มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
27 มีนาคม 2556
 

มุมมองเหรียญสองด้านที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

“เอาหล่ะ คุณกรวิทย์ คุณเริ่มเข้าใจแล้วว่า การสอนงานแบบเดิมๆ ในสมัยที่คุณเป็น supervisor อาจจะไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับการสอนงานลูกน้อง ณ ขณะนี้แล้ว ใช่ไหมค่ะ” ที่ปรึกษาสาว เริ่มเปิดประเด็นโค้ชแนวทางการทำงานให้กับคุณกรวิทย์ ผู้จัดการใหม่
“ครับ วิธีที่เคยเวิร์คในอดีต อาจจะไม่ได้ผล เมื่อสภาพแวดล้อม และตำแหน่งผู้ร่วมงานเปลี่ยนไป แต่ผมก็ยังไม่รู้ว่าจะหาวิธีที่เหมาะสมได้อย่างไร ขอคำแนะนำหน่อยนะครับ” ผู้จัดการหนุ่มกล่าว

“ดีค่ะ เพราะเมื่อคุณเข้าใจแล้วว่า เราจำเป็นต้องหาแนวทางใหม่ เท่ากับคุณพร้อมที่จะเรียนรู้ และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เพียงแต่ ยังติดปัญหาว่า จะใช้วิธีใด เท่านั้นเอง” ที่ปรึกษาสาวกล่าวให้กำลังใจ ด้วยความรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ผู้จัดการใหม่คนนี้ พร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลง เพราะ ที่ปรึกษาทราบดีว่า คนเราจะเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อ “พร้อม” หรือ “อยาก”ที่จะเปลี่ยนแปลงเท่านั้น

“เราลองมาช่วยกันหาวิธีการดูนะคะ และอาจารย์อาจจะช่วยแนะนำให้ตัวอย่างจากประสบการณ์บ้าง... ก่อนอื่น เมื่อกี้คุณกรวิทย์บอกว่า สมัยเป็น supervisor ลูกน้องในทีมเป็นบัณฑิตจบใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ แตกต่างกับ ลูกน้องในทีมตอนนี้ ที่ส่วนใหญ่มีประสบการณ์กันแล้ว ถูกต้องไหมค่ะ” อาจารย์สาวเริ่มเปิดประเด็น
“ใช่ครับ ซึ่งทำให้ผมคิดว่า ประสบการณ์ที่แตกต่างกันของลูกน้องมีผลกับวิธีการมอบหมายงานที่แตกต่างกัน” คุณกรวิทย์ตอบ

“งั้น คุณกรวิทย์ลองช่วยวิเคราะห์ให้อาจารย์ฟังได้ไหมคะ ... ลองสมมติสถานการณ์กลับกันนะคะ ณ ตอนนี้ คุณกรวิทย์ ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งผู้จัดการ แต่เป็นลูกน้องที่มีผู้จัดการมามอบหมายงานให้ คุณกรวิทย์เองก็มีประสบการณ์ทำงานมาระดับหนึ่ง แต่ความยากของงานในครั้งนี้ ก็คือ งานที่ถูกมอบหมายเป็นงานใหม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ..” ปรึกษาสาว เริ่มจำลองสถานการณ์ให้ผู้จัดการใหม่ มองถึงเหรียญสองด้าน ใช้ตัวเองเป็นกระจกสะท้อนความคิดในอีกมิติหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ลืมทิ้งจังหวะให้ผู้จัดการใหม่คนนี้ได้คิดตาม

“ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว คุณอยากให้ผู้จัดการของคุณมอบหมายงานให้คุณยังไงค่ะ” ที่ปรึกษาถาม
ณ ขณะนี้ คุณกรวิทย์ ซึ่งเป็นหนุ่มไฟแรงที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง เริ่มเข้าใจแล้วว่า เขาอาจจะลืมนึกสะท้อนมุมความคิดอีกมุมหนึ่งไป “จริงสิครับ ทั้งๆทีในอดีต ผมก็เคยเจอหัวหน้างานมาหลายแบบ บางท่านผมก็ชอบวิธีการมอบหมายงานของเขามาก บางท่านผมก็ไม่ชอบเอาซะเลย”

“แบบไหนที่ชอบ แบบไหนที่ไม่ชอบค่ะ เพราะอะไร ช่วยขยายความให้อาจารย์ฟังนิดนึงได้ไหมคะ” ที่ปรึกษาถามต่อด้วยน้ำเสียงเรียบๆ แต่แฝงด้วยความกระตือรือร้นที่อยากจะรับฟังคำตอบ
“ได้ครับ ในฐานะที่ผมเป็นลูกน้องที่มีประสบการณ์แล้ว ผมก็อยากมีความคิดเป็นของตัวเอง แต่ เมื่อเจองานใหม่ ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจว่า ผมจะทำมันได้ดีหรือไม่ ดังนั้น หากหัวหน้างานจะมอบหมายงานให้ผม ผมอยากให้หัวหน้างานอธิบายภาพรวมของเนื้องานให้ผมเข้าใจทั้งหมด ผมจะได้ร้อยเรียงปะติดปะต่อเรื่องราวได้...” คุณกรวิทย์ พูดคำตอบออกมาอย่างฉะฉาน ถึงสิ่งที่ตัวเองอยากได้ แล้วก็นิ่งหยุดไปชั่วครู่
“แต่.... จริงๆ หล่ะครับ ผมลืมนึกไป ทำไมผมถึงไม่ brief ภาพรวมงานให้ลูกทีมฟัง แทนที่จะสั่งเขาเป็นส่วนๆ ตายจริง!! นี่ผมพลาดไปเองหล่ะครับ” คุณกรวิทย์ เริ่มเห็นประเด็น

