JyHorseman
Group Blog
 
 
มีนาคม 2557
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
11 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 

2014m03d11: Myanmar Tourist Informations [ข้อมูลท่องเที่ยวสหภาพพม่า]

2014m03d13-15: Myanmar Trip with Chill Square Travel [ทริปพม่า]
- 2014m02d17: Myanmar Trip, Registration and Info.
- 2014m03d11: Myanmar Tourist Informations [ข้อมูลท่องเที่ยวสหภาพพม่า]


จะออกเดินทางทริปพม่าแล้ว พอจะมีเวลาที่จะอ่านข้อมูลทั่วไปจากเว็ปไซท์ต่างๆ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจดีมาก

ข้อมูลท่องเที่ยวพม่า [www.qetour.com]:
//www.qetour.com/travel-guide/myanmar-travel-guide.php

แหล่งท่องเที่ยวพม่า [www.TourismChiangrai.com]:
//www.tourismchiangrai.com/cr/tour_mynmar.php




[ดินแดนทองคำประเทศพม่า, Source: /www.qetour.com]

ข้อมูลทั่วไป
สหภาพพม่า(Union of Myanmar) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีลักษณะพิเศษคือ เป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับสองประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลก ได้แก่ จีน และอินเดีย

แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ แต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ

ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmar ซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่าMyanma Naingngandaw ไม่ว่าจะมีความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลทหารอย่างไรก็ตามคำว่าเมียนมาร์เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Myanmar แต่ความจริงแล้ว ชาวพม่าเรียกชื่อประเทศตนเองว่า มยะหม่า

ประวัติศาสตร์พม่า
ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน อินเดีย บังกลาเทศ ลาว และไทยอีกด้วย

ประวัติศาสตร์พม่าแบ่งออกเป็น 7 ยุค ดังนี้
1. ยุคมอญ
2. ยุคชาวพยู
3. ยุคอาณาจักรพุกาม
4. ยุคอังวะและหงสาวดี
5. ยุคอาณาจักรตองอู
6. ยุคราชวงศ์อลองพญา
7. ยุคสงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า


[ฮินตา สัญลักษณ์ของชาวมอญ, Source: /www.qetour.com]

1. ยุคมอญ
มนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศพม่าราว 11,000 ปีมาแล้ว แต่ชนเผ่าแรกที่สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนได้ก็คือชาวมอญ ชาวมอญได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว 2,400ปีก่อนพุทธกาล และได้สถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิ อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณใกล้เมืองท่าตอน (Thaton) ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 2ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช บันทึกของชาวมอญส่วนใหญ่ถูกทำลายในระหว่างสงคราม วัฒนธรรมของชาวมอญเกิดขึ้นจากการผสมเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ากับวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองจนกลายเป็นวัฒนธรรมลักษณะลูกผสมในราวพุทธศตวรรษที่ 14 ชาวมอญได้เข้าครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใต้ของพม่า


[เจดีย์พยาจีศิลปะยุคราชธานีศรีเกษตร, Source: /www.qetour.com]

2. ยุคชาวพยู
ชาวปยูหรือพยูเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศพม่าตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่นที่ พินนาคา (Binnaka)มองกะโม้ (Mongamo) ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ในช่วงเวลาดังกล่าวดินแดนพม่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง และชาวพยูเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าพยู ข้อขัดแย้งมักยุติด้วยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกัน ชาวพยูสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ทำจากฝ้าย อาชญากรมักถูกลงโทษด้วยการโบยหรือจำขัง เว้นแต่ได้กระทำความผิดอันร้ายแรงจึงต้องโทษประหารชีวิต ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาที่วัดตั้งแต่อายุ 7 ขวบจนถึง 20 ปี นครรัฐของชาวพยูไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็กซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้ นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ศรีเกษตร

ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่า เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใด นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองหะลินคยี อย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวพยูอีก


[เจดีย์ชเวซิกองศิลปะอาณาจักรพุกาม, Source: /www.qetour.com]

3. ยุคอาณาจักรพุกาม
ชาวพม่าเป็นชนเผ่าจากทางตอนเหนือที่ค่อย ๆ อพยพแทรกซึมเข้ามาสั่งสมอิทธิพลในดินแดนประเทศพม่าทีละน้อย กระทั่งปีพุทธศักราช 1392 จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอำนาจซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง "พุกาม" (Pagan) โดยได้เข้ามาแทนที่ภาวะสุญญากาศทางอำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรชาวพยู อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกนั้นมิได้เติบโตขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกระทั่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา(พ.ศ.1587–1620) พระองค์จึงสามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ในปีพุทธศักราช1600 อาณาจักรพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า อาณาจักรพุกามมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าจานสิตา(พ.ศ.1624–1655)และพระเจ้าอลองสิธู(พ.ศ.1655–1710) ทำให้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17ดินแดนในคาบสมุทรสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดยอาณาจักรเพียงสองแห่ง คือเขมรและพุกามอำนาจของอาณาจักรพุกามค่อยๆ เสื่อมลง

ด้วยเหตุผลหลักสองประการ ส่วนหนึ่งจากการถูกเข้าครอบงำโดยของคณะสงฆ์ผู้มีอำนาจ และอีกส่วนหนึ่งจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลที่เข้ามาทางตอนเหนือ พระเจ้านรสีหบดี (ครองราชย์ พ.ศ. 1779–1830) ได้ทรงนำทัพสู่ยุนนานเพื่อยับยั้งการขยายอำนาจของมองโกล แต่เมื่อพระองค์แพ้สงครามที่งาสองกยัน (Ngasaunggyan) ในปีพุทธศักราช 1820 ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระส่ำระสายเกือบทั้งหมด พระเจ้านรสีหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ในปีพุทธศักราช 1830 กลายเป็นตัวเร่งที่ทำให้อาณาจักรมองโกลตัดสินใจรุกรานอาณาจักรพุกามในปีเดียวกันนั้น ภายหลังสงครามครั้งนี้ อาณาจักรมองโกลก็สามารถเข้าครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามได้ทั้งหมด ราชวงศ์พุกามสิ้นสุดลงเมื่อมองโกลได้แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นบริหารดินแดนพม่าในปีพุทธศักราช 1832


[เจดีย์ไจ้ปุ่นสร้างในสมัยกษัตริย์ธรรมเซดีแห่งหงสาวดี, Source: /www.qetour.com]

4. ยุคอังวะและหงสาวดี
หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกามพม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครั้งราชวงศ์อังวะซึ่งได้รับอิทธิพล ทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามได้ถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองอังวะในปีพุทธศักราช 1907 ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมของพม่า แต่เนื่องด้วยอาณาเขตที่ยากต่อการป้องกันการรุกรานจากศัตรู เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญ่เข้าครอบครองได้ในปีพุทธศักราช 2070 สำหรับดินแดนทางใต้ ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหม่อีกครั้งที่หงสาวดี โดยกษัตริย์ธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.ศ. 1970 – 2035)เป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของมอญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนย์กลางทางการค้าขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา


[สัญลักษณ์ราชวงศ์ตองอู, Source: /www.qetour.com]

