อ่านประวัติพระโมคคัลลานะ (อัครสาวกฝ่ายซ้ายผู้เลิศด้วยฤทธิ์) กันบ้างน่ะครับ เดี๋ยวผมรวบรวมมาให้อ่าน
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
17 ตุลาคม 2552

พระมหาโมคคัลลานะ : "ท่านอนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่า ปรารภสติปัฏฐาน ๔?"

//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=7247&Z=7305


๘. อนุรุทธสังยุต รโหคตวรรคที่ ๑ รโหคตสูตรที่ ๑ ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้


สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเบื่ออริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้วชนเหล่านั้น ชื่อว่าปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.


ลำดับนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะรู้ความปริวิตกในใจของท่านพระอนุรุทธะด้วยใจ จึงไปปรากฏในที่เฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านอนุรุทธะด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่า ปรารภสติปัฏฐาน ๔?


ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า


"ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายในภายนอกอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.


ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญกว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้เว้นขาดสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้งสองนั้น แล้วมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่.


ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในเวทนาในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นแลความเสื่อมไปในเวทนาในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในเวทนาทั้งภายในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.


ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราเป็นผู้เว้นขาดสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้งสองนั้นแล้วมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่.


ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในจิตในภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในจิตทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.


ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ฯลฯ ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่.


ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายในภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในธรรมทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.


ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ฯลฯ ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔."


Free TextEditor




 

Create Date : 17 ตุลาคม 2552
0 comments
Last Update : 23 ตุลาคม 2552 0:06:27 น.
Counter : 427 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สัก ณ ศรีสิขเรศวร
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สมัยเด็ก ๆ เคยสัญญากับตัวเองไว้ว่า จะรวบรวมประวัติท่านพระมหาโมคคัลลานะไว้เยอะ ๆ ด้วยความชอบในทางอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ นับว่า เทคโนโลยีปัจจุบัน ช่วยทำให้สัญญาที่ให้ไว้กับตัวเองสมัยเด็ก ๆ นั้นเป็นจริงขึ้นมาได้

ผมไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจธรรมะมากมายน่ะครับ ได้แต่พยามรวบรวมพระสูตร อรรถกถาต่าง ๆ ที่มีท่านพระโมคคัลานะเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งหมดมาไว้ใน blog นี้ ให้ได้มากที่สุด หลาย ๆ พระสูตรก็เกินปัญญาที่จะให้เข้าใจได้แม้จะอ่านทวนซ้ำหลายรอบแล้วก็ตาม

ถ้าท่านผู้ใดที่ผ่านไปผ่านมา อ่านแล้วเกิดแง่คิด มุมมองใด ที่จะฃ่วยเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องราวนั้นขึ้นมาได้อีก โปรดอย่าลังเลที่จะเสนอและให้ความเห็นน่ะครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าขอรับ

อีกอย่างถ้าช่วยแนะนำพระสูตร หรือเรื่องราวอื่น ๆ ที่ผมยังหาไม่เจอให้ด้วยจะขอบพระคุณเป็นอย่างสูงน้อครับน้อ
[Add สัก ณ ศรีสิขเรศวร's blog to your web]