Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
14 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
การโกหก....1) พูดไม่หมดถือว่าโกหกไหม 2) พูดให้สบายใจ ?


โกหกแบบไหนถึงจะไม่ผิด

หลายคนอาจเคยคิดว่า ถ้าพูดความจริงแล้วจะทำให้เกิดความเสียหาย แต่ถ้าพูดโกหกแล้วจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น แบบนี้จะผิดหรือไม่ และการพูดความจริงแต่พูดไม่หมดนั้นบาปหรือไม่ โกหกแบบไหนถึงจะไม่ผิด



การโกหก

        การโกหกเป็นสิ่งที่ไม่ดีเป็นบาปและควรละเว้น แต่หลายคนอาจเคยมีความคิดว่า ถ้าพูดความจริงแล้วจะทำให้เกิดความเสียหาย แต่ถ้าพูดโกหกแล้วจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น แบบนี้จะผิดหรือไม่ และการพูดความจริงแต่พูดไม่หมดนั้นบาปหรือไม่ โกหกแบบไหนถึงจะไม่ผิด

คำว่า โกหก มีคำจำกัดความว่าอย่างไร?

        โดยหลักก็คือว่า เป็นเรื่องไม่จริง ทั้งที่เรารู้ว่าเป็นเรื่องไม่จริง และเราก็มีเจตนาที่จะโกหก แล้วพูดไปคนฟังก็ฟังเข้าใจว่าเป็นเรื่องจริง นั่นคือโกหกโดยสมบูรณ์ ถ้าเป็นเรื่องไม่จริงแต่เราไม่รู้นึกว่ามันเป็นเรื่องจริงคือเราเข้าใจผิดอย่างนี้ก็ยังพอรอดตัว
        ที่บรรจุไว้เป็น 1 ใน 5 ของศีล 5 ที่เราต้องถือปฏิบัติในเบื้องต้นนั้น เราดูได้ 2 ระดับ คือเรื่องโกหก บางทีมันเป็นเรื่องที่ไม่หนักในระดับการฆ่าสัตว์ เพราะการทำลายชีวิตผู้อื่นดูมันหนักและใหญ่กว่า หรือไปขโมยของคนอื่นเขานี่ก็เรื่องใหญ่

    แค่โกหกพูดไปหน่อยเดียวเพราะมันออกไปง่าย และมันก็ไม่เห็นจะมีผลกระทบอะไรมากมายไม่ถึงกับทำให้ใครตาย ทำไมมันต้องหนักหน่วงขนาดนั้นหรือ เราลองสังเกตดูว่าในสังคมนั้นจะอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุก ศีลข้อ 4 มีความจำเป็นมากเลย ถ้าหากว่าเราอยู่กับคนรอบข้างแล้วเขาพูดอะไรมา แสดงอะไรมาเราไม่อาจมั่นใจได้เลยว่าเขาพูดจริงหรือไม่ ชีวิตก็จะมีแต่ความหวาดระแวงมีแต่ความเสี่ยงมาก อย่างถ้าในบางประเทศมีโอกาสในการทำธุรกิจดูดีมากแต่ว่าไม่มีความแน่นอน คือไปลงทุนแล้วพร้อมจะถูกยึดตลอด คือคำสัญญาของรัฐบาลและทุกอย่างไม่มีอะไรที่แน่นอน สามารถพลิกผันได้ทุกเมื่อ ทุกคนก็ไม่อยากเอาเพราะมีความเสี่ยงมาก เพราะมีความไม่แน่นอน


