4 | | | ตำนานอาถรรพ์ อาชญากรโลกไม่ลืม ฆาตกรรมบันลือโลก ประวัติศาสตร์ทั่วมุมโลก | | |

Group Blog
 
All blogs
 
เยอรมันกับแนวคิดตัวตน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ บุรุษโลกตะลึง (ตอนที่ 3)

ฉนวนกาซาที่เป็นดินแดนเขตกันชน ระหว่างยิวกับปาเลสไตน์ เมื่อก่อนยิวต้องการขยายอำนาจจึงสร้างดินแดนกันชน ส่งคนยิว รุกล้ำ เขาไปตั้งถิ่นฐานในฉนวนกาซา แล้วทำกำแพงสูงเอาดื้อๆ ทีนี้พวกกลุ่มหัวรุนแรงติดอาวุธฮามาส เขาก็รู้สึกถูกรังแก และเบียดบังพื้นที่ของเขาที่น้อยนิดอยู่แล้ว ที่ผ่านมา ยิวอาศัยที่มีอเมริกา และ EU หนุนหลัง แล้วรังแก เอารัดเอาเปรียบ และกดขี่ปาเลสไตน์เรื่อยมา เพราะคนปาเลสไตน์มีน้อยเดียว ไม่มีทางเทียบอะไรกับยิวได้เลย ก็เลยเกิดการโจมตียิวด้วยอาวุธบ้านๆ ทำเองระเบิดพลีชีพ มีการสู้แบบถวายหัว เหมือนเวียดกง สู้กับทหารอเมริกา ศักยภาพกลุ่มฮามาสนั้น เลื่องลือด้านระเบิดพลีชีพ โดยผูกระเบิดติดตัว แล้วขึ้นไปบนรถบัสที่ยิวหนาแน่น ในฝั่งดินแดนของยิว จากนั้นก็จุดระเบิดฆ่าตัวตาย พร้อมสังหารคนในรถบัสไปด้วย เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ ในฉนวนกาซา แต่ยิวก็ตอบโต้กลับด้วยสารพัด จรวด และเคร่ืองบินทิ้งระเบิด ที่เหนือกว่ามากๆ แบบเด็กกับผู้ใหญ่สู้กัน นับตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 57 เป็นต้นมา กระแสความรุนแรงจากการตอบโต้ระหว่างกันได้เริ่มต้นขึ้น ยิว อิสราเอล โดยการหนุนหลังของอเมริกา ยังคงโจมตีทางอากาศทั่วฉนวนกาซา ต่อเนื่องโดยมีเป้าหมายเป็นบ้านพักฝ่ายปฏิบัติการของพวกฮามาส ที่ยิสกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการยิงจรวดข้ามพรมแดน 





กองทัพยิวอิสราเอล อ้างว่ายังได้ถล่มที่ตั้งทา
งทหาร เครื่องยิงจรวดที่ปิดซ่อนเอาไว้ แล้วก็โจมตีจากทางทะเลอีก 3 ชุด ซึ่งสามารถทำลายศูนย์บัญชาการของพวกฮามาส ที่อำพรางอยู่ในอาคารพลเรือนแห่งหนึ่งได้ และใช้ระบบต่อต้านขีปนาวุธ “ไอรอน โดม” สกัดจรวด 40 ลูกของกลุ่มฮามาสเอาไว้ได้ จนถึงตอนนี้ยังไม่มีชาวอิสราเอลได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต คณะรัฐมนตรียิว อนุมัติให้อำนาจกองทัพระดมกำลังทหารกองหนุนเติมอีก 40,000 นาย โดยมีแผนการโจมตีภาคพื้นดินเพิ่มอีกด้วย สหรัฐฯ เริ่มแถยุแหย่ โดยประณามการยิงจรวดกลุ่มฮามาสว่า เป็นการกระทำที่มีเจตนาเล็งเป้าหมายไปที่พลเรือน (แต่ประหลาดที่อ้างว่ายิงมามากแต่ไม่มียิวใครเจ็บเลย) ส่วนสหภาพยุโรป ตำหนิการยิงจรวดกลุ่มฮามาส ออกมาจากกาซา...อเมริกาและ EU รุมฮามาสกันใหญ่

