สาระน่ารู้เกี่ยวกับ แอร์บ้าน และระบบไฟฟ้าในบ้าน
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
10 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 
เบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB

เบรกเกอร์ ELCB เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกผลิตขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักสำหรับนำมาใช้ป้องกันไฟดูดหรือไฟรั่ว

ซึ่งเบรกเกอร์ ELCB มีชื่อเต็มๆคือ Earth Leakage Circuit Breaker แต่ในบางครั้งชื่อย่อของเบรกเกอร์ ELCB ก็มักมีผู้คนบางส่วนเรียกเป็น “ELB” ก็มี รวมถึงชื่อภาษาไทยก็มักจะเรียกกันว่า “เบรกเกอร์กันดูด” 

โดยหน้าตาของ เบรกเกอร์ ELCB จะมีรูปทรงที่คล้ายคลึงกันกับเซฟตี้เบรกเกอร์ ที่เรานำมาใช้เป็นควบคุมเครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำ ฯลฯซึ่งหน้าตาภายนอกโดยรวมถือว่าคล้ายกับเซฟตี้เบรกเกอร์มาก ต่างกันที่ ELCB จะมีปุ่มเล็กๆที่เรียกว่าปุ่ม TEST แต่เซฟตี้เบรกเกอร์นั้นไม่มีปุ่มTEST และหลักการทำงานและวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งานก็แตกต่างกันด้วย



หน้าตาของ ELCB และเซฟตี้เบรกเกอร์


ELCB ยี่ห้อ Haco




เซฟตี้เบรกเกอร์ ยี่ห้อ Panasonic





เบรกเกอร์ ELCB มีหน้าที่คือ ตัดหรือปลดวงจรไฟฟ้าลงอัตโนมัติเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินจนถึงค่าที่ตรวจจับได้ และยังสามารถปลดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้อีกด้วย 

แต่เบรกเกอร์ ELCB จะไม่สามารถปลดวงจรไฟฟ้าออกได้เองในกรณีที่ใช้กระแสไฟฟ้าเกินกว่าพิกัดที่ระบุไว้

อย่างเช่น บนตัว ELCB ระบุค่าพิกัดกระแสที่ 30 A แต่เมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้าสูงเกินกว่าที่ระบุไว้หากเป็นเบรกเกอร์แบบธรรมดาก็จะปลดวงจรออกเองเมื่อใช้งานพิกัดกระแสเกินกว่าที่ระบุแต่ในกรณีของ ELCB พิกัดกระแสที่ระบุบนตัวของมันคือค่าสูงสุดที่มันจะทนได้ไม่ใช่ค่าที่มันจะปลดวงจร การมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินพิกัดสูงสุดที่แสดงบนELCB ก็จะทำให้มันพังโดยที่ไม่มีการปลดวงจร

ELCBจึงเหมาะกับการนำไปใช้งาน เพื่อควบคุมและป้องกันความเสี่ยงเฉพาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเราทราบปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่แล้วอย่างเช่นเครื่องทำน้ำอุ่น, เครื่องทำน้ำร้อน เป็นต้น



ELCB ยีห้อ KYOKOTO


ความเร็วในการตัดไฟ โดยทั่วไป ELCB ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด มีค่าความเร็วในการตัดไฟอยู่ที่ประมาณ 0.01 - 0.04 วินาที ซึ่งในการเลือซื้อ ELCB ให้ดูที่ค่าความเร็วของเวลาด้วย ซึ่งเวลาเพียงเสี้ยวเดียวกับเรื่องของไฟฟ้า ถือว่าสำคัญมาก


หลักการทำงานของ ELCB คือการเปรียบเทียบกระแสไฟฟ้าระหว่างสายไฟ2 สาย โดยที่ในสภาวะปกตินั้น กระแสไฟฟ้าที่ไหลไปกลับต้องมีค่าเท่ากันผลรวมของค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลไปและกลับจะมีค่าเท่ากับ 0 

แต่หากมีกระแสรั่วออกจากระบบหรือมีคนถูกไฟดูดผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่ไหลไปและกลับจะไม่เป็น 0 และผลต่างที่เกิดขึ้นนี้หากมีค่ามากพอถึงจุดที่กำหนด ก็จะถูกส่งเข้าวงจรขยายสัญญาณ และสั่งการให้คอยล์แม่เหล็กภายในปลดวงจรออกทันที

เบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB จะมีค่าความไวในการตรวจจับกระแสไฟรั่วหรือที่เรียกว่าค่า Sensitive มีหน่วยเป็น มิลลิแอมแปร์ : mA 

ในกรณีของเบรกเกอร์ELCB ในท้องตลาดมีค่าความไวให้เลือกอยู่ 2 ค่า คือ 15 mA และ 30 mA และหากจะนำเบรกเกอร์ ELCB มาใช้งานกับเครื่องทำน้ำอุ่นหรือเครื่องทำน้ำร้อน ควรเลือกค่าความไวในระดับ 15 mA จะเหมาะสมที่สุด

ความเร็วในการตัดไฟโดยทั่วไป ELCBที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด จะมีความเร็วในการปลดวงจรไฟฟ้าอยู่ที่ราวๆ0.30 วินาที ซึ่งถือว่าเป็นความไวที่อยู่ในระดับมาตรฐาน เนื่องจากว่ามาตรฐานกำหนดความเร็วในการปลดวงจรของอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด ที่ใช้ป้องกันบุคคล ต้องสามารถปลดวงจรออกได้ในระยะเวลาไม่เกิน0.04 วินาที




