Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
12 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
บทที่ 4 การเริ่มธุรกิจ Franchise

แฟรนไชส์ (Franchise)
 มีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส คือ "Franchir" แปลว่า "สิทธิพิเศษ" "Franchise" แปลว่า สิทธิพิเศษที่บริษัทแม่มอบให้กับผู้ที่เข้าร่วมกิจการโดยสิทธิพิเศษนี้จะครอบคลุมระบบเกือบทั้งหมดเพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจการนั้นสามารถทำธุรกิจได้แม้จะไม่มีประสบการณ์มาเลย
 “แฟรนไชส์” หมายถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจหรือตลาดในการกระจายสินค้า หรือบริการสู่ผู้บริโภคโดยหน่วยธุรกิจซึ่งประสบความสำเร็จและต้องการขยายการจำหน่ายสินค้า หรือบริการของตน (บริษัทแม่) โดยผ่านหน่วยค้าปลีก(บริษัทสมาชิก) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการอิสระ และทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงร่วมกัน ภายใต้เครื่องหมายการค้าหรือบริการ เทคนิคการตลาดและอำนาจของบริษัทแม่ ในการควบคุมหน่วยธุรกิจนั้นเพื่อแลกกับการได้รับชำระค่าธรรมเนียม และค่ารอยัลตี้ (Royalty) จากบริษัทสมาชิกดังกล่าว

แฟรนไชส์ (Franchise)
หมายถึง ระบบธุรกิจที่ประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ
 จะต้องมีเจ้าของสิทธิ์ (Franchisor) ถ่ายทอดวิทยาการ การทำธุรกิจทุกอย่างให้แก่ผู้รับสิทธิ์อย่างใกล้ชิด
 ผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ในการใช้ชื่อการค้าเป็นค่าธรรมเนียม เริ่มแรก (Franchise Fee)
 ผู้รับสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าตอบแทน (Royalty Fee) อย่างต่อเนื่องตามสัดส่วนของผลการดำเนินงาน อาจจะเรียกเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์ ต่อเดือนหรือต่อปีจากยอดขาย หรือบางทีก็อาจจะเก็บจากยอดสั่งซื้อสินค้า

ประเภทของระบบแฟรนไชส์
 1. Product or Brand Franchise Wholesaler
 เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ เพื่อจัดจำหน่าย (ค้าส่ง) ผลิตภัณฑ์ของ Franchisor รวมถึงการให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายทางการค้าของผู้ผลิต
ประเภทของระบบแฟรนไชส์
 2. Business Format Franchise Retailer
 เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยมีการถ่ายทอดในวิธีการดำเนินธุรกิจแบบร้านมาตรฐาน (ค้าปลีก)
 3. Conversion Franchise
คือการนำธุรกิจที่มีอยู่แล้วมาร่วมตัวกัน เพื่อสร้างเครือข่ายซึ่งจะช่วยในการต่อรองซึ่งจะให้ประโยชน์ร่วมกันในด้านการโฆษณาที่ทำให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจรถเช่า บริษัททัวร์ ฯลฯ

ข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์
 สิทธิเกี่ยวกับการถ่ายทอดระบบงาน กรรมวิธีการผลิตต่างๆ โดยจะได้รับคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกัน ได้รับสิทธิและความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ประโยชน์จากการจดทะเบียนการค้า ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า ความลับเกี่ยวกับกรรมวิธี และสูตรการผลิตต่างๆทางการค้า การขอเป็นสถานประกอบการทางด้านการศึกษา แฟรนไชซอร์จะเป็นผู้ขอให้กับแฟรนไชซี่ ซึ่งสะดวกกว่าการเข้าไปขอเปิดโรงเรียนด้วยตัวเอง
 “แฟรนไชซี่” จะได้รับบริการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา การสนับสนุนและช่วยแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากแฟรนไชซอร์ตัวจริงเท่านั้น ที่จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์เกิดขึ้นในไทยเพราะคนที่ไม่เคยทำธุรกิจมองว่า“แฟรนไชส์”ง่าย สะดวก และมีสูตรสำเร็จ แนวโน้มของธุรกิจแฟรนไชส์เริ่มเป็นที่นิยมในไทยเหมือนกับประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ออสเตรเลีย มาเลเซีย และสิงคโปร์
ข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์(ต่อ)
 ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ แบรนด์ ที่ดีและเป็นที่ยอมรับจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งตรงนี้จะต้องมีความชัดเจน เนื่องจากการสร้างชื่อเสียง ภาพลักษณ์ แบรนด์ ไม่ได้สร้างโดยใช้เวลาแค่สองสามเดือน ดังนั้นถ้าแฟรนไชซอร์ที่มีอายุการเปิดหรือประสบการณ์น้อย หมายความว่าชื่อเสียงหรือแบรนด์ของเขายังไม่แข็งแรงพอต้องระวัง
 สะดวกในการจัดอุปกรณ์ เครื่องจักร วัสดุสิ้นเปลืองได้ง่าย และได้สิทธิซื้อในราคาที่ต่ำกว่า เนื่องจากร้านแฟรนไชส์ทุกร้านจะต้องมีการตกแต่งในคอนเซ็ปท์เดียวกัน แฟรนไชซอร์จะเป็นผู้กำหนดว่าจะต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร หรือวัสดุสิ้นเปลืองแบบไหน ซึ่งแฟรนไชซอร์สามารถซื้ออุปกรณ์ เครื่องจักร หรือวัสดุสิ้นเปลืองให้กับแฟรนไชซี่ได้ในราคาที่ถูกกว่าการที่แฟรนไชซี่จะ ซื้อเพื่อไปเปิดสาขาของตัวเอง
 ได้รับผลทางด้านกิจกรรมทางการตลาด โดยแฟรนไชซอร์ที่ดีจะต้องทำกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างแบรนด์ และรักษาแบรนด์ พร้อมทั้งต้องช่วยในเรื่องของการเพิ่มยอดขายให้กับแฟรนไชซี่ด้วย เพราะฉะนั้นหากแฟรนไชซอร์ที่มีการส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่องทั้งการทำ มาร์เก็ตติ้งฟรี และแอดเวอร์ไทซิ่งฟรี ระบบธุรกิจแฟรนไชส์จะเป็นระบบการดำเนินการที่ถูกกว่าการเริ่มต้นทำธุรกิจ ใหม่ด้วยตัวเอง
 การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ทั้งจำนวนเงินที่จะลงทุนเนื่องจากแฟรนไชซอร์จะต้องมีการกำหนดจำนวนที่แน่นอน ให้กับแฟรนไชซี่แล้ว นอกจากนี้ยังไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาหลักๆ เนื่องจากเป็นระบบที่มีเทคนิค ระบบการทำงาน กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แน่นอนอยู่แล้วรวมทั้งยังมีเรื่องของชื่อเสียงที่ ย่อมดีและเป็นที่ได้รับของลูกค้าอยู่แล้ว

