ชีวิตคน ไม่ยืนยาว เหนือกาลเวลา จงทำดี มีธรรมา ติดตัวเอย
Group Blog
 
<<
มกราคม 2561
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
13 มกราคม 2561
 
All Blogs
 
ขั้นตอนการออกแบบและคำนวณโครงสร้าง


คำอุทิศ
                ด้วยอานิสงส์ของการเผยแพร่ความรู้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้มารดา บิดา ญาติพี่น้อง ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณ เพื่อนทั้งหลาย เทวดาทั้งหลาย เปรตทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย จงได้บุญกุศลโดยถ้วนหน้ากัน ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใด หากมีทุกข์ขอให้พ้นทุกข์ หากมีสุขขอให้มีสุข ยิ่งๆ ขึ้นไป เทอญ
​​​​​​​
                งานวิศวกรรม คือ งานสร้างนวัตกรรม ( innovation ) เพื่อสนองความต้องการ ความสะดวกสบาย และประโยชน์ใช้สอยของมนุษย์ ประกอบด้วย การออกแบบงานวิศวกรรม ซึ่งเป็นงานหลักของงานวิศวกรรม และก่อสร้าง เพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์ แต่หลายคนมักคิดว่า งานวิศวกรรมคืองานก่อสร้าง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องบางส่วน เท่านั้น
                การออกแบบงานวิศวกรรม เป็นการออกแบบและคำนวณโครงสร้าง เพื่อหาขนาดของโครงสร้าง มาต้านทานต่อสิ่งที่มากระทำ เพื่อให้สามารถรับน้ำหนัก ในส่วน ต่างๆ ของอาคารและใช้งานได้อย่างปลอดภัย ตามมาตรฐานและข้อกำหนด
การออกแบบและคำนวณโครงสร้าง
                มีขั้นตอนสังเขป ดังนี้
                1 จำลองโครงสร้าง ( Structural Model ) เป็นพื้น คาน เสา โครงถัก ( truss ) หรือโครงข้อแข็ง ( rigid frame ) เป็นต้น การจำลองโครงสร้าง จะต้องจำลองให้โครงสร้างมีความมั่นคง ( Structural Stability ) และตรงกับพฤติกรรมโครงสร้าง ( Structural Behavior ) ที่เกิดขึ้นจริง เมื่อมีน้ำหนักมากระทำ ไม่ใช่จำลองเพื่อให้คำนวณ ง่ายๆ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด
                2 ออกแบบผังโครงสร้างพื้นแต่ละชั้น ( Structural Floor Framing Plan ) เป็นระบบพื้น คาน เสา พื้นไร้คาน หรือพื้นอัดแรง เป็นต้น
                3 กำหนดประเภทของฐานรองรับน้ำหนัก ( Support ) เป็นแบบยึดหมุน ( hinge ) ยึดเลื่อน ( roller ) หรือยึดแน่น ( fixed ) เป็นต้น
                4 กำหนดคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ ( Material Properties ) เป็นคอนกรีต ไม้ หรือเหล็ก เป็นต้น
                5 กำหนดรูปแบบน้ำหนัก ( Load Patterns ) ที่กระทำต่อโครงสร้าง เป็นน้ำหนักแผ่สม่ำเสมอ น้ำหนักจุด หรือโมเมนต์ เป็นต้น เพื่อหาค่าสูงสุด ที่เกิดขึ้นกับโครงสร้าง เช่น การแอ่นตัว ( Deflection ) การเซ ( Sway ) โมเมนต์ แรงเฉือน แรงตามแนวแกน และแรงปฏิกิริยา เป็นต้น การกำหนดน้ำหนักประเภท ต่างๆ ที่กระทำต่อโครงสร้าง จะทำในรูปแบบของกรณีน้ำหนัก ( Load Case ) โดยกำหนดให้น้ำหนักทุกประเภทหรือบางประเภท กระทำพร้อมกัน ดังนั้น รูปแบบน้ำหนัก จะประกอบด้วย ประเภทของน้ำหนักและกรณีของน้ำหนัก
                6 วิเคราะห์โครงสร้าง ( Structural Analysis ) ตามวิธีการวิเคราะห์
                7 ออกแบบโครงสร้าง ( Structural Design ) ตามมาตรฐานการออกแบบ
                8 เขียนแบบรูป รายการ และข้อกำหนด เพื่อใช้ขออนุญาตก่อสร้าง คิดราคากลาง คัดเลือกผู้รับเหมา และควบคุมงานก่อสร้าง ให้เป็นไปโดยสะดวกและเรียบร้อย
                ที่กล่าวมานี้ ผมหวังว่า ผู้สนใจที่เข้ามาอ่าน คงได้ความรู้และมีความเข้าใจ ในขั้นตอนการออกแบบและคำนวณโครงสร้าง ดียิ่งขึ้น

 



Create Date : 13 มกราคม 2561
Last Update : 23 ตุลาคม 2562 14:53:48 น. 2 comments
Counter : 4571 Pageviews.

 
เป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้นครับ อยากต่อเติมที่จอดรถเดิม(เทปูน)ที่อยู่ในแนวตัวบ้าน เปลี่ยนเป็นห้องพักผ่อน อาจจะขยายจากระยะแนวเสาของตัวบ้านสัก 40 cm. อาจารย์มีคำแนะนำในการก่อสร้สงหรือการออกแบบไหมครับ อ่านบทความอาจารย์ในการออกแบบแล้วเลยค่อนข้างกังวลที่จะต่อเติมครับ ช่างแนะนำมาให้ทำคานใหม่ต่อกับคานเก่าของตัวบ้านครับ


โดย: พล IP: 113.53.253.238 วันที่: 18 มกราคม 2561 เวลา:20:19:55 น.  

 
-- หากพื้นโรงรถมีคานรองรับทั้งสี่ด้าน สามารถทำเป็นห้องพักผ่อนได้ แนะนำให้ทำตามแนวบ้าน
-- หากไม่มีคานรองรับ จะต้องเพิ่มโครงสร้างเพื่อรับน้ำหนัก ครับ


โดย: thitiwat วันที่: 27 มกราคม 2561 เวลา:19:48:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

วิศวกรที่ปรึกษา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]




ประกอบอาชีพวิศวกรโครงสร้างและวิศวกรโยธา

ไม่สนับสนุนการออกแบบและก่อสร้างอาคาร รวมทั้งงานต่อเติมที่ผิดกฎหมายต่อพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522


New Comments
Friends' blogs
[Add วิศวกรที่ปรึกษา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.