WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 

ฤดูร้อนใกล้จะมาถึง รถของคุณพร้อมลุยแล้วรึยัง

ในสภาพอากาศบ้านเราที่ร้อนอบอ้าวอย่างนี้
เครื่องยนต์รถของท่านจะต้องทำงานหนักมากขึ้นเกิดความร้อนสูงขึ้น
บางครั้งอาจทำให้เครื่องเกิดการ overheat ได้
ซึ่งอาจนำไปสู่การทำให้เครื่องยนต์เสียหาย
วันนี้ขอเสนอวิธีการดูแลรถและเตรียมตัวก่อนเข้าถึงฤดูร้อนที่ใกล้มาถึง
เพื่อที่จะไม่ต้องอารมณ์เสียเวลารถตายกลางทาง....

เรามาทำความรู้จัก
กับระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์กันก่อน ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกันคือ
ระบบบายความร้อนด้วยอากาศ และระบบระบายความร้อนด้วยน้ำหล่อเย็น
ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศเป็นระบบระบายความร้อนที่ใช้อยู่ในจักรยานยนต์
และในเครื่องยนต์เกษตร
การระบายความร้อนแบบนี้จะให้แรงลมภายนอกมาปะทะเข้ากับครับระบายความร้อนที่
ติดอยู่กับเสื้อสูบ ด้วยอากาศภายนอกที่ร้อนมากยิ่งขึ้น (30-40) องศา
ทำให้ระบบระบายแบบนี้มักมีปัญหามาก
ทำให้ปะเก็นต่างๆของเครื่องยนต์เสื่อมสภาพเร็ว
และอายุการใช้งานของเครื่องยนต์สั้นลง

การดูแลรักษาเครื่องยนต์ที่
ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ
น้ำมันเครื่องที่ใช้หล่อลื่นเครื่องยนต์ควรเป็นน้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์
100 % เพื่อการหล่อลื่นที่ดีและช่วยระบายความร้อนของเครื่องยนต์ได้ดี
ถ้าเครื่องยนต์มีพอร์ตที่สามารถติดตั้งชุดออยล์คูลเลอร์ควรที่จะทำการติด
ตั้งชุดออยล์เพิ่มเติมเพื่อการระบายความร้อนของน้ำมันเครื่อง
ช่วยให้เครื่องยนต์มีการระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น

ในส่วนของระบบ
ระบายความร้อนด้วยน้ำหล่อเย็น
เป็นระบบระบายความร้อนที่ใช้อยู่ในเครื่องยนต์ขนาดใหญ่
ซึ่งก็คือรถยนต์ทั่วไปก็ใช้ระบบระบายความร้อนในรูปแบบน้ำหล่อเย็นเช่นกัน
จุดเด่นของระบบนี้อยู่ที่มีการหมุนเวียนน้ำหล่อเย็นเข้าไปในส่วนต่างๆของ
เครื่องยนต์เพื่อลดความร้อน

ด้วยประสิทธิภาพการระบายความร้อนที่ดี
ของระบบระบายความร้อนแบบน้ำหล่อเย็นไปพัฒนาใช้กับรถจักรยานยนต์เพิ่มมากขึ้น

ซึ่งระบบนี้เป็นระบบราบายความร้อนที่มีชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ต้องทำงานร่วมกัน
อยู่หลายชิ่นส่วน คือ หม้อน้ำ, พัดลมระบายความร้อน, ปั๊มน้ำ, ท่อน้ำ
และวาล์วน้ำ ซึ่งแต่ละชิ้นส่วน มีการทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี
ฉะนั้นการดูแลรักษาระบบระบายความร้อนเครื่องยนต์แบบน้ำหล่อเย็นจึงต้องมีการ
ดูแลรักษาชิ้นส่วนอุปกรณ์ให้มีความสมบูรณ์ในทุกส่วน

สิ่งแรกที่ต้อง
ดูแลรักษาคือ หม้อน้ำ
จะติดตั้งอยู่กับเครื่องยนต์ทำหน้าที่ระบายความร้อนของน้ำหล่อเย็นที่ออกมา
จากเครื่องยนต์
ซึ่งการระบายความร้อนของน้ำหล่อเย็นด้วยพัดลมระบายความร้อนที่ติดตั้งอยู่
กับหม้อน้ำ
ทำการดูดอากาศเย็นจากด้านหน้ารถยนต์เข้ามาผ่านแผงรังผึ้งหม้อน้ำเพื่อให้น้ำ
หล่อเย็นมีอุณหภูมิลดลง
แล้งส่งน้ำหล่อเย็นกลับสู่เครื่องยนต์เพื่อระบายความร้อนเครื่องยนต์อีก
ครั้ง
การดูแลรักษาหม้อน้ำให้มีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนได้ดีควรมีการตรวจ
เช็คปริมาณน้ำในหม้อน้ำอย่างสม่ำเสมอ
ถ้าน้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำมีสนิมก็ควรที่จะทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อเย็น
ใหม่ เพื่อการระบายความร้อนที่ดียิ่งขึ้น (น้ำหล่อเย็นที่สนิมปนเปื้อน
จะให้การระบายความร้อนของเครื่องยนต์ไม่ดีพอ
เพราะผลสนิมจะเป็นสื่อนำความร้อนที่เพิ่มมากขึ้น
และยังจะทำให้รูน้ำภายในเครื่องยนต์เกิดการอุดตันได้)