“ดีค่ะ แต่ไม่ต้องกังวลไปหรอกนะคะ เป็นเรื่องปกติที่คนเราเมื่อเปรียบสถานการณ์ตำแหน่งหน้าที่ หรือพูดง่ายๆ คือ เปลี่ยนจุดยืน มุมมองเดิมที่เราเคยเห็น ก็อาจจะเห็นแค่เลือนราง หรือไม่เห็นมัน .. ตอนนี้ สิ่งที่คุณกรวิทย์ทำได้ดีแล้ว ก็คือ คุณกรวิทย์เริ่มกลับไปเห็นมุมอีกมุมแล้วนะคะ" ที่ปรึกษากล่าว
“ครับ ผมจะลองปรับวิธีการมอบหมายงานดูนะครับ แต่ผมจะรู้ได้ไงหล่ะครับ ว่า วิธีการที่ผมชอบ จะเป็นวิธีการที่ลูกน้องผมชอบด้วย” ณ ขณะนี้ พื้นที่ความคิดของผู้จัดการหนุ่มคนนี้ เริ่มขยายออกกว้างขึ้น กว้างขึ้น

“นั่นสิค่ะ แล้ว คุณคิดว่า วิธีการที่คุณชอบ ลูกน้องคุณจะชอบไหมค่ะ” ที่ปรึกษาสาวแกล้งแหย่คำถามกลับให้คิดต่อ
“อืมมมมม ผมไม่แน่ใจ... อาจารย์มีความคิดเห็นยังไงบ้างครับ ผมอยากได้ความคิดเห็นจากอาจารย์” ทีนี้ ผู้จัดการไฟแรง เริ่มถามกลับ คำถามครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการถามเพื่อลองภูมิความรู้ของที่ปรึกษา แต่เป็นคำถามที่ต้องการหาทางเลือกอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุด

“งั้นอาจารย์ขอแชร์แล้วกันนะคะ โดยปกติแล้ว คนเราทุกๆคนไม่มีใครเหมือนกัน แม้กระทั่งพี่น้องฝาแฝดที่หน้าตาเหมือนกัน ความคิดก็ยังแตกต่างกัน คุณกรวิทย์มาถูกทางแล้วหล่ะคะ ว่า เราไม่สามารถเอาสิ่งที่เราชอบไปตัดสินว่าคนอื่นต้องชอบด้วยได้” ที่ปรึกษาชี้ประเด็นให้เห็นถึงความแตกต่างของมนุษย์

“ทีนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า วิธีการแบบไหนที่เหมาะสม สิ่งที่เราต้องรู้ก่อน คือ สไตล์การทำงานของคนๆนั้น เขาชอบให้เราสั่งงานแบบละเอียดแล้วเขาเดินตาม หรือ เขาชอบการสั่งงานแบบเปิดกว้างรับความคิดของเขา” ที่ปรึกษาเริ่มเปรียบเทียบให้ผู้จัดการใหม่สังเกต
“หากเราไม่รู้ คิดว่า วิธีการไหนที่จะทำให้เรารู้ค่ะ” ที่ปรึกษาเริ่มถามกลับ
“ผมว่า ผมก็คงจะถามเขาครับ” คุณกรวิทย์ตอบ

“ดีค่ะ แทนที่เราจะเดาเอาเอง ว่า คนๆนั้นชอบแบบนั้นแบบนี้ การสังเกตและถามเพื่อยืนยันสิ่งที่เราคิด ไม่ใช่เรื่องน่าอายนะคะ แถมยังเป็นผลดี ทำให้การเรียนรู้การทำงานซึ่งกันและกันเป็นทีม ทำได้เร็วขึ้นอีกต่างหาก” ที่ปรึกษาสาวกล่าวชมเชยในสิ่งที่ผู้จัดการกล้าคิดกล้าท
คุณกรวิทย์เหลือบมองนาฬิกา ถึงเวลา บ่ายสองโมงพอดี “ขอบคุณมากครับอาจารย์ผมจะลองนำไปปฎิบัติดูได้ผลอย่างไร ผมจะแจ้งให้อาจารย์ทราบนะครับ แต่ตอนนี้ ผมต้องขอตัวก่อน เพราะมีนัดประชุมกับลูกค้าอีกราย ดีใจที่ได้คุยกับอาจารย์นะครับ”
“ด้วยความยินดีค่ะ” อาจารย์ติ๊กกล่าว

การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น เมื่อผู้กระทำอยากที่จะเปลี่ยน การมองเหรียญให้ครบสองด้าน หรือสมมติสถานการณ์ให้ตัวเองไปยืนอยู่ในจุดอีกจุดหนึ่ง อาจจะทำให้เราเห็นคำตอบได้ดีกว่า เพราะเรามีมุมมองรอบด้านขึ้นนั่นเอง



Create Date : 27 มีนาคม 2556
Last Update : 27 มีนาคม 2556 0:56:53 น. 0 comments
Counter : 464 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

ajarntik
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ได้รับทุนภูมิพล(ปริญญาตรี)
เศรษฐศาสตร์ มธ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
แล้วได้รับทุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ มธ.)
มีประสบการณ์สอน 15 ปี จากสถาบันกวดวิชาเดอะเบรน
และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก่อนจะผันตัวเองออกมาทำธุรกิจส่วนตัว พร้อมๆไปกับงานที่ปรึกษา
[Add ajarntik's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com