การพูดโกหก ทำให้เกิดบาปในใจ
การพูดโกหก ทำให้เกิดบาปในใจ


        จะเห็นว่ากิจกรรมระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ก็ตาม ระหว่างองค์กรกับองค์กรก็ตาม ระหว่าประเทศกับประเทศก็ตาม จะดำเนินไปได้ด้วยดีต่อเมื่อมีพื้นฐานคือ ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ได้พูดออกมา ได้สัญญาออกมาแล้วนั้นจะปฏิบัติตามนั้น ถ้าเมื่อใดก็ตามไม่มีการรักษาสัญญา ก็ไม่รู้จะไปทางไหนเลย นี่คือระดับหนึ่ง สังคมจะอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกได้จำเป็นต้องมีศีลข้อ 4 เป็นพื้นฐาน เป็นศีลหลัก 1 ใน 5 ข้อของมนุษย์เลย นี่คือระดับที่เราเห็นได้ในภพปัจจุบันนี้เลย


การพูดโกหก ทำให้เกิดบาปในใจ สิ่งที่เราพูดออกไปมันจะเกิดเป็นภาพในใจ ถ้าเราพูดเรื่องที่ไม่จริงภาพที่เกิดขึ้นในใจมันจะเป็นภาพบิดเบี้ยว เพราะมันเพี้ยนจากความเป็นจริง เรารู้อยู่ว่าความจริงเป็นยังไง ถ้าเราพูดอีกแบบ ภาพที่ซ้อนอยู่มันเกิดการสับสน หนักเข้าก็จะเป็น อัลไซเมอร์ ขี้หลงขี้ลืม เพราะมันสับสนว่าอันไหนจริงอันไหนโกหก คนที่พูดโกหกมากๆ เข้าสุดท้ายตัวเองก็สับสน เพราะต้องมานั่งจำว่าวันไหนพูดยังไง วันนี้พูดยังไง หนักเข้ามันจำไม่ไหว สุดท้ายก็ทำให้ตัวเองสับสน หนักๆ เข้าก็เป็น อัลไซเมอร์ ไปเลย พอเป็นอย่างนี้ก็ทำให้ใจหมอง เมื่อจิตเศร้าหมองไม่ผ่องใส ทุคติเป็นที่ไป ก็ไปอบาย เพราะคุณภาพใจมันเสีย


บางทีไม่อยากโกหกเพราะพูดแล้วอาจเกิดผลเสีย อาจหลีกเลี่ยงโดยการไม่พูดหรือพูดไม่ครบอย่างนี้ถือว่าเป็นการโกหกหรือไม่?

        อยู่ที่เจตนา ถ้าเจตนาเราคือไม่ต้องการโกหก ต้องการรักษาวจีสุจริตคือพูดเรื่องจริง ฉะนั้นเรื่องนี้ถ้าเราไม่อยากพูดเราก็มีสิทธิที่จะไม่พูด เราอาจจะบอกเขาตรงๆ ว่าเรื่องนี้ไม่ขอพูด อย่างนี้ได้ ขอให้เช็คว่าเราไม่ได้พูดสิ่งที่ไม่จริงออกไปและไม่มีเจตนาจะไปหลอกลวงหรือโกหกใคร

การโกหกเพื่อให้คนฟังสบายใจเช่นหมอพูดกับคนไข้ว่าไม่เป็นไรแต่จริงๆ แล้วก็จะอยู่ได้อีกไม่นาน แบบนี้จะมีผลอย่างไร?
        ต้องแยกให้ดีระหว่างการให้กำลังใจกับการโกหก เช่นว่า เห็นคนไข้ก็ชมว่าวันนี้ดูสดใสขึ้นนะเป็นการให้กำลังใจ เพราะคนเรานั้นกำลังใจมีส่วนสำคัญในการดำรงชีวิต ในแต่ละวันก็หยิบยกข้อดีในตัวเขาขึ้นมาให้กำลังใจ แต่ถ้าสมมติว่าเขาเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย อีกไม่กี่วันก็ตายแน่นอน แล้วไปบอกเขาว่า ไม่เป็นไร ออกมาแล้วดีไม่มีอะไรเลยดีกว่าไม่เป็น อย่างนี้ก็ไม่ใช่ แล้วจะมีวิธีการบอกเขาอย่างไร จะบอกตรงๆ หรือโกหก ตรงนี้ได้มีการทำวิจัยและได้ข้อสรุปออกมาว่าจริงๆ แล้วบอกความจริงกับคนไข้ดีที่สุด แต่ต้องมีวิธีในการบอก บอกอย่างมีศิลปะ