การเปลี่ยน
ถ่ายน้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์ สามารถทำได้โดยการคลายน๊อตใต้หม้อน้ำ
ปล่อยน้ำหม้อน้ำทิ้ง
เติมน้ำเข้าสู่หม้อน้ำด้านบนให้เท่ากับปริมาณน้ำที่ออกจากหม้อน้ำแล้ทำ
การสตาร์ทเครื่องยนต์ให้เกิดน้ำหมุนเวียนไล่สนิมที่ตกค้างอยู่ภายในเครื่อง
ยนต์และหม้อน่ำออกจนหมด แล้วค่อยทำการปิดน๊อตด้านล่างหม้อน้ำให้แน่น
ทำการเติมน้ำหล่อเย็นใหม่ให้เต็ม
ทำการติดเครื่องยนต์อีกครั้งเพื่อไล่อากาศที่อยู่ในระบบออกให้หมด
ทำการเติมน้ำให้เต็มอีกครั้งก็เป็นอันเสร็จสิ้นการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อ
เย็น สำหรับรถที่มีหม้อพักน้ำเย็นก็ควรที่จะทำการล้างหม้อพักน้ำเย็นด้วย
ภายนอกของหม้อน้ำก็ควรทำความสะอาดเช่นกันโดย
ทำการล้างน้ำฉีดแผงรังผึ้งหม้อน้ำให้สะอาด
เพื่อล้างฝุ่นหรือสิ่งสกปรกที่มาเกาะอยู่แผงรังผึ้งเพื่อให้อากาศไหลเวียน
ได้ดี จะทำให้การระบายความร้อนทำได้ดียิ่งขึ้น
แต่การฉีดน้ำล้างแผงรังผึ้งไม่ควรฉีดน้ำแรงมากๆ
เพราะจะทำให้ครีบของแผงรังผึ้งบิดพับ อากาศจะไหลผ่านไม่สะดวก

สิ่ง
ที่สองคือ พัดลมระบายความร้อนเครื่องยนต์
พัดลมระบายความร้อนที่ใช้จะเป็นระบบดูด
โดยดูดอากาศจากภายนอกห้องเครื่องยนต์ผ่านแผงรังผึ้งเข้ามาเป่าระบายความร้อน
ของเครื่องยนต์ มีอยู่ 2 แบบคือ พัดลมไฟฟ้า และพัดลมใช้กำลังเครื่องยนต์
ซึ่งแบบไฟฟ้านั้นเป็นการระบายความร้อนที่รับการควบคุมการทำงานด้วยชุด
เซ็นเซอร์ตรวจจับความร้อน เมื่อเครื่องยนต์มีค่าความร้อน 80-90 องศา
ระบบเซ็นเซอร์จะสั่งการให้พัดลมระบายความร้อนทำงาน
ซึ่งแตกต่างกับพัดลมแบบใช้กำลังเครื่องยนต์
ที่มีการทำงานอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เครื่องยนต์สตาร์ท จนเครื่องดับ
การดูแลรักษาควรมีการตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพัดลมไฟฟ้า
มีการหมุนในความเร็วรอบที่น้อยลง
หรือแรงลมระบายความร้อนเบากว่าเดิมก็ควรเปลี่ยนพัดลมใหม่
ส่วนการดูแลพัดลมที่ใช้กำลังจากเครื่องยนต์
ควรมีการตรวจเช็คความหนืดของใบพัด
ถ้ามีการหนืดน้อยควรจะเติมซิลิโคนเข้าไปในชุดปั้มพัดลมเพิ่ม
(การเติมซิลิโคนไม่ควรเติมมากเพราะจะทำให้พัดลมมีการดูดอากาศเข้าสู่เครื่อง
ยนต์ในปริมาณที่มากทำให้เกิดเสียงดัง
และยังทำให้รถมีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น

สิ่งที่สาม คือ
ชุดปั้มน้ำ และวาล์วน้ำ
ด้วยระบบระบายความร้อนเครื่องยนต์ต้องมีการหมุนเวียนน้ำหล่อเย็นไปยังส่วน
ต่างๆของเครื่องยนต์
และส่งน้ำหล่อเย็นเข้าไปยังหม้อน้ำเพื่อระบายความร้อนของน้ำหล่อเย็นแล้วส่ง
กลับมาเข้าสู่เครื่องยนต์อีกครั้ง เพื่อทำการระบายความร้อนของเครื่องยนต์
สิ่งที่ทำหน้าที่เหมือนประตูปิดเปิดให้ปริมาณน้ำหล่อเย็นเข้าสู่เครื่องคือ
ชุดวาล์วน้ำ เมื่อเครื่องยนต์มีค่าความร้อนน้อย
วาล์วก็จะปิดให้น้ำหล่อเย็นไหลผ่านในปริมาณน้อย
เพื่อรักษาอุณหภูมิของเครื่องยนต์ให้มีการเผาไหม้ที่ดี
ถ้าเครื่องยนต์มีค่าความร้อนสูง
ชุดวาล์วน้ำก็จะทำการเปิดให้น้ำหล่อเย็นไหลเข้าสู่เครื่องยนต์ในปริมาณมากๆ
เพื่อการระบายความร้อนที่ดียิ่งขึ้น
การดูแลรักษาชุดวาล์วน้ำควรทำการเปลี่ยนปีละ 1 ครั้ง
เพื่อป้องกันปัญหาของอาการวาล์วน้ำตาย
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำควบคู่ไปกับการทำงานของชุดวาล์วน้ำ นั้นคือชุดปั๊มน้ำ
จะทำหน้าที่ปั้มน้ำที่ได้รับการระบายความร้อนจากหม้อน้ำเข้าสู่เครื่องยนต์

