อุ้มสีมาทำบุญ ๙ วัด ในวันขึ้นปีใหม่ที่จ.อุบลราชธานี



เริ่มด้วยวัดแรกที่มีนามเป็นมงคล วัดไชยมงคล
1.วัดไชยมงคล เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ที่ถนนสุรศักดิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี















วัดไชยมงคลเป็นวัดที่มีเนื้อที่ 14ไร่ ๓ งาน
ที่มีความเป็นมาที่เก่าแก่อีกวัดหนึ่งสร้างขึ้นเป็นลำดับที่ ๔ ที่สังกัดธรรมยุติกนิกายในจังหวัดอุบลราชธานี
วัดสร้างขึ้นโดย เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ ระหว่างพ.ศ.๒๔๐๙ – ๒๔๒๕
ซึ่งเจ้าพรหมเทวา เดิมมีชื่อว่า "เจ้าหน่อคำ"
เป็นพี่ชายเจ้าจอมมารดาด้วงคำ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
เป็นบุตรของเจ้าคลี่ (หรือเจ้าเสือ) ซึ่งเป็นหลานปู่ของเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์
เป็นเหลนของเจ้าสิริบุญสาร
ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าราชวงศ์เมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นต้นตระกูลพรหมโมบล









เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๙ หลังจากที่พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ได้มีพระบรมราชโองการให้เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์นุสรณ์
ซึ่งเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี องค์ที่ ๔ แล้วนั้น
ในปีเดียวกันได้เกิดกบฏฮ่อขึ้นที่นครเวียงจันทน์ ฝั่งประเทศลาว
ซึ่งตอนนั้นแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงยังเป็นประเทศราชของประเทศไทยอยู่
ดังนั้นเมื่อเกิดกบฏขึ้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
จึงได้มีพระบรมราชโองการให้เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ เจ้าเมืองอุบลราชธานี
ยกกองทัพไปปราบกบฏฮ่อที่นครเวียงจันทน์
ดังนั้นเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ จึงได้สั่งแม่ทัพนายกองรวบรวมไพร่พลขึ้นที่ตรงวัดแห่งนี้
เพราะมีชัยภูมิที่เหมาะสม
เพราะมีความร่มรื่นของต้นโพธิ์ต้นไทรงามเป็นจำนวนมาก
เหมาะเป็นที่รวบรวมไพร่พล เพื่อยกกองทัพไปปราบกบฏฮ่อที่นครเวียงจันทน์





ด้วยความที่เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์มีเชื้อสายมาจากกษัตริย์ที่เป็นนักรบ
จึงปราบกบฏฮ่อสำเร็จอย่างง่ายดาย
หลังเสร็จศึกจึงเดินทางกลับมาที่จังหวัดอุบลราชธานี
และมีดำริที่จะสร้างอนุสรณ์สถานแห่งชัยชนะขึ้น
ท่านจึงรวบรวมพลังศรัทธาจากเหล่าข้าราชบริพาร ไพร่พล และชาวบ้านชาวเมือง
สร้างวัดขึ้น ณ สถานที่เคยเป็นที่รวบรวมไพร่พลในปีพ.ศ. ๒๔๑๔
โดยให้นามว่า "วัดไชยมงคล"
เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ
พร้อมอัญเชิญ "พระปราบไพรีพินาศ" จากนครเวียงจันทน์
มาประดิษฐานที่วัดไชยมงคลแห่งนี้
ส่วนอีกองค์หนึ่ง คือ พระทองทิพย์
นำไปประดิษฐานไว้ที่ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม ในปัจจุบัน)
เมื่อดำเนินการสร้างวัดเสร็จเรียนร้อยแล้ว เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์
พร้อมทั้งชาวบ้านชาวเมืองได้กราบอาราธนา "เจ้าอธิการสีโห"
หรือท่านอัญญาสิงห์ จากวัดศรีอุบลรัตนาราม มาเป็นเจ้าอาวาสวัดไชยมงคลรูปแรก
ที่วัดไชยมงคลแห่งนี้ยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
นั่นคือพระพุทธเจ้าใหญ่ไชยมงคลมิ่งเมือง (หลวงพ่อบุญเหลือ) และ พระพุทธนวราชบพิตร (หลวงพ่อบุญมี)
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานบนฐานสูง



ภายในพระอุโบสถมีพระประธานในอุโบสถ คือพระสัมมาพุทธไชยมงคล อุบลปูชนียบพิตร หรือ พระพุทธชัยมงคล
ซึ่งตามความเชื่อของชาวอุบลฯบอกว่า ถ้าได้มากราบไหว้ พระพุทธชัยมงคล แล้ว จะเป็นสิริมงคลแด่ตัวเองและหน้าที่การงาน
พร้อมทั้งธุรกิจของตัวเอง ของบ้านเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า
ในสมัยพระพรหมเทวานุเคราะห์
ได้รวมพลที่บริเวณนี้ ได้เวลาเป็นเวลาชัยมงคล
จึ่งเคลื่อนทัพไปช่วยปราบฮ่อที่เมืองเวียงจันทร์
จนได้รับชัยชนะกลับมา
นอกจากนี้ยังมี "ชิโนวาทสาทรนุสรณ์" เป็นวิหารหลังเล็ก
ที่อยู่ด้านข้างของพระพุทธนวราชบพิตร
ซึ่งเป็นที่สักการะรูปเหมือนของพระมหาอุทัย ปภสฺสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดไชยมงคล
และที่สำคัญสายมูต้องห้ามพลาด
เพราะวัดไชยมงคลยังมีท้าวเวสสุวรรณตามสีประจำวันเกิดเลยนะคะ ที่สำคัญมีองค์สีเขียวแบ่งเป็นเขียวกลางวันและสีเขียวกลางคืน
Amazing สุดสุด



และที่เด็ดกว่านั้นภายในพระอุโบสถสีขาวมีพระพุทธบาทสี่รอยอีกด้วย



๒.วัดสารพัฒนึก
วัดสารพัฒนึก ดิมชื่อ วัดสารพัดนึก ตั้งอยู่ที่ถนนเทพโยธี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐







การสร้างวัดสารพัฒนึกแห่งนี้ เพื่อให้เป็นที่พํานักของ พระภิกษุม้าว โกณฑญโญ (เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสารพัฒนึก)
ซึ่งเป็นพระพี่ชายของหม่อมเจียงคํา ชุมพล
พระชายาของพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวกาวของรัชกาลที่ ๕ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖
และมีการขุดค้นพบศิลาจารึกในการสร้างเมื่อ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๖
ว่าสร้างเมื่อ ๑๒๓ ปี

















๓.วัดสุทัศนาราม ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๖







วัดสุทัศนาราม ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อเดิมว่าวัดสุทัศน์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖
สร้างโดยราชบุตรสุ้ยพร้อมด้วยญาติร่วมกันสร้าง
จากนั้นราชบุตสุ้ยได้ไปทำศึกสงครามเมืองญวนที่เขมร
เมื่อเสร็จศึกสงครามได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี
แต่ถึงแก่อสัญกรรมด้วย "โรคอหิวาต์" เสียก่อน
จึงได้นำอัฐิของท่านมาบรรจุไว้ที่เจดีย์วัดแห่งนี้







วัดสุทัศนาราม อยู่ทางตอนเหนือของทุ่งศรีเมืองจังหวัดอุบลราชธานี
พระอุโบสถมีปูนปั้นด้านนอกมีสีครีมและคล้ายกับ "วัดสุปัฏนาราม"
ในโครงสร้างพระอุโบสถล้อมรอบด้วยรูปปั้นของลักพระพุทธรูป
(หรือเรียกว่าเป็นความสุขหรือความมั่งคั่งลักพระพุทธรูปพระพุทธรูป)











ภายในอุโบสถมีพระประธานพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์คือ "พระมิ่งเมือง"









ที่ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นที่บรรจุอัฐิของหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา
พระชายาในกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์
สำเร็จราชการหัวเมืองลาวกาว
ส่วนที่ด้านหลังพระอุโบสถเป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้านายในสายสกุล ณ จัมปาศักดิ์
ซึ่งย้ายถิ่นฐานจากนครจัมปาศักดิ์เข้ามาอยู่ในเมืองไทย
เนื่องจากไม่ต้องการอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศส





๔.วัดสุปัฏนาราม
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนสุปัฏน์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ตามประวัติระบุว่าเริ่มสร้างในปี พ.ศ.๒๓๙๓
โดย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงมอบหมายให้พระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฎ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ ๓
เป็นประธานเลือกพื้นที่ตั้งวัดให้เป็นที่จำพรรษาของพระพนฺธุโล (ดี)
นับเป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกในอีสาน
และทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวัดว่า “สุปัฏนาราม”
ในความหมายว่า วัดที่มีท่าน้ำหรือท่าเรือที่ดี สะดวกในการขึ้นลง
ทั้งนี้ท่าเรือวัดสุปัฏนารามวรวิหารตั้งอยู่ทางทิศใต้ซึ่งเป็นด้านหน้าวัด













อุโบสถ (สิม) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร สร้างในระหว่างปีพ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๗๙
รัขสมัยสมเด็จพระมหาวีร-วงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี เจ้าอาวาสลำดับที่ ๗
ออกแบบโดยหลวงสถิตถ์นิมานการ (ชวน สุปิยพันธ์)
เพื่อทดแทนอุโบสถ (สิม) หลังเก่าที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔
ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบพระราชนิยมในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศใต้
ตัวอาคารตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว มีขนาด ๙ ห้อง
โดย ๒ ห้องด้านหน้าและ ๒ ห้องด้านหลังเป็นโถง

โครงสร้างอาคารใช้เสาก่ออิฐสี่เหลี่ยม
และผนังรองรับน้ำหนักหลังคาจั่วที่ต่อหลังคาปีกนกด้านข้างรับด้วยเสาก่ออิฐ
ประดับหัวเสาด้วยบัวแวง
ระหว่างเสาก่ออิฐเป็นวงโค้งหยักปลายแบบกรอบหน้านาง
ประดับดาวเพดานทั้งภายในและภายนอก มีประตูรอบตัวอาคาร
เหนือประตูเป็นช่องลมที่แต่งปูนปั้นรูปธรรมจักรและอุณาโลม
มีบันไดทางขึ้นบริเวณระเบียงด้านหน้าและด้านหลัง รวม ๔ ทาง
เชิงบันไดประดับสิงโตหมอบปูนปั้น หน้าจั่วเรียบเต็มเสมอเสาด้านหน้า
ตกแต่งหน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลังด้วยลายปูนปั้นรูปเจดีย์ทรงระฆัง
ล้อมรอบด้วยลายพันธุ์พฤกษาแบบลายไทย
ประดับช่อฟ้า (โหง่) แบบหัวนาค
ใบระกาแบบลำตัวนาค หางหงส์เป็นหัวนาคเช่นกัน

ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานสำริดนาม “พระสัพพัญญูเจ้า”
จำลองจากพระพุทธชินราช ประทับนั่งบนฐานแอ่นโค้งขาสิงห์





กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดวัดสุปัฏนารามวรวิหาร
ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๑๕๓๓
วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙
แต่ยังไม่ได้ประกาศแนวเขตพื้นที่ดินโบราณสถาน
โดยมีสิ่งสำคัญ คือ อุโบสถ (สิม) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร









มณีนพรัตน์แห่งเมืองอุบล พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง องค์นี้เป็นปางมารวิชัย สูง ๑๗ เซนติเมตร
เนื้อองค์เป็นแก้วผลึกสีขาวใส
ซึ่งความใสขององค์พระนั้นจะประดุจน้ำค้างยามเช้าเปล่งแสงแวววาวในตัวเอง
ซึ่งเหมือนประกายเพชรจึงได้ชื่อว่า
“พระแก้วเพชรน้ำค้าง”
ฉลองพระองค์ด้วยทองคำเป็นบางส่วน
ซึ่งเป็นศิลปะยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นๆ
และเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ของจังหวัดอุบลราชธานี
นับเป็นพระพุทธรูปที่เป็นพระแก้ว ๑ ใน ๔ องค์ที่เก่าแก่ของเมืองอุบล
ที่มีอายุมากกว่า 200 ปี
เป็นประเพณีของวัดสุปัฐนารามวรวหาร
จะนำมาให้ประชาชนได้เข้าสักการะกราบไหว้และสรงน้ำ
ในวันที่ 31 ธันวาคม และวันที่ 1 มกราคมของทุกปี ที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
นับเป็นมงคลแก่ชีวิตอุ้มสีมากค่ะที่ได้มาสรงน้ำ



