WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 

สนิมรถยนต์

สนิมกับเหล็ก นั้นเป็นของคู่กัน ไม่ว่าจะแข็งแรงทนทานแค่ไหนก็ตาม
แต่ถ้าเป็นสนิมแล้ว
ก็แค่เศษเหล็กดีๆ นี่เอง โดยเฉพาะกับ รถยนต์
ซึ่งมีส่วนประกอบที่ทำจากเหล็กเกือบทั้งคันเสี่ยงต่อการเกิดสนิมอย่างมาก
และยิ่งต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตก น้ำท่วม
ซึ่งเป็นตัวการในการเกิดปฏิกิริยาผุกร่อน
คือปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะกับสิ่งแวดล้อม



เพราะสนิมเกิดขึ้นจากออกซิเจนในอากาศ รวมตัวกับเหล็กและน้ำ
จะเป็นตัวประสาน
ช่วยทำให้ออกซิเจนกับเหล็กรวมตัวกันง่ายขึ้น ดังนั้น
ในที่ที่มีความชื้นหรือเปียก
เหล็กจึงเป็นสนิมได้ง่าย แค่จุดสนิมเล็กๆ นิดเดียว
แต่ใช้เวลาไม่นานในการผุกร่อน
และสามารถทำลายรถยนต์คันโปรด ให้หมด สภาพก่อนเวลาอันควร
จุดที่มักเกิดสนิมได้ง่าย
เช่น บริเวณบังโคลน ซุ้มล้อ ท้องรถ
ตัวถังด้านล่างและจุดเชื่อมต่อต่างๆ



1. ทาสี ทาน้ำมัน การรมดำ และการเคลือบพลาสติก
เป็นการป้องกันการถูกกับออกซิเจนและความชื้น
ซึ่งเป็นการป้องกัน
การเกิดสนิมของโลหะได้และเป็นวิธีที่สะดวกและให้ผลดีในการป้องกันสนิม


2. โลหะบางชนิดมีสมบัติพิเศษ
กล่าวคือเมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจะเกิดเป็นออกไซด์ของโลหะเคลือบอยู่บน
ผิวของโลหะนั้น
และไม่เกิดการผุกร่อนอีกต่อไป โลหะที่มีสมบัติดังกล่าวได้แก่
อลูมิเนียม
ดีบุก และสังกะสี การชุบหรือเคลือบโครเมียม

3.
การป้องกันการผุกร่อนของโลหะในระบบหล่อเย็นแบบปิดเพื่อรักษาอุณหภูมิของ
เครื่องยนต์ไม่ให้สูงเกินไป
ถ้าเครื่องยนต์ มีส่วนประกอบของอลูมิเนียม
ออกซิเจนที่ผสมอยู่ในน้ำของสารหล่อเย็นจะทำปฏิกิริยากับอลูมิเนียม
ทำให้เกิดฟิล์ม อลูมิเนียมออกไซด์ ซึ่งป้องกันการเกิดสนิม
แต่ถ้าเครื่องยนต์ที่มีส่วนประกอบเป็นเหล็ก
ถ้าสัมผัสกับน้ำจะทำให้เกิดสนิม จะต้อง
เติมสารประกอบไนไตรต์-โบแรกซ์ เพื่อยับยั้งการผุ
กร่อน