5. ยุคอาณาจักรตองอู
หลังจากถูกรุกรานจากไทใหญ่ ชาวอังวะได้อพยพลงมาสถาปนาอาณาจักรแห่งใหม่โดยมีศูนย์กลางที่เมืองตองอูในปีพุทธศักราช 2074 ภายใต้การนำของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (ครองราชย์ พ.ศ. 2074–2093) ซึ่งสามารถรวบรวมพม่าเกือบทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้ง ในช่วงระยะเวลานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาค ชาวไทใหญ่มีกำลังเข้มแข็งเป็นอย่างมากทางตอนเหนือ การเมืองภายในอาณาจักรอยุธยาเกิดความไม่มั่นคง ในขณะที่โปรตุเกสได้เริ่มมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถเข้าครอบครองมะละกาได้ เกี่ยวกับการเข้ามาของบรรดาพ่อค้าชาวยุโรป พม่ากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง การที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยทำเลทางการค้า พระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ. 2094–2124)ซึ่งเป็นพระเทวัน(พี่เขย)ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้

และสามารถเข้าครอบครองอาณาจักรต่าง ๆ รายรอบได้ อาทิ มณีปุระ (พ.ศ. 2103) อยุธยา (พ.ศ. 2112) ราชการสงครามของพระองค์ทำให้พม่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุดอย่างไรก็ตาม ทั้งมณีปุระและอยุธยา ต่างก็สามารถประกาศตนเป็นอิสระได้ภายในเวลาต่อมาไม่นาน เมื่อต้องเผชิญกับการก่อกบฏจากเมืองขึ้นหลายแห่งประกอบกับการรุกรานของโปรตุเกส กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอู จำเป็นต้องถอนตัวจากการครอบครองดินแดนทางตอนใต้ โดยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ พระเจ้าอะนอกะเพตลุน (Anaukpetlun) พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้งในพุทธศักราช 2156 พระองค์ตัดสินใจที่จะใช้กำลังเข้าต่อต้านการรุกรานของโปรตุเกส พระเจ้าธารุน (Thalun) ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ ได้ฟื้นฟูหลักธรรมศาสตร์ของอาณาจักรพุกามเก่า แต่พระองค์ทรงใช้เวลากับเรื่องศาสนามากเกินไป จนละเลยที่จะใส่ใจต่ออาณาเขตทางตอนใต้ ท้ายที่สุด หงสาวดี ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสซึ่งตั้งมั่นอยู่ในอินเดีย ก็ได้ทำการประกาศเอกราชจากอังวะ จากนั้นอาณาจักรของชาวพม่าก็ค่อย ๆ อ่อนแอลงและล่มสลายไปในปีพุทธศักราช 2295 จากการรุกรานของชาวมอญ


[รูปปั้นพระเจ้าอลองพญา, Source: /www.qetour.com]

6. ยุคราชวงศ์อลองพญา
ราชวงศ์อลองพญาได้รับการสถาปนาขึ้นและสร้างความเข้มแข็งจนถึงขีดสุดได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว พระเจ้าอลองพญาซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมจากชาวพม่า ได้ขับไล่ชาวมอญที่เข้ามาครอบครองดินแดนของชาวพม่าได้ในปี พ.ศ.2296จากนั้นก็สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้งในปี พ.ศ.2302 ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองกรุงมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน พระองค์สถาปนาให้เมืองย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ.2303หลังจากเข้ายึดครองตะนาวศรี (Tenasserim)พระองค์ได้ยาตราทัพเข้ารุกรานอยุธยาแต่ต้องประสบความล้มเหลวเมื่อพระองค์ทรงสวรรคตระหว่างการสู้รบ พระเจ้าเซงพะยูเชง (Hsinbyushin, ครองราชย์ พ.ศ. 2306 – 2319) พระราชโอรส ได้โปรดให้ส่งทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งในปี พ.ศ.2309ซึ่งประสบความสำเร็จในปีถัดมา ในรัชสมัยนี้ แม้จีนจะพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนพม่า แต่พระองค์ก็สามารถยับยั้งการรุกรานของจีนได้ทั้งสี่ครั้ง (ในช่วงปี พ.ศ. 2309–2312) ทำให้ความพยายามในการขยายพรมแดนของจีนทางด้านนี้ต้องยุติลง

ในรัชสมัยของพระเจ้าโบดอพญา (Bodawpaya, ครองราชย์ พ.ศ. 2324–2362) พระโอรสอีกพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอลองพญา พม่าต้องสูญเสียอำนาจที่มีเหนืออยุธยาไป แต่ก็สามารถผนวกดินแดนยะไข่ (Arakan) และตะนาวศรี (Tenasserim) เข้ามาไว้ได้ในปี พ.ศ. 2327 และ 2336 ตามลำดับ ในช่วงเดือนมกราคมของปี พ.ศ. 2366 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าบาคยีดอว์ (Bagyidaw, ครองราชย์ พ.ศ. 2362–2380) ขุนนางชื่อมหาพันธุละ (Maha Bandula) นำทัพเข้ารุกรานแคว้นอัสสัมได้สำเร็จ ทำให้พม่าต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับอังกฤษที่ครอบครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น


[เจดีย์ซูเลศูนย์กลางกรุงย่างกุ้ง, Source: /www.qetour.com]

7. ยุคสงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า
สืบเนื่องจากการพยายามขยายอำนาจของอังกฤษ กองทัพอังกฤษโดยความร่วมมือของสยามได้เข้าทำสงครามกับพม่าในปี พ.ศ. 2367 สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่หนึ่งนี้ (พ.ศ. 2367–2369) ยุติลงโดยอังกฤษเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ฝ่ายพม่าจำต้องทำสนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo)กับอังกฤษ ทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะข่าย และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษเริ่มก็ต้นตักตวงทรัพยากรต่าง ๆ ของพม่านับแต่นั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์ สร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมากกษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทำการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษ ทั้งต่อบุคคลและเรือ เป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สอง ซึ่งก็จบลงโดยชัยชนะเป็นของอังกฤษอีกครั้ง หลังสิ้นสุดสงครามครั้งนี้ อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไว้กับตน โดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่ว่าพม่าตอนใต้ สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในพม่า

เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min) ครองราชย์ พ.ศ. 2396–2421) จากพระเจ้าปะกัน (Pagin Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2389–2396) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอก ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้ รัชสมัยต่อมา พระเจ้าธีบอ (Thibow, ครองราชย์ พ.ศ. 2421–2428) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมพระราชอาณาจักรได้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นไปทั่วในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปีพุทธศักราช 2428 ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้



แหล่งท่องเที่ยวสหภาพพม่า
[Source: //www.tourismchiangrai.com]

"พม่า" มีชื่อเป็นทางการ "สหภาพพม่า"
[Country (Long Form) Union of Myanmar (Burma)

เมืองหลวง : เปียงมะนา [Pyanmana]
ที่ตั้งของเมืองเปียงมะนา อยู่ห่างจากย่างกุ้งไปทางเหนือราว 244 ไมล์ และเป็นจุดตัดของถนนสายหลัก 2 เส้น ซึ่งเชื่อมพม่าตอนเหนือกับตอนใต้เข้าด้วยกัน รวมถึงเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่ใช้กันมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งยังเชื่อมกับเส้นทางรถไฟที่ติดต่อไปยังตอนใต้ของจีน
อย่างไรก็ดี ศูนย์กลางที่รัฐบาลพม่าใช้ก่อตั้งเมืองหลวงใหม่จริงๆ อยู่ห่างจากเปียงมะนาไปทางตะวันตกราว 7 ไมล์ เป็นจุดที่เรียกว่า “ไจ้เปี่ย” (Kyep Pyay) ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากนายพลอองซาน เคยใช้เป็นชัยภูมิสู้รบจนได้เอกราชจากอังกฤษ ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่พรรคคอมมิวนิสต์เคยใช้ปักหลักต่อสู้กับรัฐบาลพม่าในอดีต