๕.วัดทุ่งศรีเมือง







วัดทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ในอดีตเป็นวัดที่สอนวิชาการช่างต่าง ๆ ให้แก่ชาวเมืองอุบลราชธานี
โดยมีญาท่านพระครูดีโลด บุญรอด (พระครูวิโรจน์รัตโนบล) เป็นผู้นำการสอน
ภายในวัดมีศาสนาคารที่สำคัญ ได้แก่ หอไตรกลางน้ำ หอเก็บคัมภีร์ใบลานและพระไตรปิฎกที่เป็นงานสถาปัตยกรรมร่วมระหว่างไทย พม่า และลาว
หอพระพุทธบาทที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองและพระเจ้าใหญ่องค์เงิน
เป็นงานสถาปัตยกรรมผสมระหว่างพื้นถิ่นอีสานและแบบไทยภาคกลาง
ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่ทรงคุณค่าโดยฝีมือช่างพื้นเมืองอุบล
ที่ได้รับอิทธิพลจากช่างหลวงกรุงเทพฯ วิหารศรีเมือง และพระเจ้าใหญ่ศรีเมือง











๖.วัดศรีอุบลรัตนราม อยู่ริมถนนอุปราช สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๘
ลักษณะเด่นของวัดนี้ก็คือ มีพระอุโบสถที่สร้างตามแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพมหานคร
และวัดศรีอุบลฯ แห่งนี้ยังเป็นที่ประดิษฐาน "พระแก้วบุษราคัม" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานีอีกด้วย





วัดศรีอุบลรัตนาราม เดิมชื่อ วัดศรีทอง เป็นวัดธรรมยุติกนิกาย
สร้างขึ้นเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ ตรงกับ ร.ศ.๗๔ เป็นปีที่ ๕ แห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี วัดนี้มีพระอุโบสถที่สร้างตามแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง คือ พระแก้วบุษราคัม สถานที่ตั้งวัด







เดิมเป็นสวนของท่านอุปฮาดโท (ต้นตระกูล ณ อุบล)
ซึ่งมีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินประมาณ ๒๕ ไร่ สำหรับสร้างวัดของสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
ซึ่งเป็นคณะสงฆ์ใหม่ที่เพิ่งสถาปนาขึ้นในตอนปลายของรัชกาลที่ ๓
การถวายที่ดินต่อหน้าพระเถระ ยกให้เป็นสมบัติในพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งวัด
ในยามราตรีของวันนั้น
เกิดนิมิตประหลาดขึ้น คือมีแสงสว่างพวยพุ่งขึ้นเป็นสีเหลืองทอง
ภายในบริเวณสวนนั้น จึงได้ถือนิมิตมงคลนี้
ตั้งชื่อวัดว่า "วัดศรีทอง"
ฝ่ายคณะสงฆ์มีท่านเทวธัมมี (ม้าว)
ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
เริ่มก่อสร้างกุฏิ วิหาร ศาลการเปรียญ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘
ตามประวัติท่านเทวธัมมี ได้ไปรับการศึกษาพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพมหานคร

ตั้งแต่เป็นสามเณร
และได้เป็นสัทธิวิหาริกของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
เมื่อครั้งทรงผนวช จึงได้ถือลัทธิธรรมยุติกนิกายสืบสายมาตั้งคณะธรรมยุติกนิกายที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
ซึ่งเป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกในภาคอีสาน
โดยมีท่านพันธุโล (ดี) เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

ดังนั้น ท่านเทวธัมมี จึงถือว่าเป็นพระเถระที่มีศักดิ์ใหญ่
เป็นที่เคารพยำเกรงของบรรดาเหล่าพระภิกษุสามเณร ข้าราชการ
ตลอดจนประชาชนทั้งหลายในสมัยนั้น
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ พระพันปี
ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีฉลองสมโภชฝังลูกนิมิตร
และยกช่อฟ้าพระอุโบสถวัดศรีอุบลรัตนาราม
จึงได้ทูลเกล้าถวายพระอุโบสถหลังนี้
ให้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
และทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เปลี่ยนชื่อจากวัดศรีทองเป็น "วัดศรีอุบลรัตนาราม"
ตามพระนามขององค์อุปถัมภ์

