Group Blog
 
All Blogs
 

ประวัติและผลงานของยอดขุนนางตงฉิน ยอดขุนพลไร้พ่ายผู้รักชาติ นาม งักฮุย

ประวัติและผลงานของยอดขุนนางตงฉิน ยอดขุนพลไร้พ่ายผู้รักชาติ นาม งักฮุย


กรณีย์ภัยพิบัติยุค ชินคัน (เช็งคัง)
เป็นเหตุให้วิญญาณที่สูงศักดิ์ต้องแร่ร่อนนอกแผ่นดินใหญ่

พระนาง หวาง (เฮ้ง) ฮองเฮา
และพระนาง เจิ้น (แต่) ฮองเฮา
ในพระเจ้า ซ่งเฟยจง (ซ้องฮุยจง), จ้าวจี้ (เตียวเขียก)

พ.ศ. 1643 พระเจ้า ซ่งจิ๊จง (ซ้องเตียกจง) เสร็จสวรรคต เนื่องจากว่าพระเจ้า ซ่งจิ๊จง ทรงมิมีพระราชโอรส จึ่งมีปัญหาการสืบพระราชสมบัติของ ฮ่องเต้ พระองค์ใหม่ มหาอำมาตย์ทรราชย์ จางจี้ (เจียงกุ่ย) จึ่งเสนอต่อพระนาง เสี้ยน (เซี่ย) ฮองเฮา แต่งตั้งพระโอรสองค์ที่ 9 ของพระเจ้า ซ่งเสินจง (ซ้องซิ่งจง) คือเจ้า ซินหวาง (ซิงอ๊วง) จ้าวมี่ (เตียวบี่) เป็น ฮ่องเต้ แต่พระนาง เสี้ยน ฮองเฮา ทรงไม่เห็นด้วย ทรงปฏิเสธว่า
“เจ้า ซินหวาง นั้น มีโรคประจำที่ตา บุคคลิคไม่เหมาะสมแก่การเป็น ฮ่องเต้ เจ้า ตวนหวาง (ตวงอ๊วง) นั่นแหละจึงสมควรแก่ตำแหน่ง ฮ่องเต้”
เจ้า ตวนหวาง จ้าวจี้ (เตียวเขียก) ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 11 ในพระเจ้า ซ่งเสินจง เมื่อสมัยพระเจ้า ซ่งจิ๊จง ยังทรงพระชนม์ พระองค์ทรงรักใคร่พระอนุชาต่างพระราชบิดาพระราชมารดาองค์นี้ยิ่ง ทรงมีพระราชดำริแต่งตั้งเจ้า ตวนหวาง เป็นองค์รัชทายาทครองพระราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ แต่พระองค์ก็ทรงด่วนเสด็จสวรรคตก่อน
จ้าวจี้ จึ่งทรงได้รับการแต่งตังเป็น ฮ่องเต้ พระองค์ใหม่ ทรงพระนามว่าพระเจ้า ซ่งเฟยจง พระเจ้า ซ่งเฟยจง ทรงมีพระอัจฉริยะในศิลปะการวาดภาพ ทรงพู่กันจีน ทรงพระอักษร ทรงเรียบเรียงร้อยกลอนต่าง ๆ เสพสุขอยู่ภายในพระตำหนัก แต่พระองค์ทรงพระกรรณเบา ทรงเชื่อฟังการใส่ร้ายของเหล่าขุนนางอำมาตย์และขันที วันหนึ่ง ขันทีน้อยผู้หนึ่ง ได้กล่าวความใส่ร้ายพระนาง ฮองเฮา พระมเหสี ของพระองค์เอง พระองค์ทรงพิโรธ ทรงมีรับสั่งให้ โจวติ้น (จิวเตี้ย) หัวหน้ากองราชทัณฑ์นำตัวพระนาง หวาง ฮองเฮา มาทำการสอบสวนสืบสวน แต่เมื่อคดีดำเนินไปถึงที่สุด ปรากฏว่าไม่มีพยานหลักฐานใด ๆ สามารถเอาผิดกับพระนาง หวาง ฮองเฮา ได้ จึ่งต้องทรงปล่อยพระนางไป
พระนาง หวาง ฮองเฮา ทรงมีน้ำพระทัยประเสริฐยิ่ง พระนางแม้นทรงถูกใส่ความใสร้ายอย่างไร พระนางทรงมิเคยเอ่ยพระโอษฐ์ ตัดเพ้อต่อว่าใคร ๆ ทรงทำทีเหมือนมิมีเรื่องราวเกิดขึ้นแต่ประการใด ทรงเพียงแต่เก็บความชอกช้ำไว้ภายในพระทัย พระนางทรงอยู่ในตำแหน่ง ฮองเฮา ถึง 7 ปี ทรงมิเคยกระทำเหตุเรื่องร้ายใด ๆ พระนางพื้นแพทรงเป็นชาวเมือง เปี้ยนจิน (เยี่ยงเกีย) พระราชบิดาของพระนางคือ หวางเชา (เฮ่งเฉ่า) เจ้าเมือง เต๋อโจว (เต็กจิว) ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้า ตวนหวาง จ้าวจี้ ทรงพระยศเป็น ซุ่นกว๋อฟูเหยิน (ซุ่งกกฮูยิ้ง) ในขณะที่พระนางทรงมีพระชนม์มายุได้ 16 พรรษา อีก 2 ปีต่อมา เมื่อ จ้าวจี้ ทรงได้รับตำแหน่งเป็น ฮ่องเต้ พระนางก็ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระนาง ฮองเฮา พระนาง หวาง ฮองเฮา ทรงเป็น ฮองเฮา ที่มีพระทัยเมตตา ทรงพระชนม์อย่างมัธยัท ไม่ฟุ้งเฟ้อ สมกับเป็นพระราชชนนีของแผ่นดิน พระนางทรงให้กำเนิดแก่พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระเจ้า ซ่งเฟยจง คือเจ้าชาย จ้าวหวน (เตียวฮ้วง) และเจ้าหญิง จงกว๋อ (จงก๊ก)
เมื่อตอนต้นรัชกาลของพระเจ้า ซ่งเฟยจง พระนาง หวาง ฮองเฮา ทรงเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า ซ่งเฟยจง ยิ่ง พระนางทรงสามารถกราบทูล ฮ่องเต้ ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม แต่ไม่นาน ฮ่องเต้ ทรงเอือมระอา เนื่องจากว่าภายในพระราชวังนั้น มีนางในนางกำนัลมากมาย พระองค์ทรงหลงไหลอยู่กับพระสนม เจิ้นกุ้ยเฟย (แต่กุ้ยฮุย) และพระสนม หวางกุ้ยเฟย (เฮ่งกุ้ยฮุย) พระองค์ทรงละเลยการไปมาหาสู่ต่อพระนาง หวาง ฮองเฮา จนกระทั่งพระนาง หวาง ฮองเฮา ทรงพระประชวรหนัก พระเจ้า ซ่งเฟยจง ทรงทราบว่าพระนาง หวาง ฮองเฮา ทรงมิสามารถหลบหลีกจากพระโรคได้ พระองค์จึ่งทรงทำทีไปเยี่ยมเยียนพระนาง หวาง ฮองเฮา ด้วยน้ำพระเนตรนองพระพักตร์ แต่พระนาง หวาง ฮองเฮา ก็ถึงแก่กาละ ทรงเสด็จสวรรคตในศักราช ต้ากวน ปีที่ 2 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเฟยจง พ.ศ. 1651 ในขณะที่พระนางมีพระชนมายุเพียง 25 พรรษา ภัยหลังการสวรรคต พระนางทรงได้รับพระอิสริยศเป็นพระนาง เจินเหอ (แจฮั้ว) ฮองเฮา