แต่การพ่น
หรือชุบสีเคลือบเพื่อป้องกันการเกิดสนิมเราอาจต้องใช้ช่างผู้ชำนาญการ
เป็นผู้ทำให้ แต่การนำรถเข้า อู่ซ่อมรถ แต่ละครั้งนั้น
อาจจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก
ฉะนั้นขั้นตอนการผลิต และส่วนประกอบต่างๆ ของรถยนต์
ก็เป็นส่วนหนึ่งของการ
พิจารณา ในการเลือกซื้อรถยนต์ ยิ่งในปัจจุบันนี้
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ล้ำหน้า
มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการในด้านของระบบเครื่องยนต์ ระบบความ
ปลอดภัย
หรือแม้กระทั่งการป้องกันการเกิดสนิมก็พัฒนาตามไปด้วยเช่นกัน
อาทิเช่น เทคนิคการป้องกันการเกิดการผุกร่อนที่เรียกว่า
อิเล็คโทรไลซิส คือ
ขบวนการผลิตสารสังกะสีบริสุทธิ์ซึมถึงเนื้อแท้ของวัสดุ
การทำให้สังกะสีหมดความชื้น และพ่นสารฟอสเฟต เสมือนเป็นเกราะ
ป้องกันรถยนต์จากสนิมได้เป็นอย่างดี
ทำให้คลายกังวล ไปได้ส่วนหนึ่ง แต่เหนือสิ่งอื่นใด
ควรหมั่นตรวจสอบดูแล เอาใจใส่รักษารถยนต์อยู่เสมอ
รถยนต์ก็จะอยู่กับเราไปนานๆ ครับ




 

Create Date : 27 มิถุนายน 2553    
Last Update : 27 มิถุนายน 2553 20:35:29 น.
Counter : 257 Pageviews.  

การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องจำเป็นอย่างไร

นำมันเครื่องมีหน้าที่หล่อลื่นเครื่องยนต์โดยจะเคลือบ
และสร้างฟิลม์คั่นระหว่างชิ้นส่วนเพื่อป้องกันการเสียดสีของโลหะ
ระบายความร้อน
และรักษาความสะอาด สิ่งที่เกิดจากการเสียดสี
และเผาไหม้ภายในเครื่องยนต์,
ทำหน้าที่เป็นซีลกั้นระหว่าง ผนัง กระบอกสูบและลูกสูบ
น้ำมันเครื่อง เมื่อใช้ไปนานพอสมควร จะเสื่อมสภาพ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชั่วโมงการทำงานของเครื่องยนต์
และสภาพการจราจร สาเหตุสำคัญที่ทำให้ น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพ
จึงเนื่องมาจาก
เศษโลหะเล็กๆ ที่เกิดจากการเสียดสีของชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์
ซึ่งจะผสมกับน้ำมันเครื่องและเป็นตัวการสำคัญที่
ทำให้เครื่องยนต์เกิดการ สึกหรอ
ฝุ่นละอองในอากาศ ที่สามารถผ่านไส้กรอง อากาศ เข้ามาในกระบอกสูบ
น้ำ เนื่องจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจะทำให้ได้ไอน้ำ
เมื่อเครื่องยนต์มีอุณหภูมิต่ำไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ
ไหลลง ห้องเครื่องเข้าไปผสม กับน้ำมันเครื่อง
ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพ



ควันและเขม่า
ที่เกิดจากการเผาไหม้ของนำ้มันเชื้อเพลิงแล้วเล็ดลอดผ่านแหวนลูกสูบเข้าไป
ผสมกับน้ำมันเครื่อง
เกิดเป็น ตะกอนสกปรก
กรด
ที่เกิดจากการเผาไหม้ของกำมะถันที่ปนอยู่ในเชื้อเพลิงเมื่อรวมตัวกับน้ำจะ
กลายเป็นกรด
คอยกัดกร่อนชิ้นส่วนโลหะ ภายใน เครื่องยนต์
น้ำมันเครื่องที่เสื่อมสภาพ หากท่านยังใช้งานต่อไป
จะเกิดความเสียหายต่อเครื่องยนต์
ทำให้เครื่องยนต์ สึกหรอ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครื่อง จะมาก
กว่าค่าเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องอย่างแน่นอน
ดังนั้น จึงควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เมื่อถึงกำหนด ????
สถาบันผู้กำหนดมาตรฐานคุณภาพนำ้มันหล่อลื่นแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
(American
Petrolium Institute, API)
ได้แบ่งคุณภาพน้ำมันหล่อลื่นตามทำเนียบไว้ โดยมาตรฐาน
API สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ตั้งแต่ SA, SB, SC,…. SG และ เกรด SJ
ในปัจุบัน
ซึ่งได้แก่น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ และสังเคราะห์ 100 %
คุณภาพน้ำมันเครื่องได้ถูกพัฒนา
ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์รุ่นใหม่ เช่นเครื่องยนต์ มัลติวาล์ว,
ติดเทอร์โบ
และสำหรับรถที่ติดตั้ง CAT
จากการทดสอบของ สถาบันวิจัย และเทคโนโลยี่การปิโตรเลียมประเทศไทย
(ส่วนวิเคราะห์เชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
ซึ่งมีสถานที่ตั้งอยู่ที่วงัน้อย อยุธยา
ซึ่งได้ทำการทดสอบคุณสมบัติน้ำมันหล่อลื่น
จากสภาพการใช้งานขับขี่ในการจราจรที่ติดขัด และบนถนนสายหลัก
สลับกันไป และทำการตรวจสอบ
สภาพน้ำมัน ทุกระยะ 2500 กม. ด้วย เครื่องมือที่ทันสมัย
ได้ข้อสรุปว่าน้ำมันหล่อลื่นมาตรฐานปานกลางที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน
จะยังมีสภาพใช้งานได้ดี ระหว่างระยะทาง 7000 – 15000 กม.
ทั้งนี้ขึ้นกับชั่วโมงการทำงานของเครื่องยนต์
,สภาพการจราจร และ อุณหภูมิอากาศขณะขับขี่ โดยคุณสมบัติ
น้ำมันจะลดลง และหมดสภาพ
ตั้งแต่ระยะทาง 15800 – 18300 กม.
ในการใช้งานปัจจุบัน ผู้ใช้รถจะเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
โดยเฉลี่ยที่ระยะทาง
ประมาณ 5000 กม. สำหรับน้ำมันเครื่องคุณภาพปานกลาง
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว
จึงอยู่ที่ความพร้อม และการตัดสินใจของคุณ
ในการเลือกเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
เมื่อใดครับ ….




 

Create Date : 27 มิถุนายน 2553    
Last Update : 27 มิถุนายน 2553 20:26:43 น.
Counter : 227 Pageviews.  

เครื่องสะดุดหลังการอัดฉีด

การล้างทำความสะอาดในห้องเครื่องยนต์
โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยกับรถยนต์ประเภทที่ใช้ระบบควบคุมการจ่ายน้ำมัน
เชื้อเพลิงด้วยระบบหัวฉีด
หรือกับรถที่มีระบบอิเล็กทรอนิกส์สูง
ในความจำเป็นของการล้างอัดฉีดทำความสะอาดในห้องเครื่องยนต์นั้น
ถ้าพูดถึงแล้วแทบจะไม่มีความจำเป็นเอาเสียเลย

สำหรับรถยนต์สมัยใหม่ที่ได้ถูกพัฒนาปรับปรุงในการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจาก
ระบบคาร์บูเรเตอร์เปลี่ยนมาใช้ระบบหัวฉีดหรือระบบอิเล็กทอนิกส์ทำหน้าที่ควบ
คุมการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแทนเพราะการทำงานของระบบหัวฉีดจะอาศัยแรงดันจาก
ปั๊มหัวฉีดเชื้อเพลิงผ่านตรงท่อไอดี
ดังนั้น โอกาสที่หัวฉีดจะอุดตันหรือสกปรกคงจะเป็นไปได้ยากมาก
แต่ก็ไม่ได้หมายความ
ว่าจะไม่มีวันอุดตันเอาเสียเลย
ยกเว้นว่าจะเสื่อมหรือเสียหายจากอายุการใช้งานเท่านั้น

ซึ่งท่านสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเองโดยดูลักษณะการกระจายเป็นฝอยของน้ำมัน
ขณะฉีด
ตรวจสอบไม่มีการรั่วซึมหรือมีน้ำมันเกาะเป็นหยดที่ปลายหัวฉีด
และตรวจเช็คปริมาณการฉีดของน้ำมันแต่ละตัวว่าเท่ากันหรือไม่
ถ้าพบว่ามันผิดปกติถึงจะทำการล้างหรือแก้ไข
หลังจากล้างและแก้ไขเรียบร้อยแล้วก็ควรต้องมีการตรวจสอบลักษณะการฉีดและ
ปริมาณการจ่ายน้ำมันอีกครั้งเพื่อความแน่ใจ