ภาพแสดงให้เห็นถึงการเปรียบเทียบขณะกระแสไฟฟ้ารั่วและไหลผ่านร่างกายมนุษย์(ไฟดูด)





ปุ่ม TEST
เป็นปุ่มที่มีไว้เพื่อทดสอบการทำงานของ ELCB ว่ายังสามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ซึ่งในสภาวะที่ไม่มีการจ่ายไฟเข้ามาที่ ELCB เมื่อกด TESTจะไม่มีผลไดๆทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็เพราะหลักการทำงานของปุ่ม TEST เปรียบเสมือน การจำลองสภาวะที่มีกระแสไฟฟ้าไหลไปและกลับมาไม่เท่ากันซึ่งกล่าวง่ายๆคือเป็นการจำลองสภาวะที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วออกไปนั่นเอง



ปุ่มสีส้มบนELCBในภาพ คือปุ่มTEST





ขนาดของ ELCB ตามท้องตลาดที่มีออกวางจำหน่ายส่วนใหญ่จะพบแต่ขนาด 30 A และ 32 A ที่เคยเห็นมีเพียงของHaco เท่านั้นที่ผลิดออกมา 2 ขนาดคือ 16A และ 32 A แต่ข้อเสียคือ Haco มีค่าตรวจจับกระแสไฟรั่วให้เลือกเพียงค่าเดียว คือ 30 mA 

ส่วนสาเหตุที่ผู้ผลิตไม่ผลิตขนาดแอมป์ออกมาหลายขนาด ไม่เหมือนกับเซฟตี้เบรกเกอร์ก็เพราะว่า ELCB ไม่มีความสามารถในด้านการป้องกันกระแสเกิน จะป้องกันได้เพี่ยงไฟดูดและไฟลัดวงจรเท่านั้นไม่มีความจำเป็นที่จะต้องผลิต ELCB ให้มีขนาดพิกัดกระแสหลายๆขนาดผู้ผลิตจึงไม่ผลิตออกมาหลายขนาด






เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ควรมีELCBเป็นตัวป้องกัน เพื่อเสริมความปลอดภัยได้แก่


เครื่องทำน้ำอุ่น(บางยี่ห้อจะมี ELCB ติดมากับตัวอันนี้ไม่ต้องติด ELCB เพิ่มก็ได้)





เครื่องทำน้ำร้อน(บางยี่ห้อจะมี ELCB ติดมากับตัวอันนี้ไม่ต้องติด ELCB เพิ่มก็ได้)


ในกรณีของเครื่องทำน้ำอุ่นและเครื่องทำน้ำร้อนควรจะติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB เพิ่มเติมเพื่อเสริมการป้องกัน หรือไม่นั้นแนะนำให้พิจารณาจากระบบป้องกันไฟดูดที่ทางผู้ผลิตใส่มาให้กับตัวเครื่องหากไม่มีระบบป้องกันไฟดูดมาให้เลย อันนี้สมควรติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCBเพิ่มเติมเพื่อเสริมการป้องกัน

แต่...ถ้าตัวเครื่องมีระบบป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ามาให้แล้วก็ควรพิจารณาระบบป้องกันที่ผู้ผลิตให้มาด้วย


ถ้าตัวเครื่องมีการติดตั้งเป็นตัวเบรกเกอร์กันไฟดูดELCB มาให้ภายในแล้วอันนี้ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB เพิ่มเติม



ภาพเครื่องทำน้ำอุ่นที่ใช้เป็นตัวเบรกเกอร์กันดูด ELCB/ELB มาป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า ซึ่งเป็นแบบที่น่าไว้วางใจมากที่สุด(ในตอนนี้)




แต่ถ้าภายในเครื่อง บอกว่ามีระบบตัดไฟหรือระบบป้องกันไฟดูดแต่ตัวที่ทำหน้าที่ป้องกันนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ได้เป็นตัวเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB

ซึ่งโดยทั่วไปถ้าไม่มีการติดตั้งเป็นตัวเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB ผู้ผลิตจะติดตั้งชุดป้องกันไฟดูดไฟรั่วแบบที่ประกอบขึ้นมาบนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกประกอบขึ้นเพื่อใช้ตรวจจับและตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟรั่วในการใช้งานจริง แม้ว่าจะทำงานได้รวดเร็วกว่าการใช้เบรกเกอร์ ELCB แต่ในด้านของความเสถียรนั้นแผงวงจรแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้ผลิตเครื่องทำน้ำอุ่นแต่ละรายเลือกใช้อาจจะมีมาตรฐานที่แตกต่างกันไป ซึ่งความเสถียรในระยะยาวและความน่าเชื่อถือนั้นยังไงก็ยังจะดูเป็นรองเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB อยู่อีกเยอะเพราะด้วยความที่ เบรกเกอร์ ELCB เป็นอุปกรณ์ที่การทำงานจะเน้นไปในลักษณะรูปแบบของการทำงานทางกลเป็นหลักจึงมีความน่าเชื่อถือในระยะยาวมากกว่าการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชิ้นมาประกอบ


ภาพเครื่องทำน้ำอุ่นที่ใช้แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาเป็นตัวป้องกันอันตรายจากไฟดูด ซึ่งดูไม่น่าเชื่อถือเมื่อเทียบกับการติดตั้งเป็นตัวเบรกเกอร์กันดูด ELCB/ELB