และผลักดันไล่น้ำหล่อเย็นที่มีค่าความร้อนสูงกลับเข้าไปสู่หม้อเพื่อทำการ
ระบายความร้อนด้วยหม้อน้ำอีกครั้ง การชำรุดเสียหายของชุดปั๊มน้ำมักเกิดจาก
อายุการใช้งานที่ยาวนาน ทำให้ชุดซีลต่างๆ เกิดการฉีกขาดหรือสึกกร่อน
ทำให้เกิด การรั่วซึมของชุดปั๊มน้ำ
การดูแลรักษาควรทำการเปลี่ยนชุดปั๊มน้ำใหม่
เพื่อให้ปั๊มน้ำเข้าสู่เครื่องยนต์ได้ดียิ่งขึ้น
(สำหรับท่านที่มีทุนทรัพย์น้อยต้องการ ซ่อมปั๊มน้ำ ไม่ขอแนะนำครับ
ไม่คุ้มกับค่าเงินที่เสียไป ใช้ได้ประมาณ 3 เดือนก็รั่วซึมอีกครับ)

สำหรับ
สิ่งสุดท้าย คือ สายพานและท่อยาง
ด้วยการทำงานของชุดปั๊มน้ำหล่อเย็นมีการทำงานด้วยการรับแรงฉุดของเครื่อง
ยนต์ที่ส่งผ่านสายพานมายังชุดปั๊มน้ำเพื่อทำการปั๊มน้ำส่งน้ำหล่อเย็นเข้าไป
ยังส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ เพื่อระบายความร้อนของเครื่องยนต์
ฉะนั้นการดูแลรักษา ควรทำการปรับตั้งสายพานให้ตึง
เพื่อการส่งถ่ายกำลังเครื่องยนต์ไปยังชุดปั๊มน้ำได้ดียิ่งขึ้น
ถ้าสายพานมีรอยแตกร้าวฉีกขาด ก็ควรที่จะเปลี่ยนสายพานใหม่ทันที
และนอกจากสายพานที่ต้องให้การดูแลแล้วยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ
เช่นกันคือ ชุดท่อยาง ด้วยระบบระบายความร้อนเครื่องยนต์มีชุดท่อยางต่างๆมาก
การดูแลรักษาชุดท่อยางควรที่จะตรวจท่อยางต่างๆว่ามีรอยแตกร้าวหรือไม่
ถ้ามีควรที่จะทำการเปลี่ยน และตรวจเช็คเข็มขัดรัดท่อยางหให้แน่นทุกจุด

เพียง
ท่านดูแลรักษาระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ได้ครบทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมา
ก็จะทำให้ท่านขับขี่รถยนต์ท่องเที่ยวไปได้อย่างสบายใจ
ไม่มีปัญหาเรื่องความร้อนอย่างแน่นอนครับ




 

Create Date : 27 มิถุนายน 2553    
Last Update : 27 มิถุนายน 2553 21:44:07 น.
Counter : 159 Pageviews.  

การสตาร์ทรถสำคัญไฉน แล้วถ้าทำไม่ถูกวิธีจะเป็นอย่างไร

เมื่อคราวก่อนเราได้พูดถึง
การดูแลรักษารถขั้นพื้นฐานกันไปแล้ว
คราวนี้ก่อนทุกท่านจะขับรถก็ต้องมาสตาร์ทรถกันก่อน
แล้วสตาร์ทรถต้องมีวิธีด้วยเหรอ เป็นคำถามที่ดูธรรมดาแต่ไม่ธรรมดาครับ
เพราะว่าเป็นความปลอดภัยขั้นแรกก่อนที่ท่านจะนำรถแล่นสู่ท้องถนนเลยทีเดียว
แล้วเราจะต้องดูอะไรบ้าง ก่อนอื่นเลยท่านจะต้องแน่ใจด้วยว่า
เกียร์จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ว่าง และเบรกมือจะต้องถูกดึงขึ้นด้วย
เกิดท่านหลงเกียร์แล้วสตาร์ท (สำหรับเกียร์ธรรมดา)
รถของท่านจะวิ่งไปชนคันหน้าที่จอดอยู่ หรือไม่ก็ชนผนังบ้านได้
ถ้ายังไม่แน่ใจสำหรับผู้ขับขี่มือใหม่
ควรเหยียบคลัตช์ไว้ด้วยเพื่อป้องกันรถออกตัว และจะปลอดภัยมากขึ้นด้วย

ก่อนจะสตาร์รถท่านเคยสังเกตหรือไม่ว่าจะมี
ตัวอักษรสี่ตัวอยู่รอบๆสวิตช์กุญแจ ซึ่งมีอยู่
4 ตำแหน่ง
คือ
Lock (Lock), A.C.C.(เอซีซี), On (ออน), และ Start (สตาร์ท) ส่วนแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่หรือสำคัญอย่างไร
ผมจะพูดถึงตำแหน่งของมันนะครับ จะเริ่มกันที่ตำแหน่งแรก คือ

ตำแหน่งล็อค (Lock) เป็นตำแหน่งที่เสียบ
รูกุญแจไปในตอนแรก ในต่ำแหน่งนี้
พวงมาลัยจะถูกล็อคและจะหมุนไปซ้ายขวาไม่ได้
ก็ให้บิดกุญแจหมุนไปยังตำแหน่งที่
2 คือ เอ.ซี.ซี.
สำหรับรถใหม่นั้น กุญแจจะหมุนไปตำแหน่งที่สอง
แล้วลองขยับพวงมาลัยรถหมุนไปมาเบาๆ จะทำให้ลูกกุญแจหมุนปลดล็อคได้ง่ายขึ้น




สำหรับตำแหน่ง เอ.ซี.ซี.
นั้นเป็นตำแหน่งที่สวิตช์กุญแจปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาหล่อเลี้ยงวงจรอำนวยความ
สะดวกบางวงจร เช่น วิทยุ-เทป พัดลม ไฟหรี่ เป็นต้น
ถ้าท่านสังเกตเวลาเราถอดกุญแจรถแล้วจะรู้สึกว่ากุญแจร้อน
เวลาดับเครื่องสวิตช์ก็จะบิดมาอยู่ที่ตำแหน่งนี้เช่นกัน ตำแหน่งที่ 3
เป็นตำแหน่ง ออน
(ON) ในตำแหน่งนี้
เมื่อเราปิดสวิตช์ไปในตำแหน่งที่ 2
ที่ตำแหน่งนี้สวิตช์จะปล่อยกระแสไฟฟ้าพร้อมที่จะหล่อเลี้ยงระบบไฟฟ้าต่างๆ
ยกเว้นระบบสตาร์ทอย่างเดียว และตำแหน่งนี้แหละครับ
ขณะที่เครื่องยนต์ติดเครื่องหรือวิ่งอยู่
ลูกกุญแจจะอยู่ในตำแหน่งนี้ตลอดเวลา