ข้อเสียเปรียบของแฟรนไชส์
 ต้องสูญเสียอิสระภาพในการดำเนินธุรกิจ เพราะแนวคิดของการทำแฟรนไชส์คือการดำเนินธุรกิจตามวิธีที่ได้รับการพัฒนาจาก แฟรนไชซอร์ การดำเนินธุรกิจตามรูปแบบที่กำหนดไว้เท่านั้น
 ด้วยเหตุที่แฟรนไชซีเป็นเจ้าของกิจการ และเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง การปฏิบัติงานและตัดสินใจหลายๆเรื่อง จึงเป็นความรับผิดชอบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ด้วยจุดนี้ที่ทำให้ผลเสียในด้านการสูญเสียการควบคุมโดยตรงเกิดขึ้นได้มาก หากระบบต่างๆ ของแฟรนไชส์ไม่ดีพอ หรือยากต่อการปฏิบัติ
 ค่าใช้จ่ายสูง แฟรนไชซีจำเป็นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเพื่อการได้มาซื้อสิทธิในการ ประกอบกิจการ นอกจากนี้แฟรนไชซียังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น เงินลงทุนเพื่อตกแต่งร้านค้าและค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเป็นประจำสำหรับบริการสนับสนุนที่ได้รับจากแฟรนไชซอร์

ประโยชน์ของแฟรนไชส์
 การอาศัยชื่อ/ตราผลิตภัณฑ์
 การอาศัยความเชี่ยวชาญทางการตลาด
 การฝึกอบรมและสนับสนุนด้านการจัดการ
 คุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน
 ผลิตภัณฑ์และรูปแบบทางธุรกิจได้รับการพิสูจน์แล้ว
 การสนับสนุนทางการเงิน
 การคุ้มครองอาณาเขตดำเนินการ

การเลือกธุรกิจแฟรนไชส์
 ศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนว่าบริษัทประกอบธุรกิจประเภทใด ใคร เป็นกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ ท้องที่ที่เราจะเปิดร้านนั้นธุรกิจนี้อิ่มตัวหรือยัง และธุรกิจนี้เหมาะสมกับ "เรา" หรือไม่
 บริษัทมีการขยายตัวและการบริหารงานอย่างไร ก่อตั้งมานานแค่ไหน สินค้ามีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่ ผลงานและการเงินของบริษัทเป็นอย่างไร มีระบบการบริหารงานและเป้าหมายในการพัฒนาธุรกิจอย่างไร ทีมผู้บริหารเก่งและมีประสบการณ์แค่ไหน
 สมาชิกในเครือแฟรนไชส์มีความก้าวหน้าอย่างไร ควรรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในเครือแฟรนไชส์หลาย ๆ ราย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประเมินธุรกิจและการตัดสินใจของตนเอง
 ความช่วยเหลือที่ได้รับจากบริษัทโดยเฉพาะในด้านบริหารและการดำเนินกิจการ ตลอดจนการชี้นำและเป็นที่ปรึกษาของสมาชิกใหม่ รวมถึงการช่วยสมาชิกในการขยายกิจการ
 ค่าใช้จ่ายที่บริษัทเรียกเก็บจากแฟรนไชซี ระหว่างการเข้าร่วมแฟรนไชส์สมเหตุสมผลหรือไม่
 เนื้อหาของสัญญาและเงื่อนไขในการร่วมมือกัน ผู้ที่จะลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ควรทำความเข้าใจต่อเงื่อนไขที่บริษัทแม่เสนอมา โดยศึกษาเนื้อหาของสัญญาว่ามีอะไรบ้าง รายละเอียดเป็นอย่างไร ต้องอ่านและทำความเข้าใจให้ชัดเจนทุกข้อ ซึ่งรายละเอียดแห่งความร่วมมือทุกประการ ควรระบุเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในหนังสือสัญญา




Create Date : 12 กรกฎาคม 2553
Last Update : 12 กรกฎาคม 2553 17:10:24 น. 0 comments
Counter : 2347 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.