เมื่อตำแหน่ง ฮองเฮา ว่างลง พระเจ้า ซ่งเฟยจง ทรงมีพระราชดำริแต่งตั้ง ฮองเฮา พระองค์ใหม่ พระองคืจึ่งทรงเลือกพระสนมที่พระองค์ทรงโปรดปราน ซึ่งก็มีพระสนม เจิ้นกุ้ยเฟย และพระสนม หวางกุ้ยเฟย ในที่สุด พระองค์ก็ทรงตัดสินพระทัยเลือกพระสนม เจิ้นกุ้ยเฟย เป็น อองเฮา พระองค์ใหม่ พระนาง เจิ้น ฮองเฮา ทรงเป็นชาวเมือง เปี้ยนจิน พระบิดาเป็นข้าราชการในชนบทเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง เมื่อพระนางเจริญพระวัยแรกรุ่น ได้ถูกคัดเลือกเข้าวังถวายตัว อยู่ในสังกัดของพระนาง เสี้ยน ฮองไทเฮา ด้วยพระสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด พระนางจึงเป็นที่โปรดปรานของพระนาง เสี้ยน ฮองไทเฮา ถูกแต่งตั้งเป็นคนสนิทของพระนาง ฮองไทเฮา พระเจ้า ซ่งเฟยจง สมัยที่ทรงดำรงค์พระยศเป็นเจ้า ตวนหวาง พระองค์มักทรงเสด็จมาเยี่ยมเยือพระนาง ฮองไทเฮา เป็นประจำเกือบทุกวัน พระองค์ทรงประสพเนตรกับพระนาง เจิ้น ผู้ซึ่งมีพระศิริโฉมงดงาม ส่วนพระนาง เจิ้น ก็ทรงทอดสายตาตอบด้วยความเสน่หา เหตุการณ์ดังกล่าวล้วนอยู่ในสายพระเนตรของพระนาง เสี้ยน ฮองไทเฮา ดังนั้น เมื่อพระเจ้า ซ่งเฟยจง ทรงเสด็จเถลิงพระราชบัลลังก์ เป็น ฮ่องเต้ พระนาง เสี้ยน ฮองไทเฮา ทรงพระราชทานพระนาง เจิ้น และนางในคนสนิทของพระนางอีกนางหนึ่งคือพระนาง หวาง ถวายเป็นบาทบริจาริกาของ ฮ่องเต้ นางในทั้งสองเป็นที่ถูกพระทัยและโปรดปรานของพระเจ้า ซ่งเฟยจง ยิ่ง ทรงแต่งตั้งเป็นพระสนมในตำแหน่ง กุ้ยเฟย ทั้งคู่
พระนาง เจิ้น ฮองเฮา ทรงมีพระทัยฝักใฝ่การศึกษาเล่าเรียน ทรงพระอักษรและวาดภาพพู่กันจีน จึ่งมีพระราชอัชฌาสัยต้องกับพระเจ้า ซ่งเฟยจง ทั้งสองพระองค์ร่วมกันวาดภาพ ทรงพระอักษรแต่งโคลงกลอนร่วมกันด้วยพระเกษมสำราญร่วมกันทั้งสองพระองค์ บางครั้ง พระนางยังทรงพระอักษรร่วมกันปรึกษาหนังสือฎีกาที่สำคัญ ๆ กับ ฮ่องเต้ พระนางนอกจากทรงเฉลียวฉลาดแล้ว ยังทรงเปี่ยมด้วยน้ำพระทัยที่เมตตา พระนางทรงไม่เย่อหยิ่ง ถือพระองค์ว่าเป็นที่ทรงโปรด นอกจากนั้น พระนางยังมิทรงโปรดพวกพ้องญาติสนิทมิตรสหายของพระนางเอง สนับสนุนมารับตำแหน่งสำคัญที่มีอำนาจในพระราชวัง มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระอนุชาฝ่ายพระพี่พระน้องของพระนาง มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ราชการ ถูกแต่งตั้งเข้าร่วมเป็นสมาชิกในสภาองค์มนตรี พระนางทรงกราบทูล ฮ่องเต้ ว่า พระญาติฝ่ายนอก มิควรมาร่วมบริหารราชการ จักเป็นที่ครหา
ศักราช เจี้ยนเหอ ปีที่ 1 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเฟยจง พ.ศ. 1654 พระเจ้า ซ่งเฟยจง ทรงโปรดให้จัดพระราชพิธีอภิเษกพระนาง เจิ้น ฮองเฮา ฮ่องเต้ ทรงมีรับสั่งให้ช่างทองหลวงจัดทำมงกุฎให้แก่ ฮองเฮา พระองค์ใหม่ แต่พระนาง เจิ้น ฮองเฮา ทรงตรัสค้านว่า ประเทศยังอยู่ในระหว่างการศึก อาณาประชาราษฏร์ยังลำบากยากจน ไฉนจึ่งต้องมาฟุ่มเฟือยเงินทองของประเทศด้วยพระมงกุฎเพียงอันเดียว ยังมีพระมงกุฎอีกอันหนึ่งที่ทรงได้รับพระราชทานเมื่อครั้งทรงตำแหน่ง กุ้ยเฟย ขอทรงโปรดให้นำมาซ่อมแซมแก้ไขใหม่ก็ใช้ได้
พระอนุชาของพระนาง เจิ้นจูจง (แต่กูตง) รับราชการเป็นที่โปรดปรานแก่ ฮ่องเต้ พระเจ้า ซ่งเฟยจง ทรงดำริแต่งตั้ง เจิ้นจูจง เป็นมหาอำมาตย์บริหารประเทศ แต่พระนางทรงคัดค้าน ขอพระราชทานอันสูงส่งทางฝ่ายบุ๋นแก่ เจิ้นจูจง แต่ไม่มีอำนาจมาก การกระทำของพระนางเช่นนี้ ในภายหลังเป็นผลให้พระบิดาและพระประยูรญาติของพระนาง สามารถรอดพ้นจากการกวาดต้อนของกองทัพราชวงศ์ จิน (กิม) ไปสู่ดินแดนภาคเหนืออันแสนทุรกันดารและลำบากได้ โดยพระนางทรงตรัสขอร้องแก่แม่ทัพราชวงศ์ จิน คือ ซานฮาน (เนี่ยมอัง) ว่า
“ข้าน้อยกระทำเป็นที่ขัดเคืองพระทัยแก่ ฮ่องเต้ ของท่าน ข้าน้อยจึ่งสมควรเดินทางไปรับโทษจาก ฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์ จิน แต่ญาติ ๆ ของข้าน้อย หาได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำของข้าน้อยไม่ ขอท่านแม่ทัพกรุณาปล่อยพวกเข้าเหล่านั้นไปเถอะ”
แม่ทัพ ซานฮาน จึ่งยอมรับปาก ดังนั้น พระบิดาและพระประยูรญาติของพระนางทั้งปวง จึ่งสามารถรอดพ้นจากบ่วงกรรมอันนี้ไปได้