สำหรับตำแหน่งสุดท้าย
คือตำแหน่งที่เราจะพูดคุยกันในตอนนี้แหละครับ
สำหรับการสตาร์ทเครื่องยนต์ครั้งแรกในหน้าฝนและหน้าหนาวนั้น
จะทำให้เครื่องติดยาก ดีไม่ดีไฟหมดหม้อแบตเตอรี่
เห็นจะต้องรบกวนสมาชิกของบ้านช่วยเข็น
ด้วยเหตุนี้การสตาร์ทในตอนเช้าอากาศหนาวๆนั้น
การจะดึงโช้กสำหรับรถที่ใช้มือ และถ้าโช้กมือเสียก็แก้ไข
โดยก่อนจะสตาร์ทให้เหยียบคันเร่งแรงๆ 2 ถึง 4 ครั้ง
แต่สำหรับรถยนต์ที่ใช้โช้กอัตโนมัติ ก็ไม่มีอะไรยุ่งยากในการสตาร์ท
ให้สตาร์ทได้เลย




วิธีการสตาร์ทกระทำได้ไม่ยาก
เพียงบิดลูกกุญแจไปยังตำแหน่งสตาร์ท หรือตำแหน่งขวาสุด
จะได้ยินเสียงไดร์สตาร์ทขับล้อช่วยแรงของเครื่องยนต์หมุนดัง แช้ดๆ
พร้อมกันนี้ให้ท่านใช้เท้าขวาเหยียบคันเร่งเบาๆ แล้วเครื่องยนต์จะติด
เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วให้ท่านปล่อยมือจากลูกกุญแจ
ลูกกุญแจจะบิดกลับมาอยู่ในตำแหน่ง
(ON) โดยอัตโนมัติ




เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว
อย่างเร่งเครื่องหรือเบิลเครื่องแรงๆเพราะในการติดเครื่องครั้งแรกนั้น
น้ำมันหล่อลื่นชิ้นส่วนทางตอนบนมีน้อยไม่เพียงพอ อันได้แก่ กระเดื่อง
กดลิ้น เพลากระเดื่องกดลิ้น สิ้นไอดีไอเสียหรือเพลาลูกเบี้ยว
สำหรับเครื่องยนต์แบบโอเวอร์เฮดแคมชาฟต์เป็นเครื่องยนต์ที่มีเพลาลูก
เบี้ยวอยู่บนฝาสูบ จะทำให้ชิ้นส่วนเหล่านี้สึกหรอ เพราะเมื่อจอดทิ้งไว้
น้ำมันจะไหลหยดลงก้นอ่าง น้ำมันเครื่องหมด
เมื่อเร่งเครื่องทันทีทันใดอย่างรวดเร็ว ขณะขาดน้ำมันหล่อลื่น
จะทำให้เหล็กเสียดสีกัน การสึกหรอจึงมีสูง อายุการใช้งานจึงสั้น
ฉะนั้นเมื่อติดเครื่องแล้ว ก็อย่าเร่งนะครับ
ปล่อยให้เครื่องยนต์ติดในตำแหน่งเดินเบาของมันไปเรื่อยๆ ประมาณ 3-5 นาที  และในการสตาร์ทอย่าสตาร์ทติดต่อกันนานเกิน 15 วินาที
จะทำให้ไดชาร์ตและแบตเตอรืเสื่อมสภาพเร็ว




ในกรณีเครื่องเย็นและจอดรถไว้ไม่ได้ใช้
มาหลายวัน ก่อนจะสตาร์ทเครื่องยนต์ ให้เหยียบคันเร่งให้สุดแล้วปล่อยประมาณ
2-3 ครั้ง จะทำให้ส่วนผสมของไอดีหนาขึ้น แล้วจึงสตาร์ทเครื่องยนต์
แต่ไม่ต้องเหยียบคันเร่งแล้ว เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว ประมาณ 30 วินาที
ให้ย้ำคันเร่ง 1-2 ครั้ง เพื่อให้เครื่องยนต์กลับมาสู่รอบเดินเบาปรกติ
สังเกตได้จากแผงหน้าคอนโซลหน้ารถ ถ้าไฟอุณหภูมิดับ หรือ เข็มอุณหภูมิ
อยู่กึ่งกลาง แสดงว่าเครื่องสามารถออกรถได้




ถ้าเครื่องยนต์ยังอุ่นอยู่
ให้เหยียบคันเร่งเพียงครึ่งเดียวแล้วบิดกุญแจสตาร์ท
แต่ถ้าเครื่องยนต์ยังร้อนอยู่แต่สตาร์ทรถไม่ติด อาจเป็นเพราะน้ำมันท่วม
ให้เหยียบคันเร่งสุดประมาณ 15-20 วินาที
ขณะที่เหยียบคันเร่งสุดบิดกุญแจสตาร์ทประมาณ 20-30 วินาทีติดต่อกัน
เพื่อกำจัดเชื้อเพลิงส่วนเกินที่เข้าไปในห้องเผาไหม้
แต่ถ้าเครื่องยนต์ยังไม่ติดอีก ให้รอสักครู่แล้วลองอีกที
แต่อย่าย้ำคันเร่งเพียงแต่เหยียบคันเร่งให้สุดค้างไว้ก็พอ




เทคนิคเล็กน้อยๆ
แบบนี้ก็สามารถช่วยให้คุณสามารถรักษาเครื่องยนต์และระบบภายในเครื่องยนต์ให้
อยุ่ในสภาพที่ดีได้ยืนยาว อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเบื้องต้น
ทำให้ไม่ต้องเสียเวลา เสียเงินไปเรียกช่างมาด้วยครับ
ไว้คราวหน้าจะมาพูดต่อในเรื่อง การเตรียมรถยนต์เข้าสู่ฤดูร้อนครับ




 





 

Create Date : 27 มิถุนายน 2553    
Last Update : 27 มิถุนายน 2553 21:41:34 น.
Counter : 267 Pageviews.  

