<<
พฤษภาคม 2558
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
2 พฤษภาคม 2558
 

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มหาดุริยกวีลุ่มเจ้าพระยาแห่งอุษาคเนย์

ออกจากโรงละคร K-Bank สยามพิฆเนศ  ด้วยความอิ่มเอม
เสียงระนาดจากละครเวที เรื่อง โหมโรง เดอะ มิวสิคัล ไร้ราก ไร้แผ่นดิน ยังแว่วกังวาล
ก็เลยมาเปิดตู้หนังสือหยิบหนังสือที่เป็นแรงบันดาลให้คุณอิทธสุนทร 
เขียนบทและสร้่างภาพยนตร์เรื่องโหมโรงขึ้นมาอ่าน 



หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) 
มหาดุริยกวีลุ่มเจ้าพระยาแห่งอุษาคเนย์ 


อานันท์ นาคคง และ อัษฏาวุธ สาคริก : เขียน / สุจิตต์ วงษ์เทศ : บรรณาธิการ
สำนักพิมพ์มติชน  พิมพ์ครั้งที่ 2 : มีนาคม 2547
ซื้อเมื่อ : 27 มันาคม 2547
อา่นจบ : 1 พฤษภาคม 2558

:: โปรยปกหลัง :: 

หนังสือเล่มนี้คือแรงบันดาลใจสำคัญ
ที่ทำให้เกิดภาพยนตร์ "โหมโรง"
เรืองราวชีวิตของ ท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ
ที่ผู้เขียนนำมาถ่ายทอดไว้นี้ ให้ทั้งความสนุกสนาน
น่าติดตาม และแง่มุมประวัติศาสตร์
ที่ผมไม่เคยรู้มาก่อน ผมได้พบฉากชีวิต ที่หลากหลาย
ทั้งโลดเล่น เร้าอารมณ์ และสงบนิ่ง งดงาม
และได้เข้า่ใจความหมายของ อัจฉริยะนักดนตรี
ที่ควรค่าแก่การรู้จักเป็นอย่างยิ่ง 
- อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ -

ผู้เขียนเรียบเรียงเรื่องราวตามประวัติชีวิตของ "ท่านครู" ตั้งแต่วัยเยาว์
จนเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กใน "สมเด็จวังบูรพา" มีตำแหน่งเป็น "จางวางศร"
และเติบโตในราชการงานตนตรี มาตลอดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5-6-7 
ได้รับตำแหน่งเป็น "หลวงประดิษฐไพเราะ"  ด้วยว่ามีความสามารถทางการประพันธ์เพลง
เป็นผู้แต่งเพลงสำเนียงชวา สำเนียงเขมร เพราะเคยเดินทางไปยัง 2 เมืองนี้ 
และยังมีเพลงสำเนียงอื่นๆ อีกมาก ท่านได้รับมอบเครื่องดนตรีมอญจากครูดนตรีเชื้อสายมอญ 
จึงได้คิดแนวทางการบรรเลงและตั้งวงปี่พาทย์มอญขี้นมา 
ลูกหลานท่านในรุ่นต่อมาก็สืบสานงานดนตรีมาโดยตลอด 
ท่านเป็นครูดนตรีที่มีลูกศิษย์มาก และถ่ายทอดวิชาได้ทุกเครื่องดนตรีเลยทีเดียว
ก็สมแล้วที่จะกล่าวว่าท่านเป็น "อัจฉริยะนักดนตรี" ที่หาได้ยากยิ่ง 

นอกจากเรื่องราวของท่านแล้ว ในหนังสือจะกล่าวถึงพระประวัติเจ้านายที่ให้การสนับสนุนดนตรี
ประวัติครูดนตรีที่ท่านนับถือหลายท่าน  มีเรื่องเล่าโดยลูกศิษย์ของท่านเป็นเกร็ดประวัติหลายเรื่องทีเดียว
ทำให้เราเข้าใจ "วงการดนตรีไทย" ขึ้นอีกมาก แม้จะมีศัพท์แสงของดนตรีไทยที่เราไม่เข้าใจ
แต่ก็ไม่ทำให้เสียอรรถรสให้การอ่านแต่อย่างใด 
จะให้ดี ต้องเปิดเพลงไทยเดิมไปด้วยขณะอ่าน ...จะลึกซึ้งเข้าท่านที่ 

สำหรับเพลงแสนคำนึง ซึ่งเป็นเพลงสุดท้ายที่ปรากฎในเรื่อง "โหมโรง" นั้น
เป็นเพลงที่ท่านต้องการถ่ายทอดความคับแค้นใจที่มีต่อกฎระเบียบในยุด "เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย" 
ท่านครูแต่งเพลงที่ทำให้นักดนตรีในวงสามารถ "เดี่ยว" ทุกเครื่องดนตรีเลย 

ฟังเพลงแสนคำนึง บรรเลงโดยปีพาทย์ไม้แข็ง (ออกเดี่ยว)  
ระนาดเอก : ทวีศักดิ์ อัครวงษ์ 



เพลงนี้ แรกแต่งนั้น ท่านครูแต่งเนื้อร้องไว้ด้วย และจะให้ "คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง" บุตรสาวซึ่งเป็นครูสอนร้อง ร้องให้ฟัง
แต่พออ่านเนื้อเพลงจบ คุณหญิงชิ้นก็ฉีกเนื้อเพลงทิ้งเสีย ด้วยเกรงว่า "เก็บไว้จะเป็นภัย"  จึงไม่มีใครทราบว่าเพลงนี้มีเนื้อร้องอย่างไร
และท่านครูได้หยิบตอนหนึ้งจากเรื่องขุนช้างขุนแผนมาเป็นเนื้อร้องแทน 



ดนตรีไทย ฟังกี่ครั้ง ก็ยังคงซาบซึ้ง ตราตรีงใจเสมอ
อีกทั้งเพลงเดียวกัน หากบรรเลงด้วยวงดนตรีคนละแบบ นักดนตรีคนละคน
ก็ให้อารมณ์เพลง ความไพเราะ และความซาบซึ้ง ที่แตกต่างกัน
แบบ "ทางใครก็ทางมัน"  นั่นแล



ตอบโจทย์ : ปกมีรูปคน 





Create Date : 02 พฤษภาคม 2558
Last Update : 2 พฤษภาคม 2558 19:13:33 น. 2 comments
Counter : 2260 Pageviews.  
 
 
 
 
ไปดูโหมโรงเดอะมิลสิเคล มาเหมือนกันค่ะ น้องแนนเสียงใสมาก
 
 

โดย: Serverlus วันที่: 4 พฤษภาคม 2558 เวลา:16:54:26 น.  

 
 
 
เข้ามาเยี่ยมชมครับ
 
 

โดย: หนุ่มร้อยปี (หนุ่มร้อยปี ) วันที่: 6 พฤษภาคม 2558 เวลา:10:27:39 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com