Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
12 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
บทที่ 6 การบริหารข้อมูลและการรายงานผล

ความสำคัญของการรายงานผล
การทำธุรกิจต้องมีข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจเช่น
 ถ้าไม่ได้ทำบัญชีงบกำไร-ขาดทุน ก็จะไม่สามารถรู้ว่าบริษัทมีผลกำไรหรือขาดทุนในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
 หากไม่มีการบันทึกข้อมูลการควบคุมคุณภาพในสายการผลิต ก็จะไม่มีวันรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของข้อบกพร่อง หรือความสูญเสียในขบวนการผลิต

รายงานผลที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ SMEs
 • การผลิต
 • สินค้าคงคลัง
 • คุณภาพ
 • การขาย
 • บุคลากร
 • การเงิน และบัญชี
 • การประเมินความสามารถระหว่างวิสาหกิจ

ข้อมูลการผลิต และการรายงานผล
ในการวางแผนการผลิต จำเป็นต้องรู้สถานะการผลิตต่างๆ เพื่อที่จะนำมาประกอบการวางแผนและตัดสินใจในอนาคต เช่น
 ต้องรู้เวลาในการทำงานของเครื่องจักรทุกประเภท
 กำลังการผลิตของเครื่องจักร
 ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่อหน่วย
 จำนวนที่จะผลิต
 เวลาการส่งมอบ
 จำนวนสินค้าคงคลัง

ข้อมูลสินค้าคงคลัง และการรายงานผล
 สินค้าคงคลัง หรือสต็อกของธุรกิจ SMEs ซึ่งรวมถึง สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และชิ้นส่วนระหว่างการผลิต
 กฎของพาเรโตระบบ 80/20 ซึ่งก็คือ พิจารณาเฉพาะสินค้าคงคลังบางชนิดจำนวนประมาณ 20% ที่มีราคารวมกันสูงถึง 80% ของราคาสินค้าทั้งหมด
 การควบคุมคุณภาพของสินค้าหรือบริการให้ได้มาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐาน และเป็นที่ต้องการของลูกค้า
 ตัวอย่างการผลิตสับปะรดกระป๋อง ซึ่งจะต้องได้นํ้าหนักใกล้เคียงมาตรฐาน 180 oz ดังนั้นสิ่งที่จะต้องควบคุมคือนํ้าหนักสินค้า ซึ่งต้องมีการสุ่มบันทึกในทุกๆ ล็อตของการผลิต เช่น ในหนึ่งล็อต ประกอบด้วยสับปะรดกระป๋องจำนวน 100 กระป๋องสามารถเลือกจำนวนที่จะสุ่มตรวจนํ้าหนักได้ ในกรณีนี้อาจสุ่มจำนวน 10 กระป๋อง จากแต่ละล็อต จำนวน10 ล็อต ชั่งนํ้าหนักและบันทึกผล
 Control Chart ของนํ้าหนักสับปะรดกระป๋องจำนวน 10 ล็อต ซึ่งอยู่ในขอบเขตบนและล่าง ดังนั้นสามารถใช้ค่ากึ่งกลาง ค่าขอบเขตบนและล่าง เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาล็อตต่อๆ ไปได้ ดังแสดงในรูปที่ 8 ซึ่งถ้าหากนํ้าหนักสินค้าไม่อยู่นอกขอบเขตบนและล่าง จะถือว่าการผลิตอยู่ในสภาวะควบคุม แต่ถ้าหากมีจุดใดก็ตามออกนอกขอบเขตบนหรือล่าง ก็จะถือว่าการผลิตผิดปกติ ต้องหาสาเหตุของความผิดปกติ ณ จุดนั้นๆ และทำการแก้ไข

ข้อมูลแรงงาน และการรายงานผล
 เป็นการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของพนักงาน เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลิตภาพ(Productivity) และ สมรรถนะ (Performance) ของพนักงาน สามารถนำมาใช้ในการวางแผนด้านอัตรากำลัง การเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่พนักงาน และการลดค่าใช้จ่ายในการผลิต

 ตัวเลขประสิทธิภาพการทำ งานอาจเป็นตัวบ่งบอกถึงผลิตภาพที่ได้ในแต่ละฝ่าย และแต่ละบุคคล ซึ่งหากทำการบันทึกข้อมูลนี้ทุกๆ ระยะ จะเห็นแนวโน้มประสิทธิภาพการทำงานว่าดีขึ้น หรือควรปรับปรุง

