ชีวิตคน ไม่ยืนยาว เหนือกาลเวลา จงทำดี มีธรรมา ติดตัวเอย
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
18 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
แบบมาตรฐานและแบบพิเศษ

ความหมายของแบบมาตรฐาน
              แบบมาตรฐาน คือแบบก่อสร้าง ที่นำไปใช้งานเฉพาะด้าน ภายใต้ข้อจำกัด ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรและระยะเวลา ของหน่วยงานที่มีภาระกิจด้านออกแบบและก่อสร้าง
              ภายใต้ข้อจำกัดที่กล่าวมานี้ หน่วยงานที่มีภาระกิจด้านออกแบบและก่อสร้าง จึงจำเป็นต้องออกแบบอาคารประเภท ต่าง ๆ เป็นแบบมาตรฐาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้งาน ได้ทั่วประเทศ เช่น แบบมาตรฐานอาคารเรียน หรือแบบมาตรฐานหอประชุม เป็นต้น ดังนั้น แบบมาตรฐานจะมีข้อจำกัด ในการใช้งาน ตามมาด้วย เนื่องจากวิศวกรและสถาปนิกผู้ออกแบบ ไม่ได้ออกไปสำรวจสภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม ของสถานที่ก่อสร้าง
การนำแบบมาตรฐานไปใช้งาน
              การนำแบบมาตรฐานไปใช้งาน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อวัตถุประสงค์และการใช้งาน ต้องคำนึงถึงหลักวิชาการด้านวิศวกรรม ด้านสถาปัตยกรรม พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และข้อกำหนดอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
              --  การกำหนดค่าระดับของพื้นอาคาร ให้สอดคล้องกับค่าระดับน้ำสูงสุด หรือค่าระดับน้ำท่วม เพื่อป้องกันน้ำท่วม
              --  การกำหนดทิศทางของอาคาร ให้สอดคล้องกับทิศทางของแดด ลม และฝน เพื่อความสะดวกสบาย ในการใช้งานอาคาร
              --  การกำหนดตำแหน่งของอาคาร ให้สอดคล้องกับกลุ่มของอาคาร ระยะห่างของอาคาร และสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขอนามัย ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิต ในการใช้งานอาคาร
              --  การออกแบบโครงสร้างอาคาร ให้สอดคล้องกับเขตแผ่นดินไหว ตามกฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อให้โครงสร้างอาคาร สามารถต้านแรงแผ่นดินไหว
              --  การกำหนดประเภทของฐานราก ให้สอดคล้องกับคุณสมบัติทางกายภาพ ในการรับน้ำหนักของชั้นดิน เพื่อความปลอดภัยของตัวอาคาร
              --  การเชื่อมต่อระบบระบายน้ำฝน ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ เพื่อป้องกันน้ำท่วม
              --  การเชื่อมต่อระบบสุขาภิบาล ทั้งระบบน้ำดีและน้ำเสีย เพื่อสุขอนามัย
              --  การเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ทั้งไฟฟ้าแรงสูงและแรงต่ำ เพื่อใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าและอีเล็คโทรนิค ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
              จากที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า รายละเอียดเหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้ว จะไม่มีระบุไว้ในแบบมาตรฐาน
ความหมายของแบบพิเศษ
              แบบพิเศษ คือแบบก่อสร้าง ที่ออกแบบจริง ตามกระบวนการของการออกแบบ ซึ่งวิศวกรและสถาปนิกผู้ออกแบบ จะต้องออกไปสำรวจสภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม ของสถานที่ก่อสร้าง และนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสถานที่ มาออกแบบอาคาร ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม ด้านสถาปัตยกรรม พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และข้อกำหนดอื่นที่เกี่ยวข้อง
              แบบพิเศษ จะมีรายละเอียดครบถ้วน ตามหลักวิชาการ มากกว่าแบบมาตรฐาน เช่น มีการกำหนดค่าระดับของพื้นอาคาร มีการกำหนดทิศทางและตำแหน่งของอาคาร เป็นต้น
ราคาค่าก่อสร้าง
              การคิดราคาค่าก่อสร้าง ของแบบมาตรฐานและแบบพิเศษ จะต้องใช้เครื่องมือ ที่มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบราคา ซึ่งมาตรฐานของเครื่องมือ มีรายละเอียด ดังนี้
              --  สถานที่ก่อสร้าง
              --  ประเภทของอาคาร
              --  วัสดุก่อสร้าง
              --  จำนวนชั้นของอาคาร
              --  พื้นที่ใช้สอย
              ดังนั้น ถ้าอาคารในแบบมาตรฐานและอาคารในแบบพิเศษ ก่อสร้างในสถานที่เดียวกัน เป็นอาคารประเภทเดียวกัน ใช้วัสดุก่อสร้างเหมือนกัน จำนวนชั้นของอาคารเท่ากัน และพื้นที่ใช้สอยเท่ากัน จะมีราคาค่าก่อสร้างเท่ากัน
              จะเห็นได้ว่า การนำแบบพิเศษไปใช้งาน จะได้ประโยชน์สูงสุด ต่อวัตถุประสงค์และการใช้งาน ดีกว่าแบบมาตรฐาน เพราะเป็นแบบก่อสร้าง ที่ออกแบบจริง ตามกระบวนการของการออกแบบ ตามที่กล่าวมาข้างต้น