การดูแลรักษารถประจำวัน

สำหรับผู้ใช้รถทุกท่าน
การดูแลรักษาเครื่องยนต์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการยืดอายุการใช้งาน
รถของคุณ ปรกติเราต้องตรวจตราดูแลรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ
อาจจะสัปดาห์ละครั้งสำหรับการดูแลอย่างละเอียด
แต่ถ้าเป็นไปได้ถ้าเราหมั่นดูแลรถของเราทุกวันก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
ในปัจจุบันถึงแม้จะมีศูนย์ให้บริการดูแลรักษารถตามสถานที่ต่างๆ
ตรวจเช็คระยะตลอดทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
แต่คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่ารถของคุณนั้นจะไม่เกิดปัญหาระหว่างทาง
ทางที่ดีที่สุดคือความไม่ประมาท ควรจะหมั่นตรวจสอบอยู่เป็นระยะๆ
เมื่อเกิดปัญหาจะได้ไม่บานปลายจนต้องเสียเงินไปอีกหลายพันจนถึงเป็นหมื่นๆ
บาท การดูแลรักษารถยนต์นั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่ยุ่งยากและเสียเวลามากเลย
เรามีข้อควรปฏิบัติอย่างง่ายสำหรับการดูแลรักษารถยนต์ประจำวันของคุณมานำ
เสนอครับ

ประการที่1
ที่จะต้องตรวจก็คือ ลมยาง ตรวจง่ายๆ
ด้วยสายตาว่ามันแฟบอ่อนหรือเปล่า ดูทุกเส้นนะครับ
เพระถ้าลมยางของแต่ละล้อไม่เท่ากันจะมีผลต่อการทรงตัวของรถ ทำให้เบรกปัด,
วิ่งส่าย, รถแถไปด้านหนึ่ง เป็นที่มาของการเกิดอุบัติเหตุด้วย
อาจจะทำให้อายุของยางสั้นลง จึงต้องควักกระเป๋าก่อนถึงเวลาอันควรด้วยนะครับ
เพราะฉะนั้น ถ้าพบว่าแรงดันลมไม่เท่ากันต้องตรวจเติมให้เรียบร้อย

ประการ
ที่2
ที่ต้องตรวจนั้นคือ ตรวจดูรอยหยดรั่วของน้ำและน้ำมันต่างๆใต้ท้องรถ
ซึ่งก้มดูด้วยสายตาทำได้ง่ายๆครับ ถ้าพบว่ารั่วที่ล้อและเป็นน้ำมันเบรก
จะต้องงดใช้งาน รีบปรึกษาช่าง
และเมื่อตรวจพบว่าน้ำระบายความร้อนรั่วหยดให้หาที่มาของการรั่ว
ถ้าเป็นข้อต่อก็ไขควงกวดอัดให้แน่น และถ้าพบรอยรั่วของน้ำมันเครื่อง
น้ำมันเกียร์หรือน้ำมันเฟืองท้ายก็อย่างนิ่งนอนใจ
เมื่อมีเวลาจะต้องนำไปปรึกษาช่างเพื่อทำให้รอยรั่วนั้นๆหมดไป
ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อกลไกดังกล่าวของรถยนต์นะครับ

คราวนี้มาดู
ห้องเครื่องกันบ้างครับคือเครื่องยนต์และอุปกรณ์ในห้องเครื่องยนต์

ประการ
ที่3
คือการดูแลน้ำระบายความร้อน วิธีดูก็ไม่ได้ยุ่งยากเลยนะครับ
เพียงตรวจโดยการเปิดฝาหม้อน้ำออก
ถ้าพบว่าน้ำพร่องน้อยลงไปก็ใช้น้ำสะอาดเติมลงไปให้เต็ม
สำหรับรถบางคันนะครับ
ลองสังเกตุดูว่าถ้ามีขวดพลาสติกที่เก็บน้ำอยู่และมีท่อเล็กๆต่อไปถึงหม้อน้ำ
ก็ไม่ต้องเปิดฝาหม้อน้ำนะครับ ให้ดูระดับน้ำที่ขวดเก็บน้ำสำรองแทน
ถ้าน้ำยังอยู่ในระดับที่กำหนดก็ไม่ต้องเติม
แต่ถ้าต่ำก็ให้เปิดฝาขวดเก็บน้ำสำรอง แล้วเติมน้ำสะอาดให้เต็มนะครับ
เรื่องดูแลน้ำระบายความร้อนอย่าละเลย
เพราะจะทำให้เครื่องยนต์ของท่านเสื่อมสภาพเร็วได้นะครับ