ถ้าหากท่านใดใช้เครื่องทำน้ำอุ่นแบบที่นำแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาเป็นวงจรสำหรับป้องกันไฟดูดทางที่ดีสุดควรติดตังเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB เพิ่มเติมเพื่อเสริมการป้องกันอีกชั้นหนึ่ง 

เพราะมาตรฐานของแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับป้องกันไฟดูด ที่ผู้ผลิตแต่ละรายใช้ ล้วนมีความหลากหลาย และการออกแบบก็อาจจะไม่เหมือนกัน เช่น บางรายก็กำหนดให้มีรีเลย์ที่ใช้ตัดไฟเฉพาะสายเส้น L บางรายก็ให้รีเลย์ตัดทั้งสายเส้น L และ N ด้วยเหตุนี้ จึงควรจะต้องมีการนำเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB มาติดตั้งเสริมอีกชั้น





ตัวอย่าง เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ ที่ควรป้องกันอันตรายโดยการติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB



เครื่องซักผ้า









ตู้ทำน้ำเย็นที่มีตัวถังเป็นโลหะ (อันนี้เคยมีโศกอนาตกรรมที่ถือเป็นกรณีให้ศึกษาให้ได้เห็นมาหลายรายแล้ว)





ปั๊มน้ำ และระบบกรองน้ำที่ใช้ไฟฟ้า





สระน้ำหรือบ่อเลี้ยงปลาที่มีระบบไฟเข้าไปเกี่ยวข้อง






Create Date : 10 ธันวาคม 2551
Last Update : 11 มกราคม 2558 23:44:19 น. 44 comments
Counter : 134653 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ

กำลังเลือกซื้อEARTH LEAKAGE CIRCUIT BREAKER (ELCB)จะไปใช้กับเครื่องทำน้ำอุ่นและน้ำร้อนอยู่ครับ


โดย: **mp5** วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:23:17:57 น.  

 
เข้ามาหาความรู้ ขอบคุณมาก


โดย: ควนโส (ควนโส ) วันที่: 23 กันยายน 2553 เวลา:9:02:14 น.  

 
สอบถามหน่อยครับ เครื่องทำน้ำอุ่นที่ใช้อยู่ 3500w ตีไป 16Amp ถ้าผมใช้ ELCB ที่ขนาด 30A จะมีผลเสียอะไรรึเปล่า และตัว ELCB มันสามารถทำงานได้ตามปรกติรึเปล่า ปล. ที่ผมเลือก 30A เพราะว่าสเปคนี้มันตัดไฟที่ 15ma เลยอยากสอบถามเพื่อความมั่นใจ ขอบคุณครับ


โดย: BeALs IP: 61.90.15.34 วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:22:43:46 น.  

 
ELCB (เบรกเกอร์กันดูด) ตามแบบที่ผมแสดงในภาพแรกสุด
พวกนี้หน้าที่การทำงานของมันคือ จะตัดไฟเมื่อมี ไฟดูด-ไฟรั่ว และ ไฟฟ้าลัดวงจร
แต่จะไม่ตัดไฟในกรณีใช้กระแสเกิน over load

ดังนั้นเจ้าเบรกเกอร์กันดูด ELCB/ELB แบบนี้เลือกพิกัดค่ากระแสให้สูงเผื่อไปเลยก็ได้ ไม่มีปัญหาครับ
ขอเพียงแค่อย่าเลือกพิกัดกระแสต่ำกว่ากระแสใช้งานจริงก็เท่านั้น เพราะถ้าใช้กระแสไฟเกินพิกัด ตัวกันดูดแบบนี้มันจะพังก่อนครับ


โดย: KanichiKoong วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:13:04:58 น.  

 
มีภาพให้ดูประกอบบรรยาย ดีมากๆๆ พร้อมข้อมูลดีมากครับ


โดย: ประยงค์ วรรณเสน IP: 101.51.51.243 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:22:32:02 น.  

 
อยากดูรูปการต่อสายไฟฟ้า เข้า - ออกจากมิเตอร์ที่เสาไฟฟ้าเข้าบ้านอาศัย ใช้ไขควงชนิดใด จึงจะปลอดภัย ระวังอย่างไรเพราะต้องการเปลี่ยนสะพานไฟและ เบรคเกอร์ในบ้านตรงที่ต่อกับสายเมนที่มาจากเสาไฟฟ้าครับ


โดย: ประยงค์ วรรณเสน IP: 101.51.51.243 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:22:39:36 น.  

 
ตอบคุณ ประยงค์ วรรณเสน คห.ที่ 6



การจะปลดสายเมนออกจากขั้วมิเตอร์ ถ้าเป็นมิเตอร์เฟสเดียวแบบที่ติดตั้งสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป
การปลดสายทำโดยสันกรูที่อยู่บนฝาครอบขั้วต่อสาย สกรูที่ฝาครอบจะมีอยู่ตัวเดียว ต้องขันกับไขควงปากแบน

แต่...ระวังให้ดี ถ้าสกรูที่ยึดฝาครอบขั้วต่อสาย มีการร้อยลวดพร้อมกับย้ำหมุดตะกั่วของการไฟฟ้าเอาไว้ อย่าไปทำลายลวดและหมุดตะกั่วเด็ดขาด เพราะการไฟฟ้าอาจจะดำเนินขดีคุณ ข้อหาลักไฟฟ้า หรือไม่ก็อาจจะถูกข้อหาดัดแปลงแก้ไขมิเตอร์
ถ้าฝาครอยสายมิเตอร์ถูกย้ำไว้ด้วยหมุดตะกั่ว ก็ควรจะไปแจ้งฝ่ายมิเตอร์ ที่สำนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่ เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่มาดำเนินการปลดสายให้ครับ