              พร้อมกันนี้ ผมมีเพลง ฝากใจฝัน ขับร้องโดย บุษยา รังสี มาฝากท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ได้ฟังกัน เพื่อความบันเทิง ครับ

ฝากใจฝัน




Create Date : 18 สิงหาคม 2554
Last Update : 24 ตุลาคม 2557 13:54:22 น. 4 comments
Counter : 3032 Pageviews.

 
เป็นข้อมูลที่ดีมากครับ ขอบคุณครับ


โดย: boyd2plan วันที่: 18 สิงหาคม 2554 เวลา:21:42:42 น.  

 
ขออนุญาตเพิ่มเติมนะครับ
แบบมาตรฐาน ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่ทำขึ้นมา เพื่อเป็นอาคารสาธารณะของทางหน่วยงานราชการ หรือ องค์กรไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐบาล และ เอกชน ทั้งนี้เพื่อความสะดวก และ การควบคุมต้นทุน ทั้งยังควบคุมได้ในเรื่องของ พรบ. ซึ่งแบบเหล่านี้จำเป็นต้องทำให้เป็นมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อการใช้งาน มากกว่าแบบบ้านพักอาศัยที่จะทำเป็นแบบมาตรฐาน เว้นแต่จะเป็นบ้านพักของทางราชการ หรือการเคหะ ซึ่งจำเป็นต้องมีแบบมาตรฐานด้วยเหตุผลเดียวกัน
ผิดถูกอย่างไร เจ้าของ blog รบกวนชี้แนะเพิ่มเติมด้วยนะครับ ด้วยความเคารพครับ


โดย: boyd2plan วันที่: 19 สิงหาคม 2554 เวลา:2:05:45 น.  

 
ขอบคุณทั้ง2คนครับที่ให้ข้อมูล


โดย: Piyawath H. IP: 125.24.94.179 วันที่: 28 มกราคม 2556 เวลา:23:56:10 น.  

 
ดีครับ


โดย: ธนธรรม IP: 49.230.156.114 วันที่: 25 พฤษภาคม 2557 เวลา:11:06:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

วิศวกรที่ปรึกษา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]




ประกอบอาชีพวิศวกรโครงสร้างและวิศวกรโยธา

ไม่สนับสนุนการออกแบบและก่อสร้างอาคาร รวมทั้งงานต่อเติมที่ผิดกฎหมายต่อพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522


New Comments
Friends' blogs
[Add วิศวกรที่ปรึกษา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.