ประการที่4
ดูแล
ตรวจเติมระดับน้ำมันเครื่องนะครับ
เพราะถ้าน้ำมันเครื่องพร่องหรือแห้งจะทำให้เกิดการสึกหรอภายในเครื่องยนต์
วิธีตรวจระดับน้ำมันเครื่องก็ไม่ยุ่งยากอะไรเลย
เพียงแต่ดึงเหล็กวัดออกมาเช็ดทำความสะอาดแล้วใส่กดลงไปยังตำแหน่งของมันให้
สุดจากนั้น ดึงออกมาตรงๆในแนวดิ่ง
ระดับน้ำมันจะสักเกตได้จากรอยคราบน้ำมันที่เกาะอยู่ปลายเหล็กวัด
น้ำมันจะต้องอยู่ระหว่างกลางขีดที่มีอักษร L (Low) และ F (Full) ถ้าต่ำจาก L
ก็ให้เติมให้อยู่ในระดับเท่าเดิม และไม่ควรเติมจนเกินอักษร F
เพราะจะทำให้ควันขาวจากน้ำมันเครื่องเข้ามาห้องเผาไหม้
และซคลเพลาข้อเหวี่ยงรั่วนะครับ ซึ่งก็ไม่เป็นผลดีต่อเครื่องยนต์เลย

ประการ
ที่5
การตรวจเติมน้ำมันเบรกในกระบอกเก็บน้ำมันเบรกที่แม่ปั้มเบรก
ถ้ามีระดับสูงก้ไม่ต้องเติมนะครับแต่พ้าพร่องต่ำกว่าขีดที่กำหนดให้เติมจน
ได้ระดับที่ถูกต้อง การเติมน้ำมันเบรกมีข้อควรระวังก็คือ
อย่าให้น้ำมันเบรกหกราดโดนสีรถจำทำให้สีเสียหาย และถ้าหก ห้ามเช็ดนะครับ
ให้ใช้น้ำราดให้เจือจาง
เพราะจะทำให้สีเสียหายเป็นแผลทางยาวไปตลอดแนวที่เช็ด สำหรับน้ำมันเบรกนั้น
ถ้าพร่องมากๆทุกวัน จะต้องรีบนำรถไปปรึกษาช่างนะครับ "เพราะเบรกคือชีวิต"
มีชีวิตของใครบ้างหรือครับ ก็ชีวิตของท่าน
และผู้ที่โดยสารมากับท่านรวมถึงผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนกับท่านด้วย

ประการ
สุดท้าย
การบำรุงรักษาประจำวัน
คือกระบอกคลัตช์น้ำมันจะต้องมีการตรวจเติมน้ำมันให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง
กระบอกดังกล่าวอยู่ข้างๆกระบอกน้ำมันเบรกและน้ำมันที่เติมก็คือน้ำมันเบรก
นั่นแหละ อย่าละเลยครับ เพราะถ้าน้ำมันหมดจะเข้าเกียร์ไม่ได้
นั่นคือรถวิ่งไม่ได้นั่นเอง

เพียงท่านเสียสละเวลาเพียง 15
นาทีต่อวัน หมั่นดูแลรักษาสภาพเพียงเท่านี้
รถของท่านก็จะอยู่ไปกับเราได้อีกนานครับ
และคราวหน้าผมจะมาพูดถึงเรื่อง
ข้อควรปฏิบัติก่อนการสตาร์รถยนต์ครับ




 

Create Date : 27 มิถุนายน 2553    
Last Update : 27 มิถุนายน 2553 21:38:47 น.
Counter : 206 Pageviews.  

การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ เบื้องต้น

1. เมื่อเริ่มจะใช้งานนั้น
ควรอุ่นเครื่องก่อนทุกครั้ง

เพราะการใช้งานทันทีทันใด ในขณะที่น้ำมันเครื่องยังไม่ได้หล่อลื่น

ไปทั่วห้องเครื่องนั้น อาจทำให้ลูกสูบติด หัก หรืองอได้



2. ในตอนออกสตาร์ทใหม่ ๆ อย่าเร่งเครื่องทันที

เพราะการเร่งเครื่องทันทีนั้น

อาจทำให้ ผู้ขับเกิดอาการอ่อนเพลีย ขับได้ไม่นาน

อาการตอบสนองของเครื่องจะไม่ดี

เครื่องกระตุก นอกจากนั้น เครื่องอาจหงุดหงิด
เกิดอาการสำลักน้ำมันได้ง่าย

และการเดินทางจะไม่ถึงที่หมาย



3. ในขณะติดไฟแดงนั้น ไม่ควรใช้งาน แม้ในทางทฤษฎีแล้ว
เครื่องบางเครื่อง

อาจเป็นช่วงเหมาะสม ที่จะนำไปใช้งาน แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ไม่ควรใช้งาน เนื่องจากเครื่องอาจเกิดปัญหา
ผุกร่อน

คราบเขม่า น้ำมันจารบี อีกทั้งยังอาจผลเสียต่อสุขภาพของผู้ขับขี่

และเครื่องเช่นกัน ในจังหวะไฟเขียว ก็ควรจะดูรอบเครื่องและอุณหภูมิด้วย


อย่าสุ่มสี่สุ่มห้า ใช้ไม่บันยะบันยัง อาจเกิดปัญหาอื่นตามมาได้

โดยเฉพาะในกรณีท่านที่ขับรถสปอร์ต ยืมเขามาขับ
หรือลักลอบขับยิ่งอันตรายมาก

สำหรับผู้ขับที่ยังไม่ได้มีรถส่วนตัวอย่างแท้จริง
ส่วนท่านที่ใช้รถครอบครัว

กรณีนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ตกลงกันได้เสมอ



4. สำหรับรถและเครื่องที่มีอายุการใช้งานมานาน การขับขี่อาจนุ่มนวล

แต่รู้สึกว่าการตอบสนองไม่เร้าใจ เนื่องจากเกิดความคุ้นชิน

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ท่านอาจเปลี่ยนแปลงวิธีขับ เช่น

