สาระน่ารู้เกี่ยวกับ แอร์บ้าน และระบบไฟฟ้าในบ้าน
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2558
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
25 กุมภาพันธ์ 2558
 
All Blogs
 

สะพานไฟ (Cut Out) กับภัยเงียบที่ซ่อนเร้น

 

บทความฉบับนี้ขอหยิบยกเอาเรื่องของ สะพานไฟ หรือคัทเอาท์ (Cut Out) ที่ถือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบพื้นฐานพบเห็นได้ทั่วไป และยังอยู่ใกล้ตัวผู้ใช้มาตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน แม้ว่าในบางที่อาจกลายเป็นของล้าสมัยที่เลิกใช้งานไปแล้วก็ตาม แต่สะพานไฟที่ดูผิวเผินแล้วอาจจะเห็นว่าดูธรรมดาๆ ก็อาจจะมีความไม่ธรรมดาแฝงอยู่

 

สำหรับ สะพานไฟหรือคัทเอาท์ (Cut Out) หลายท่านก็คงจะนึกภาพออก ซึ่งมันก็คืออุปกรณ์ปลดสับวงจรไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่เคยได้รับความนิยมและพบเห็นได้ทั่วไปตามบ้านเรือนยุคก่อน แต่เพราะการใช้สะพานไฟดูจะไม่ค่อยปลอดภัยเท่าที่ควร ประกอบกับเรามีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าคือการใช้เบรกเกอร์ จึงทำให้ความนิยมในปัจจุบันค่อยๆลดลงไป

 

สะพานไฟใช้งานกันในบ้านเราจะมีอยู่สองรูปแบบลักษณะ คือแบบที่มีช่องสำหรับใส่ฟิวส์ และอีกแบบหนึ่งซึ่งไม่มีช่องสำหรับให้ใส่ฟิวส์ ใช้เป็นสวิทช์เลือกสับสองทางบางที่อาจจะเรียกว่า “สวิทช์ใบมีดสับ 2 ทาง”

แต่ในบ้านเรือนทั่วไปนิยมใช้สะพานไฟแบบที่มีช่องสำหรับใส่ฟิวส์ ซึ่งเราคุ้นเคยกันดีในชื่อ “คัทเอาท์”

 

 

การใช้งานสะพานไฟ

สำหรับครัวเรือนทั่วไปที่มีไฟฟ้าใช้งานเมื่อยุคหลายสิบปีก่อน ในยุคนั้นเบรกเกอร์ยังไม่แพร่หลายเท่าทุกวันนี้ ก็มักจะใช้อุปกรณ์ควบคุมระบบไฟฟ้าที่เป็นสะพานไฟหรือคัทเอาท์ และฟิวส์กระเบื้อง เป็นอุปกรณ์ป้องกันในระบบไฟฟ้า ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกนำมาประกอบติดตั้งไว้บนแผงไม้ อยู่ในรูปของแผงสวิทช์นั่นเอง

 

และในยุคต่อมา เนื่องจากเบรกเกอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่หาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพง ทำให้เบรกเกอร์เริ่มเข้ามาแทนที่สะพานไฟ และเบรกเกอร์ก็ได้กลายเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าพื้นฐานของบ้านเรือนยุคปัจจุบันไปในที่สุด แต่ในปัจจุบันสะพานไฟก็ยังมีหลงเหลือให้เห็น และยังมีใช้งานอยู่บ้าง ตามบ้านเรือนที่ปลูกสร้างในยุคก่อนๆ และโดยเฉพาะตามบ้านเรือนในต่างจังหวัด

 

 

หน้าที่หลักของสะพานไฟ

สะพานไฟ มีหน้าที่เป็นสวิทช์ที่ใช้สำหรับปลดสับวงจรไฟฟ้า และโดยพื้นฐานนั้น สะพานไฟจะมีจุดต่อที่ออกแบบสำหรับใส่ฟิวส์ เพื่อที่ว่าหากเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และการใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด ฟิวส์ที่ใส่อยู่ในสะพานไฟ จะหลอมละลายและตัดวงจรไฟฟ้าออกก่อนที่จะเกิดอัคคีภัย

 

ส่วนประกอบของสะพานไฟ

ส่วนประกอบหลักๆที่อยู่ในสะพานไฟแบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ตัวนำ, ฉนวน และฟิวส์

ตัวนำ ของสะพานไฟ มักจะใช้เป็นโลหะจำพวกทองแดงหรือทองเหลือง

ฉนวน ที่ใช้บนสะพานไฟนั้นทำจากวัสดุ 2 ชนิดด้วยกัน อย่างแรกคือกระเบื้องที่ใช้เป็นฉนวนส่วนมือจับและยังใช้เป็นฐานรองของสะพานไฟ ฉนวนอีกชนิดจะทำจากพลาสติก ซึ่งก็คือส่วนที่เป็นฝาครอบของสะพานไฟนั่นเอง