การถล่มทางอากาศของยิว ส่งผลทำให้ชาวปาเลสไตน์ เฉพาะแค่ 2 วันที่ผ่านมาคนปาเลสไตน์ ตายไปแล้วอย่างน้อย 40 ราย ในจำนวนนี้เป็นหญิง และเด็ก ที่ไร้ทางสู้เพียบ ทำให้นายมาห์มูด อับบาส ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ ขอร้องให้อิสราเอลยุติโจมตีทำร้ายคนอ่อนแอทันที พร้อมเรียกร้องให้ประชาคมโลกเข้าแทรกแซงสถานการณ์ เสถียรภาพ และความเสียหายที่มากขึ้นต่อภูมิภาคนี้ เขาเตรียมหารืออย่างเข้มข้นเพื่อดึงผู้นำชาติอาหรับอื่นๆ ให้เข้ามาแทรกแซงสถานการณ์ และกดดันอิสราเอลให้ยุติความรุนแรงโดยเร็ว

ขณะที่กลุ่มฮามาส ประณามปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลว่าเป็นอาชญากรสงครามที่น่าสยดสยอง และประกาศแก้แค้นชาวอิสราเอลทุกคน และตอบโต้ว่า จะขยายรัศมีการโจมตีออกไปอีก ถ้าอิสราเอลยังคงเดินหน้าก่อความรุนแรง จากนั้นจึงระดมยิงด้วยจรวดออกมาจากพื้นที่ที่ปกครองโดยพวกฮามาสอย่างดุเดือด ยิวอิสราเอล มีปัญหากลับกลุ่มติดอาวุธฮามาส แต่กลับโจมตีด้วยอาวุธร้ายแรงทางอากาศใส่บ้านพลเรือน ที่มีเด็กและผู้หญิงปาเลสไตน์ ยิ่งยั่วยุให้กลุ่มติดอาวุธฮามาส โกรธแค้น และแก้แค้นเอาคืนหนักเข้าไปอีก รัฐบาลอเมริกา ..ชักใยโดยคนยิว แต่ในตะวันออกกลาง อเมริกาชักใยยิว...เอากันเข้าไป สุดท้ายคนที่ตายก็คือเด็กและผู้หญิง

เมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ถูกปล่อยตัวจากเรือนจำนั้น การเมืองในเยอรมนีสงบลงและเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ซึ่งจำกัดโอกาสของฮิตเลอร์ในการปลุกระดมทางการเมือง ผลของกบฏโรงเบียร์ที่ล้มเหลว ทำให้ NSDAP และองค์การสืบเนื่องถูกกฎหมายห้ามในรัฐบาวาเรีย ในการประชุมกับนายกรัฐมนตรีบาวาเรีย ค.ศ. 1925 ฮิตเลอร์ตกลงที่จะเคารพอำนาจโดยชอบของรัฐ และเขาจะมุ่งแสวงหาอำนาจทางการเมือง เฉพาะผ่านกระบวนการประชาธิปไตยเท่านั้น นำไปสู่การยกเลิกการห้าม NSDAP แต่ฮิตเลอร์ยังถูกห้ามมิให้ปราศรัยต่อสาธารณะ ซึ่งยังมีผลไปจนถึง ค.ศ. 1927

ความทะเยอทะยานทางการเมือง แม้จะมีการสั่งห้ามนี้ ฮิตเลอร์แต่งตั้งนอมินีคนสนิท ให้จัดการและขยาย NSDAP ทางตอนเหนือของเยอรมนี ด้วยความเป็นผู้จัดที่ยอดเยี่ยม ฮิตเลอร์ปกครอง NSDAP โดยอัตโนมัติโดยอ้าง “หลักการผู้นำ" ตำแหน่งภายในพรรคไม่ถูกกำหนดโดยการเลือกตั้ง แต่จะถูกบรรจุผ่านการแต่งตั้งโดยผู้มีตำแหน่งสูงกว่า ซึ่งต้องการการเชื่อฟังโดยไม่มีการตั้งคำถามต่อประสงค์ของผู้นำ

ตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาตก เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1929 ผลกระทบในเยอรมนีนั้นเลวร้ายมาก หลายล้านคนตกงาน และธนาคารหลักหลายแห่งต้องปิดกิจการ ฮิตเลอร์และ NSDAP เตรียมฉวยโอกาสจากเหตุฉุกเฉินนี้ เพื่อเรียกเสียงสนับสนุนแก่พรรค พวกเขาสัญญาว่าจะบอกเลิกสนธิสัญญาแวร์ซาย เสริมสร้างเศรษฐกิจและจัดหางาน

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในเยอรมนี เป็นโอกาสทางการเมืองสำหรับฮิตเลอร์ ชาวเยอรมันลังเลต่อรัฐสภา ซึ่งเผชิญกับปัญหาคุกคามสำคัญจากทั้งพวกขวา และซ้ายจัดสุดโต่ง พรรคการเมืองสายกลาง ไม่สามารถหยุดยั้งกระแสแห่งลัทธิสุดโต่งเพิ่มขึ้นทุกที การเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 1930 ส่งผลให้รัฐบาลผสมชุดใหญ่ แตกหัก และแทนที่โดยคณะรัฐมนตรีข้างน้อย

นายกรัฐมนตรีแห่งพรรคสายกลาง ผู้นำคณะรัฐมนตรีชุดนั้น ปกครองโดยกฤษฎีกาฉุกเฉินจากประธานาธิบดี NSDAP เติบโตจากพรรคที่ไม่มีใครรู้จักและได้คะแนนเสียง 18.3% และ 107 ที่นั่งในรัฐสภาในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1930 กลายมาเป็นพรรคใหญ่ที่สุดอันดับสองในสภา ฮิตเลอร์ปรากฏกายครั้งสำคัญในการพิจารณาคดีของนายทหาร 2 นาย ในปี ค.ศ. 1930 ทั้งสองถูกตั้งข้อหาเป็นสมาชิก NSDAP ซึ่งขณะนั้น กฎหมายไม่อนุญาตให้กำลังพลเป็นสมาชิก ฮิตเลอร์มาให้การเป็นพยานในศาล ให้การว่า พรรคของเขาจะแสวงหาอำนาจทางการเมืองเฉพาะผ่านการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยเท่านั้น การให้การนั้นทำให้เขาได้รับการสนับสนุนมากในหมู่นายทหารในกองทัพ

มาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล ทำให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย และไม่เป็นที่นิยมอย่างยิ่ง ฮิตเลอร์ฉวยความอ่อนแอนี้โดยส่งข้อความทางการเมืองของเขา เจาะจงไปยังประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เช่น ชาวนา ทหารผ่านศึก และชนชั้นกลาง ฮิตเลอร์ สละสัญชาติออสเตรียของเขาอย่างเป็นทางการ แต่เขายังไม่ได้สัญชาติเยอรมัน เป็นเวลาเกือบ 7 ปีที่ฮิตเลอร์ไร้สัญชาติ ไม่สามารถเข้าชิงตำแหน่งทางการเมืองได้ และเสี่ยงต่อการถูกเนรเทศ จน ค.ศ. 1932 รัฐมนตรีมหาดไทยแห่งรัฐ ผู้เป็นสมาชิก NSDAP แต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นผู้บริหารตัวแทนของรัฐเมืองย่อยในเบอร์ลิน ทำให้ฮิตเลอร์เป็นพลเมืองนั้น และจึงเป็นพลเมืองเยอรมันอีกทอดหนึ่งเช่นกัน