ประวัติราชวงศ์ จิน ราชวงศ์ จิน เกิดจากคนเชื้อชาติหรือชนเผ่า หนิ่นจิน (หนึ่งจิง) หรือที่นักประวัติศาสตร์สากลรู้จักกันในนามว่า ชนชาติ ยุรเชน เมื่อสมัยยุค อู่ต้าย (โหงวต่อ) พ.ศ. 1450 - พ.ศ. 1503 ชนเผ่า หนิ่นจิน แบ่งแยกกันออกเป็น 2 พวก พวกที่อยู่ทางตอนใต้ของภาคอิสานของประเทศจีน เรียกว่าพวก ซู่หนิ่นจิน (เส็กหนึ่งจิง) อยู่ในความปกครองของราชวงศ์ เหลียว (เลี่ยว) ส่วนอีกพวกหนึ่งอยู่ทางเหนือขึ้นไปอีกทางภาคอิสานของจีน เรียกว่า เซินหนิ่นจิน (แชหนึ่งจิง) พวกนี้เป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อาณัติของใคร ชนเผ่านี้ มีเผ่าที่เข้มเข็งที่สุดคือ เผ่า หยวนเหยียน (อ่วงง้วง) นำโดย หยวนเหยียนอากู้ต้า (อ่วงง้วงอากุ๊กต่า) อากู้ต้า ได้นำกองกำลังมาล้มล้างราชวงศ์ เหลียว ดังนั้น ในศักราช เจินเหอ (เจ่งฮั้ว) ปีที่ 5 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเฟยจง พ.ศ. 1658 เมื่อทางพระราชสำนัก เป่ยซ่ง เห็นราชวงศ์เหลียวอ่อนแอลง จึ่งได้ส่งราชทูตไปทำสัมพันธ์ไมรตรีกับราชวงศ์ จิน เมื่อศักราชเจิ้นเหอปีที่ 7 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเฟยจง พ.ศ. 1660 ได้ตกลงทำสัญญากันว่า ราชวงศ์ เป่ยซ่ง และราชวงศ์ จิน จะร่วมมือกันโจมตีราชอาณาจักร เหลียว โดยราชวงศ์ จิน จะโจมตีจากทางทิศเหนือของกำแพงเมืองจีนลงมา ณ นครหลวงของราชอาณาจักร เหลียว นคร จงจิน หรือ ต้าติ้น (ไต่เตี่ย) ส่วนราชวงศ์ เป่ยซ่ง โจมตีจากทางใต้ขึ้นไป ณ นคร เยี่ยนจิน (อี่เกีย) ซึ่งก็คือกรุ ปักกิ่ง ในปัจจุบัน ที่ราชอาณาจักร เหลียว ครอบครองอยู่ เมื่อราชวงศ์ เหลียว ล่มจมลง ราชวงศ์ เป่ยซ่ง ก็ได้หัวเมืองตามชายแดนกลับคืนมาหลายเมือง แต่ราชวงศ์ จิน ได้ครอบครองราชอาณาจัก เหลียว ทั้งหมด นอกจากนี้ ราชบรรณาการที่ราชวงศ์ เป่ยซ่ง เคยส่งส่วยให้กับราชวงศ์ เหลียว กลับต้องมาส่งส่วยให้แก่ราชวงศ์ จิน แทน แต่ราชวงศ์ จิน ยังหาได้พอใจกับผลที่ได้รับเช่นนี้ไม่ จึ่งได้มุ่งเข็มลงมาทางใต้ เพื่อรังควาญราชวงศ์ เป่ยซ่ง ซึ่งกำลังอ่อนแอ ดังนั้น ในศักราช ซวนเหอ (ซวงฮั้ว) ปีที่ 7 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเฟยจง พ.ศ. 1668 ราชวงศ์ จิน ได้ใช้ขุนศึกของราชวงศ์ เป่ยซ่ง ที่สวามิภักดิ์กับราชวงศ์ จิน คือ จางเค่อ (เตียขัก) ยกทัพแบ่งแบกกันเป็น 2 ทาง มาโจมตีราชอาณาจัก ซ่ง เมื่อกองทัพของราชวงศ์ จิน ยกทัพลงมาใกล้นคร เปี้ยนจิน (เบี่ยงเกีย..หรือนคร ไคฟง) อย่างรวดเร็ว พระเจ้า ซ่งเฟยจง ทรงตกพระทัยทรงจับแขนของขุนนาง ไฉซิว (ฉั่วฮิว) เขย่า ทรงตรัสว่า
“ข้านึกไม่ถึงว่า ชาว จิน จะยกทัพรุกลงมาอย่างรวดเร็วเช่นนี้”
แล้วพระองค์ก้ทรงตกพระทัยสิ้นสติสมฤดีอยู่บนพระแท่นบรรทม เมื่อทรงฟื้นคืนพระสติขึ้นมา ก็ทรงมีพระราชโองการลาออกจากตำแหน่ง ฮ่องเต้ ทรงแต่งตั้งพระราชโอรส จ้าวหวน (เตียวฮ้วง) ขึ้นเป็น ฮ่องเต้ แทนพระองค์ ทรงพรนามว่าพระเจ้า ซ่งจินจง (ซ้องคิมจง) บริหารประเทศ ส่วนพระองค์เองทรงไม่รับรู้เรื่องการศึกการเมืองทั้งปวง ทรงแต่งตั้งพระองค์เองเป็นพระเจ้า ไท่ซ่านหวาง (ไท้เซี่ยงด้วง) ทรงเสพสุขไปวัน ๆ
ส่วนพระเจ้า ซ่งจินจง แม้นมีพระชนมายุได้ 25 พรรษา แต่พระองค์ทรงถูกเลี้ยงดูเจริญพระวัยแต่ในวัง ทรงมิประสีประสาในการบริหารบ้านเมือง พระองค์ทรงอาศัยขุนนางอำมาตย์เก่าแก่ เช่น ไฉจิน (ฉั่วเกีย), ถงก่วน (ท่งก้วง), เหนียนซือ (เนี่ยซือ), และ หลี่ปันหยาน (ลี่ปังหงีง), ซึ่งล้วนแต่เป็นขุนนางที่รักตัวกลัวตาย อาศัยการเจรจาสงบศึก ยอมเชือดเฉือนแฟ่นดิน ซ่ง ให้แก่ราชวงศ์ จิน ไป วัน ๆ แต่กองทัพทหารราชวงศ์ จิน หาได้หยุดยั้งไม่ จนกระทั่งเมื่อศักราช ชินคัน (เช็งคัง) ปีที่ 2 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งจินจง พ.ศ. 1670 กองทัพของราชวงศ์ จิน นำโดยแม่ทัพ ซานฮาน ก็สามารถล้อมนคร เปี้ยนจิน เมืองหลวงของราชวงศ์ เป่ยซ่ง ไว้ได้ ราชวงศ์ เป่ยซ่ง ยอมแพ้ แม่ทัพ ซานฮาน จึงได้ควบคุมตัวพระเจ้า ซ่งเฟยจง, พระเจ้า ซ่งจินจง, พระมเหสี, พระสนมนางใน, เจ้าชาย, เจ้าหญิง, และเหล่าพระประยูรญาติ, ประมาณ 3,000 กว่าคน กวาดต้อนไปทางเหนือ ไปเป็นข้าทาสบาทบริจาริกาของ ฮ่องเต้ และขุนศึกของราชวงศ์ จิน เพราะฉะนั้น ราชวงศ์ เป่ยซ่ง ที่ถูกสถาปนาโดยพระเจ้า ซ่งไท่จู่ (ซ้องไท้โจ้ว) จ้าวคันย่าน (เตียวคังเอี๊ยง) จึงถึงแก่กาลอวสาน มีอายุราชวงศ์ได้ 167 ปี พ.ศ. 1503 - พ.