 ข้อมูลการขายทั้งในอดีตและปัจจุบัน จะเป็นตัวบอกแนวโน้มความต้องการของตลาดในอนาคต ซึ่งทำให้สามารถวางแผนการขาย การผลิต งบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ

 รายงานผลคำสั่งซื้อ เป็นการสรุปการสั่งซื้อของลูกค้าในช่วงเวลาที่กำหนด โดยจะแสดงถึงจำนวนการส่งมอบ และจำนวนที่ค้างส่ง

 รายงานวิเคราะห์การขาย เป็นการวิเคราะห์ตัวเลขการขายแยกตามปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ชนิดสินค้า พนักงานขาย พื้นที่ขาย

 เงินสด เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดของการดำเนินธุรกิจ SMEs เนื่องจากใช้ชำระหนี้สิน ใช้ซื้อวัตถุดิบ ใช้ขยายกิจการ ดังนั้นควรมีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับที่มาและการใช้จ่ายเงินสด การเปรียบเทียบกระแสเงินสดจริงและที่วางแผนไว้จะทำให้รู้ว่าจะนำเอาเงินส่วนเกินไปใช้ในด้านใด หรือส่วนที่ขาดไปจะเอาเงินสดจากที่ไหน การมีกระแสเงินสดสุทธิเป็นบวกก็ไม่ใช่หมายถึงประสิทธิภาพการบริหารเงินสูง เพราะเป็นไปได้ว่าอาจยังไม่ได้ชำระหนี้ที่ค้างอยู่
ข้อมูลการให้เครดิตลูกค้า
 งบกระแสเงินสดจะเกี่ยวข้องกับการให้เครดิตลูกค้า การบันทึกข้อมูลระยะเวลาการให้เครดิต และจำนวนเงินที่ติดค้าง การรายงานผลการให้เครดิตลูกค้าจะทำให้สามารถตามหนี้ได้อย่างถูกต้อง และทำให้ทราบตัวเลขเงินสดที่จะได้รับในอนาคตเพื่อความสะดวกในการวางแผนการลงทุนต่อไป

ข้อมูลสภานะการเงิน
 งบกระแสเงินสด งบดุล งบกำไรขาดทุน จัดทำเป็นรายปีเนื่องจากกรมสรรพากรต้องการตรวจสอบดูความถูกต้องในการเสียภาษีประจำปี แต่งบการเงินทั้งสองอย่างสามารถจัดทำเป็นช่วงๆ ได้ตามความต้องการในการใช้ข้อมูล

บัญชีงบดุล
บัญชีกำไร-ขาดทุน
 จัดทำขึ้นเพื่อคำนวณว่าธุรกิจดำเนินไปได้ดีหรือไม่ โดยควรประมาณการยอดขาย และค่าใช้จ่ายเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี

อัตราส่วนทางการเงิน และการรายงานผล
 มีความสำคัญต่อการเสนอโครงการแก่สถาบันการเงิน และการวางแผน ข้อมูลที่จะใช้คำนวณ ส่วนใหญ่จะได้จากตัวเลขในงบดุล และงบกำไร-ขาดทุน
 อัตราส่วนทางการเงินเป็นการเปรียบเทียบตัวเลขหนึ่งกับอีกตัวเลขหนึ่งซึ่งผลที่ได้อาจอยู่ในรูปอัตราส่วน หรือ % อัตราส่วนที่คำนวณโดดๆ ไม่มีความหมายอะไร แต่ถ้าหากมีการเปรียบเทียบกับผลของปีที่ผ่านมา หรือเปรียบเทียบกับคู่แข่ง หรือค่ามาตราฐาน ก็จะทำให้รู้ว่าผลประกอบการของเราอยู่ ณ ระดับใด
1.อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
 อัตราส่วนสินทรัพย์เดินสะพัดต่อหนี้สินเดินสะพัด
 ถ้าอัตราส่วนดังกล่าวมากกว่า 1 บริษัทจะมีสภาพคล่องสูงเพราะมีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้มากกว่าหนี้สินที่ต้องชำระ
 แต่ถ้าอัตราส่วนดังกล่าวสูงเกินไป อาจหมายถึงการจัดการที่ไม่ค่อยมีสิทธิภาพ เพราะบริษัทจะพลาดโอกาสในการลงทุนในสิ่งอื่นที่อาจก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าการลงทุนในสินทรัพย์เดินสะพัด
2.อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Liquid Ratio)
 คืออัตราส่วนสินทรัพย์เดินสะพัด ยกเว้นสินค้าคงคลังต่อหนี้สินเดินสะพัด
 ตามปกติแล้วสินค้าคงคลังมีสภาพคล่องตัวน้อย หรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ช้า ดังนั้นอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว จึงเป็นการเปรียบเทียบสินทรัพย์เดินสะพัดที่สามารถจะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว
3.อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt Ratio)
 หากอัตราส่วนนี้สูงก็นับว่าธุรกิจมีความเสี่ยงสูงในแง่ของเจ้าหนี้ และเจ้าของ คือ เจ้าหนี้มีสิทธิในการเรียกร้องสินทรัพย์ของธุรกิจมากขึ้น และถ้าหากธุรกิจมีอันเป็นไปต้องยกเลิกกิจการ เจ้าของจะมีสิทธิเรียกร้องสินทรัพย์ภายหลังที่ได้หักส่วนของเจ้าหนี้แล้ว ถ้ามองในด้านเจ้าหนี้ก็มีความเสี่ยงมากเช่นกัน เพราะเจ้าหนี้ร่วมลงทุนโดยมิได้มีส่วนในการควบคุม ดังนั้นเจ้าหนี้จะพอใจที่จะให้อัตราส่วนนี้อยู่ในระดับตํ่า
4.อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม(Debt to Total Asset Ratio)
 เจ้าหนี้พอใจที่จะเห็นอัตราส่วนนี้ตํ่า เพราะยิ่งตํ่าเท่าใดเจ้าหนี้ก็จะมีความเสี่ยงน้อยเท่านั้น ส่วนเจ้าของก็อยากที่จะให้อัตราส่วนนี้สูง เนื่องจากต้องการให้กำไรต่อหุ้นสูง และไม่ต้องการเสียสิทธิในการควบคุมกิจการเพราะถ้าใช้เงินลงทุนโดยการออกหุ้นสามัญใหม่ ก็จะเสียสิทธิในการควบคุม
 แต่ถ้าอัตรานี้สูงเกินไปก็จะทำให้เจ้าของขาดความรับผิดชอบ เพราะเงินลงทุนส่วนมากได้มาจากเจ้าหนี้ ถ้าหากเกิดขาดทุนขึ้นมา เจ้าของก็จะรับผิดชอบเฉพาะทุนที่ตนลงไปซึ่งมีจำนวนน้อย แต่ถ้าหากมีกำไรก็จะทำให้อัตราผลตอบแทนของเจ้าของเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่สูง
5.อัตราส่วนหนี้สินเดินสะพัดต่อเงินลงทุนทั้งหมด
(Current Debt to Total Assets Ratio)
 แสดงให้เห็นว่าธุรกิจใช้เงินทุนจากหนี้สินสะพัดมากน้อยเพียงใด
 หากธุรกิจมีนโยบายการเงินที่ค่อนข้างระวังแล้ว อัตราส่วนนี้ควรจะตํ่าเพราะหนี้สินเดินสะพัด ควรจะใช้สำหรับทุนหมุนเวียนเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้ลงทุนประจำ
 หากอัตราส่วนนี้สูงก็แสดงว่าธุรกิจมีความเสี่ยงสูงเพราะหนี้สินส่วนใหญ่จะต้องชำระภายในเวลาอันสั้น ควรจะหันไปใช้เงินทุนจากหนี้สินระยะยาวแทน
6.อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อเงินทุนทั้งหมด
(Long Term Debt to Total Capitalization)
 อัตราส่วนนี้จะบอกความสำคัญของหนี้สินระยะยาวที่มีต่อโครงสร้างของเงินทุนที่มิได้คำนึงถึงหนี้สินเดินสะพัด และจะแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างเงินทุนของธุรกิจว่าได้ดำเนินไปตามนโยบายเดิมหรือได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะทราบได้จากการเปรียบเทียบอัตราส่วนในธุรกิจเดียวกันนี้ของปีปัจจุบันกับปีในอดีต เช่น หากอัตราส่วนของปีในอดีตเท่ากับ 1.5 ในปัจจุบันเท่ากับ 1.35 ก็แสดงให้เห็นว่าธุรกิจได้ลดอัตราเสี่ยงลง
7.อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย
 คือกำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยหารด้วยดอกเบี้ยจ่าย
 อัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นว่าธุรกิจมีกำไรพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยหรือไม่เพียงใด และแสดงขอบเขตของการลดลงของกำไรที่จะไม่ทำให้ธุรกิจประสบปัญหาในการจ่ายดอกเบี้ย
8.อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง (Stock Turnover)
 คืออัตราส่วนต้นทุนสินค้าขาย ต่อสินค้าคงคลังโดยเฉลี่ย
 อัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นถึงสมรรถภาพในการจัดการสินค้าคงคลังในด้านการใช้เงินทุนในสินค้าคงกลัง ด้านการจัดซื้อ การจำหน่ายดีเพียงใด
 ซึ่งถ้าอัตราการหมุนเวียนสูงก็แสดงว่าการจัดการใช้เงินทุนในสินค้าคงคลังดี คือไม่มีสินค้าค้างในมือสูงกว่าความต้องการ แต่ถ้าอัตราส่วนตํ่าไปก็ควรระวังสินค้าขาดแคลนได้
9.อัตราส่วนระยะเวลาการชำระเงินของลูกหนี้
 คืออัตราส่วนของลูกหนี้ต่อยอดขายโดยเฉลี่ย
 เป็นอัตราส่วนที่แสดงสมรรถภาพในการจัดการลูกหนี้ทั้งในด้านการให้สินเชื่อและการเรียกเก็บเงิน
 ถ้าอัตราส่วนที่ได้ตํ่ากว่าระยะเวลาที่กำหนดให้ลูกหนี้ชำระเงิน ก็แสดงว่าสมรรถภาพในการจัดการลูกหนี้ดี แต่ถ้าเป็นไปในทางตรงข้าม ก็แสดงว่าการพิจารณาการให้เครดิตหรือการเรียกเก็บเงินบกพร่อง
10.อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร
 คำนวณจากการหารยอดขายสุทธิด้วยสินทรัพย์ถาวรสุทธิ
 อัตราส่วนนี้ช่วยให้ฝ่ายจัดการทราบว่า การจัดสรรเงินลงทุนไปในการจัดซื้อสินทรัพย์ถาวรนั้น ได้ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์เหล่านั้นอย่างคุ้มค่าหรือไม่
 การที่ธุรกิจมีอัตราการหมุนเวียนตํ่า อาจหมายถึงการไม่ได้ใช้สินทรัพย์ถาวรที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ
11.อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ดำเนินการ
 คำนวณได้โดยหารค่าขายสุทธิด้วยสินทรัพย์ดำเนินการสุทธิ
 อัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นถึงสมรรถภาพในการจัดสรรเงินลงทุนไปในสินทรัพย์ประจำและสินทรัพย์เดินสะพัดที่ใช้ในการดำเนินการอันก่อให้เกิดรายได้
 ถ้าอัตราตํ่าก็แสดงว่าได้ใช้สินทรัพย์เกินความต้องการซึ่งเป็นการลงทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
12.อัตราส่วนกำไรเบื้องต้น (Gross Profit Margin)
 คืออัตราส่วนของยอดขายหักต้นทุนสินค้า ต่อยอดขายทั้งหมด
 เป็นการแสดงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับนโยบายการผลิตและการตั้งราคาสินค้า
13.อัตราส่วนผลตอบแทนจากการขาย (Net Profit Margin)
 คือ อัตราส่วนระหว่างกำไรสุทธิหลังหักภาษี ต่อยอดขาย
 แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการหากำไรของธุรกิจ หลังจากการหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ออกแล้ว
14.อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset)
 คือ อัตราส่วนกำไรสุทธิหลังหักภาษี ต่อสินทรัพย์ที่มีตัวตนโดยเฉลี่ย
 แสดงถึงประสิทธิภาพการใช้เงินลงทุนไปในสินทรัพย์ว่าได้ผลตอบแทนเท่าใด
 ถ้าอัตรานี้สูงแสดงว่าได้ใช้เงินทุนถูกต้อง ไม่เกิดการสิ้นเปลืองของเงินทุน
15.อัตราผลตอบแทนของส่วนของเจ้าของ (Return on Net Worth)
 คือ อัตราส่วนกำไรสุทธิหลังหักภาษี ต่อส่วนของเจ้าของโดยเฉลี่ย
 แสดงถึงผลตอบแทนจากการลงทุนของเจ้าของ
 อัตรานี้อย่างน้อยก็ควรสูงกว่าค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ในการนำเงินมาลงทุนในกิจการแทนที่จะลงทุนอย่างอื่น
การประเมินความสามารถระหว่างวิสาหกิจ
 การประเมินความสามารถระหว่างวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง หรือที่เรียกว่า Benchmarking จะทำให้ทราบว่า ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับใด เมื่อเทียบกับผู้อื่น เช่น เมื่อคำนวณอัตราส่วนทุนหมุนเวียน เท่ากับ 1.17 แต่เมือเทียบกับบริษัทคู่แข่งซึ่งได้ 1.3 แสดงว่าคู่แข่งมีสภาพคล่องสูงกว่า หรือหากค่ามาตราฐานเท่ากับ 1.0 แสดงว่าสภาพคล่องของบริษัทสูงเกินไป บริษัทควรนำเงินไปลงทุนเพิ่มเติมซึ่งจะให้ผลกำไรที่ดีกว่า เป็นต้น
(ค่ามาตรฐานได้มาจาก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)