วัดศรีอุบลรัตนาราม เคยเป็นที่บรรพชาอุปสมบท
ของพระเถระผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายคันธุระและวิปัสนาธุระหลายรูป
มีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ สิริจันทเถระ, สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ ติสสเถระ
พระอาจารย์ทา โชติปาลเถระ, พระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฯลฯ







พระแก้วบุษราคัม เป็นพระพุทธปฏิมากรปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน
แกะสลักจากแก้วบุษราคัม หน้าตักกว้าง ๓ นิ้ว สูงจากเรือนแท่นถึงเปลวพระโมลี ๕ นิ้ว มีความงามสง่าตามพุทธลักษณะทุกประการ
ตามตำนานเล่าสืบกันมาว่าพระวรราชภักดี (พระวอ)
พร้อมด้วยบุตรหลานของพระตาคือ เจ้าคำผง เจ้าทิดพรหม และเจ้าก่ำ
บรรพบุรุษผู้ก่อตั้งเมืองอุบล
ได้อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมมาจากกรุงศรีสัตนาคตหุต (เวียงจันทน์)
เดิมทีพระแก้วบุษราคัม คงจะประดิษฐานอยู่ที่บ้านดอนมดแดง
และได้อัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีอุบลรัตนารามในเวลาต่อมา

ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช
ทางราชการได้ประกอบพิธีถือนำพระพิพัฒน์สัตยาที่วัดศรีอุบลรัตนาราม
พร้อมทั้งได้อัญเชิญพระแก้วบุษราคัม เป็นองค์ประธานในพิธี
โดยถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสืบกันมาแต่โบราณกาล
ปัจจุบันในเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี
ชาวอุบลราชธานีจะร่วมใจกัน อัญเชิญพระแก้วบุษราคัม
เข้าขบวนแห่ไปรอบเมืองอุบลราชธานี
เพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้นมัสการกราบไหว้
และสรงน้ำกันโดยถ้วนหน้า
และนำมาตั้งให้สรงน้ำที่บริเวณวัดศรีอุบลฯ แห่งนี้





๗.วัดมหาวนาราม หรือ วัดป่าใหญ่
อยู่ถัดจากวัดป่าน้อย วัดมณีวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นวัดเก่าแก่มีฐานะเป็นพระอารามหลวงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี
ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปง
พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานี







วัดมหาวนาราม เดิมมีชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์
ภายหลังเรียกว่า วัดป่าใหญ่ ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๒๒
และเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดมหาวนาราม ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ จนถึงปัจจุบัน
ตามหลักศิลาจารึกที่ฝังอยู่แท่นข้างหลังองค์พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
ปรากฏว่าสร้างหลังจากสร้างเมืองอุบลแล้ว ๔๑ ปี
โดยพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิศพรหม สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองคนที่ ๒
หลังจากสร้างวัดแล้ว ๒ ปี
พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เจ้าอาวาสพร้อมด้วยศิษยานุศิษย์
ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปเป็นองค์ประธาน
และเป็นองค์แทนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขนานนามว่า "พระเจ้าอินทร์แปลง"
มีความหมายว่า “พระอินทร์จำแลงแปลงกายมา”
ชาวอีสานเรียก “พระเจ้าใหญ่อินทร์แปง” มีความหมายอีกนัยหนึ่งว่า
พระอินทร์สร้าง
ซึ่งเป็นนามมงคลทั้งสองความหมาย


“พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง”
วัดมหาวนาราม หรือ วัดป่าใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี

ใครมาอุบลราชธานีต้องแวะกราบไว้สัการะขอพร
ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี เดิมมีชื่อว่า "วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์"

ภายหลังเรียกว่า "วัดป่าใหญ่"
และต่อมาเปลี่ยนเป็น "วัดมหาวนาราม" ตามสมัยนิยม
นับว่ามีความสำคัญยิ่งในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี
และศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดี มาเป็นเวลายาวนานกว่า ๒๐๐ ปี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นพระอารามที่ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
พระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี

พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
หน้าตักกว้าง ๓ เมตร สูง ๕ เมตร
งดงามด้วยพุทธศิลป์แบบล้านช้าง
โดยองค์พระเป็นปูนปั้นที่เรียกว่า ปูนชะทาย
กล่าวคือการใช้ดินโพนผสมกันกับกาวหน้าแล้วนำมาโบกคล้ายกับซีเมนต์
จึงนำมาลงรักปิดทอง
ตามความเชื่อสมัยก่อนนั้นว่า พระอินทร์ได้จำแลงแปลงกายเป็นชีปะขาว
ลงมาปั้นแต่งพระพักตร์
ชาวบ้านจึงได้ถวายนามว่า พระเจ้าอินแปง เพราะงดงามดั่งพระอินทร์มาเนรมิตร

จากหลักฐานศิลาจารึกวัดป่าใหญ่
ผู้สร้างพระพุทธรูปพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง คือ ท่านพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา
พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ ได้พร้อมใจกันสร้างแล้วเสร็จ
ทำพิธีพุทธาพิเษก และเบิกเนตรแล้ว เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ จ.ศ.๑๑๖๙
ปีเมิงเหม้า ตรงกับ พ.ศ.๒๓๕๐ นพศก เมื่อยามแถใกล้ค่ำ
(ประมาณ ๑๕.๐๐-๑๖.๐๐ น.)
เจ้าเมืองอุบลในขณะนั้นคือ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์
เป็นเจ้าเมืองคนที่ ๒
ซึ่งได้มาสร้างวิหารในวัดตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๔๘ และมาแล้วเสร็จในปีเดียวกันนี้ด้วย

หลังจากสร้างวิหารได้ ๒ ปี จุลศักราชได้ ๑๘๙ ตัว (พ.ศ.๒๓๕๐)
ได้ยกฐานะขึ้นเป็นวัดประจำเจ้าเมืองคนที่สอง และในปีเดียวกัน
พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา จึงได้นำพาศิษยานุศิษย์
ก่อสร้างพระพุทธรูปองค์ประธานในวิหารและขนานนามว่า "พระเจ้าอินแปง"
พร้อมกับนำดินทรายเข้าวัด





















๘.วัดมณีวนารามเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
ตั้งอยู่ที่่ถนนหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
แต่เดิมเป็นพื้นที่ของ “ดงอู่ผึ้ง” ผืนป่าเก่าแก่แต่ครั้งก่อนสถาปนา เมืองอุบลราชธานี
โดยอยู่ห่างจากเขตเขื่อนคูของเมืองแห่งนี้ในอดีต


วัดมีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระแก้วโกเมน
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
ขัดสมาธิเพชร สร้างด้วยแก้วโกเมน (สีแดงเข้ม)
ขนาดหน้าตักกว้าง ๔ นิ้ว สูงประมาณ ๕ นิ้ว
สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะล้านนา
มีตำนานเล่าว่า พระแก้วโกเมนอุบัติมารพร้อมกับพระแก้วบุษราคัม
ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีอุบลรัตนาราม ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ไทยมีสงครามกับเวียงจันทน์ ผู้รักษาการบ้านเมืองและทายกทายิกา
ได้พากันนำพระแก้วโกเมนมาประดิษฐานไว้ ณ วัดมณีวนาราม
ซึ่งเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัดเก็บรักษาไว้เป็นความลับต่อกันมา
โดยทำผอบไม้จันทน์ครอบพระแก้วนั้นไว้ ที่เรียกกันว่า งุม
ในช่วงประเพณีสงกรานต์ของชาวอุบลราชธานี จะอัญเชิญพระแก้วโกเมนลงมาเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำด้วย




























๙.วัดหลวง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ระหว่างท่ากวางตุ้นกับท่าจวน (ตลาดใหญ่)
ในอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี



วัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นวัดแรกและวัดคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานี
ที่สร้างโดย พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองคนแรกของเมืองอุบล
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล
เป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าใหญ่องค์หลวง พระแก้วไพฑูรย์
หนึ่งในพระแก้วสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี
และหลวงพ่อปากดำ ภายในวัดจะมีวิหารวัดหลวง
ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบมาจากวิหารของวัดเชียงทองที่หลวงพระบาง
ประเทศ ส.ป.ป.ลาว
ซึ่งปัจจุบันถูกรื้อทิ้งไปแล้ว
พ.ศ.๒๓๒๔ เมื่อเจ้าพระปทุมวรราชสุริยะวงศ์ (ท้าวคำผง)
ได้อพยพมาจากดอนมดแดง มาตั้งบ้านเมืองใหม่ที่ดงอู่ผึ้ง
และได้ตั้งเมืองอุบลราชธานีขึ้น
และเห็นว่าที่แห่งนี้เหมาะที่จะสร้างบ้านเมือง วัดวาอาราม
เพื่อเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง เป็นที่อยู่อาศัย สืบทอดพระพุทธศาสนา
จึงให้พระสงฆ์ที่อพยพมาด้วย ลงมือก่อสร้าง โดยให้ช่างที่อพยพมาจากเวียงจันทน์
พร้อมด้วยท่านอุปฮาดราชบุตรราชวงศ์ ท่านท้าวเพี้ย
กรรมการน้อยใหญ่ร่วมสร้างด้วยความสามัคคี
วัดจึงสำเร็จสวยงามสมเจตนารมณ์
สร้างโบสถ์ องค์พระประธาน กุฎิวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร หอกลาง
หอโปง หอระฆัง พร้อมบริบูรณ์ทุกอย่าง
เป็นสังฆาวาสที่สวยงามมาก
เมื่อสร้างเสร็จได้ตั้งนามว่า พระเจ้าใหญ่วัดหลวง นามนี้เรียกว่า "วัดหลวง"
ซึ่งถือว่าเป็นวัดแรกของเมืองอุบลราชธานี
และถือได้ว่าเป็นวัดประจำเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก
นั้นก็คือ ท้าวคำผง นั้นเอง













พระแก้วไพฑูรย์
นับเป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองอุบลเป็นอย่างยิ่ง
องค์พระแก้วไพฑูรย์เป็นหินธรรมชาติ
แสงส่องผ่านได้
ตามประวัติไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้าง
แต่อยู่ในความครอบครองของบรรพบุรุษเจ้านายเมืองอุบลมาแต่อดีต
ในสมัยเริ่มสร้างเมืองอุบล พระปทุมวราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง)
ได้ถวายพระแก้วไพฑูรย์และพระแก้วบุษราคัม
เพื่อให้ประดิษฐานไว้คู่กันที่วัดหลวง
ซึ่งเป็นวัดแห่งแรกของอุบลราชธานี










Create Date : 02 มกราคม 2567
Last Update : 6 มกราคม 2567 14:03:53 น. 19 comments
Counter : 623 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณThe Kop Civil, คุณSweet_pills, คุณกะว่าก๋า, คุณปัญญา Dh, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณNoppamas Bee, คุณเนินน้ำ


 
ขอสุขล้นท้นท่วม​ หฤทัย
ขอปรารถนาใด​ สบสนอง
ขอโรคะพยาธิ​ไกล​ เกินห่าง
ขอธนสารทานผอง​ พรั่งพร้องนองเนือง


โดย: ปรศุราม วันที่: 2 มกราคม 2567 เวลา:20:54:23 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ครับคุณอุ้มสี


โดย: ปัญญา Dh วันที่: 2 มกราคม 2567 เวลา:21:03:43 น.  

 
อนุโมทนาบุญด้วยครับ

สวัสดีปีมังกรทองครับ


โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 2 มกราคม 2567 เวลา:22:03:38 น.  

 
ขออนุโมทนาบุญกับคุณอุ้มด้วยค่ะ

สวัสดีปีใหม่ 2567 นะคะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 2 มกราคม 2567 เวลา:23:00:39 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ค่ะ พี่อุ้ม


โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ วันที่: 3 มกราคม 2567 เวลา:9:20:59 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ครับพี่


โดย: The Kop Civil วันที่: 3 มกราคม 2567 เวลา:13:23:02 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม

ได้เที่ยวด้วย
ได้ทำบุญด้วย
เป็นการเริ่มต้นปีที่ดีมากๆเลยครับพี่




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 มกราคม 2567 เวลา:5:17:49 น.  

 
หลานสาวสองคนยังสูงกว่าผมอีกครับพี่อุ้ม
อย่างผมคุยกับหมิงต้องแหงนหน้าคุยกับลูกแล้วครับ 555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 มกราคม 2567 เวลา:9:33:00 น.  