ศ. 1670 มี ฮ่องเต้ รวม 9 พระองค์ นักประวัติศาสตร์จีน เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า กรณีย์ภัยพิบัติ ชินคัน ส่วนทางด้านทิศใต้ของประเทศต่ำลงมา ยังคงอุดมสมบูรณ์ บรรดาเหล่าขุนนางอำมาตย์ซึ่งสามารถหลบหนีจากการกวาดต้อนจับคร่ากุมของทหารราชวงศ์ จิน หนีลงมาทางใต้ได้ ต่างพากันยกย่องสถาปนาพระโอรนสองค์ที่ 9 ของพระเจ้า ซ่งเฟยจง พระอนุชาต่างมารดาของพระเจ้า ซ่งจินจง คือเจ้า คันหวาง (คังอ๊วง) จ้าวเกา (เตียวเกา) เป็น ฮ่องเต้ ของราชวงศ์ ซ่ง สืบต่อไป ทรงพระนามว่าพระเจ้า ซ่งเกาจง (ซ้องเกาจง) แต่พระเจ้า ซ่งเกาจง แทนที่จะทำนุบำรุงกองทัพเพื่อยกทัพทำศึกกับราชวงศ์ จิน กู้คืนประเทศกลับมา พระองค์กลับทรงห่วงใยในตำแหน่ง ฮ่องเต้ ของพระองค์ เกรงว่า เมื่อช่วยพระบิดาและพระเชษฐากลับมาแล้ว พระองค์ก็ไม่สามารถอยู่ในตำแหน่ง ฮ่องเต้ ต่อไป พระองค์ทรงมิยินยอมทำศึกกับราชวงศ์ จิน แก้แค้นให้แก่ประเทศชาติ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ก็ทรงมีขุนศึกนายทัพที่มีความสามารถ ยกทัพไปโจมตีราชวงศ์ จิน จนเกือบสยบราชวงศ์ จิน ได้อยู่ ดั่งเช่น ขุนพล เย่ว์เฟย (งักฮุย), ขุนพล หันซื่จง (ฮั่งสี่ตง), พระองค์กลับทรงวางแผนเจรจาสันติภาพกับราชวงศ์ จิน และทรงวางแผนกำจัดขุนพล เย่ว์เฟย จนกระทั่งเป็นเหตุให้ 2 ฮ่องเต้, และ ฮองเฮา ต้องทรงทิ้งพระชนม์ชีพอยู่ในดินแดนของศัตรู นักประวัติศาสตร์จีน จึ่งได้เรียกราชวงศ์ใหม่ของพระเจ้า ซ่งเกาจง ว่า ราชวงศ์ หนานซ่ง (น่ำซอ้ง) ซึ่งแปลว่า ราชวงศ์ ซ่ง ฝ่ายใต้
ฮ่องเต้ ทั้งสอง และ ฮองเฮา ทั้สองขอวราชวงศ์ เป่ยซ่ง ถูกทหารของราชวงศ์ จิน ข่มแหงรังแก เพื่อเดินทางขึ้นเหนือไปได้ 10 กว่าวัน ก็ถึงนคร เยี่ยนจิน ของแผ่นดิน จิน พระเจ้า จินไท่จง (กิมไท้จง) แห่งพระราชสำนัก จิน ทรงรับสั่งให้ถอดยศของทั่ง 4 กษัตริย์ เป็นสามัญชน และทรงสั่งจำคุกไว้ ณ เมือง หลินโจว (เล่วจิว) ปัจจุบันคือเมือง หลินอู่ (เล่งบู้) ในมณฑล หนิงเซี่ย พระเจ้า จินไท่จง ทรงมิยอมให้เข้าเหล่านั้นอยู่อย่างสุขสบาย ทรงรับสั่งให้ย้าย 4 กษัตริย์ ไปขัง ณ เมือง ยึเหอ (ยัวะฮ้อ) จากเมือง ยึกเหอ ก็ทรงย้ายไปขัง ณ เมือง ไหลโจว (ไหล่จิว) ปัจจุบันคือเมืองไหลสุ่ย (ไหล่จุ้ย) ในมณฑล เหอเป่ย ในขณะนั้น พระนาง จู ฮองเฮา ในพระเจ้า ซ่งจินจง ทรงทนกับสภาพอากาศการความทรมานมิได้ ทรงสิ่นพระชนม์เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระนาง เจิ้น ฮองเฮา ในพระชนมายุ 50 พรรษา ทรงสภาพเป็นยายแก่เฒ่า พระเกศาหงอกทั่วพระศีรษะ สายพระเนตรนั้นฝ้าฟางมืดมัว
ศักราช เจ้าซิ่น (เจียวเฮง) ปีที่ 1 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1674 พระเจ้า ซ่งเฟยจง, พระเจ้า ซ่งจินจง, และพระนาง เจิ้น ฮองเฮา, 3 กษัตริย์ ทรงถูกควบคุมตัวเป็นเชลยได้ 4 ปีแล้ว แต่พระเจ้า จินไท่จง ฮ่องเต้ ยังทรงมีรับสั่งให้นำตัว 3 กษัตริย์ ไปควบคุมตัวไว้ ณ เมือง อู่กว๋อเฉิน (โหง่วกกเซี้ย) ทั้ง 3 กษัตริย์ ต้องเดินทางรอมแรมไปนานถึง 8 เดือน พระนาง เจิ้น ฮองเฮา ทรงทนต่อสภาพภูมิอากาศมิได้ ทรงพระประชวรล้มเจ็บลง เมื่อเดินทางถึงเมือง อู่กว๋อเฉิน พระนางก็ทรงถึงแก่พิลาลัย เสด็จสวรรคตขณะมีพระชนมายุได้ 53 พรรษา พระเจ้า ซ่งเฟยจง เมื่อทรงปราศจากคู่พระเขนยเคียงข้าง ทรงพระกรรแสงทุกวันชวนค่ำ มินานก็ทรงพระเนตรบอดลง กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ ทรงตั้งเพียงความหวังไว้ว่า พระเจ้า ซ่งเกาจง ฮ่องเต้ พระองค์ใหม่ ทรงสามารถนำทัพมาช่วยพระองค์ทั้งสองกลับประเทศไปอยู่อย่างสบาย แต่ก็ไร้วี่แววข่าวคราวสิ้นดี
วันหนึ่ง เป็นเดือนที่ 4 ของศักราช เจ้าซิ่น ปีที่ 5 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1678 พระเจ้า ซ่งจินจง ทรงเสด็จตื่นขึ้นมาแต่เช้า ทรงทอดพระเนตรเห็นพระเจ้า ซ่งเฟยจง ทรงยังคงบรรทมอยู่บนพระแท่นบรรทม พระเจ้า ซ่งจินจง ทรงสัมผัสกับพระวรกายของพระราชชนก ปรากฏว่าพระวรกายของพระองค์เย็นชืด ทรงเสด็จสวรรคตเสียแล้ว เนื่องจากทรงทนต่ออากาศอันโหดร้ายมิได้
สองปีหลังจากนั้น พระราชทูตแห่งราชอาณาจักร หนานซ่ง เดินทางกลับจากราชอาณาจักร จิน ได้ทูลข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระจ้า ซ่งเฟยจง และพระนาง เจิ้น ฮองเฮา แก่พระเจ้า ซ่งเกาจง พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงพระกรรแสงด้วยความโสกาอาดูร พระองค์ทรงแต่งตั้งพระนาง เจิ้น ฮองเฮา ทรงสิริพระยศว่า พระนาง เซี่ยนซู่ (เซี่ยงซก)
ศักราช เจ้าซิ่น ปีที่ 11 พ.ศ. 1684 ภายหลังการเจรจาสงบศึก โดยมีเงื่อนไขการกำจัดขุนพล เย่ว์เฟย และทรงยินยอมเสียดินแดนอีกบางส่วนให้แก่ราชวงศ์ จิน พระเจ้า ซ่งเกาจง ก็ทรงสามารถเจรจา นำพระราชมารดา พระนาง เว่ย เสียนเฟย (อุ่ยเซี่ยฮุย) และพระอัฐิของพระเจ้า ซ่งเฟยจง และพระนาง เจิ้น ฮองเฮา กลับมายังแผ่นดิน ซ่ง ได้ พระองค์ทรงบรรจุพระอัฐิ ฝังทั้ง 2 พระองค์ ณ พระสุสาน หย่งอิ้วหลิน (หย่งอิวเล้ง) ณ เมือง ฮุ้ยจี (ห่วยกี)