ในทำนองเดียวกัน
การล้างทำความสะอาดห้องเครื่องยนต์ก็ไม่ได้หมายถึงแค่เฉพาะส่วน
ของบริเวณหัวฉีดเพียงอย่างเดียว ยังรวมถึงบริเวณส่วนต่างๆ
ภายในห้องเครื่องยนต์ด้วย
ที่ส่วนใหญ่มักเกิดปัญหาหลังการล้างอัดฉีด
ก็คือความรูู้เท่าไม่ถึงการณ์ของบรรดาเจ้าหน้าที่ปั๊ม
ที่นำเครื่องฉีดน้ำที่มีแรงดันน้ำสูงๆ
ชนิดฉีดไปตรงไหนเศษดินหลุดตรงนั้น
และยิ่งถ้าเป็นรถยนต์ที่สภาพเก่าๆ แล้ว
รับรองได้ว่าต้องมีชิ้นส่วนตรงไหนสักแห่งลอยกระเด็นหลุดออกมาให้เชยชมหรือ
กระเด็นหายลอยไปตามกระแสน้ำได้เหมือนกัน
นอกจากชิ้นส่วนจะกระเด็นออกมาแล้ว ตามจุดซีลต่างๆ
ปลั๊กสายไฟ ขั้วสายจานจ่าย
สายหัวเทียน ฯลฯ จะมีน้ำเข้าไปแอบซ่อนอยู่ตามรูตามซอก
ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการลัดวงจรขึ้นได้
และถ้ายิ่งมีน้ำขังไว้นานๆ ขั้วสายไฟต่างๆ
อาจจะเป็นสนิมได้ และสิ่งเหล่านี้นี่เองที่ทำให้เกิดอาการเครื่องสะดุด
และทำให้เกิดควันดำได้เหมือนกัน
ดังนั้นเมื่อเครื่องยนต์เกิดอาการสะดุดหรือดับ
ควรตรวจสอบที่จุดสายไฟแรงสูง เช่น สายคล้องจุดระเบิด
สายหัวเทียน
ถ้ามีน้ำเกาะหรือไหลเข้าไปที่ขั้วภายในก็ใช้ผ้าแห้ง เช็ดทำ
ความสะอาดที่จานจ่าย
หรือถ้ามีน้ำยาไล่ความชื้นก็นำมาฉีดบาง ๆ
ที่จานจ่ายและบนตัวเรือน
แต่ห้ามใช้น้ำยาฉีดเข้าไปภายในจานจ่าย
เพราะจะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในชำรุดได้




ในส่วนของขั้วปลั๊กที่สำคัญ เช่น ปลั๊กแอร์โฟลมิเตอร์(MASS AIR FLOW
SENSER)
ซึ่งเป็นตัวเซ็นเซอร์วัดปริมาณอากาศที่ติดอยู่ใกล้ๆ กับที่กรองอากาศ
และปลั๊กของแคร้งเองเกิล
(CRANCK ANGLE SENSER -จานจ่าย )
ปลั๊กของเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น
(WATER TEMP SENSER ) และสวิทซ์ลิ้นปีกผีเสื้อ (THROTTLE POSITION
SENSER SW.
) ควรตรวจสอบว่ามีน้ำเข้าอยู่ภายในหรือไม่ โดยการถอดปลั๊กออก
สังเกตน้ำที่ขังอยู่ภาย
ในถ้ามีให้ใช้ลมเป่าออกให้แห้ง แล้วใช้น้ำยาไล่ความชื้นฉีดไล่อีกที
จากนั้นก็นำมาประกอบกลับเข้าที่เดิม
แล้วจึงสตาร์ทเครื่องยนต์อย่าพยายามสตาร์ทเครื่องยนต์
ถ้าได้กระทำตามขั้นตอนหรือเป่าลมตามจุดสำคัญ
เพราะจะทำให้แบตเตอรี่หมดไฟ