ฮิตเลอร์ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี แข่งกับผู้ที่มีมีเสียงสนับสนุน เขาได้รับการสนับสนุนจากนักอุตสาหกรรม ที่ทรงอำนาจที่สุดของเยอรมนีหลายคน คู่แข่งขันเขาได้รับการสนับสนุนจากพรรคชาตินิยม กษัตริย์นิยม คาทอลิกและสาธารณรัฐนิยม ตลอดจนสังคมประชาธิปไตยบางพรรค ฮิตเลอร์ใช้คำขวัญระหว่างหาเสียงว่า “ฮิตเลอร์เหนือเยอรมนี” โดยเขามีความทะเยอทะยานทางการเมือง และการหาเสียงโดยเครื่องบิน ฮิตเลอร์มาเป็นอันดับ 2 ในการเลือกตั้งทั้ง 2 รอบ โดยได้เสียงมากกว่า 35% ในการเลือกตั้งครั้งสุดท้าย แม้จะพ่ายต่อคู่แข่งขัน การเลือกตั้งครั้งนี้ได้ทำให้ฮิตเลอร์เป็นกำลังสำคัญในการเมืองเยอรมนี

การขาดรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพทำให้นักการเมืองทรงอิทธิพลสองคน ตลอดจนนักอุตสาหกรรมและนักธุรกิจหลายคน เขียนจดหมายถึงประธานาธิบดี กระตุ้นให้แต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นหัวหน้ารัฐบาล "ซึ่งเป็นอิสระจากพรรคการเมืองในรัฐสภา" ซึ่งอาจแปรเปลี่ยนเป็นขบวนการซึ่งอาจ "สร้างความยินดีแก่ประชากรหลายล้านคน"

ประธานาธิบดี ตกลงแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างไม่เต็มใจ หลังการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปอีกสองครั้ง คือ ใน ค.ศ. 1932 ไม่มีพรรคใดจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก ฮิตเลอร์จะเป็นหัวหน้ารัฐบาลผสมช่วงสั้น ๆ นั่งเก้าอี้ 3 จาก 11 ตำแหน่ง ฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรี และผู้ใกล้ชิดเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ฮิตเลอร์ ดำเนินการต่อต้านความพยายามของคู่แข่งพรรค NSDAP ในการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก ฮิตเลอร์จึงขอประธานาธิบดีให้ยุบสภาอีกครั้ง และกำหนดการเลือกตั้งไว้ต้นเดือนมีนาคม วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933 อาคารรัฐสภาถูกวางเพลิง คนสนิทฮิตเลอร์กล่าวโทษว่า เป็นแผนการของคอมมิวนิสต์ เพราะถูกพบตัวในอาคารเพลิงกำลังลุกโหมอยู่นั้น ด้วยการกระตุ้นของฮิตเลอร์ ประธานาธิบดีตอบสนองโดยออกกฤษฎีกาเพลิงไหม้รัฐสภา 28 กุมภาพันธ์ ซึ่งยับยั้งสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมทั้งหมายสั่งให้ส่งตัวผู้ถูกคุมขังมาศาล กิจกรรมของพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมันถูกปราบปราม และสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ราว 4,000 คนถูกจับกุม จริงๆ แล้ว NSDAP นั่นเองที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังต่อการวางเพลิงนั้น

NSDAP ยังมีส่วนกับความรุนแรงกึ่งทหาร และการขยายการโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ การเลือกตั้ง มีนาคม ค.ศ. 1933 คะแนนเสียงของ NSDAP เพิ่มขึ้นเป็น 43.9% และพรรคได้รับที่นั่งมากที่สุดในรัฐสภา จำต้องร่วมรัฐบาลกับพรรคร่วม DNVP อีกหน มีการตั้งสภาใหม่ขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งการควบคุมทางการเมืองเต็มที่ โดยไม่ต้องกุมเสียงข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภา รัฐบาลของฮิตเลอร์นำรัฐบัญญัติมอบอำนาจ ขึ้นออกเสียงในรัฐสภาที่เพิ่งเลือกตั้งใหม่ มอบอำนาจนิติบัญญัติเต็มให้แก่คณะรัฐมนตรีของฮิตเลอร์ เป็นเวลา 4 ปี ร่างรัฐบัญญัติต้องการเสียงข้างมาก 2 ใน 3 จึงผ่าน พรรคเขาใช้บทบัญญัติแห่งกฤษฎีกาเพลิงไหม้รัฐสภา กันมิให้ผู้แทนพรรคอื่น คือ สังคมประชาธิปไตยหลายคนเข้าประชุม ขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์ถูกยุบไปก่อนแล้ว