 

Create Date : 09 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2548 22:15:36 น.
Counter : 2333 Pageviews.  

ฮองเฮา สุดอนาถ ถูกย่ำยี สุดสมเพช

ฮองเฮา สุดอนาถ ถูกย่ำยี สุดสมเพช

พระนาง จูสี ฮองเฮา

ในพระเจ้า ซ่งจินจง (ซ้องคิมจง) จ้าวหวน (เตียวฮ้วง)

เดือนที่ 11 ศักราช ชินคัน (เช็งคัง) ปีที่ 2 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งจินจง เป็นสถานภาพที่เลวร้ายที่สุดของราชวงศ์ เป่ยซ่ง ตระกูล แซ่จ้าว ทหารราชวงศ์ จิน บุกเข้าเมืองหลวงนคร เปี้ยนจิน บีบบังคับราชวงศ์ประมาณ 3,000 กว่าคน กวาดต้อนไปสู่ทางเหนือ ไม่ว่าพ่อลูกภรรยาและสามีล้วนแตกแยกจากกัน ความเศร้าโศกโสกาอาดูร เสียงร้องไห้ดังระงมไปทั่วพระราชสำนัก
พระเจ้า ซ่งเฟยจง จ้าวจี้ (พ.ศ. 1643 – พ.ศ. 1668), พระเจ้า ซ่งจินจง จ้าวหวน (พ.ศ. 1668 – พ.ศ. 1670), พระนางเจิ้น ฮองเฮา, และพระนาง จู ฮองเฮา, ต่างถูกส่งตามเสด็จ ทรงถูกขังรวมกันอยู่ในห้อง ๆ หนึ่งของคืนลมหนาวโชยมาจนเย็นยะเยือกหนาวเข้ากระดูก 4 กษัตริย์ทรงหนาวสั่นทั่วพระวรกาย ยามราตรีทรงมิสามารถข่มพระเนตรหลับตาลงนอนหลับได้ วันรุ่งขึ้นจึ่งมีเพียงข้าวต้มส่งยื่นเข้ามา 4 ชาม ยามสมบูรณ์พูลสุขในฐานะ ฮ่องเต้ และ ฮองเฮา ไฉนเลยทรงเสวยกายาหารเช่นนี้ลง ทรงเพียงแค่เสวยลงไม่กี่คำ เมื่อถึงเวลาเที่ยง 4 กษัตริย์ก็ทรงถูกนำมาขัง ณ หน้าค่ายของแม่ทัพ ซานฮาน แม่ทัพ ซานฮาน มีบัญชาให้เปลี่ยนชุดฉลองพระองค์ของ 4 กษัตริย์ เป็นชุดนักโทษสีเขียว แล้วส่งคนควบคุมไปส่ง ณ เมืองหลวงของราชวงศ์ จิน นคร เยี่ยนจิน
มีทหารคนหนึ่ง จูงม้ามา 4 ตัว เพื่อให้ 4 กษัตริย์ทรงขี่ พระนาง เจิ้น ฮองเฮา และพระนาง จู ฮองเฮา ปกติมิเคยทรงขี่ม้ามาก่อน บวกกับรูปลักษณ์ทรงพระอรชร จึ่งทรงมิอาจก้าวข้ามหลังม้าไปได้ เป็นเหตุให้พวกทหารป่าเถื่อนโกรธร้องตวาดว่า แม้ขี่ม้ามิเป็น ก็จำต้องขี่ให้ได้ ข้ามิอาจประคับประคองพวกท่านไปไกลได้ตลอดทาง แล้วก็เข้าบีบกระหนาบ 2 ฮองเฮา ขึ้นกระหนาบบนหลังม้าทรงขี่จนได้
พระนาง จู ฮองเฮา ในพระวัย 24 พรรษา ทั้งทรงอับอายทั้งทรงขายพระพักตร์ แต่ก็ทรงมิมีอะไรทำที่ดีกว่าส่งสายพระเนตรอันละห้อย พร้อมด้วยพระพักตร์ทรงนองด้วยน้ำพระเนตรไปยังพระราชสวามี พระเจ้า ซ่งจินจง พระนางนั้น พื้นแพทรงเป็นชาวเมือง ไคฟง พระบิดา เป็นข้าหลวงในกองทัพ อู่คัน (บู่คัง) จูเป๋อ (จูเปะ) พระเจ้า ซ่งจินจง ยามสมัยดำรงค์ตำแหน่งเป็นองค์รัชทายาท พระเจ้า ซ่งเฟยจง ทรงทอดพระเนตรเห็นความงดงามเฉลียวฉลาดของพระนาง จึ่งทรงเลือกพระนางเป็นชายาขององค์รัชทายาท เมื่อพระเจ้า ซ่งจินจง ทรงรับตำแหน่งเป็น ฮ่องเต้ พระนางก็ทรงถูกแต่งตั้งในตำแหน่ง ฮองเฮา พระนางทรงเป็น ฮองเฮา ที่น่าสงสารที่สุในราชวงศ์ ซ่ง แม้นกระทั่งในประวัติศาสตร์จีน น้อยครั้งที่พระนางทรงได้รับความสุขสมบูรณ์ในฐานะ ฮองเฮา เมื่อประเทศชาติล่มจม พระนางก็ต้องรับเคราะห์ทรงทนทุกข์ยากติดตาม ฮ่องเต้ ไปในฐานะเชลยตัวประกัน ทรงติดตามพระราชสวามี เริ่มต้นใช้ชีวิตที่ถูกกดขี่เยี่ยงข้าทาษในพระราชอาณาจักร จิน
หัวหน้ากองควบคุมเชลยนี้มีชื่อว่า จี้ลี่ หน้าตาหยาบกระด้าง ประกอบด้วยก้อนเนื้อที่แสดงความกักขระโหดร้ายบนใบหน้า ระหว่างทาง เขามักเสพสุราอาหารอย่างเกษมสำราญ เมื่อเสพอิ่มแล้ว ก็ให้ลูกน้องเก็บกวาดเศษอาหารที่เหลือพร้อมด้วยข้าวที่เย็นชืดมาถวายแก่ 4 กษัตริย์ 4 กษัตริย์ไฉนจักทรงกลืนลงพระศอ จี้ลี่ มองเห็นพระนาง จู ฮองเฮา ยังทรงวัยพระเยาว์ อีกทั้งสิริโฉมทรงงดงามยิ่ง จึงหยอกเย้าเกี้ยวพาราสีพระนางเสมอ ๆ แม้นพระนางสุดที่จักทรงอับอาย แต่ก็มิกล้าแสดงความขุนเคืองพิโรธ ได้แต่ทรงอดทนเก็บกลั้นไว้ในพระทัย เมื่อเดินทางไปได้ 20 กว่าวัน ก็ถึงตำบล ซิ่นอันเซี่ยน ปัจจุบันอยู่ภายในตัวเมือง ป้าเซี่ยน ในมณฑล เหอเป่ย ในระหว่างทางหยุดแรมพักผ่อนการเดินทาง จี้ลี่ ได้ตั้งวงเสพสุราด้วยความคลื้มใจ จึ่งมีคำสั่งบังคับให้พระนาง จู ฮองเฮา ทรงร้องเพลงให้ฟัง พระนาง จู ฮองเฮา ทรงปฏิเสธเป็นพลันวัน
“ข้าน้อย แต่ไหนแต่ไรมามิเคยร้องเพลง”
จี้ลี่ บันดาลโทษะ ชักดาบเล่มโตพาดบนพระศอของพระเจ้า ซ่งจินจง ขู่ตะคอกว่า
“ชีวิตของเจ้าทั้งสี่ ล้วนตกอยู่ในกำมือของข้า เจ้าจักร้องเพลงหรือมิร้อง หากเจ้ามิร้อง ข้าจักให้สามีของเจ้าลองชิมคมดาบของข้า”