ฟิวส์ แบบที่ใช้งานกับสะพานไฟได้แก่ ฟิวส์ก้ามปู และ ฟิวส์แบบเส้นลวด โดยที่ฟิวส์แบบเส้นลวดจะเป็นแบบดั้งเดิมที่ถูกใช้มาตั้งแต่แรก แต่ฟิวส์แบบก้ามปูเพิ่งถูกผลิตขึ้นมาใช้ในช่วงยุคหลัง

 

 

 

 

ความปลอดภัยของสะพานไฟ

สะพานไฟหรือคัทเอาท์แบบที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปตามอาคารบ้านเรือนในยุคก่อนๆ ด้านความปลอดภัยในการใช้งานเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ในกลุ่ม เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ก็เห็นได้ชัดว่าสะพานไฟมีความปลอดภัยที่น้อยกว่า ซึ่งยังไม่นับเรื่องความไม่สะดวกในการใช้งาน ที่ต้องคอยเปลี่ยนฟิวส์ทุกครั้งที่ฟิวส์ขาด และการใช้งานสะพานไฟหากปลดสับสะพานไฟขณะที่มีโหลดที่กินกระแสสูงๆต่อใช้งานอยู่ ก็จะเกิดประกายไฟอาร์คบริเวณหน้าสัมผัส ความรุนแรงมากน้อยก็ขึ้นกับปริมาณกระแสที่ใช้งานในขณะนั้น ซึ่งค่อนข้างจะน่ากลัวสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป

และเมื่อใช้งานไปเป็นเวลานานๆ โลหะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตลอดเวลาประกอบกับการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ทำให้โลหะเกิดการอ๊อกไซด์ที่ผิว(เหมือนการที่เหล็กเกิดสนิม) ผิวของโลหะที่เป็นส่วนของตัวนำและหน้าสัมผัส จึงมีคราบสกปรกและคราบอ๊อกไซด์ติดอยู่ คราบเหล่านี้เป็นตัวขัดขวางการไหลของกระแสไฟฟ้า เกิดความต้านทานที่จุดนั้นขึ้น และเกิดเป็นความร้อนสะสม 

ด้วยปัจจัยที่ว่ามานี้ เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ก็ทำให้เกิดความร้อนสูงสะสมอยู่ จนท้ายที่สุดก็จะเกิดการอาร์คและเกิดประกายไฟขึ้น นำมาสู่การลุกไหม้ฝาครอบพลาสติก และอาจนำมาสู่อัคคีภัยได้

 




 

หากในตอนนี้ที่บ้านของท่านยังคงมีสะพานไฟติดตั้งใช้งานอยู่อีก ก็ควรตรวจสอบสะพานไฟให้อยู่ในสภาพที่ดี คันโยกต้องสามารถปลดสับได้แน่นพอดีไม่ฝืดจนเกินไป รวมไปถึงสกรูของจุดที่เป็นขั้วต่อสายไฟจะต้องขันไว้ให้แน่น และที่สำคัญห้ามใช้ลวดทองแดงหรือโลหะอื่นๆแทนฟิวส์เด็ดขาด

 

หรือทางที่ดีสุด หากสะพานไฟที่มีใช้อยู่ ถูกติดตั้งบนแผงไม้ และใช้งานมานานเกินสิบปี เป็นไปได้ก็ควรจะเปลี่ยนมาใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์แทน หรือไม่ก็เปลี่ยนทั้งแผงมาใช้เป็นตู้ควบคุมไฟฟ้าแบบสมัยใหม่ อย่างเช่นตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตหรือตู้โหลอดเซ็นเตอร์ จะเป็นการดีและปลอดภัยยิ่งขึ้น

 

 

 




 

Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2558
4 comments
Last Update : 30 พฤษภาคม 2566 13:51:46 น.
Counter : 100547 Pageviews.

 

555

 

โดย: ฟก IP: 171.5.181.118 19 พฤศจิกายน 2558 18:35:47 น.  

 

Gftgdhtdtchgfcdrdhfghtfthcfcgcchyfyhffht&&u&&(dyrsrtht$4rdt-ty7fhgcghcfghcgchdtfhft($tf&hfdyylu*)dgrx(rt6f-fh*yv5)575Ha

 

โดย: T IP: 184.22.216.157 25 กันยายน 2562 11:02:26 น.  

 

 

โดย: กฤษฏา นาเจริญ IP: 1.10.248.219 30 กันยายน 2562 14:24:40 น.  

 

yare yare

 

โดย: Kujo Jotharo IP: 110.77.148.64 1 ตุลาคม 2562 12:05:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


KanichiKoong
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 275 คน [?]




ช่องทางการติดต่อผู้จัดทำ

- หลังไมค์
- E-mail : aum_tawatchai@hotmail.com
-------------------------------------
เนื้อหาที่ปรากฏ อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อการศึกษา/หาความรู้ ซึ่งไม่เป็นการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
-------------------------------------
New Comments
Friends' blogs
[Add KanichiKoong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.