การล้างห้องเครื่องยนต์ที่ควรกระทำได้คือการใช้น้ำที่ปล่อยไหลออกจากสายยาง
เองพร้อม
ผ้าหรือฟองน้ำนุ่ม ๆ เช็ดทำความสะอาดเฉพาะจุดที่สกปรกมากๆ เท่านั้น
และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการราดน้ำไปบนชิ้นส่วนที่สำคัญต่างๆ
จากนั้นจึงใช้ผ้าเช็ดออกให้แห้งและสตาร์ทเครื่อง ยนต์
ปล่อยให้เครื่องร้อนไล่น้ำและความชื้นที่หลงเหลือออกไป
เท่านี้ก็สามารถล้างชำระทำ
ความสะอาดเครื่องยนต์ของคุณให้สะอาดและใหม่อยู่เสมอ

ซึ่งคุณสามารถปฏิบัติได้ด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องไปเสียค่าใช้จ่ายในการ
อัดฉีดจากปั๊ม
ซึ่งจะเกิดผลเสียให้กับรถยนต์ของท่านโดยไม่รู้สาเหตุเป็นได้




 

Create Date : 27 มิถุนายน 2553    
Last Update : 27 มิถุนายน 2553 12:25:16 น.
Counter : 178 Pageviews.  

ตารางการบำรุงรักษารถตามระยะเวลา








































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































ตาราง
การบำรุงรักษารถตามระยะเวลา / ระยะทาง

1. เครื่องยนต์

ทุกๆ
ระยะทาง / เวลา
  ตรวจสอบ
ระดับน้ำมันหล่อลื่น
ทุกครั้งที่
เข้าปั๊มเติมน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือสับดาห์ละครั้ง
  เปลี่ยน
น้ำมันหล่อลื่น
3,000 -
5,000 กิโลเมตร
(1 ปี)
  เปลี่ยน
กรองน้ำมันหล่อลื่น
ทุก
ครั้งที่เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น
  ตรวจสอบระยะ
ช่องว่างของวาล์ว
ถ้าไม่เหมาะสม ก็ตั้งวาล์วใหม่
20,000
กิโลเมตร (1 ปี)
     
2. ระบบจุด
ระเบิด

 
  ตั้งระยะ
หน้าทองขาว
และเขี้ยวหัวเทียน
10,000
กิโลเมตร (6
เดือน)
  เปลี่ยนชุด
ทองขาว
และคอนเดนเซอร์
20,000
กิโลเมตร (1
ปี)
  เปลี่ยนหัว
เทียน
20,000
กิโลเมตร (1
ปี)
  ตรวจสอบสาย
หัวเทียน
20,000
กิโลเมตร (1
ปี)
  เปลี่ยนสาย
หัวเทียน
60,000
กิโลเมตร (3
ปี)
  ตรวจสอบฝา
ครอบจานจ่าย
และหัวนักกระจอก (หัวโรเตอร์)
20,000
กิโลเมตร (1 ปี)
  ปรับไทม์
มิ่งจุดระเบิด
ทุกครั้งที่
ตั้งระยะหน้าทองขาว
     
3. แบตเตอรี่

 
  ตรวจสอบ
ระดับของเหลวในแบตเตอรี่
ทุกสัปดาห์
  ทำความสะอาด
ขั้วแบตเตอรี่
1,500
กิโลเมตร (1
เดือน)
     
4. ระบบหล่อ
เย็น

 
  ตรวจสอบ
ระดับน้ำหล่อเย็น
ทุกสัปดาห์
  ตรวจสอบสภาพ
ท่อน้ำหล่อเย็น
1,500
กิโลเมตร (1
เดือน)
  ตรวจสอบฝา
หม้อน้ำ
1,500
กิโลเมตร (1
เดือน)
  ตรวจสอบ
สายพาน และปรับความตึง
5,000
กิโลเมตร (3
เดือน)
  เปลี่ยน
สายพาน
40,000
กิโลเมตร (2
ปี)
  เปลี่ยนน้ำ
หล่อเย็น
20,000
กิโลเมตร (1
ปี)
  ล้างหม้อน้ำ 20,000
กิโลเมตร (1
ปี)
     