พระนาง จู ฮองเฮา ทรงสุดสิ้นหนทางอื่น จำทรงผินพระพักตร์ไปทางอื่น ทรงกรรแสงร้องเพลงด้วยน้ำพระเนตรนองพระพักตร์
เมื่อ จี้ลี่ เสพสุราได้ที่ มีความเมามายครองสติเทบมิได้ จึ่งมีจิตคิดกำเริบ บีบบังคับสั้งพระนาง จู ฮองเฮา มาทรงประทับเคียงข้างกาย ปรนนิบัติการเสพสุราของตน พระนาง จู ฮองเฮา ไหนเลยทรงจักทรงปฏิบัติตาม จี้ลี่ จึ่งลุกขึนจากวงสุรา ฉุดรั้งพระกรของพระนางลากเข้ามาหา พระนาง จู ฮองเฮา ทรงยื้อยึดฉุดพระฉลองของพระเจ้า ซ่งจินจง ด้วยพระกรอีกข้าง จี้ลี่ บันดาลโทษะ ใช้ฝ่ามืออันใหญ่หยาบกระด้าง ตบพระพักตร์ของพระนาง จู ฮองเฮา หนึ่งที พระนางทรงล้มฟุบลงไปกองกับพื้นดิน
พระเจ้า ซ่งจินจง ทรงสิ้นพระขันติ ทรงลุขึ้นชี้หน้าด่า จี้ลี่ มากมาย จนกระทั่ง จี้ลี่ บันดาลโทษะขึ้นมาอีก คราวนี้ ได้ชักดาบออกมา หมายปลงพระชนม์พระเจ้า ซ่งจินจง พระนาง จู ฮองเฮา ทรงทอดพระเนตรเช่นนั้น พระนางทรงโถมพระวรกายของพระนางเข้าคล่อมปกป้องพระเจ้า ซ่งจินจง พอดีขณะนั้น ทหารที่ร่วมวงดื่มสุรากับ จี้ลี่ คนหนึ่ง รีบลุกขึ้นมากล่าวกับ จี้ลี่ ว่า
“ท่านนายทัพ โปรดระงับโทษะ ฮ่องเต้ ทรงมีพระราชโองการให้นำเขาทั้งสี่ ส่งถึงนครเยี่ยนจิน โดยมีชีวิต หากพวกเขาเป็นอะไรสักคน ท่านจักมีคำกราบทูลต่อ ฮ่องเต้ ว่ากระไร”
จี้ลี่ จึ่งค่อยคลายโทษะวางดาบลง
เมื่อเดินทางไปได้อีก 10 กว่าวัน ก็ถึงนครหลวง เยี่ยนจิน ของราชอาณาจัก จิน แต่ทว่าพระเจ้า จินไท่จง ฮ่องเต้ ของราชวงศ์ จิน ยังทรงอยู่ในระหว่างประพาสล่าสัตว์ 4 กษัตริย์ ทรงประทับอยู่ที่วัด หมินจงจี้ ฮุ่ยฉาน เจ้าอาวาสของวัด หมินจงจี้ เป็นคนชนชาติ ฮั่น จึงต้อนรับขับสู้ 4 กษัตริย์อย่างดียิ่ง เมื่อทรงประทับอย่างสุขสำราญได้ 4 - 5 วัน พระเจ้า จินไท่จง ทรงเสด็จกลับนิวัตสู่พระนคร 4 กษัตริย์ จึ่งทรงถูกนำตัวเข้าเฝ้า พระเจ้า จินไท่จง ทรงโปรดให้ขังรวมกันในกระท่อมดินหลังหนึ่ง แต่ละวันมีการถวายข้าวให้เสวยเพียง 2 ชาม และเนื้อเน่า ๆ อีกไม่กี่ชิ้น ส่วนภายในกระท่อมนั้น มีเพียงโต๊ะไม่กี่ตัว และมีเสื่อเพียง 4 ผืน นอกนั้นมิมีสิ่งของอำนวยความสะดวกใด ๆ
พระนาง จู ฮองเฮา ไหนเลยทรงต้องตรากตรำเดินทางลำบากมาเป็นเวลานาน เมื่อทรงมาปะทะกับอากาศอันหนาวเหน็บของดินแดนทางภาคเหนือเช่นนี้ บวกกับพระวรกายอันบอบบางของพระนาง พระนางจึ่งมิสามารถรับกับสภาพธรรมชาติอันโหดร้ายเช่นนี้ได้ ไม่กี่วันให้หลัง พระนางก็ทรงพระประชวรล้มป่วยลง ทรงบรรทมซมอยู่บนเสื่อที่บรรทม พระเจ้า ซ่งจินจง ทรงพยายามขอร้องยามที่เฝ้าควบคุมพระองค์ทั้งหลาย ขอส่งแพทย์มาตรวจพระอาการของพระมเหสี ยามที่เฝ้าอยู่ นอกจากมิทรงเรียกหมอมาตรวจพระอาการแล้ว ยังตวาดด่าว่าพระเจ้า ซ่งจินจง มากมาย อีก 2 วันหลังจากนั้น พระนาง จู ฮองเฮา ทรงทนพระอาการทรงประชวรมิได้ ทรงสิ้นพระชนเสด็จสวรรคตด้วยความทรมาน พระเจ้า ซ่งจินจง ทรงพระกรรแสงด้วยความอาลัย ยามที่เฝ้าอยู่ ได้ใช้เสื่อห่อหุ้มพระศพของพระนาง ลากร่างของพระนางออกจากกระท่อมออกไป พระเจ้า ซ่งจินจง ทรงพระกรรแสงอย่างน่าเวทนา พระองค์ทรงถึงกับลดองค์ลงคุกเข่า ขอร้องแก่ยามผู้เฝ้ากระท่อมว่า
“มเหสีของข้า มีศักดิ์ถึง ฮองเฮา ขอท่านจงไปกราบทูล ฮ่องเต้ ของท่าน ขอพระราชทานการจัดงานฝังพระศพอย่างสมพระเกียรติ์ด้วยเถิด”
พระนาง จู ฮองเฮา ผู้ทรงน่าสมเพช ทรงถูกกรรมลิขิตให้มีวิถีชีวิตในบั้นปลายเช่นนี้ ถึงทรงถูกฝังร่างพระศพ ณ นอกประเทศอย่างศพมิมีญาติเช่นนี้ ภายหลังต่อมาอีก 70 ปี ในรัชสมัยของราชวงศ์ หนานซ่ง รัชกาลของพระเจ้า ซ่งหนินจง ศักราช ซิ่นหยวน ปีที่ 3 พระนางทรงได้รับการสถาปนามีพระสิริยศว่า ฮว่ายหยิน
พระสวามีของพระนาง พระเจ้า ซ่งจินจง จ้าวหวน ทรงได้รับกรรมหนักยิ่งกว่าพระนาง พระองค์ทรงถูกขังอย่างโดดเดี่ยว ณ ตำบล อู่กว๋อเฉิน พระองค์ทรงทนทุกทรมานอีกกว่า 20 ปี จึ่งทรงสิ้นพระชนม์ ในศักราช เจ้าซิ่น ปีที่ 26 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง ในขณะที่มีมีพระชนมายุ 56 พรรษา มีบันทึกในหนังสือ “ซวนเหอ” ว่า ในปีนั้น พระเจ้า จินปั้นหวางตี้ หยวนหยวนเลี่ยน พระองค์ทรงนำทัพมาปราบราชวงศ์ หนานซ่ง ทางใต้ พระองค์ทรงนำพระเจ้า ซ่งจินจง มาเป็นเป้าซ้อมยิงเกาทัณฑ์ เพื่อทรงเอาฤกษ์เป็นธงชัยเฉลิมพล พระเจ้า ซ่งจินจง ทรงถูกลูกเกาทัณฑ์ปลงพระชนม์ทั้ง ๆ ที่ทรงพระชนม์ ส่วนพระศพนั้น ทรง๔กองทัพทหารม้าเหยียบย่ำแหลกแหลวภายใต้อุ้งตีนกองอาชา