รู้จักเข้าโค้งอย่างนุ่มนวล หรือในทางตรงกันข้าม เข้าโค้งรุนแรง
ขับถอยหลัง

ขับออกด้านข้าง ขับขึ้นเขา ขับลงเขา ขับๆ หยุด ๆ

ซึ่งจะเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ขับเกิดความตื่นเต้น

และเครื่องยนต์ก็จะตอบสนองดีขึ้น

หากท่านใช้วิธีขับแบบเดิม ทื่อๆ ไป ไม่มีความเร้าใจ

เครื่องและรถก็อาจอยากได้คนขับใหม่ด้วยเช่นกัน

อย่าได้คิดว่าเปลี่ยนรถจะง่ายกว่าฝ่ายเดียวนะ



5. สำหรับมือใหม่หัดขับนั้น หากได้รถยังไม่พ้น รัน-อิน ยิ่งควรทะนุถนอม


เพราะการขับอย่างรุนแรงตะกรุมตะกรามนั้น
อาจทำให้เครื่องยนต์เกิดความเข็ด

และไม่ให้ความร่วมมือในการเดินทางครั้งต่อไป

เนื่องจากอาจเกิดภาวะความเสียหายของห้องเครื่องได้ง่าย
ควรค่อยเป็นค่อยไป

เมื่อใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง จึงควรเปลี่ยนแปลงวิธีการขับ
เป็นขับโลดโผน

เสี่ยงตาย ขับควงสว่าน ขับลงน้ำ ขับกลางสายฝน ขับหงายท้อง

ก็แล้วแต่จะดัดแปลง



6. สำหรับผู้ใช้รถเก่า เมื่ออายุการใช้งานนานพอสมควร

หรืออายุเครื่องถึงสามสิบปี ควรนำเข้าศูนย์เช็คช่วงล่าง
และกันชนหน้าเสมอ

เพราะอาจเกิดสภาวะการผุกร่อน หรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

ขอให้นำเข้าตรวจสภาพเป็นประจำ เพื่อยืดอายุการใช้งาน รักรถ
ต้องหมั่นตรวจ

โปรดจำไว้..ส่วนการจะนำไปโอเว่อร์ฮอล หรือไม่นั้น แล้วแต่จะตกลงกัน

ในความเป็นจริงผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เรื่องนี้สำคัญที่ใจ
และฝีมือคนขับด้วย

ไม่ใช่โทษแต่เครื่องยนต์อย่างเดียว



7. ระหว่างการขับขี่ ไม่ว่ารถมีอายุการใช้งานอย่างใด ข้อควรระวังก็คือ

ห้ามบ่นอย่างเด็ดขาด ว่าเครื่องไม่ฟิตเหมือนเดิม
หรือว่ากำลังแรงม้าลดลง

ขับไม่ตื่นเต้น หรือชมว่า คันนู้น คันนี้ น่านั่งน่าขับ

เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตได้ หรืออย่างเบาะ ๆ
อาจเสียทรัพย์สิน

อุบัติเหตุในเรื่องดังกล่าว มีอัตราชายไทยเสียชีวิตสูงมาก

สังเกตุได้จากหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์รายวัน



8. เทคนิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการขับขี่ : การใช้งานอย่างราบรื่นนั้น

อาจต้องหมั่นเปลี่ยนบรรยากาศการขับ เปลี่ยนสถานที่ขับขี่
(อย่าเปลี่ยนคัน

..อันตรายมาก เตือนแล้ว!!) สำหรับท่านที่ใช้รถครอบครัว

ให้ดูแลลูกเต้าให้หลับเป็นที่เป็นทางให้เรียบร้อย

เพราะการขับขี่อาจหยุดชะงักลงได้ เนื่องจากเจอปัญหาเด็กข้ามตัดหน้า

เด็กเปิดประตูระหว่างขับ ไม่ข้ามทางม้าลาย จนต้องอุทาน “ลูกใครหว่า?”
เขิน

เป็นที่สุด..อ้อ..ไม่ควรสูบบุหรี่ก่อน หรือระหว่างขับ

เนื่องจากกลิ่นบุหรี่จะทำให้รถเกิดความสกปรก เครื่องยนต์ตอบสนองไม่ดี

แปรงฟันเสียด้วย หากกินข้าวกินปลาเสร็จใหม่ๆ พักสักแป๊บก็ดี
เดี๋ยวจุกแย่

ผู้ขับมือใหม่ หากตื่นเต้น ระหว่างขับ ให้ชลอความเร็ว ลดรอบเครื่องยนต์


คิดเรื่องอื่น ๆ สูดหายใจยาว ๆ จะทำให้เกิดการผ่อนคลาย

และเดินทางได้นานขึ้น



9. ความรู้ทางด้านช่างเบื้องต้น: ระวังรักษา ท่อไอดี และไอเสีย

และท่อเติมน้ำมัน ให้ทำงานดีเสมอ การใช้งานอย่างสับสน ผิดท่อผิดทางนั้น


อาจเกิดความตื่นเต้นในการขับขี่เป็นครั้งคราว แต่ทั้งนี้

อาจเกิดผลเสียแก่เครื่องยนต์ในระยะยาว รักษาความสะอาด
ทั้งหัวจ่ายน้ำมัน

และท่อต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หมั่นตรวจเครื่องยนต์และอื่น ๆ

ชมได้

ห้ามติ โดยเฉพาะ กันชนเล็กไป นุ่มไป เหลวไป หย่อนไป เครื่องหลวม

เครื่องสั่น

ไม่ฟิต เร่งไม่แรง แซงไม่พ้น

โปรดพึงสังวรว่าเกิดจากการใช้งานอย่างไม่ถูกวิธีของท่าน

หาใช่เกิดจากผู้ผลิต



10. ความปลอดภัย และวินัยจราจร: เมาไม่ขับ เนื่องจาก หากเมามากเกินไป

แม้มีความเชื่อว่า จะทำให้ขับได้นาน ทรหดก็ตาม แต่ก็จะสูญเสียทัศนวิศัย


และความสามารถในการตอบสนองอื่น ๆ อาจเกิดการผิดที่ผิดทาง

ลืมคาดเข็มขัดนิรภัย

ขับผิดคัน ล้วนแต่เป็นเหตุแห่งความเสี่ยง ต่อชีวิตทั้งสิ้น



หมายเหตุ: สำหรับท่านที่ได้จ่ายเงินดาวน์มาเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว

ได้จัดพิธีฉลองต่าง ๆ ในการได้รถมาใช้หลายปี

และได้จ่ายเงินสดแก่ผู้ผลิตแล้วก็ตาม หากยังมีข้อสงสัยว่า

ทำไมเงินผ่อนต่องวดของท่าน ยังคงไม่หมด และดูเหมือนจะสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ


นั้น

อย่าได้สงสัยเลย ก้มหน้าก้มตาทำงานไปเถิด

อย่าคิดมาก..มันเป็นกรรมของสัตว์โลก..ให้คิดเสียว่า ได้รถคู่ใจ
ขับขี่รู้ใจ

คล่องแคล่ว เบื่อบ้าง เซ็งบ้าง ก็ให้คิดความดีหนหลัง

ตอนที่เห็นรถในโชว์รูมใหม่ๆ จำความตื่นเต้น ในครั้งนั้นไว้

คิดถึงตอนได้มาเป็นเจ้าของ และโปรดจำไว้ ในสมัยปัจจุบัน มีโปรโมชั่น

ทดลองขับ

ในรถรุ่นใหม่ๆ ก็ตาม

อย่าเผลอตัวไป..อันตราย..คันเก่าเอาตาย...เราเตือนท่านแล้ว





 

Create Date : 27 มิถุนายน 2553    
Last Update : 27 มิถุนายน 2553 21:35:33 น.
Counter : 186 Pageviews.  

การดูแลสีรถยนต์

คุณทราบหรือไม่ว่า
สิ่งของ 4 ชิ้นที่จะนำพาคุณกลับบ้านได้อย่างปลอดภัยคืออะไร ใช่แล้วคำตอบคือ
ยางรถยนต์นั่นเอง ด้วยทุกเวลาที่คนที่คุณรักอยู่บนรถนั้น
คุณจำเป็นต้องมั่นใจว่ายางอยู่ในรูปทรงที่ดี
และการรักษาที่เหมาะสมก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การขับขี่เป็นไปอย่าง
ปลอดภัย วิธีต่อไปนี้เป็นวิธีที่จะดูแลยางของคุณให้อยู่ในลักษณะที่ดี







































ขั้นตอนที่ 1 -
การทำให้ยางมีความสมดุลย์กัน











การทำให้ยางมีความสมดุลย์กัน
เพื่อมั่นใจว่าการหมุนทำได้อย่างถูกต้อง
(ไม่สนุกนะกับการนั่งบนรถที่เหมือนอยู่บนหลังปลาวาฬ!)
ล้อรถของคุณติดตุ้มถ่วงล้อลงบนยางรถหรือไม่
น้ำหนักของตุ้มนี้เหล่านี้จะทำให้ยางมีหน้าสัมผัสเท่ากัน
ถ้าพบว่ามันสั่นละก็ อาจต้องรีบไปตั้งศูนย์ ถ่วงล้อ
หรือนำรถส่งช่างเพื่อตรวจเช็ค







































ขั้นตอนที่ 2 -
มั่นใจว่าล้ออยู่ในสภาวะสมดุลย์












การปรับให้สมดุลย์ของล้อทั้ง4ให้อยู่ในระดับเดียวกันเป็นตัวหลักในการช่วย
ให้คุณมั่นใจว่ารถคุณได้มีการตรวจสอบสภาพ และรถสามารถวิ่งได้อย่างราบรื่น
มันช่วยให้ยางทำงานเข้ากันได้ดี และสร้างสมดุลย์ให้กับรถยนต์
ถ้ารถที่คุณใช้เป็นแบบ 4 ล้ออิสระจากกัน จะต้องมีการปรับตั้งทุกล้อ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งล้อคู่หน้า
การปรับตั้งสมดุลย์เป็นตัวหลักในการกำหนดอายุของยาง
และทำใหการทำงานของรถยนต์ประสานกันได้ดี
หากคุณต้องขับรถผ่านภูเขาอัลปาลาเชี่ยน (หรือบนถนนที่ขรุขระ)
คุณต้องการที่จะตรวจยางปีละสองครั้ง
เมื่อไหร่ก็ตามที่ดอกยางของล้อไม่สม่ำเสมอ
หรือขับรถแล้วไม่ตรงทางมีการกินเลนส์ด้านซ้ายหรือขวา
แสดงว่าถึงเวลาที่ควรจะตรวจสอบยางได้แล้ว







































ขั้นตอนที่ 3 - สลับยาง











ขั้นตอนนี้ต้องทำบ่อยกว่าขั้นตอนอื่นอยู่สักหน่อย
เพื่อที่จะให้ยางอยู่ในรูปทรงที่ดีนานที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
บริษัทยางส่วนใหญ่จะบอกให้ทำการสลับยางทุกๆ 10,000 กม. โดยประมาณ
สำหรับรถที่ไม่ได้ขับบ่อยๆ หรือรถขับเคลื่อนล้อหน้า
เราแนะนำว่าควรสลับยางทุกๆ 15,000 กม. เป็นอย่างน้อย
ควรตระหนักอยู่เสมอว่ายางประเภทต่างๆใช้ระยะเวลาในการสลับยางต่างกัน
ควรดูจากคู่มือรถประกอบ





 

Create Date : 27 มิถุนายน 2553    
Last Update : 27 มิถุนายน 2553 21:32:56 น.
Counter : 246 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.