เมืองหลวงเดิม : ย่างกุ้ง
พื้นที่ 261,970.31 sq mi, 678,500.00 sq km. ตั้งอยู่ทวีปเอเชีย (เอเชียตะวันตกเฉียงใต้) พรมแดนติดกับ ทะเลอันดามัน และอ่าวเบงกอล ติดกับบังคลาเทศและไทย ภาษาใช้ Burmese แต่กลุ่มชนต่างๆ มีภาษาของตัวเอง

สกุลเงิน ใช้ จ๊าด [kyat]

ชาติพันธุ์ในพม่า
ในสหภาพพม่ากลุ่มชาติพันธุ์ มีอยู่หลายชนเผ่าประมาณ 135 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะมีภาษาของตนเอง โดยชนเผ่าใหญ่ๆ ที่รู้จักได้แก่
- พม่า [Bamer],
- ฉิ่น [Chin],
- ขะฉิ่น [Kachin],
- ขะญ่า [Kayah],
- ขะยิ่น [Kayin],
- มอญ [Mon],
- ระขิ่น [Rakhine] และ
- ฉาน [Shan] .

ในสหภาพพม่ามีทั้งหมด 14 รัฐแต่ละรัฐแบ่งเป็น
1. Chin
2. Kayah
3. Kachin
4. Kayin
5. Mon
6. Rakhine
7. Shan
8. Ayeyarwady
9. Bago
10. Magway
11. Mandalay
12. Sagaing
13. Tanintharyi
14. Yangon



พระเจ้าบุเรงนอง พม่าเรียกบะยินเนาว์ (Bayinnaung)
ในบทนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงฯ ตั้งสมญานาม พระเจ้าบุเรงนองว่า The Conqueror of Ten Direction ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ เป็นเรื่องราวชีวิตของชายผู้หนึ่ง ที่ชื่อ "จะเด็ด" พ่อแม่ของจะเด็ด เป็นคนยากจน ยังชีพด้วยการปาดตาลแต่จะเด็ด เป็นผู้มีบุญญาธิการที่จะได้เป็นกษัตริย์ ได้ครองเศวตฉัตรของพุกามประเทศ จึงวันหนึ่ง ขณะเมื่อยังเป็นทารก พ่อแม่ของจะเด็ดกำลังทำงาน ปีนต้นตาลคนละต้น ก็มีงูใหญ่ตัวหนึ่งได้มาขด ล้อมรอบกายจะเด็ดที่กำลังนั่งเล่นอยู่ สองสามีภรรยาเห็นเหต อัศจรรย์ดังนั้น จึงรีบนำเรื่องนี้ไปเล่า ให้พระราชาคณะรูปหนึ่งฟัง ราชาคณะรูปนั้นได จับยามผูกดวงชาตาเด็กทารกนั้นดู ก็รู้ว่าเด็กทารกนี้ เป็นผู้มีบุญ จะได้เป็นถึงมหาราช

จึงแนะนำให้พากันไปอาศัยอยู่กับภิกษุมังสินธู เจ้าอาวาสวัดกุโสดอ ในเมืองตองอู ต่อมาบิดาของจะเด็ดเสียชีวิตลง และนางเลาชีผู้เป็นแม่ ได้มาเป็นแม่นมให้แก่ราชโอรส และราชธิดา เมืองตองอู ทำให้จะเด็ดได้คลุกคลีกับบุคคลในวงศ์กษัตริย์ของเมืองตองอู โดยเฉพาะ มังตรา ราช โอรสเมืองตองอู ผู้มีลิ้นดำ ซึ่งอ่อนเยาว์กว่า จะเด็ดจงรักภักดีต่อมังตราเจ้านายเหนือหัวของตนเป็นอันมาก ได้เรียนวิชาการ รวมทั้ง เพลงอาวุธ โดยเฉพาะเพลงทวนบนหลังม้า จากพระอาจารย์มังสินธู อดีตนักรบคู่บุญ พระเจ้าเมงกะยินโย ผู้ตั้ง เมืองตองอู นอกจากนี้จะเด็ดยังได้เรียนเพลงดาบจาก ตะคะญี นักรบเฒ่าชาวกะเหรี่ยงสหายรักของมังสินธู ซึ่ง มีอาชีพเป็นช่างตีดาบและเป็นครูดาบแห่งหมู่บ้านกะเหรี่ยง เมื่อพระเจ้าเมงกะยินโย (หรือพระเจ้าสิริชัยะสุระ) เสด็จสวรรคตลง มังตรา เยาวกษัตริย์ แห่งเมือง ตองอู กับจะเด็ดสหายร่วมน้ำนม ก็ได้พยายามแผ่อาณาเขตของเมืองตองอู ไปจนทั่วลุ่มน้ำอิระวดี จนตีได้ เมืองแปร เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี เมืองอังวะ เมืองยะไข่ รวมกันเข้าเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน แล้วตั้งเมืองหลวงใหม่ขึ้นที่เมืองหงสาวดี สถาปนาพระเจ้ามังตราขึ้นเป็นจักรพรรดิ์ ทรง พระนามว่า พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (พระเจ้าลิ้นดำ) กับ บุเรงนอง (จะเด็ด) ซึ่งเป็นพี่เขย ได้กรีธาทัพ พร้อมไพร่พลโยธา ช้าง ม้า จำนวนมากมาล้อมกรุงศรีอยุธยา จนเกิดเรื่องราวของความจงรักภักดีต่อ พระมหากษัตริย์และความ หวงแหนแผ่นดินถิ่นเกิดของคนไทย ต่อมาเมื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ สิ้นพระชนม์ลง จะเด็ดก็ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นมหากษัตริย์แทน ทรงนามว่าพระเจ้าบุเรงนอง

พระเจ้าบุเรงนองกับการเสียเมืองของกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๑๐๖
พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา มีกำลังพล ๒๐๐,๐๐๐ คน จัดเป็นทัพกษัตริย์ถึงหกกองทัพ มีเมืองเชียงใหม่สนับสนุนเสบียงอาหาร โดยลำเลียงมาทางเรือ เดินทัพมาทางด่านแม่ละเมา ได้เตรียมทัพเรือพร้อมปืนใหญ่กับจ้างชาวโปรตุเกส อาสาสมัคร ๔๐๐ คน เป็นพลปืนใหญ่ พม่าตีได้เมืองกำแพงเพชร สวรรคโลก สุโขทัย พิชัย และพิษณุโลก ปะทะทัพไทยที่ชัยนาท แล้วเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ต้องยอมเป็นไมตรี