 

Create Date : 09 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2548 22:14:26 น.
Counter : 10316 Pageviews.  

สุบินนิมิตร ชักพาเป็นคู่สมรเจ้า คัน (คัง)

สุบินนิมิตร ชักพาเป็นคู่สมรเจ้า คัน (คัง)

พระนาง สิ่น (เฮี้ย) ฮองเฮา

และพระนาง อู๋สี (โง่วสี) ฮองเฮา

ในพระเจ้า ซ่งเกาจง (ซ้องเกาจง) จ้าวเกา (เตียวเกา)

ฤดูหนาว ของศักราช เจ้าซิ่น (เจียวเฮง) ปีที่ 11 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1684 กองทัพ ซ่ง ซึ่งมีขุนพล เย่ว์เฟย (งักฮุย) เป็นผู้นำ ได้ต่อต้านการรุกรานของราชวงศ์ จิน เกือบจักได้รับชัยขำนะอยู่แล้ว แต่พระเจ้า ซ่งเกาจง กลับทรงติดต่อลับ ๆ ขอยอมสงบศึกกับราชวงศ์ จิน ด้วยนโยบายที่เห็นแก่ตัวอย่างร้ายแรง พระองค์ทรงยอมลดฐานะของราชวงศ์ ซ่ง เปรียบเสมือนเมืองขึ้นของราชวงศ์ จิน ทรงยอมลดศักศรีของพระองค์ดั่งเช่นขุนนางของราชวงศ์ จิน ทรงยอมเชือดเฉือนดินแดนของราชวงศ์ ซ่ง หลายแห่ง กับทรงยินยอมเสียเงินทองและผ้าไหมคิดเป็นมูลค่า 250,000 ตำลึง เพื่อเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่ราชวงศ์ จิน นอกจากนี้ ยังทรงนำเอาชีวิตของขุนพล เย่ว์เฟย ซึ่งจงรักภัคดีต่อราชวงศ์ ซ่ง เป็นเครื่องเซ่นสังเวย เพื่อแลกกับสนธิสัญญาเลือด เป็นกระดาษสัญญาเพียงใบเดียว
เดือนที่ 4 ของ 2 ปีต่อมา พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงส่งทูตไปเจรจากับราชวงศ์ จิน ขอนำพระราชมารดาบังเกิดเกล้า พระนาง เว่ย (งุ่ย) ฮองไทเฮา พร้อมทั้งพระอัฐิของพระราชบิดาพระเเจ้า ซ่งเฟยจง และพระมเหสี พระนาง เจิ้น ฮองเฮา ซึ่งถูกจับตัวไปเป็นเชลยศึก ณ แผ่นดิน จิน นำกลับคืนมา ณ แผ่นดิน ซ่ง พระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ที่แท้นั้น ก็คือพระสนม เว่ยเสียเฟย (งุ่ยเฮี่ยงฮุย) ในพระเจ้า ซ่งเฟยจง พระนางทรงถูกกวาดต้อนไปใช้ชีวิตที่ตกระกำลำบากยากเข็ญทางแผ่นดินตอนเหนือ เมื่อศักราช ชินคัน (เช็งคัง) ปีที่ 2 มนรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งจินจง พ.ศ. 1670 พระนางทรงทอดพระเนตรมายังแผ่นดิน เจียนหนาน (กังน้ำ) ทางใต้ทุกวี่ทุกวัน เพื่อทรงรอคอยว่า สักวันหนึ่ง พระราชโอรนสของพระนาง คือพระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงนำกองทัพของราชวงศ์ ซ่ง มาพิชิตแผ่นดินทางตอนเหนือ เพื่อช่วยปลดปล่อยพระนางและพระประยูรญาติ กลับไปยังแผ่นดินแม่อันอุดมสมบูรณ์ แต่ความฝันของพระนาง ย่อมแตกสลายไปตามกาลเวลา จนกระทั่งถึงวันที่ได้รับพระราชโองการจาก อ่องแต้ ของราชวงศ์ จิน ทรงพระอนุญาติให้พระนางทรงเดินทางกลับแผ่นดิน ซ่ง ได้ ในขณะนั้น ได้มีพระประยูรญาติมาตามส่งเสด็จพระนางจำนวนมาก รวมทั้งพระเจ้า ซ่งจินจง ซึ่งในพระวัยเพียง 41 พรรษา แต่แลดูพระองค์ทรงมีพระเกศาขาวโพลนทั่วพระเศียรดั่งตาเป๊ะแก่ ๆ คนหนึ่ง พระเจ้า ซ่งจินจง ทรงพระกรรแสงร่ำไหด้วยความโสกาอาดูรอยู่รอบข้าง ๆ พระราชรถของพระนาง เว่ยฮองไทเฮา ทรงตรัสว่า
“ไทเฮาทรงโชคดี สามารถกลับคืนไปยังพระราชสำนักครั้งนี้ กระหม่อขอฝากความทไปยังน้องที่ 9 (หมายถึงพระเจ้า ซ่งเกาจง) และท่านมหาอำมาตย์ ฉินไกว้ (ฉิ่งไกว่) ให้เป็นธุระเจรจากับ ฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์ จิน ขอให้ทรงปลดปล่อยกระหม่อมกลับคืนไปยังแผ่นดิน ซ่ง กระหม่อมขอยินยอมเป็นเพียงขุนนางเล็ก ๆ คนหนึ่งในพระราชสำนัก ซ่ง เท่านั้นก็เพียงพอ กระหม่อมไม่ขอปราถนาเป็น ฮ่องเต้ หรือเป็นใหญ่ในพระราชสำนัก ซ่ง อีกแล้ว”
พระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ทรงเห็นสภาพที่น่าสมเพชและน่าสงสารของพระเจ้า ซ่งจินจง เข่นนี้ ทรงรู้สึกเศร้าพระทัยยิ่ง สักครู่ ก็มีพระสนม เฉียวกุ้ยเฟย (เคี่ยวกุ้ยฮุย) ทรงแหวกกลุ่มพระประยูรญาติออกมา เข้าเฝ้าพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ด้วยน้ำพระเนตรนองพระพักตร์ แต่มิอาจตรัสคำพูดอันใดออกมา พระนางและพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ทรงมีอัชฌาสัยรักใคร่กันดุจพี่น้องคลานตามกันมา พระนางทั้งสองทรงถูกส่งตัวิข้าวังเป็นนางในในสังกัจของพระนาง เจิ้น ฮองเฮ่า ทรงปรนนิบัติ ทั้งสองพระนางต่างให้ปฏิญาณต่อกันว่า ถ้าฝ่ายใดได้ดิบได้ดี จักชักนำอีกฝ่ายหนึ่งให้ได้ดีด้วย ภายหลัง พระสนม เฉียวกุ้ยเฟย ทรงเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า ซ่งเฟยจง พระนางทรงการาบทูล ฮ่องเต้ แนะนำพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา จนกระทั่งพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ทรงเป็นที่โปรดปรานอีกพระนางหนึ่ง ทรงแต่งตั้งให้เป็นพระสนม เสียนเฟย พระนางจึ่งทรงสามารถให้กำเนิแก่พระราชโอรสเจ้าคันหวาง จ้าวเกา
พระสนมทรงกรรแสงอยู่ชั่วครู่ แล้วทรงล้วงทองคำจากพระอุระจำนวน 50 ตำลึง มอบแก่ราชทูต จิน ที่ตามส่งเสด็จ เกากู้อัน (กอกู่อัง) ทรงตรัสกำชับว่า
“เงินทองเลฌ็กน้อยเช่นนี้ ยังมิเพียงพอต่อการคารวะท่านนายทัพ แต่ข้าน้อยขอความเมตตาจากท่าน ช่วยดูแลพี่สาวของข้าน้อยในระหว่างทางด้วย”
แล้วพระนางก็ทรงกล่าคำอำลาต่อพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ว่า