แต่ถ้าไม่ได้มีการย้ำหมุดตะกั่วไว้ ก็ให้เปิดฝา แล้วใช้ไขควงสำหรับงานไฟฟ้าโดยเฉพาะ มาไขสกรูที่ขั้วต่อสาย

***ไขควงแบบเฉพาะงานไฟฟ้า ถ้ายังไม่มีให้ไปหาที่ร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ขายเครื่องมือช่างด้วย ซื้อมาทั้งแบบปากแบนและปากแฉกอย่างละด้าม
ไขควงที่ใช้ด้ามจะเป็นยาง รวมทั้งมีฉนวนหุ่้มก้านไขควงลงไปจนเกือบถึงปากไขควง


ยังไงก็ขอให้พึงระมัดระวังไนการถอดสายออก และเสียบสายกลับเข้าขั้ว ที่สำคัญระวังอย่าต่อสายสลับเด็ดขาด

แต่...ถ้าไม่มีความชำนาญในงานไฟฟ้ามากพอ อย่าทำด้วยตนเองเลยครับ ด้วยความปราถนาดี แนะนำให้ติดต่อช่างไฟฟ้า หรือเจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้า จะดีที่สุดครับ


โดย: KanichiKoong วันที่: 1 มีนาคม 2556 เวลา:13:48:19 น.  

 
ผมถึงบางอ้อแล้วครับ ว่า ทำไมผมต่อ ELB.เข้ากับ main breaker แล้วถึง trip ตลอด เพราะ IC มันต่างกันนี่เอง
ผมเลยนำไปใช้งานกับอุปกรณ์เฉพาะจุดแทน

ขอบคุณครับ


โดย: kaitoon IP: 182.255.9.56 วันที่: 18 เมษายน 2556 เวลา:18:09:03 น.  

 
ได้ความรู้เยอะเลยครับ โดยเฉพาะเบรคเกอร์ ELCB ของผมก็ใช้กับเครื่องทำน้ำอุ่นอยู่ครับที่บ้าน ของPanasonic แบบมีปุ่มเทสต์ด้วย..ปลอดภัยดี ต่อสายดินด้วยครับเพิ่มความมั่นใจ..ใช้มาเมื่อปี 51 แล้วยังปกติดีครับ ราคาอยู่ประมาณตัวละ 390.-บาท (ชื้อที่เชียงใหม่ครับ)


โดย: choochok silapong IP: 110.78.158.24 วันที่: 31 กรกฎาคม 2556 เวลา:15:27:54 น.  

 
หนังสือการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยของการไฟฟ้านครหลวงครัีบ มีรายละเอียดเยอะและบางเรื่องก็อ่านเข้าใจยากหน่อย แต่โดยรวมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนทั่วไปครับ

//www.mea.or.th/new/download/index.php?l=th&tid=5&mid=2808&pid=123


โดย: วีรวัจน์ IP: 61.19.232.182 วันที่: 8 สิงหาคม 2556 เวลา:11:26:28 น.  

 
ELCB กับ ELB มันคือตัวเดียวกัน หรือ ต่างชนิดกัน


โดย: ศักดิ์ IP: 203.172.203.46 วันที่: 20 ตุลาคม 2556 เวลา:9:29:18 น.  

 
อยากทราบว่า ถ้าเราใช้ ELCB คุมปลั๊กแล้ว ต้องติด ELCB แยกเฉพาะตัวเครื่องใช้ เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า อีกไหมครับ หรือว่าติดELCBคุมปลั๊กอย่างเดียวก็พอ เพราะเครืื่องใช้ไฟฟ้าก็ต้องเสียบปลั๊ก


โดย: frogman16 IP: 101.108.32.115 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:14:27:23 น.  

 
ขอบคุณครับ ได้ความรู้มาก กำลังจะเลือกมาติดเครื่องทำนำ้อุ่นพอดี
ELCB ยี่ห้อไหนที่ดีทนปลอดภัยสุดครับ ที่มีขายในบ้านเรา แพงก็เอาครับเน้นปลอดภัย


โดย: Akaw IP: 110.171.67.214 วันที่: 5 สิงหาคม 2557 เวลา:5:24:30 น.  

 
ดีมาก


โดย: ประยงค์ วรรณเสน IP: 223.204.207.230 วันที่: 14 กันยายน 2557 เวลา:10:16:12 น.  

 
เป็นประโยชน์


โดย: โย IP: 223.207.251.5 วันที่: 23 กันยายน 2557 เวลา:23:29:07 น.  

 
ผู้เขียนบทความนี้ใช่ตนเดียวกับผู้เขียนบทความตามลิงค์ด้านล่างหรือป่าวครับ เห็นเนื้อหาเหมือนๆกัน
//cpfshe.cpportal.net/Portals/0/file/2011/jd1113.pdf

บทความมีประโยชนืมากครับ


โดย: อยากรู้ IP: 192.99.14.34 วันที่: 10 ตุลาคม 2557 เวลา:14:22:55 น.  

 
ได้ความรู้ดีกำลังคิดว่าจะซื้อมาจิด


โดย: จูน IP: 223.205.17.67 วันที่: 23 พฤศจิกายน 2557 เวลา:9:03:04 น.  