5. ระบบเชื้อ
เพลิง

 
  ทำความสะอาด
กรองอากาศ
5,000
กิโลเมตร (3
เดือน)
  เปลี่ยนกรอง
อากาศ
20,000
กิโลเมตร (1
ปี)
  เปลี่ยนกรอง
น้ำมันเชื้อเพลิง
40,000
กิโลเมตร (2
ปี)
  ล้าง
และทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์
40,000
กิโลเมตร (2
ปี)
  ตรวจสอบ
วาล์ว พีซีวี
20,000
กิโลเมตร (1
ปี)
     
6. เครื่องปรับ
อากาศ
 
  ทำความสะอาด
คอยล์ร้อน
5,000
กิโลมตร (3
เดือน)
  ตรวจสอบรอย
รั่วที่ข้อต่อ
5,000
กิโลมตร (3
เดือน)
  ตรวจสอบ
ปริมาณน้ำยาทำความเย็น
5,000
กิโลมตร (3
เดือน)
  ตรวจสอบ
และปรับสายพานแอร์
1,500
กิโลเมตร (1
เดือน)
  เปลี่ยน
สายพานแอร์
40,000
กิโลเมตร (2
ปี)
  เปิดเครื่อง
ปรับอากาศ
ให้ทำงาน 3-4 นาที
สัปดาห์ละ
ครั้ง ถึงแม้จะเป็นฤดูหนาว
     
7. ระบบถ่ายทอด
กำลัง
 
  เปลี่ยน
น้ำมันเกียร์
30,000
กิโลเมตร (1
1/2 ปี)
  เปลี่ยน
น้ำมันเฟืองท้าย
20,000
กิโลเมตร (2
ปี)
  อัดจาระบี
ลูกปืน
เพลากลาง
5,000
กิโลเมตร (3
เดือน)
  เปลี่ยน
จาระบีลูกปืนล้อ
20,000
กิโลเมตร (1
ปี)
  ตรวจสอบ
ระยะฟรีของแป้นคลัตช์
10,000
กิโลเมตร (6
เดือน)
  ตรวจสอบ
น้ำมันคลัตช์
(ถ้าเป็นระบบไฮดรอลิก)
5,000
กิโลเมตร (3 เดือน)
  ตรวจสอบ
ระดับ น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
10,000
กิโลเมตร (6
เดือน)
  เปลี่ยน
น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
40,000
กิโลเมตร (2
ปี)
     
8. ระบบเบรค  
  ตรวจสอบ
ระดับน้ำมันเบรค
1,500
กิโลเมตร (1
เดือน)
  ตรวจสอบสภาพ
เบรค
10,000
กิโลเมตร (6
เดือน)
  ปรับเบรคมือ ตามความจำ
เป็น
     
9. ระบบบังคับ
เลี้ยวเพาเวอร์
 
  ตรวจสอบ
ระดับน้ำมันในปั้ม
5,000
กิโลเมตร (3
เดือน)
  ตรวจสอบความ
ตึงของสายพานขับปั้ม
1,500
กิโลเมตร (1
เดือน)
  เปลี่ยนสาย
พานขับปั้ม
40,000
กิโลเมตร (2
ปี)
     
10. ยาง  
  ตรวจสภาพการ
สึกของยาง
1,500
กิโลเมตร (1
เดือน)
  สับเปลี่ยน
ตำแหน่งของยาง
10,000
กิโลเมตร (6
เดือน)
  ตรวจสอบความ
ดันลมในยาง
2 สัปดาห์
  ตรวจ
ความลึกของดอกยาง
10,000

กิโลเมตร (6 เดือน)
  ทำความสะอาด
ยาง
ตามความจำ
เป็น
     
11. อุปกรณ์ปัด
น้ำฝน
 
  ตรวตสอบใบ
ปัดน้ำฝน
5,000
กิโลเมตร (3
เดือน)
  เปลี่ยนใบ
ปัดน้ำฝน
40,000
กิโลเมตร (2
ปี)
  ตรวจสอบการ
ทำงานของหัวฉีด
5,000
กิโลเมตร (3
เดือน)
  หล่อลื่นข้อ
ต่อต่างๆ
10,000
กิโลเมตร (6
เดือน)




 

Create Date : 27 มิถุนายน 2553    
Last Update : 27 มิถุนายน 2553 12:22:08 น.
Counter : 241 Pageviews.  