 
อยู่ทำงานที่อุบล 2 ปีกว่าคุ้นเคย
มีแค่ 2 วัด คือวัดสุปัฏ กับวัดหลวง.. ผมพักถนนพรหมเทพ
เป็นคนใกล้วัดที่ ไกลวัด หุ หุ มัว
ไปบ่อนอื่น


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 4 มกราคม 2567 เวลา:10:50:21 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 มกราคม 2567 เวลา:5:01:26 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ครับ เที่ยวทำบุญรับปีใหม่เลย


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 5 มกราคม 2567 เวลา:7:18:01 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ครับคุณอุ้ม

ขอให้มีความสุข
สุขภาพแข็งแรง
สำเร็จ สมหวังนะครับ

ขอบคุณที่ไปเยี่ยมที่บล็อกด้วยครับ


โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 5 มกราคม 2567 เวลา:12:22:06 น.  

 
ตอนเป็นครู
ผมว่าผมเป็นครูที่ใจดีมากครับ
เข้าเรียน ส่งงานครบ
ทำข้อสอบผ่าน
ผมก็ให้ A แล้ว
แต่ถ้าไม่ทำตามข้อตกลง
ก็รับผลไปตามการกระทำเลยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 มกราคม 2567 เวลา:13:05:47 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ครับคุณอุ้ม

ขอให้คุณอุ้มมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงนะครับ

ขอให้เดินทางท่องเที่ยวไปในที่ที่ใจปรารถนาได้อย่างปลอดภัย

ขอเป็นกำลังใจให้คุณอุ้มนะครับ


โดย: ไบร์ท (สมาชิกหมายเลข 7921016 ) วันที่: 6 มกราคม 2567 เวลา:13:41:00 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ 2567 ค่ะ
อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ



โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 6 มกราคม 2567 เวลา:14:26:19 น.  

 
สวัสดี จ้ะ น้องอุ้มสี
สุขสันต์วันปีใหม่ 67 จ้ะ ขอให้
น้องอุ้มสีความสุขในการท่องเที่ยวสุขภาพแข็งแรง ๆ ตลอดไป นะจ้ะ
เป็นบล็อกท่องเที่ยวที่ได้ชม
ได้ไหว้พระตามวัดต่าง ๆ มากมาย
ขอบใจที่ถ่ายภาพวัดสวย ๆ และ
มีประวัติให้ความรู้ด้วย มาฝากจ้ะ
โหมวดหมวด ท่องเที่ยว


โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 6 มกราคม 2567 เวลา:20:00:11 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 มกราคม 2567 เวลา:5:58:11 น.  

 
สาธุ สาธุคร้า


โดย: Noppamas Bee วันที่: 7 มกราคม 2567 เวลา:10:38:31 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ค่ะน้องอุ้ม
ตามมาไหว้พระด้วยค่ะ
ขอให้ปีนี้เป็นปีที่ดีนะคะ


โดย: เนินน้ำ วันที่: 7 มกราคม 2567 เวลา:16:19:57 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุ้มสี
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 118 คน [?]






ผล BlogGang Popular Award #16
จากวันที่ 1 ม.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63
ขอบคุณนะคะที่โหวตให้อุ้มสี


ผล BlogGang Popular Award #15
จากวันที่ 1 ม.ค. 62 - 31 ธ.ค. 62
ขอบคุณนะคะที่โหวตให้อุ้มสี



ขอบคุณหัวใจ 266 ดวง
ที่แปะให้อุ้มตลอดเดือน ก.พ.60





ขอบคุณผลโหวต
BlogGang Popular Award # 12
ปี พ.ศ.2560


ขอบคุณหัวใจ 499 ดวง
ที่แปะให้อุ้มตลอดเดือน ก.พ.59


ขอบคุณผลโหวต
BlogGang Popular Award # 11
5 มีนาคม 2559



กิจกรรมในเดือนแห่งความรัก
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2558
กราบขอบพระคุณทุกท่าน
แปะหัวใจให้ถึง 351 ดวง


ปี พ.ศ. 2558
BlogGang Popular Award # 10


ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน



กิจกรรมในเดือนแห่งความรัก
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2557
กราบขอบพระคุณทุกท่านค่ะ

คลิกที่นี่:: Interview .. the Blogger :: ~ อุ้มสี ~



ปี พ.ศ.2557
BlogGang Popular Award # 9
ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน




ปี พ.ศ.2556
BlogGang Popular Award # 8
ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน




Group Blog
 
<<
มกราคม 2567
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
2 มกราคม 2567
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add อุ้มสี's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.