 
ตัวกันดูดต้องตัดไฟเมื่อมีไฟดูดภายในกี่วินาทีคับ


โดย: อ๊อด IP: 171.97.215.36 วันที่: 11 ธันวาคม 2557 เวลา:10:53:21 น.  

 
ผู้นำเสนอบทความนี้ ต้องหาข้อยุติ เรื่องที่ว่า การตรวจจับกระแสไฟฟ้าที่รั่วออกมา " ผมไม่แนะนำให้ไว้วางใจฝากชีวิตไว้กับแผงวงจรพวกนี้ เพราะมันดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือสักเท่าไหร่ ถ้าเป็นเช่นนี้ควรติดตังเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB/ELB เพิ่มเติมเพื่อเสริมการป้องกันอีกชั้นหนึ่ง " อย่างไหนน่าเชื่อถือ ซึ่งในความเป็นจริงทางปฏิบัติ การตรวจจับและตัดวงจรออกให้ทันท่วงที ที่ดีที่สุดคือ ใช้วงจร อิเลคทรอนิกส์ เข้ามา เท่านั้น อย่างอื่นไม่มีทางได้กิน ขอ บอก.


โดย: ตู่ IP: 124.120.250.50 วันที่: 9 มกราคม 2558 เวลา:9:23:05 น.  

 
อยากสอบถามคะ เครื่องทำน้ำอุ่นไม่มีตัวปิดเปิดเครื่องทำน้ำอุ่น ทุกวันนี้หลังใช้งานเสร็จก็จะคอยปิดจากตัวเบรคเกอร์ทุกครั้ง เพราะกลัวว่าจะเปลืองไฟ แบบนี้จะทำให้เบรคเกอร์พังง่ายไหมคะ


โดย: นวล IP: 157.7.205.214 วันที่: 16 มกราคม 2558 เวลา:16:53:11 น.  

 
ตอบคุณนวล
การปิดที่ตัวเบรกเกอร์เพื่อตัดการจ่ายไฟโดยตรง หลังจากที่ใช้เสร็จ
ก็ไม่ได้มีผลเสียโดยตรงกับตัวเบรกเกอร์หรอกครับ ในกรณีนี้
และโดยส่วนตัว ผมเองก็มักปิดที่เบรกเกอร์โดยตรงทุกครั้งที่ใช้เสร็จ เช่นเดียวกันครับ


โดย: KanichiKoong วันที่: 17 มกราคม 2558 เวลา:0:54:39 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคำตอบคะ แล้วถ้าเปิดทิ้งไว้แบบนี้จะเปลืองไหไหมคะ ^__^


โดย: นวล IP: 157.7.205.214 วันที่: 21 มกราคม 2558 เวลา:8:42:07 น.  

 
ผมใช้เครื่องทำน้ำอุ่นยี่ห้อเทอร์โบล่า 5500wใช้มาประมาณ 5 ปี เปิดทั้งแอร์และไฟในบ้าน เบรคเกอร์เพิ่งตัดได้ประมาณ 2อาทิตย์ เช็กลูกเซอร์กิตทุกตัวปกติดี ปรับอุณหภูมิความร้อนต่ำสุดก็ยังตัด ขนาดผมปรับไฟไปที่ 30 แอป์ก็ยังตัดอีก จึงตัดสินใจซื้อใหม่มาเปลี่ยนก็ยังเป็นเดิม อยากจะขอถามว่า 1.ผมต้องเพิ่มขนาดสายไฟมั้ยครับ ผมใช้อยู่ ขนาด 2.5 ข้อ2.สาเหใดวเบรคเกอร์ตัวหลักถึงได้บ่อยครับ ผมรบกวนเรียนถามหน่อยครับ ขอบคุณครับ


โดย: เอริ์ธ IP: 171.96.47.7 วันที่: 27 มกราคม 2558 เวลา:14:09:10 น.  

 
ผมใช้เครื่องทำน้ำอุ่นยี่ห้อเทอร์โบล่า 5500wใช้มาประมาณ 5 ปี เปิดทั้งแอร์และไฟในบ้าน เบรคเกอร์เพิ่งตัดได้ประมาณ 2อาทิตย์ เช็กลูกเซอร์กิตทุกตัวปกติดี ปรับอุณหภูมิความร้อนต่ำสุดก็ยังตัด ขนาดผมปรับไฟไปที่ 30 แอป์ก็ยังตัดอีก จึงตัดสินใจซื้อใหม่มาเปลี่ยนก็ยังเป็นเหมือนเดิม อยากจะขอถามว่า 1.ผมต้องเพิ่มขนาดสายไฟมั้ยครับ ผมใช้อยู่ ขนาด 2.5 ข้อ2.สาเหใดเบรคเกอร์ตัวถึงได้บ่อยครับ ผมรบกวนเรียนถามหน่อยครับ ขอบคุณครับ


โดย: เอริ์ธ IP: 171.96.47.7 วันที่: 27 มกราคม 2558 เวลา:14:13:07 น.  