พ.ศ.๒๑๑๑ สงครามไทย – พม่า คราวเสียกรุง พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ยกกองทัพใหญ่เจ็ดกองทัพ มีกำลังพล ๕๐๐,๐๐๐ คน ยกทัพมาทางด่านแม่ละเมา เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสี่ด้าน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ประชวรและสวรรคต กองทัพพระไชยเชษฐา กษัตริย์ล้านช้างยกมาช่วย แต่ถูกพม่าโจมตีแตกกลับไป เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๙๓๑ (พ.ศ.๒๑๑๒) กรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่กองทัพพม่าซึ่งมีพระเจ้ากรุงหงสาวดี หรือ พระเจ้าบุเรงนอง ที่เรา รู้จักกันดีในนามว่า "ผู้ชนะสิบทิศ" ทรงเป็นจอมทัพ ภายหลังที่ได้ต่อสู้ขับเคี่ยวกันมานานถึง ๙ เดือนเศษ พระเจ้าหวสาวดี บุเรงนอง และพระสุพรรณกัลยาพระสุพรรณกัลยา เป็นธิดาองค์ใหญ่ของพระมหาธรรมราชา และพระวิสุทธิกษัตริย์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นพระพี่นางของสมเด็จพระนเรศวร และพระเอกาทศรถ วีรกษัตริย์ไทยผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติ ให้พ้นจากอำนาจของพม่า พระนางทรงพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ ปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๐๙๓ ณ พระราชวังจันทน์ (บริเวณที่ตั้งโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ในปัจจุปัน)

เมื่อกรุงศรีอยุธยาแพ้ศึกพระเจ้าหงสาวดี (พระเจ้าบุเรงนอง) พุทธศักราช ๒๑๑๒ พระนางและพระเจ้าน้องยาเธอทั้งสองพระองค์ ได้ถูกบุเรงนอง กษัตริย์พม่า กวาดต้อนไปเป็นเชลยที่เมืองหงสาวดีพร้อมด้วยพระมหินทราธิราชเจ้าเหนือหัว แต่พระมหินทราธิราชเสด็จสวรรคตเสียที่เมืองอังวะ พม่าจึงแต่งตั้งให้พระมหาธรรมราชา ครองกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่โอรสและธิดา ยังเป็นเชลยอยู่เพื่อเป็นตัวประกัน ป้องกันการคิดทรยศของฝ่ายไทย ทั้งสามพี่น้องอยู่ที่หงสาวดีถึง ๖ ปี จึงได้กลับมากรุงศรีอยุธยาด้วยเหตุที่พระเจ้าหงสาวดี บุเรงนองเกิดความพึงพอใจในสิริโฉมงดงาม ของพระสุพรรณกัลยา จึงมาสู่ขอจากพระมหาธรรมราชา และนำกลับไปอภิเษกเป็นพระชายา ณ เมืองหงสาวดี ต่อมาพระนางได้ออกอุบาย ทูลขอให้พระเจ้าน้องยาเธอทั้งสองพระองค์ กลับสู่กรุงศรีอยุธยา เพื่อช่วยพระบิดารับศึกพระยาละแวกแห่งเขมร นับเป็นมหาวีรกรรม ที่ทรงมีแต่ปวงชนชาวไทย อันควรยกย่องพระเกียรติยศให้ปรากฏ



.

[เมืองย่างกุ้ง, Source: //www.tourismchiangrai.com]

เมืองย่างกุ้ง
นานมาแล้วที่เมืองย่างกุ้ง ติดอยู่ในมิติของกาลเวลาที่บิดเบือนเลือนลาง เมืองโบราณแห่งนี้เคยอบอวลไปด้วยไอร้อน ฝุ่นผงธุลีดิน และสรรพสำเนียงเสียงเซ็งแซ่ ไม่มีอาคารสูงระฟ้า มีแต่ตึกรามเก่าๆ ที่ชาวอังกฤษสร้างไว้ บนท้องถนนก็มีแต่รถประจำทางที่แน่นขนัด แท็กซี่รุ่นคุณปู่ และสามล้อที่เก่าจวนจะพังมิพังแหล่แต่ช่วงไม่กี่ปีสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 ย่างกุ้งได้พลิกเปลี่ยนโฉมหน้าไปเมื่อนักลงทุนจากต่างประเทศเพื่อนบ้านทยอยกันเข้ามาไม่ขาดสาย รถรุ่นคุณปู่ต้องหลีกทางให้รถญี่ปุ่นรุ่นใหม่สีมันวับ แท็กซี่รุ่นเก่าที่เคยวิ่งโคลงเคลงอยู่ตามท้องถนนถูกแทนที่ด้วยแท็กซี่รุ่นใหม่ ส่วนใหญ่เป็นรถยี่ห้อ มาสด้ากับซูบารุ ตึกรามอันเก่าแก่ทรุดโทรมถูกทุบทิ้งเพื่อสร้างโรงแรมกับอาคารสำนักงานที่สูงระฟ้าขึ้นมาแทนที่แต่นั่นไม่ได้ทำให้เสน่ห์ของย่างกุ้งลดน้อยถอยลงในสายตาของนักท่องเที่ยว พาหนะที่ทันสมัยช่วยให้เดินทางได้สะดวกสบายขึ้น และถึงแม้ว่าจะมีตึกสูงขึ้นแซมอยู่กับหมู่โบราณสถาน แต่วิถีชีวิตของผู้คนกลับเปลี่ยนแปลงไปน้อยกว่า เราจึงสามารถนั่งแท็กซี่ไปเยือนชุมชนโปรตุเกสเก่าที่ตั่นหลินได้โดยใช้เวลาเดินทางเพียง 30 นาที แทนที่จะนั่งเรือเป็นครึ่งค่อนวันและตั่นหลินก็ยังคงเป็นเมืองที่เงียบสงบซ่อนเหตุวุ่นวายในประวัติศาสตร์ไว้เบื้องหลังซากโบถส์ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป


พระบรมธาตุชเวดากอง(SHWEDAGON PAGODA) พระมหาเจดีย์ทองคำที่งดงามตั้ง เด่นเป็นสง่าอยู่ใจกลางเมืองย่างกุ้ง มีความสูงประมาณ 109 เมตร ประดิษฐานอยู่บนเนินดินที่ชื่อ “SINGUTTARA” ซึ่งมีลานรูปสี่เหลี่ยมและเป็นเนินที่สูงที่สุดในเขตปริมณฑลเมืองย่างกุ้งมีความยาว โดยรอบ ประมาณ 473 เมตร รอบฐานพระมหาเจดีย์รายล้อมไปด้วยเจดีย์องค์เล็กๆ อีกร้อยองค์ มีซุ้มประตูสี่ด้านยอดฉัตรองค์พระมหาเจดีย์ประกอบด้วยเพชรและพลอยมากมาย นับเป็นงานถาปัตยกรรมฝีมือช่างพม่าที่งดงามหาที่เปรียบมิได้ สันนิษฐานว่าเริ่มก่อสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษแรกๆ เชื่อกันว่าภายในองค์พระมหาเจดีย์ได้บรรจุเส้นพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น พระมหาเจดีย์นี้ยังคงฐานะของพุทธสถานอันเป็นที่พึ่งทางใจของคนพม่าในทุกชั้นวรรณะทุกเพศทุกวัย



[พระเจดีย์สุเล (Sule Pagoda), Source: //www.tourismchiangrai.com]

พระเจดีย์สุเล (Sule Pagoda)
องค์พระเจดีย์สูงถึง 157 ฟุต ศาสนสถานหลักใจกลางกรุงย่างกุ้ง สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่ สุเลนัต หนึ่งในสี่นัตที่เกี่ยวข้องกับตำนานของพระมหาเจดีย์ชเวดากอง