วันที่ 23 มีนาคม รัฐสภาประชุมภายใต้สถานการณ์วุ่นวาย หน่วยพิเศษเอสเอปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยภายในอาคาร ขณะที่คนกลุ่มใหญ่ด้านนอกคัดค้านกฎหมายที่เสนอ ตะโกนคำขวัญและคุกคามสมาชิกรัฐสภาที่กำลังมาถึง เมื่อมีอำนาจควบคุมเต็มเหนืออำนาจนิติบัญญัติและบริหารแล้ว ฮิตเลอร์และพันธมิตรทางการเมืองของเขาเริ่มการปราบคู่แข่งการเมืองที่เหลืออย่างเป็นระบบ พรรคสังคมประชาธิปไตยถูกยุบ ตามพรรคคอมมิวนิสต์และสินทรัพย์ทั้งหมดถูกยึด ขณะที่ตัวแทนสหภาพแรงงานจำนวนมากอยู่ในกรุงเบอร์ลิน ถูกพลรบของตำรวจลับเอสเอทำลายสำนักงานสหภาพแรงงานทั่วประเทศ พฤษภาคม ค.ศ. 1933 สหภาพแรงงานทั้งหมดถูกบีบให้ยุบและผู้นำถูกจับกุม บางคนถูกส่งไปยังค่ายกักกัน

เมื่อถึงปลายเดือนมิถุนายน พรรคอื่น ๆ ก็ได้ถูกยุบไปจนหมด และด้วยความช่วยเหลือของตำรวจลับเอสเอ ฮิตเลอร์กดดันให้พรรครัฐบาลผสมของเขาลาออก กรกฎาคม ค.ศ. 1933 พรรคนาซีของฮิตเลอร์ได้รับการประกาศให้เป็นพรรคการเมืองชอบด้วยกฎหมายพรรคเดียวในเยอรมนี ตำรวจลับเอสเอเรียกร้องให้มีอำนาจทางการเมืองและการทหารเพิ่มขึ้น สร้างความกังวลอย่างมากในหมู่ผู้นำทางทหาร นักอุตสาหกรรม และการเมือง ฮิตเลอร์ กวาดล้างผู้นำตำรวจลับเอสเอทั้งหมด ในเหตุการณ์ซึ่งต่อมาเรียกว่า คืนแห่งมีดยาว ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายนถึง 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 ฮิตเลอร์ตั้งเป้าหมายให้คู่แข่งการเมืองคนอื่น และอดีตนายกรัฐมนตรี และผู้นำตำรวจลับเอสเอคนอื่น ๆ ร่วมกับคู่แข่งการเมืองของฮิตเลอร์จำนวนหนึ่ง ถูกล้อม จับกุมและยิงทิ้ง ขณะที่ประชาคมระหว่างประเทศและชาวเยอรมันบางคนตระหนกต่อการฆาตกรรม















Create Date : 10 กรกฎาคม 2557
Last Update : 10 กรกฎาคม 2557 10:11:59 น. 0 comments
Counter : 826 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

hathairat2011
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]










Google

ขอบคุณที่แวะมา
อย่าลืมคอมเม้นท์นะจ้ะ

Flag Counter

ส่งอีเมล์

Facebook ของ Hathairat



New Comments
Friends' blogs
[Add hathairat2011's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.