 
ตอบคุณเอริ์ธ

เครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 5500 W มีกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ ราวๆ 25 A ครับ
นั่นคือ ขนาดสายไฟฟ้าและขนาดของเซอร์กิตเบรกเกอร์เกอร์ที่ใช้ ต้องเพียงพอกับพิกัดกระแสสูงสุดด้วย
สายไฟขนาด 2.5 sq.mm. ถือว่าเล็กเกินไปกับเครื่องทำน้ำอุ่นเครื่องนี้ครับ
อย่างน้อยสุดควรจะเป็นสาย 4 sq.mm. หรือให้ดีก็ควรใช้สายเผื่อเป็นสาย 6 sq.mm. ไปเลยครับ
พิกัดของเบรกเกอร์ที่จะนำมาใช้ควบคุมเครื่องทำน้ำอุ่นเครื่องนี้ ควรอยู่ที่ 25 A หรือ 30 A


โดย: KanichiKoong วันที่: 30 มกราคม 2558 เวลา:18:37:05 น.  

 
ขอขอบคุณ ความคิดเห็นที่ 16
ซึ่งได้แนบที่อยู่ลิงค์บทความชุดหนึ่งมาด้วย และสงสัยว่าผู้เขียนบทความในเว็บบล็อกนี้ เป็นคนเดียวกับที่แสดงในลิงค์นี้หรือไม่
//cpfshe.cpportal.net/Portals/0/file/2011/jd1113.pdf

ซึ่งลิงค์ดังกล่าว ผลงานที่ปรากฏนั้น คือบทความที่ได้คัดลอกนำเนื้อหาเดิมของบทความชุดนี้ไปใช้เกือบทั้งหมด เป็นการนำไปใช้โดยไม่ขออนุญาติ และเข้าข่ายแอบอ้างผลงาน ซึ่งผู้เขียนขอเวลาตรวจสอบ และจะติดต่อไปยังบุคคลผู้นั้น เพื่อดำเนินการในขั้นต่อไป เพราะเป็นการนำบทความไปใช้ในเชิงทางธุรกิจโดยที่ไม่ได้ขออนุญาติก่อน


โดย: KanichiKoong วันที่: 31 มกราคม 2558 เวลา:5:23:16 น.  

 
สอบถามครับ
1) หากที่บ้านไม่มีสายดิน แต่จะติด ELCBก่อนเข้าเครื่องทำน้ำอุ่นอย่างเดียว ต่อแบบนี้ยังสามารถป้องกันไฟดูดได้ใช่มั้ยครับ
2) มีELCBยี่ห้อ รุ่น ไหนที่ไม่เกิน500 มั้ยครับ พอดีที่บ้านต้องใช้หลายจุดครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้นะครับ


โดย: warat IP: 192.99.14.36 วันที่: 16 เมษายน 2558 เวลา:16:46:49 น.  

 
เพิ่มเติมอีกคำถามครับ
ตามข้อความของคุณ KanichiKoong
"อย่างเช่น บนตัว ELCB ระบุค่าพิกัดกระแสที่ 30 A แต่เมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้าสูงเกินกว่าที่ระบุไว้หากเป็นเบรกเกอร์แบบธรรมดาก็จะปลดวงจรออกเองเมื่อใช้งานพิกัดกระแสเกินกว่าที่ระบุแต่ในกรณีของ ELCB พิกัดกระแสที่ระบุบนตัวของมันคือค่าสูงสุดที่มันจะทนได้ไม่ใช่ค่าที่มันจะปลดวงจร การมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินพิกัดสูงสุดที่แสดงบนELCB ก็จะทำให้มันพังโดยที่ไม่มีการปลดวงจร"
หมายความว่า หากผมเลือกใช้ ELCB 30A 2P KYOKUTO KD-LS2123 ผมจะต้องติด Main CB เพื่อป้องกันกระแสเกินอีกชั้นนึงก่อนแล้วค่อยติดELCBใช่หรือไม่ครับ เพื่อให้MCBปลดวงจรกรณีมีกระแสเกิน - และหากไม่ติดMCB กรณีลัดวงจร(ทำให้กระแสเกิน) ELCB มันจะไม่ตัดไฟ แต่มันจะพังทำให้วงจรถูกตัดไปโดยอัตโนมัติใช่หรือไม่ครับ
ขอบคุณที่สละเวลามาให้ความรู้ครับ


โดย: warat IP: 192.99.14.34 วันที่: 16 เมษายน 2558 เวลา:17:16:44 น.  

 
ตอบคุณ warat ความคิดเห็นที่28

ส่วนหนึ่งก็ถูกต้องตามที่คุณเข้าใจครับ
เบรกเกอร์ ELCB โดยปกติจะไม่ป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด

การใช้กระแสเกินพิกัด ก็ประมาณว่า
ELCB ของคุณ มีการระบุพิกัดกระแส 30 A
แต่มีโหลดเครื่องทำน้ำร้อนที่กำลังใช้งานอยู่ ซึ่งกินกระไฟฟ้า(สมมติว่า) 35 A ซึ่งนี่ถือว่าเป็นการใช้กระแสเกินพิกัดหรือโอเวอร์โหลดนั่นเองครับ
ในกรณีของเซอร์กิตเบรกเกอร์แบบธรรมดาทั่วไป เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากเกินพิกัดสูงสุดของมัน(เกินกว่าที่ระบุไว้)
ผลของการใช้กระแสเกินในกรณีที่เป็เบรกเกอร์ธรรมดา เมื่อกระแสเกินพิกัด กลไกภายในมันก็จะค่อยๆร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดหน้าสัมผัสภายที่เดิมที่แตะกันอยู่ก็จะแยกออกจากกัน
ซึ่งนี่ก็คือการทริปจากกระแสเกิน หรือเรียกว่าปลดวงจรออกเอง ซึ่งเป็นกรณ๊ของเบรกเกอร์แบบธรรมดาทั่วไปครับ คือทันทีที่ใช้กระแสเกินพิกัด มันจะยังไม่ทริปแบบทันทีทันใด ต้องรอให้มันค่อยๆร้อนต่อเนื่องกันระยะเวลาหนึ่งจึงจะทริป

