ชีวิตคน ไม่ยืนยาว เหนือกาลเวลา จงทำดี มีธรรมา ติดตัวเอย
Group Blog
 
<<
มกราคม 2561
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
5 มกราคม 2561
 
All Blogs
 
การออกแบบงานวิศวกรรม


คำอุทิศ
                ด้วยอานิสงส์ของการเผยแพร่ความรู้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้มารดา บิดา ญาติพี่น้อง ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณ เพื่อนทั้งหลาย เทวดาทั้งหลาย เปรตทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย จงได้บุญกุศลโดยถ้วนหน้ากัน ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใด หากมีทุกข์ขอให้พ้นทุกข์ หากมีสุขขอให้มีสุข ยิ่งๆ ขึ้นไป เทอญ
 
                จากเรื่องราว ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกบ้าน หรือต่อเติมอาคาร มักคิดว่าวิศวกรเผื่อน้ำหนักไว้ เพื่อความปลอดภัย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะมาตรฐานการออกแบบของแต่ละวิธี มีข้อกำหนดเรื่องความปลอดภัยไว้แล้ว ดังนั้น วิศวกรจะไม่เผื่อน้ำหนัก ยกเว้น จะมีการต่อเติมในอนาคต เพราะการเผื่อน้ำหนัก จะทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มตามขึ้นไปด้วย
                การออกแบบงานวิศวกรรม ประกอบด้วย ระบบโครงสร้าง น้ำหนักบรรทุก ความแข็งแรงของวัสดุ และมาตรฐานการออกแบบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                การออกแบบงานวิศวกรรม เป็นการออกแบบและคำนวณโครงสร้าง เพื่อหาขนาดของโครงสร้าง มาต้านทานต่อสิ่งที่มากระทำ เพื่อให้สามารถรับน้ำหนัก ในส่วน ต่างๆ ของอาคารและใช้งานได้อย่างปลอดภัย ตามมาตรฐานและข้อกำหนด สิ่งที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ มีดังนี้
ระบบโครงสร้าง
                แบ่งเป็น
                -- ระบบหล่อในที่
                -- ระบบกำแพงรับน้ำหนัก
                -- ระบบสำเร็จรูป
                -- ระบบอัดแรง เป็นต้น
น้ำหนักบรรทุก
                แบ่งเป็น
                -- น้ำหนักโครงสร้าง
                -- น้ำหนักบรรทุกจร
                -- แรงลม
                -- แรงแผ่นดินไหว เป็นต้น
ความแข็งแรงของวัสดุ
                แบ่งเป็น
                -- ความสามารถในการรับน้ำหนักของชั้นดินเดิม
                -- ความสามารถในการรับน้ำหนักของคอนกรีต
                -- ความสามารถในการรับน้ำหนักของเหล็กเสริม
                -- ความสามารถในการรับน้ำหนักของเหล็กรูปพรรณ
                -- ความสามารถในการรับน้ำหนักของวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
มาตรฐานการออกแบบ
                อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก จะแบ่งตามวิธีการออกแบบ ได้ 2 วิธี คือ
                1 วิธีหน่วยแรงใช้งาน ( working stress design ; WSD )
                2 วิธีหน่วยแรงประลัย หรือวิธีกำลัง ( ultimate strength design ; USD )
                ทั้ง 2 วิธี จะอ้างอิงความแข็งแรงของวัสดุ เป็นหลัก วิธีหน่วยแรงใช้งาน จะลดค่าความแข็งแรงของวัสดุลง เพื่อความปลอดภัย โดยคิดจากอัตราส่วนความปลอดภัย ( factor of safety ) ซึ่งปกติจะคิดที่ 2 เท่า
                วิธีหน่วยแรงประลัย จะใช้ค่าความแข็งแรงของวัสดุเต็มกำลัง แต่จะเพิ่มค่าน้ำหนักบรรทุก ( load factor ) เพื่อความปลอดภัย โดยเพิ่มค่าน้ำหนักของโครงสร้าง ( DL ) เป็น 1.4 เท่า ( ประเทศไทยใช้ 1.7 ) เพิ่มค่าน้ำหนักบรรทุกจร ( LL ) เป็น 1.7 เท่า ( ประเทศไทยใช้ 2.0 )
                น้ำหนักบรรทุกจร วิศวกรจะคิดจากข้อกำหนดของ พรบ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่มีการเผื่อน้ำหนัก เพราะมาตรฐานการออกแบบของแต่ละวิธี มีข้อกำหนดเรื่องความปลอดภัยไว้แล้ว ดังนั้น วิศวกรจะไม่เผื่อน้ำหนัก ยกเว้น จะมีการต่อเติมในอนาคต เพราะการเผื่อน้ำหนัก จะทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มตามขึ้นไปด้วย
                ในการออกแบบ นั้น สิ่งที่ต้องทำต่อเนื่องไป คือ การทำแบบรูป รายการก่อสร้าง และข้อกำหนด แบบรูป ควรประกอบด้วย แผนผังทั่วไป ผังพื้นแต่ละชั้น รูปด้าน รูปตัด และแบบขยาย
                แบบรูป รายการก่อสร้าง และข้อกำหนด ควรมีรายละเอียดเพียงพอและชัดเจน เพื่อใช้ขออนุญาตก่อสร้าง คิดราคากลาง คัดเลือกผู้รับเหมา และควบคุมงานก่อสร้าง ให้เป็นไปโดยสะดวกและเรียบร้อย

                ที่กล่าวมานี้ ผมหวังว่า ผู้สนใจที่เข้ามาอ่าน คงได้รับความรู้และมีความเข้าใจ ในการออกแบบงานวิศวกรรม โดยเฉพาะเรื่องการเผื่อน้ำหนักของวิศวกร ดียิ่งขึ้น
                ผมกราบมารดาและบิดา ที่ให้การอบรม สั่งสอน และส่งเสริมให้การศึกษา ให้เป็นคนดี มีศีลธรรม และมีการศึกษา และคารวะครูและอาจารย์ ที่ถ่ายทอดความรู้ ให้เป็นคนมีวิชาการ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย

 



Create Date : 05 มกราคม 2561
Last Update : 23 ตุลาคม 2562 14:27:12 น. 0 comments
Counter : 9196 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

วิศวกรที่ปรึกษา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]




ประกอบอาชีพวิศวกรโครงสร้างและวิศวกรโยธา

ไม่สนับสนุนการออกแบบและก่อสร้างอาคาร รวมทั้งงานต่อเติมที่ผิดกฎหมายต่อพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522


New Comments
Friends' blogs
[Add วิศวกรที่ปรึกษา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.