Create Date : 12 กรกฎาคม 2553
Last Update : 12 กรกฎาคม 2553 17:28:35 น. 2 comments
Counter : 4862 Pageviews.

 
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
2552 = 42,121,949,169 / 98,583,191,177
= 0.43


2553 = 47,288,365,069 / 80,451,502,026
= 0.59 เท่า





อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว = เงินสดและเงินฝากธนาคาร + ลูกหนี้ + ตั๋วรับเงิน / หนี้สินหมุน เวียน

2552 = 7,445,516,395 + 15,828,787,561 /
98,583,191,177
= 0.24 เท่า


2553 = 14,299,680,924 + 15,307,562,527 /
80,451,502,026

= 0.39 เท่า

เราควรลงทุนเพิ่มหรือไม่ เพราะเหตุใด

ทุกท่านช่วยแสดงความคิดเห็นหน่อยนะค่ะ อย่างน้อยครึ่งหน้ากระดาษ ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ


โดย: อยากรู้ค่ะ IP: 222.123.94.177 วันที่: 16 กันยายน 2553 เวลา:11:08:25 น.  

 
1. อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) คืออัตราส่วนสินทรัพย์เดินสะพัดต่อหนี้สินเดินสะพัด ถ้าอัตราส่วนดังกล่าวมากกว่า 1 บริษัทจะมีสภาพคล่องสูงเพราะมีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้มากกว่าหนี้สินที่ต้องชำระ แต่ถ้าอัตราส่วนดังกล่าวสูงเกินไปอาจหมายถึงการจัดการที่ไม่ค่อยมีสิทธิภาพ เพราะบริษัทจะพลาดโอกาสในการลงทุนในสิ่งอื่นที่อาจก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าการลงทุนในสินทรัพย์เดินสะพัด

(ปี 2552 = .43 / 2553 = .59) แสดงว่า อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนต่ำกว่า 1 ขาดสภาพคล่อง มีปัญหาความมั่นคงในระบบการบริหาร

- สินทรัพย์หมุนเวียนนั้นรวมลูกหนี้ด้วย ซึ่งการตั้งหนี้ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน อาจเปิดปัญหาการวิเคราะห์มีสินทรัพย์หมุนเวียนสูงเกินจริง
- ควรดูค่าดัชนี Current Ratio ประกอบด้วย Quick Ratio ถ้า Current Ratio มีค่าสูงกว่า Quick Ratio มาก แสดงถึงการสะสมวัสดุคงคลังเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการบริหารจัดการทรัพยากร


2. อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Liquid Ratio) คืออัตราส่วนสินทรัพย์เดินสะพัด ยกเว้นสินค้าคงคลังต่อหนี้สินเดินสะพัด ตามปกติแล้วสินค้าคงคลังมีสภาพคล่องตัวน้อย หรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ช้า ดังนั้นอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว จึงเป็นการเปรียบเทียบสินทรัพย์เดินสะพัดที่สามารถจะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว อัตราส่วนนี้ค่ายิ่งมากก็แสดงว่าหน่วยงานนี้มีสภาพคล่องสูงโดยปกติอัตราส่วน 1-1.5 : 1 ถือว่าเหมาะสม

(2552 = 0.24 เท่า) (2553 = 0.39 เท่า) แสดงว่าขาดสภาพคล่ิอง
การประเมินสถานการณ์ต้องพิจารณาดัชนีชี้วัด อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) และ อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) ประกอบด้วย จึงจะสามารถวิเคราะห์ได้ครอบคลุมมากขึ้น ถ้าCurrent Ratio มีค่าสูงกว่าQuick Ratio มาก แสดงถึงการสะสมวัสดุคงคลังเป็นจำนวนมาก

การจะลงทุนเพิ่มหรือลดคงจะต้องดูหลายตัวประกอบกันคะ



โดย: อ.หน่อย (Benjawan_B ) วันที่: 21 กันยายน 2553 เวลา:11:25:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.