ซึ่งกลไกลที่ปลดวงจรได้เมื่อมีการใช้กระแสเกินพิกัด โดยส่วนใหญ๋จะใช้หลักการขยายตัวของแผ่นโลหะหน้าสัมผัสสองชิ้น ซึ่งโลหะจะขยายตัวแยกออกจากกัน เมื่อได้รับความร้อน ความร้อนนี้ก็คือผลจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน คล้ายๆกับการทำงานของไบเมลทัล

แต่ในกรณี ELCB ที่มันปลดวงจรออกเมื่อใช้กระแสเกินไม่ได้ ก็เพราะด้านในมันไม่มีกลไกสำหรับปลดวงจรเมื่อมีการใช้กระแสเกินพิกัด ทำให้เมื่อมีการใช้กระแสเกินพิกัด ตัวมันเองจะร้อนขึ้นเรื่อยๆ หากมีกระแสสูงเกินพิกัดต่อเนื่องกันนานๆ มันก็อาจะร้อนจนไหม้ไปเลยครับ


ส่วนการปลดวงจรในกรณีที่มีไฟฟ้าลัดวงจร อันนี้เบรกเกอร์กันดูดหรือเบรกเกอร์ธรรมดา ล้วนปลดวงจรได้หมดเมื่อมีการลัดวงจร
การลัดวงจร มีค่ากระแสที่สูงมากๆก็จริงครับ แต่มันเป็นเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น การทริปของเบรกเกอร์เมื่อมีการลัดวงจร จะใช้ผลที่ได้จากอำนาจแม่เหล็กเป็นตัวปลดกลไกภายใน เพราะกระแสลัดวงจรโดยปกติจะอยู่ที่หลักพันแอมป์ขึ้น แม้เพียงเสี้ยววินาที แต่ก็มีมากพอที่จะสร้างอำนาจแม่เหล็กให้กลไกลทริปตัวเองได้ในทันที


โดย: KanichiKoong วันที่: 17 เมษายน 2558 เวลา:3:22:05 น.  

 
ตอบคุณ warat ความคิดเห็นที่27


สอบถามครับ
1) หากที่บ้านไม่มีสายดิน แต่จะติด ELCBก่อนเข้าเครื่องทำน้ำอุ่นอย่างเดียว ต่อแบบนี้ยังสามารถป้องกันไฟดูดได้ใช่มั้ยครับ

ตอบ - สามารถช่วยป้องกันอันตรายจากไฟดูดได้ครับ แต่ต้องทำความเข้าใจไว้ด้วยว่า การป้องกันนี้มีให้เพียงแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น แต่การป้องกันอย่างดีที่สุดจะต้องมีสายดินควบคู่ด้วย แต่ในกรณีที่สายดินไม่มีหรือติดตั้งไม่ได้ กรณีนี้ก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าสามารถป้องกันได้ในระดับหนึ่ง



2) มีELCBยี่ห้อ รุ่น ไหนที่ไม่เกิน500 มั้ยครับ พอดีที่บ้านต้องใช้หลายจุดครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้นะครับ

ตอบ - มีครับ ลองสอบถามราคาจากร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ขายปลีก-ส่ง จะได้ราคาที่ถูกสุด ไม่แนะนำให้เทียบราคาจากในห้างค้าปลีกหรือห้างที่ขายอุปกรณ์เกี่ยวกับบ้าน เพราะราคาจะแพงกว่าแน่
ELCB ราคาตัวละไม่เกิน 500 บาท ตามร้านไฟฟ้าทั่วไป หลักๆก็ของ KYOKUTO , Haco


โดย: KanichiKoong วันที่: 17 เมษายน 2558 เวลา:6:14:06 น.  

 
Clear มาก ขอบคุณครับ

ผมอยู่หาดใหญ่ คุณKanichiKoongทำร้านแอร์อยู่หาดใหญ่รึป่าว มีอะไรได้โทรตามมาserviceครับ


โดย: warat IP: 192.99.14.36 วันที่: 17 เมษายน 2558 เวลา:7:15:57 น.  

 
สอบถามเรื่องปลั๊กไฟ(ปลั๊กตัวผู้)เครื่องจักรครับ ช่างโรงงานเอาสายนิวทรัลต่อเข้ากับสายดิน ถูกผิดยังไงครับปลอดภัยแค่ไหนครับ ถกเถียงกันมากในหมู่ช่างไฟสมัครเล่น มีการอ้างช่างการไฟฟ้าว่าทำได้ แถมเอาสายดินต่อรวมกับนิวทรัลที่ปลั๊กตัวเมียด้วย


โดย: Takao IP: 171.97.83.69 วันที่: 20 เมษายน 2558 เวลา:0:13:07 น.  