การล้างหม้อน้ำ

รถยนต์ที่มีสภาพปกติ น้ำในระบบหม้อน้ำและระบายความร้อนจะพร่องลงช้ามาก
ไม่จำเป็นต้องเปิดดูทุกวันก็ยังได้
แต่ก็ไม่ควรละเลยการตรวจระดับ และเติมไว้ตามกำหนด
ความสะอาดของน้ำที่หมุนเวียนอยู่ภายใน
มีผลต่อประสิทธิภาพการระบายความร้อน และการกัดกร่อน
ยิ่งน้ำสกปรกเท่าไร ก็ยิ่งระบายความร้อนได้ไม่ดี
และกัดกร่อนสิ่งที่น้ำหมุนเวียนผ่านได้ โดยเฉพาะตัวหม้อน้ำ



การล้างหม้อน้ำด้วยตัวเอง ไม่ใช่เรื่องยากโดยปฏิบัติดังนี้

1. หาถุงพลาสติกคลุมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ใกล้ ๆ หม้อน้ำ

2. แล้วมองหาปลั๊กถ่ายน้ำด้านล่างของตัวหม้อน้ำ คลายไว้เล็กน้อย

3. เปิดฝาหม้อน้ำเตรียมสายยางที่ต่อไว้กับก็อกประปา

4. ติดเครื่องยนต์ให้ทำงาน คลายหัวไล่น้ำออก

5.
เอาสายยางที่มีน้ำไหลแหย่ลงไปในช่องที่เปิดฝาหม้อน้ำออกให้มีน้ำหมุนเวียนใน
เครื่องยนต์อยู่ตลอดเวลา


6.
น้ำไหลเข้าจากท่อยางที่เสียบลงไปจากด้านบนหมุนเวียนและไหลออกที่ช่องด้าน
ล่าง
ทิ้งไว้สักพักจนน้ำเริ่มใส

7. ปิดปลั๊กอุดด้านล่าง ปิดน้ำที่สายยาง ดับเครื่องยนต์

8. เตรียมน้ำยาหล่อเย็น COOLANT
ที่เราไม่ได้หวังผลตามชื่อเท่าไหร่นัก
เพราะน้ำยานี้ไม่ได้ช่วยระบายความร้อน
แต่เป็นการเพิ่มจุดเดือดของน้ำ
และไม่หวังผลเรื่องการป้องกันสนิมกันมากกว่า
คลายปลั๊กไล่น้ำเล็กน้อย เพื่อให้น้ำลดระดับลงไปบ้าง
เติมน้ำยาหล่อเย็นลงไป
ถ้ายังเติมไม่พอ ก็ไล่น้ำทิ้งออกไปอีกเล็กน้อย
ไล่เติมจนได้สัดส่วนที่ข้างกระป๋องน้ำยาหล่อเย็นระบุไว้
เช่น 0.5 หรือ 1 กระป๋องต่อรถยนต์ 1 คัน ฯลฯ

9. ติดเครื่องยนต์ปล่อยให้ทำงานสักพัก เพื่อให้วาล์วน้ำเปิดจนสุด
มีการหมุนเวียนตามปกติ
เติมน้ำยาในหม้อน้ำและถังพักให้ได้ระดับ ปิดฝาเป็นอันเสร็จ



ส่วนรถยนต์ที่ใช้หม้อน้ำระบบปิด ไม่มีฝาหม้อน้ำ
ใช้เติมน้ำที่ถังพัก ก็ปฎิบัติคล้าย
ๆ กัน แต่ต้องหาหัวไล่ลมให้พบ โดยในขั้นตอนสุดท้าย
ต้องไล่ลมพิเศษออกจากระบบให้หมดที่หัวไล่ลมพิเศษนี้ด้วย





 

Create Date : 27 มิถุนายน 2553    
Last Update : 27 มิถุนายน 2553 12:14:49 น.
Counter : 170 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.