พระเจดีย์โบตะตอง
ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อรับพระเกศาธาตุก่อนที่นำไปบรรจุในพระเจดีย์ชเวดากอง เมื่อพระเกศาธาตุได้ถูกอัญเชิญขึ้นจากเรือ ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่พระเจดีย์โบตะตองแห่งนี้ก่อน พระเจดีย์แห่งนี้ได้ถูก ทำลายในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ โดยมีความแตกต่างกับ พระเจดีย์ทั่วไปคือ ออกแบบให้ใต้ฐานพระเจดีย์มีโครงสร้างโปร่งให้คนเดินเข้าไปภายในได้ โดยอัญเชิญพระบรมธาตุไว้ในผอบทองคำให้ผู้คนได้เข้ามากราบไหว้มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนผนังใต้ฐานเจดีย์ได้นำทองคำและของมีค่าต่างๆ ที่มีพุทธศาสนิกชนชาวพม่านำมาถวายแก่องค์พระเจดีย์ มาจัดแสดงไว้



[พระพุทธไสยาสน์เชาตาจี, Source: //www.tourismchiangrai.com]

พระพุทธไสยาสน์เชาตาจี
พระพุทธไสยาสน์เชาตาจีแห่งเมืองย่างกุ้ง พระพุทธรูปองค์นี้ มีลักษณะพิเศษคือ ที่บริเวณพระบาทมีภาพวาดรูปสรรพสิ่ง อันล้วนเป็นมิ่งมงคลสูงสุด เพราะประกอบด้วย ลายลักษณธรรมจักร ข้างละองค์ ในบริเวณใจกลางฝ่าพระบาท และล้อมด้วย รูปอัฏฐุตรสตกตมงคล 108 ประการ


ตลาดโป๊ะโยค หรือ “สก๊อตมาร์เก็ต”
ซึ่งตลาดแห่งนี้ท่านสามารถเลือกซื้อของฝากญาติมิตรได้นานาชนิดเป็นต้นว่า เครื่องเงิน, เครื่องเขิน, ไม้แกะสลักพระพุทธรูปเทวรูปที่ทำด้วยไม้จันทน์, เครื่องแกะสลัก, เครื่องลงรักปิดทองต่างๆ, ถ้วยชามกังไสจีนโบราณ, โคมไฟแก้ว และแจกันเจียระไนโบราณ, นาฬิกาข้อมือเก่า, ผ้าไหมลายต่างๆ ไปจนถึงบรรดาว่านต่างๆเช่น ว่านหงสาวดี ภาพวาดสีน้ำมันรูปทิวทัศน์ของพม่า ฯลฯ


วัดพระหินขาว
หรือที่มีชื่อเรียกอย่างทางการว่า “Lawka Chantha Abaya
Labamuni Buddha Image”
พระหินขาวนี้สร้างจากหินขาวที่มีลักษณะมันวาว สีขาวสะอาดและไม่มีตำหนิ สูง 37 ฟุต กว้าง 24 ฟุต หนัก 600 ตัน เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง พระหัตถ์ขวาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากสิงคโปร์ และศรีลังกายกขึ้นหันฝ่าพระหัตถ์ออกจากองค์ หมายถึงการไล่ศัตรูและประทานความเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ยังมีการนำหินที่เหลือมาสลักเป็นพระพุทธบาทซ้าย-ขวา ประดิษฐานอยู่ บริเวณด้านหลังพระพุทธรูปด้วย

จากนั้นชมช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองของประเทศพม่าในบริเวณใกล้กันศาสนสถานที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในเมืองหงสาวดี เป็นพระธาตุเก่าแก่อายุกว่า 1,200 ปี เคยพังทลายลงมาเพราะแผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2473 หรือเมื่อ 74 ปีที่แล้ว ต่อมาได้รับการบูรณะปฎิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2497 ปัจจุบันพระธาตุมุเตามีความสูงประมาณ 125 เมตร

พระราชวังหงสาวดี หรือ Kanbawzathadi Palace อดีตพระราชวังของ “พระเจ้าบุเรงนองกยอดิน นรธา” ที่คนไทยรู้จักในดีในนามของผู้ชนะสิบทิศ สิ่งปลูกสร้างไม่ว่าจะเป็น ตำหนักที่บรรทมและท้องพระโรงที่ออกว่าราชการซึ่งตั้งอยู่ในพระราชวังทุกวันนี้ และเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์และถูกจับเป็นตัวประกัน ในอดีตพระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2109 มีผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม กำแพงแต่ละด้านยาวประมาณ 1.5 ไมล์ถูกสร้างขึ้นใหม่ตามบันทึกของ นายราล์ฟ ฟิตซ์ ชาวอังกฤษซึ่งเข้ามาติดต่อค้าขายและได้เห็นเมืองหงสาวดีในยุครุ่งเรืองได้บรรยายไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2129 ก่อนที่พระราชวังหงสาวดีซึ่งถูกสร้างขึ้นอย่างสวยงามจะถูกเผาทำลายลงในปี พ.ศ. 2143

พระพุทธไสยาสน์ชเวทาลยวง ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์อันดับสองของเมืองหงสาวดี พระพุทธรูป องค์นี้มีความยาว 60 เมตร สูง 17 เมตร สร้างขึ้นโดยพระเจ้ามิคทิปปะ ใน พ.ศ. 1537 พระพุทธรูปองค์นี้ได้ตากแดดกรำฝนอยู่เป็นเวลาหลายร้อยปีจนกระทั่งทรุดโทรมลง ระหว่างนั้นก็ได้มีการบูรณะมาโดยตลอด แต่ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าอลองพญาแห่งราชวงศ์คองบอง ปราบมอญราบคาบ เมืองหงสาวดีถูกทิ้งร้างพระพุทธไสยาสน์ก็ถูกทอดทิ้งจนกลางเป็นเพียงกองอิฐถูกต้นไม้ขึ้นปกคลุมหมด จนถึงปี พ.ศ. 2424 เมื่ออังกฤษ สร้างทางรถไฟสายพม่าใต้ จึงได้พบพระนอนองค์นี้ จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 หลังพม่าได้รับเอกราชก็มีการบูรณะปฏิสังขรณ์อย่างจริงจัง โดยทาสีและปิดทองใหม่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

พระมหาเจดีย์ พระมหาเจดีย์ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าบุเรงนอง ในปี พ.ศ. 2103 เพื่อประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วจากลังกาและ พระเจดีย์ไจปุ่น ซึ่งมีอายุมากกว่า 500 ปี สร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์หันพระพักตร์ไปทุกทิสทาง แทนความหมายถึง พระพุทธเจ้า ทั้งสี่พระองค์ในภัทรกัป

พระเจดีย์ไจปุ่น (Kyaikpun Pagoda)
ซึ่งมีอายุมากกว่า 500 ปี สร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์หันพระ พักตร์ไปทุกทิสทางแทนความหมายถึงพระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ในภัทรกัป มีตำนานเล่าว่า พระราชธิดาทั้งสี่องค์ของกษัตริย์มอญสร้างไว้ โดยอธิษฐานว่า จะไม่ยอมอภิเษก แต่ตอนหลังพระธิดาองค์เล็กได้อภิเษก เป็นการผิดสัจจะ พระพุทธรูปองค์หนึ่งในจำนวนสี่องค์นี้ ก็เลยพังทลายลงมา.