วันหนึ่งคืนหนึ่งของบุคคลที่ดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท มีคุณค่ายิ่งกว่าชีวิตของคนที่ปล่อยให้ผ่านไปวันๆ อย่างไร้สาระเป็นร้อยปี ฉะนั้นคนไข้ที่อาการหนักที่เหลือชีวิตอยู่ได้อีกไม่กี่วันนั้น ให้เขาตั้งหลักตั้งสติให้ดีว่าชีวิตของเขาที่ยังเหลืออยู่น้อยนิดนี้ยังมีค่ากว่าคนอื่นๆ ที่มีชีวิตอยู่แบบเรื่อยเปื่อยเป็นร้อยปีอีก และอาจจะดีกว่าตรงที่ว่าบางคนนั้นนึกว่าตัวเองยังแข็งแรงอยู่ ก็เลยประมาทไม่ทำความดีเอาไว้แก่เมื่อไหร่ค่อยทำ อยู่ดีๆ เกิดรถชนตายขึ้นมาก่อนยังไม่ได้ทำก็มี แต่ว่าคนที่ป่วยอยู่นั้นรู้ตัวก่อนว่าเวลาที่เหลืออยู่นั้นยังไม่มาก


ฉะนั้นใช้เวลานี้ในการสร้างบุญสร้างกุศลดีกว่าอย่างนี้กลับเป็นประโยชน์มากกว่า เรียกว่าเปลี่ยนจากอกุศลให้เป็นกุศล เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสฉะนั้นจึงควรต้องบอกความจริงกับเขาแต่ต้องบอกอย่างมีศิลปะ พร้อมกับให้ทางออกและยกใจเขาให้สูงขึ้น เท่าที่เห็นมาคนไหนที่เป็นคนเข้าวัดเข้าวาประพฤติปฏิบัติธรรม แม้จะเจอมรณะภัยอยู่ข้างหน้า เขาจะไม่หวาดหวั่น เพราะรู้หลักปฏิบัติ แต่สำหรับคนที่ตรงข้ามก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็มีแต่กลัวกับกลัว

ดังพุทธพจน์ที่ว่า คนทำดีย่อมบันเทิงในภพนี้และภพหน้า เมื่อนึกได้ว่าตนได้ทำแต่บุญกุศลย่อมบันเทิงในใจ เมื่อละจากโลกนี้ไปแล้วจะบันเทิงใจยิ่งขึ้นในสุคติโลกสวรรค์ ดูตอนปกติระหว่างคนที่ชอบทำบุญกุศล กับคนที่ไม่ทำบุญก็ดูจะไม่ต่างกันสักเท่าไหร่ แต่เมื่อมรณะภัยมาเยือน จะพบความแตกต่างอย่างชัดเจน พบความตายอย่างองอาจ ไม่กลัว ไม่หวาดหวั่น แล้วมีความสุขในภพนี้และภพหน้ามีความสุขในภพทั้งสอง

โดย พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑโฒ
เรียบเรียงจากรายการข้อคิดรอบตัว ทาง DMC




Create Date : 14 มิถุนายน 2555
Last Update : 14 มิถุนายน 2555 18:12:49 น. 2 comments
Counter : 2649 Pageviews.

 
ได้ข้อคิดสะกิดใจ ขอขอบคุณคำดีๆใส่ใจไว้


โดย: ืno name IP: 118.173.55.252 วันที่: 14 มิถุนายน 2555 เวลา:22:06:58 น.  

 
จ้า... แล้วจะนำมาฝากอีกนะจ๊ะ


โดย: อุ่นจัง IP: 110.168.214.14 วันที่: 15 มิถุนายน 2555 เวลา:9:43:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อุ่นอาวรณ์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุ่นอาวรณ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.