังน้อยกว่าที่ควรจะเป็นเลยค่อยๆ เงียบหายไป

เรื่องตู้ปันสุข ผมก็มีความเห็นเหมือน จขบ. ครับ เรื่องสำนึกรับผิดชอบยังต้องปรับกันอีกนานครับ


โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 25 พฤศจิกายน 2564 เวลา:22:13:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3661152
Location :
ชิคาโก United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Single Mom in USA.
ไดอารี่ออนไลน์ของ"ซิงเกิ้ลมัม"ในสหรัฐอเมริกา
ปี 2003 อยู่เมือง Rex รัฐจอร์เจีย
ปี 2010 ย้ายไปอยู่เมือง Elon รัฐนอร์ทแคโรไลนา
ปี 2012 ย้ายไปอยู่เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ จนถึงปัจจุบัน
ปี 2020 เขียนไดอารี่ออนไลน์ bloggang



Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2564
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
24 พฤศจิกายน 2564
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 3661152's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.