เมืองพุกาม
นับแต่พระเจ้าอโนรธาตีเมืองตะโถ่งได้ในปี 1057 จนกุบไล่ขาน ยกทัพมาเหยียบเมืองพุกาม ในปี 1287 นั้น มีการสร้างวัดวาอาราม และสถูปเจดีย์ขึ้นบนที่ราบอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้กว่า 13,000 แห่ง แต่หลังจากที่เวลาผ่านไปได้เพียง เจ็ดร้อยปี กลับมีศาสนสถาน หลงเหลืออยู่ราว 2,000 แห่งเท่านั้น นอกนั้นกลายเป็นซากกองอิฐ ที่ปรักหักพังบ้าง ถูกแม่น้ำ เอยาวดี พัดหายไปบ้าง แต่มรดกจาก ยุคทอง ของการสร้างวัดวาอาราม ที่เหลือตกทอดมาให้ผู้คน ในปัจจุบัน ได้ชื่นชม ก็ยัง ต้องถือว่ามีอยู่ไม่น้อยเลยอยู่ดี ถ้าพุกามตั้งอยู่บนเส้นทางการท่องเที่ยวสำคัญของเอเชีย แทนที่จะเป็นที่ราบอันร้อนและแห้งแล้ง ในภาคกลางของพม่าเช่นนี้ ก็คงจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ในหมู่ชาวตะวันตก ไม่ต่างจากกำแพงเมืองจีน หรือ ทัชมาฮาล ไปเสียนานแล้ว

ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 พระเจ้าตะมุดะริด (สมุทรฤทธิ์) ทรงนำชาว ปยู มาตั้งบ้านเมืองขึ้นในเขต ที่ราบพุกาม แต่เมืองแบบ ที่มีกำแพงล้อมรอบนั้น เพิ่งมาสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 849 ในรัชสมัย ของพระเจ้าปหยิ่นปยา ครั้นพระเจ้าอโนรธา ขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ 42 แห่งราชวงศ์พุกาม ก็ทรงทำนุบำรุงบ้านเมือง จนรุ่งเรือง และรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปอีกใน รัชสมัยพระเจ้าญานสิทธา พระเจ้าอโนรธา ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองบัลลังก์ในปี 1044 ทรงพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์พุกามด้วยการพิชิตราชธานี ของ พวกมอญลงได้ในปี 1507 เมืองพุกาม หรือที่เรารู้จักในนาม อาณาจักรพุกามเดิม (Pagan หรือ Bagan) เมืองมรดกโลก ตั้งอยู่ทางเหนือของกรุงย่างกุ้ง 680 กิโลเมตร เป็นดินแดนอารยธรรม แห่งหนึ่งของโลก เพราะมีวัดวาอารามมากมาย ตลอดจนเจดีย์กว่า 2,000 องค์

นับแต่พระเจ้าอโนรธาตีเมืองตะโถ่งได้ในปี 1057 จนกุบไล่ขานยกทัพมาเหยียบเมืองพุกามในปี 1287 นั้น มีการ สร้างวัดวาอาราม และสถูปเจดีย์ขึ้นบนที่ราบอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้กว่า 13,000 แห่ง แต่หลังจากที่เวลาผ่านไปได้เพียง เจ็ดร้อยปี กลับมีศาสนสถานหลงเหลืออยู่ราว 2,000 แห่งเท่านั้น นอกนั้นกลายเป็นซากกองอิฐที่ปรักหักพังบ้าง ถูกแม่น้ำ เอยาวดี พัดหายไปบ้าง แต่มรดกจากยุคทองของการสร้างวัดวาอารามที่เหลือตกทอดมาให้ผู้คนในปัจจุบันได้ชื่นชม ก็ยัง ต้องถือว่ามีอยู่ไม่น้อยเลยอยู่ดี ถ้าพุกามตั้งอยู่บนเส้นทางการท่องเที่ยวสำคัญของเอเชีย แทนที่จะเป็นที่ราบอันร้อนและ แห้งแล้ง ในภาคกลางของพม่าเช่นนี้ ก็คงจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่ชาวตะวันตก ไม่ต่างจากกำแพงเมืองจีน หรือ ทัชมาฮาลไปเสียนานแล้ว ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 พระเจ้าตะมุดะริด (สมุทรฤทธิ์) ทรงนำชาวปยู มาตั้งบ้านเมืองขึ้นในเขต ที่ราบพุกาม แต่เมืองแบบที่มีกำแพงล้อมรอบนั้น เพิ่งมาสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 849 ในรัชสมัยของพระเจ้าปหยิ่นปยา ครั้นพระเจ้าอโนรธา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 42 แห่งราชวงศ์พุกาม ก็ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองจนรุ่งเรือง และรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปอีกใน รัชสมัยพระเจ้าญานสิทธา พระเจ้าอโนรธา ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองบัลลังก์ในปี 1044 ทรงพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ พุกามด้วยการพิชิตราชธานีของพวกมอญลงได้ในปี 1507


วัดทิโลมินโล (Htilominlo Pagoda)
ที่สันนิษฐานว่า น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า “ไตร โลกมงคล“ สร้างโดยพระเจ้าติโลมิโล เมื่อปี พ.ศ 1761 ซึ่งได้รับการยกย่องว่ามีความ สวยงามมากทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะปูนปั้นบริเวณฐานด้านนอก วิหารนันปยะ ( Nanpaya ) ตามตำนานกล่าวว่าเป็นที่ประทับของพระเจ้ามนูหะ ซึ่งพระเจ้า อโนรถา ทรงจับเป็นเชลยมาจากเมือง สะเทิน สร้างด้วยอิฐและสอดินแต่พื้นปูด้วยหิน มี แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและมีมุขยื่นยาวออกไปทางทิศตะวันออก ใกล้กับแท่นบูชา ภายในอาคารมีเสาหิน 4 เสา และบนแต่ละด้านของเสาก็สลักลายดอกไม้รูปสามเหลี่ยมและ เทวรูปพระพรหมทรงถือดอกบัวอยู่ในแต่ละหัตถ์ งานตกแต่งภายนอกอาคารที่น่าสนใจยิ่ง คือ บานหน้าต่างเป็นช่องปรุทำจากศิลา อันเป็นแบบอย่างและกรรมวิธีของงานงางพุกามใน ส่วนที่เชื่อว่ารับวัฒนธรรมมอญ ทั้งนี้รวมถึงลวดลายที่ประดับกรอบของหน้าต่างและส่วน อื่นของผนังด้วยพระเจดีย์ธรรมยาจี สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้านรถุ (พ.ศ. 1710 – 1713) เจดีย์อานันทะ (ชื่อดังเดิมคือ อนันตปัญญา) เป็นวิหารทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสมีมุขเด็จ ออกไปเท่ากันทั้ง 4 ด้านแต่ละด้านมีซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปทรงสูง 10 เมตร ใหญ่โตสูงสง่าและเป็นศิลปะพระพุทธรูปต้นแบบสมัยพุกามดั้งเดิม เจดีย์สัพพัญญู (THATBYINYU) เป็นวิหารสูงที่สุดในพุกามทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส มีความสูง 201 ฟุต เป็นวัดประจำรัชกาลพระเจ้าอลองสินธสร้างเลียนแบบวัดในประเทศอินเดีย สูงห้า ชั้นโดยชั้นที่สี่เป็นที่ปดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับต้นแบบและชั้นที่ห้าเป็นองค์พระสถูปอัน ศักดิ์สิทธิ์ พระเจดีย์กูบยางคยี (GUPYAUKKYI PAGODA) ที่สร้างโดยพระโอรสของพระเจ้าจันสิธะในราวปี พ.ศ. 1656 พระเจดีย์แห่งนี้สร้างแบบศิลปะของพยูหรือพุกามตอนต้น ภายใน พระเจดีย์ท่านจะได้ชมจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามที่สุดของเมืองพุกามที่ยังคง หลงเหลืออยู่