 
การที่ไม่นำสายดิน ไปต่อลงดิน
แต่เอาไปต่อกับสาย นิวทรัล
อันตรายมากครับ
ทำให้คนตายมาแล้วครับ
คือพอเปิดเครื่องทำน้ำอุ่น
มันดูดคนอาบน้ำตายเลยครับ
เครื่องตัดไฟเมื่อดูด มันไม่ทำงาน
เพราะไม่มีไฟรั่วลงดิน
ไฟที่ดูดจนตาย มาจากสายดิน ของเครื่องทำน้ำอุ่น
ที่ช่าง เอาไปต่อกับสายนิวทรัล
โดยที่ ช่างไฟของหมู่บ้าน ต่อสายไฟ ที่เข้าหมู่บ้านผิด
สายที่ควรจะเป็นสายนิวทรัล กลับต่อผิด กลายเป็นสาย line
ซึ่งมีไฟ 220 โวลท์
ไฟ 220 โวลท์ จึงไปที่ตัวถังของเครื่องทำน้ำอุ่น ผ่านทางสายดิน ซึ่งเามาต่อกับสายนิวทรัล


โดย: สมชาย IP: 192.99.14.34 วันที่: 15 ตุลาคม 2558 เวลา:16:05:57 น.  

 
ได้ความรู้มากครับ


โดย: DK IP: 110.164.167.243 วันที่: 16 ตุลาคม 2558 เวลา:14:44:51 น.  

 
บ้านที่ใช้ เบรกเกอร์ธรรดา หลายตัว คุมปลั๊กไฟ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อื่นๆ สามารถเปลี่ยนเป็น ELCB ได้หรือไม่ ครับ


โดย: DK IP: 110.164.167.243 วันที่: 16 ตุลาคม 2558 เวลา:14:49:35 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ครับ


โดย: kong IP: 58.8.95.76 วันที่: 3 ธันวาคม 2558 เวลา:11:00:13 น.  

 
ขอความรู้ครับ กรณีที่ไม่มีตู้คอนวูมเมอร์(บ้านเก่า)เราต่อสายดินจากปลั๊กไฟตัวเมียที่มีช่องสายดินของแต่ละตัว สมมุติว่ามีปลั๊กตัวเมีย 5ตัวต่อสายดิน5เส้น แล้วลากเอาไปรวมกันแล้วเชื่อมต่อกับสายเมนของหลักดิน มันใช้ได้ไหมครับ เพราะยังไม่มีงบทำไฟใหม่ทั้งบ้าน


โดย: พระราม2 IP: 58.8.153.213 วันที่: 8 กันยายน 2559 เวลา:18:08:07 น.  

 
ที่บ้านใช้ยี่ห้อ Electrolax คือตอนนี้ไฟสีฟ้ามี่เขียนว่าไฟ earth มันกระพริบๆค่ะไม่รู้เป็นอะไรจะอันตรายมั้ย


โดย: หวาน.หวาน IP: 223.24.107.216 วันที่: 23 กันยายน 2559 เวลา:20:17:41 น.  

 
ที่บ้านใช้ยี่ห้อ Electrolax คือตอนนี้ไฟสีฟ้ามี่เขียนว่าไฟ earth


โดย: หวาน.หวาน IP: 223.24.107.216 วันที่: 23 กันยายน 2559 เวลา:20:18:29 น.  

 
สอบถามหน่อยครับ ปั้มน้ำ 200 w ต้องใช้ ELCB BREAKER กี่แอมป์ครับ พอดีที่บ้านจะติดตั้งปั้มน้ำ ขอบคุณครับ


โดย: Chicken IP: 58.9.90.220 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2559 เวลา:22:49:20 น.  

 
ถามไว้แล้วตั้งนาน ตั้งแต่ปี 56 - 57 เพิ่งมาเห็นคำตอบ ปี 2559
แต่ก็ยังได้ความรู้เยอะ ทบทวนความรู้เดิมและได้ความรู้ใหม่ครับ


โดย: ประยงค์ วรรณเส IP: 223.205.239.1 วันที่: 29 ธันวาคม 2559 เวลา:3:57:51 น.  

 
ผมใช้เครื่องทำน้ำอุ่นโตชิบา green spa แล้ว ELCB มันตัดระบบการทำงานไปแล้ว เปิดไม่ติดอีกเลย แสดงว่าเบรคเกอร์ตัวนี้เสียแล้วใช่ไหมครับ จะหาซื้อได้ที่ไหนครับ หรือมีวิธีรีเซ็ตเครื่องรึเปล่า ช่วยแนะนำด้วยครับ


โดย: Tony7016 IP: 27.145.135.82 วันที่: 14 มกราคม 2560 เวลา:8:50:50 น.  

 
รบกวนเรียนถาม เรื่องเครื่องทําน้ําอุ่น panasonic dh3ll1 Elb test กดไม่ลง
ดันแกนสีส้มขึ้นไป แล้วกดปุ่ม ELB test แล้วแกนสีส้มไม่เด้งลง
ต้องแก้ไขอย่างไรคะ


โดย: Arun IP: 110.77.150.226 วันที่: 13 เมษายน 2560 เวลา:13:18:09 น.  

 
เราควรตั้งค่าเซฟทีคัทที่ 5mAหรือ15ma อันำหนปลอดภัยกว่าคะ


โดย: ส. IP: 49.230.0.163 วันที่: 19 กรกฎาคม 2562 เวลา:14:43:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

KanichiKoong
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 275 คน [?]




ช่องทางการติดต่อผู้จัดทำ

- หลังไมค์
- E-mail : aum_tawatchai@hotmail.com
-------------------------------------
เนื้อหาที่ปรากฏ อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อการศึกษา/หาความรู้ ซึ่งไม่เป็นการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
-------------------------------------
New Comments
Friends' blogs
[Add KanichiKoong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.