พระเจดีย์มิงกาลา
พระเจดีย์มิงกาลา จากสถานที่ แห่งนี้ ท่านจะได้พบกับพระเจดีย์น้อยใหญ่จำนวนมากมายที่เป็นที่มาของชื่อ “ดินแดนแห่ง
พระจดีย์สี่พันองค์”
พระอาทิตย์ตกริมฝังแม่น้ำอิรวดีที่พระเจดีย์บุพะยา (BUPAYA PAGODA) ซึ่งจะทำให้ท่านประทับใจมิรู้ลืม ช้อปปิ้งสินค้าพื้นเมืองจำพวกเครื่องเขิน (LACQUERWARE ) ในบริเวณหมู่บ้าน พุกามใหม่ (New Bagan) ซึ่งดำเนินกิจการติดต่อนานกว่า 1,000 ปี

มิงกุน
มิงกุนตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำเอยาวดี ทางตอนบนสุดของทิวเขา ที่โอบล้อมเมืองสกายน์เอาไว้ ที่นี่มีระฆังใบใหญ่ที่สุดในโลก ที่ยังคงสภาพดีเยื่ยม กับพระเจดีย์ขนาดมหึมา ที่ยังสร้างไม่เสร็จอีกองค์หนึ่ง ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของเขามัณฑะเลย์ ห่างไปกว่า 10 กิโลเมตร

มิงกุน ไม่ใช่ราชธานี ที่ประทับของกษัตริย์อย่างอินน์วะ กับอมรปุระ แต่ก็มีความสำคัญในตัวเอง และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมาก หมู่บ้านแห่งนี้ เข้ามาได้โดยทางน้ำเท่านั้น โดยจะมีเรือ ออกจากมัณฑะเลย์ทุกวัน และใช้เวลาเดินทาง ราวหนึ่งชั่วโมงเท่านั้น ถ้าคุณไม่ได้โดยสารเรือกลไฟเยาวดี จากมัณฑะเลย์มายังปะกั่น อย่างน้อย ก็น่าจะลองนั่งเรือสำหรับการเดินทาง ในช่วงนี้ดู จะได้ชมวิถีชีวิต ของชาวบ้านบนลำน้ำสายนี้ จากมยิตจีนากับปะเต่งลงมายังย่างกุ้ง เมืองมิงกุน “เจดีย์ยักษ์มิงกุน” เจดีย์องค์นี้ถ้าสร้างสำเร็จก็จะมีความสูงถึงราว 165 เมตร และจะเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่ สุดในประเทศพม่า อย่างไรก็ดีเมื่อพระเจ้าปะดุงสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2362 เจดีย์องค์นี้ก็ถูกทอดทิ้งไม่มีการสร้าง คงเหลือไว้เป็นกองอิฐที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากนั้นชม “ระฆังยักษ์มิงกุน” ซึ่งพระเจ้าปะดุงทรงสร้างไว้ เป็นระฆังสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า น้ำหนักประมาณ 90 ตัน ระฆังนี้สูง 4 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ปากกว้างราว 5 เมตร นับว่าเป็นระฆังที่แขวนอยู่ซึ่งใหญ่ที่สุดในโลก พระเจดีย์สินพยุเม ซึ่งพระเจ้าพะคยีดอทรางสร้างใน พ.ศ. 2359 ก่อนที่จะเสด็จขึ้นเสวยราชย์ เจดีย์องค์นี้เปรียบเสมือนพระเจดีย์จุฬามณีซึ่งตั้งอยู่เหนือเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องไตรภูมิในพุทธศาสนา

พระเจ้าพะคยีดอทรงสร้างอุทิศแด่พระชายาคือ เจ้าหญิงสินพยุเมที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว แม้จะถูกทำลายโดยแผ่นดินไหว แต่ก็ได้รับการซ่อมแซมและปัจจุบันยังคงอยู่ในสภาพดี มัณฑะเลย์ เคยเป็นราชธานีของเขตพม่าบน แต่กลับมีอายุเก่าแก่ ไม่ถึง 150 ปี ดี และเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่เมือง ของพม่าที่ยังคง ใช้ชื่อเดิมเรื่อยมาโดยไม่มีการเปลี่ยนคำเรียกหาแต่อย่างใด ชื่อ มัณฑะเลย์ ฟังดูเก่าแก่โบราณพอๆ กับ แม่น้ำเอยาวดี (อิระวดี) ที่ทอดสาย ไหลเอื่อยผ่านตัวเมืองแห่งนี้ เสน่ห์ของมัณฑะเลย์ อยู่ที่การเป็นราชธานีแห่งสุดท้ายของ พระราชวงศ์พม่า หมู่สถูปเจดีย์ ที่มีให้เห็นอยู่ทั่ว ทุกหนทุกแห่ง และผู้คนที่มีชีวิตชีวา เปี่ยมไปด้วย น้ำใจไมตรี มัณฑะเลย์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงย่างกุ้ง ห่างขึ้นมา 620 กิโลเมตร และอยู่สูง เหนือระดับน้ำทะเล 80 เมตร ชาวพม่าถือว่า สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมและพุทธศาสนา ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ของพม่า คือมัณฑะเลย์ใจกลางเมืองมี ตลาดเซโจ เป็นศูนย์กลาง การค้า ในเขตพม่าบนช่างฝีมือของที่นี่ ผลิตงานฝีมือตามวิธีโบราณ ด้วยทอง เงิน หินอ่อน กับสิ่ว เส้นด้าย และหูกทอผ้า สองฝั่งน้ำเอยาวดี มีท่าเรือคั่นอยู่เป็นระยะ เรือขนข้าวขึ้นล่องผ่านไปมา ไม่ขาดสาย มัณฑะเลย์ เคยเป็นราชธานีของเขตพม่าบน แต่กลับมีอายุเก่าแก่ไม่ถึง 150 ปีดี และเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่เมืองของพม่า ที่ยังคง ใช้ชื่อเดิมเรื่อยมาโดยไม่มีการเปลี่ยนคำเรียกแต่อย่างใด ชื่อมัณฑะเลย์ ฟังดูเก่าแก่โบราณพอๆกับ แม่น้ำเอยาวดี(อิระวดี) ที่ทอดสายไหลเอื่อยผ่านตัวเมืองแห่งนี้ เสน่ห์ของมัณฑะเลย์ อยู่ที่การเป็นราชธานีแห่งสุดท้ายของพระราชวงศ์พม่า หมู่สถูป -เจดีย์ที่มีให้เห็นอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง และผู้คนที่มีชีวิตชีวาเปี่ยมไปด้วยน้ำใจ ไมตรีมัณฑะเลย์ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงย่างกุ้ง ห่างขึ้นมา 620 กิโลเมตร และอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 80 เมตร ชาวพม่าถือว่าสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมและพุทธศาสนา ทั้งในอดีตและปัจจุบันของพม่าคือมัณฑะเลย์ ใจกลางเมืองมี ตลาดเซโจ เป็นศูนย์กลางการค้าในเขตพม่าบน ช่างฝีมือของที่นี่ ผลิตงานฝีมือตามกรรมวิธีโบราณ ด้วยทอง เงิน หินอ่อน กับสิ่ว เส้นด้าย และหูกทอผ้า สองฝั่งน้ำเอยาวดี มีท่าเรือคั่นอยู่เป็นระยะ เรือขนข้าวขึ้นล่องผ่านไปมา ไม่ขาดสาย สถานที่ท่องเที่ยวในมัณฑะเลย์เจดีย์เจาตอจี (Kyauktawgyi Pagoda ) หรือเรียกว่า วัดหินใหญ่ ภายในมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่แกะสลักจากหินอ่อนก้อนเดียว เนินเขามัณฑะเลย (Mandalay Hill ) มีความสูง236 เมตร ซึ่งทางขึ้นเป็นบันไดที่มีหลังคาทอดตัวขึ้นสู่ยอดเขาทั้งหมด 1,729 ขั้น และศาลเล็ก ๆ ตั้งอยู่เป็นระยะ ๆ มีอยู่หลายหลังที่เป็นผลงานของฤาษีอู่ขั้นตี่ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งบนยอดเขามีวิหารหลังใหญ่แห่งแรกที่บรรจุพระบรมธาตุสามองค์ ของพระพุทธเจ้าไว้ ท่านจะสามารถเห็นทัศนียภาพของตัวเมืองมัณฑะเลย์ ยามอาทิตย์อัสดงได้อย่างชัดเจน สะพาน อูเป็ง ( U Bien Bridge ) เป็นสะพานที่สร้างขึ้นจากไม้สักที่นำมาจาก พระราชวังในเมืองอังวะ ที่สร้างขึ้นเมื่อ 200 กว่าปี ที่แล้วมีความยาว 1.2 ก.ม



[วัดมหากันดายงค์ (Maha Gandayon Monastery), Source: //www.tourismchiangrai.com]

วัดมหากันดายงค์ (Maha Gandayon Monastery)
ซึ่งเป็นวัดใหญ่ที่สุดของพม่าที่เมืองอมรปุระ ซึ่งในช่วงเพลจะมีภิกษุสงฆ์นับร้อยรูปเดินเรียงแถวด้วยอาการสำรวมเพื่อรับอาหาร

พระพุทธมหามุนี (Mahamui Pagoda)
หรือรู้จักกันในนามพระล้างหน้า ที่มีความงดงามตามศิลปกรรมพม่า ที่มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปสำริดปิดทอง ที่อยู่ คู่บ้านคู่เมืองมาช้านานที่สร้างขึ้นราว ปี พ.ศ 2327 เป็นสถานที่ที่สำคัญรองจากพระธาตุเชเวดากองในกรุงย่างกุ้ง

พระราชวังมัณฑะเลย์ ของพระเจ้ามินดงและกษัตริย์ สีป่อ พระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้าย
พระราชวังมัณฑะเลย์สร้างขึ้นสมัยพระราชามินดง (Mindon) ราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ภายหลังจากมีสงครามระหว่างพม่ากับอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2395เวลานั้นเมืองหลวงอยู่ที่ อมรปุระ (Amarapura) ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2325 พระราชามินดงต้องการที่จะหาที่ตั้งของเมืองหลวงที่จะสร้างใหม่หลังสงครามเพราะเมืองหลวงเก่าได้ซึ่งผ่านสิ่งร้ายๆมา ประกอบกับการยึดมั่นในหลักศูนย์กลางพุทธศาสนา และพระพุทธเจ้าได้ปรินิพพานครบ 2,400 ปี จึงมีรับสั่งให้สร้างเมืองหลวงใหม่ให้เป็น "เมืองสีทอง" (Golden City) ได้ปรึกษากับพระโหราจารย์ และได้ศุภฤกษ์ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400 โดยได้วางศิฤาฤกษ์ และต่อมาก็ตั้งผังเมือง โดยฝั่งทางตะวันตกนั้นได้นำชีวิตมนุษย์สังเวย โดยนำชาย หญิง และเด็กจำนวน 52 ชีวิต ฝังไว้ภายใต้เสาหลักเมือง เชื่อว่าวิญญาณของคนเหล่านี้จะปกป้องคุ้มครองเมือง การก่อสร้างเมืองเสร็จสมบูรณ์ในปี 2402 รวมระยะเวลาในการสร้าง 2 ปี เมืองสร้างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส วัดได้ ประมาณ 2,030 เมตร ในแต่ละด้าน พระราชวังตั้งอยู่ตรงกลางจตุรัส มีกำแพงล้อมรอบโดยมีประตู 12 ด้าน ตามจักราศรีพระราชวังโดดเด่นด้วยหอสูง 78 เมตร ซึ่งตั้งเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องไตรภูมิในพุทธศาสนา หลังคาสูงเจ็ดชั้นประดับด้วยทองคำเปลว โดยได้สร้างให้สมเกียรติ กับบัลลังค์สิงโตซึ่งใช้ในการประกอบพิธีกรรมสำคัญๆ เช่นพิธี Kadaw เทิดพระเกียรติ ซึ่งจัดขึ้น 3 ครั้งต่อปี พระราชวังทั้งหมดทำจากไม้ซึ่งนำมาจากวังเดิมที่อมรปุระ พระราชวังตกแต่งด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปตามเทพนิยาย รูปดอกไม้และสัญลักษณ์ทางโหราศาสตร์ มีหอนาฬิกาที่ทำจากไม้สักเพื่อเป็นที่สังเกตุการณ์ของทหารเพื่อระวังไฟไหม้ กษัตริย์มินดงได้สวรรค์คตในปี 2421 ต่อมาพระราชวังได้ถูกไฟไหม้วอดวาย ในปี 2488 รัฐบาลพม่าจึงได้บูรณะวังใหม


วัดกุโสดอ (Kuthodaw)
ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่ทำสังคยานาพระไตรปิฎกครั้งที่ 5 และมีแผ่นศิลาจารึกพระไตรปิฎกทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ที่หนังสือกินเนสบุ๊ค ได้บันทึกไว้ว่าเป็นแผ่นจารึกพระไตรปิฎกที่ใหญ่สุดในโลก



[วัดชเวนันดอ (Shwenandaw), Source: //www.tourismchiangrai.com]

วัดชเวนันดอ (Shwenandaw)
สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ลวดลายแกะสลักวิจิตร อ่อนช้อยทั้งหลังคา บานประตู และหน้าต่างอันเน้นรายละเอียดเกี่ยวกับพุทธประวัติ และทศชาติของพระพุทธเจ้าซึ่งความงดงามตามแบบศิลปะพม่าแท้ ๆ ภายในวัดมีพระพุทธรูปอันวิจิตรงดงามศิลปะพม่า


เป็นข้อมูลที่มากพอสมควร จากหน้าเว็บเพจนี้ คงได้รวบรวมข้อมูลมามากพอสมควร คงได้เป็นแนวทางเพื่อไปเยี่ยมชมของจริงได้อย่างมีประโยชน์มากขึ้น ต่อไป

... Have a Nie Trip na Krab. ... ^o^ ...





 

Create Date : 11 มีนาคม 2557
0 comments
Last Update : 11 มีนาคม 2557 18:07:14 น.
Counter : 4161 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


yoadjarust
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




:Users Online
Jy Horseman
New Comments
Friends' blogs
[Add yoadjarust's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.