“ขอพระพี่นาง โปรดรักษาสุขภาพ เพื่อที่จักได้เป็นพระนาง ฮองไทเฮา ณ พระราชสำนัก ซ่ง ส่วนน้องที่อยู่ทางนี้ แม้นมิมีวาสนากลับแผ่นดน ซ่ง หากตายลงทิ้งร่าง ณ นอกแผ่นดินใหญ่ แต่ดวงวิญญาณของของ จักพยายามกลับคืนแผ่นดิน ซ่ง ให้จงได้”
เมื่อตรัสจบ น้ำพระเนตรก็ไหลนองอาบทั่วพระพักตร์ พระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ก็ทรงพระตื้นตัน น้ำพระเนตรหลั่งไหลออกมาเช่นกัน พระนางทั้งสองทรงจับพระกรบีบกันซึ่งกันและกัน ต่างอำลากันด้วยความอาลัยอาวรณ์
ขณะที่เดินทางนั้น เป็นเวลากลางฤดูร้อน แสงแดดสาดส่งร้อนเจิดจ้า ทหารราชวงศ์ จิน ที่ตามส่งเสด็จ ไม่เคยชินกับอากาศที่ร้อนอบอ้าวเช่นนี้ พากันบ่นพึมพำ การเดินทางล่าช้ามาก พระนราง เว่ย ฮองไทเฮา ทรงเกรงว่า ทหารราชวงศ์ จิน จะเปลี่ยนใจ มิยอมส่งพระนางกลับถึงแผ่นดิน ซ่ง จึ่งทรงทำทีว่าทรงพระประชวร เนื่องจากภูมิอากาศเป็นเหตุ แต่แล้วพรีะนางก็ทรงแอบยืมเงินแท่งจากนายทัพ เกากู้อัน 3,000 ตำลึง มาติดสินบนททหารราชวงศ์ จิน ทหารราชวงศ์ จิน ต่างพากันดีใจ ไม่กลัวอากาศร้อนอีกต่อไป พากันเร่งวันเร่งคืนในการเดินทาง
เมื่อเดือนที่ 8 พระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ก็เดินทางมาถึงเมือง หนินอัน (นิ่มอัง ของแผ่นดิน ซ่ง พระเจ้า ซ่งเกาจง พร้อมด้วยเหล่าขุนนางทั้งฝ่าย บู้ ฝ่ายบุ๋น ต่างพากันเดินทางมาต้อนรับ แม่ลูกยามพบปะกัน ต่างกลั่งน้ำพระเนตรต่อกันด้วยความโทรมนัสและโสมนัส พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงกราบไหว้พระโกฏิ์บรรจุอัฐิของพระราชบิดา และพระนาง เจิ้น ฮองไทเฮา ด้วยความเศร้าโศก พระองค์ทรงยิ่ง้ศร้าพระทัย เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นพระโกฏิ์อีกอันหนึ่ง และเมื่อทรงทราบว่า เป็นพระโกฏิ์ที่บรรจุพระอัฐิของพระมเหสีของพระองค์เอง พระนาง ซิ่น ฮองเฮา
ทรงพระกรรแสงอีกชั่วครู่ จึ่งทรงตรัสกับเหล่าขุนนางทั้งหลายว่า
“ข้า ตั้งแต่เป็น ฮ่องเต้ มา มีความคิดถึงนางอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นเวลานานถึง 16 ปี หารู้ไม่ว่า นางตายร้ายดีประการใด จวบปัจจุบันจึ่งได้รับข่าวร้ายนี้ ความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยาของเราแต่เก่าก่อน ทำให้ข้ารู้สึกสะเทือนใจยิ่ง”
บรรดาขุนนางทั้งหลาย นำโดยมหาอำมาตย์ ฉินไกว้ ต่างทูลปลอบโยนพระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงคลายพระเศร้าโศก ดั้งนั้น ทรงให้บรรจุพระอัฐิของพระนาง ซิ่น ฮองเฮา ไว้ข้างพระศพของพระนาง เสิ่นเสี้ยน ฮองไทเฮา (เสียเฮี้ยง อ่วงไท้โหว) และพระนาง เมิ่น (เม้ง) ฮองเฮา ในพระเจ้า ซ่งจิ๊จง (ซ้องเตียกจง)
พระนาง ซิ่น ฮองเฮา พระบิดาคือ ซิ่นฮว่าง (เฮี่ยฮ่วง) เป็นชนชาวเมือง ไคฟง (ไคฮง) พระเจ้า ซ่งเกาจง ขณะทรงดำรงค์พระยศเป็นเจ้า คันหวาง พระเจ้า ซ่งเฟยจง พระราชบิดา ทรงเลือกพระสุนิสาให้พระองค์ ดำรงค์พระยศเป็น เจียกว๋อฟูหยิน (เกียกกฮูยิ้ง) เมื่อศักราช ชินคัน ปีที่ 1 เจ้า คันหวาง ทรงเสด็จไปทำหน้าที่ราชทูต ณ ราชอาณาจัก จิน พระองค์จำพระทัยทรงพลัดพรากจากพระชายา ศักราช ชินคัน ปีที่ 2 เจ้า คันหวาง ทรงเสด็จหนหีลงทางใต้ และทรงรับตำแหน่ง ฮ่องเต้ ในมณฑล เหอเป่ย ในขณะเดียวกัน พระชายา ซิ่น ก็ทรงถูกทหารราชวงศ์ จิน กวาดต้อนไปทางเหนือ พร้อมกับอดีต ฮ่องเต้ 2 พระองค์ ทรงถูกกักขัง ณ เมือง อู่กว๋อเฉิน (โง่ก๊กเซี้) ปีหนึ่ง พระเจ้า ซ่งเฟยจง ทรงโปรดให้มหาดเล็ผู้หนึ่งชื่อ เชาชุน (เฉ่าฮึง) ซึ่งถูกอนุญาติปล่อยตัวกลับแผ่นดิน ซ่ง พระองค์ทรงถอดพระธำมรงค์ซึ่งพระนาง ซิ่น ทรงสวมใส่ ไปถวายแก่พระเจ้า ซ่งเกาจง เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าพระนาง ซิ่น ยังทรงพระชนม์ชีพ พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงเห็นพระธำมรงค์ ทรงผินพระพักตร์ไปทางด้านทิศเหนือ ทรงมีพระราชโองการแต่งตั้งพระชายา ซิ่น เป็นพระนาง ซิ่น ฮองเฮา แต่พระนาง ซิ่น ฮองเฮา ดวงชะตายังทรงโชคร้าย พระนางทรงเป็น ฮองเฮา ในฐานะเชลยศึกอีกได้มินาน ก็ทรงสิ้นชีพตักสัยเสด็จสวรรคต เมื่อศักราช เจ้าซิ่น ปีที่ 9 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1682 ขณะทรงพระชนมายุ 34 พรรษา
เมื่อพระเจ้า ฉินซี่หวาง ทรงพิชิตปราบปรามเจ้ารัฐทั้งหก สถาปนาประเทศจีนเป็นเอกภาพ
แผนที่พระราชอาณาจักรของราชวงศ์ ฉินนั้นกว้างใหญ่ไพศาล ทางด้านทิศตะวันออกมีอาณาเขตติดชายฝั่งทะเล ด้านทิศตะวันตกติดทะเลทรายตะวันตก ด้านทิศเหนือติดทะเลทรายทางเหนือ ส่วนด้านทิศใต้นั้นเลยเทือกเขา หลินหนาน (เล่งน้ำ) ลงมาทางใต้ แต่นครหลวงเมือง เสี้ยนหยาง หาได้ตั้งอยู่ตอนกใจกลางไม่
แต่อยู่เยื้อนค่อนไปทางทิศตะวันตก นี่เป็นอุปสรรค์หนึ่งของการปกครองแผ่นดิน พระเจ้าฉินซี่หวาง เมื่อ 2,000 กว่าปีก่อนตอนที่ยังทรงพระชนม์ พระองค์ก็ได้ทรงคิดถึงจุดอ่อนข้อนี้ ทรงดำริคิดย้ายนครหลวงไปยังทิศตะวันออก แต่ด้วยความฝังรากทางวัฒนะธรรม ความเป็นมาตุภูของเมือง เสี้ยนหยาง มาแต่กำเนิด พระองคืทรงทิ้งเมือง เสี้ยนหยาง ไม่ลง จึงไม่ได้ทรงย้ายเมืองหลวง อีกประการหนึ่งตามลุ่มน้ำ ฉินชวน (ชิ่งชวง) ซึ่งห่างไปเพียง 800 ลี้ เป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำของเมือง เสี้ยนหยาง บรรดาผลผลิตต่าง สามารถลำเลียงขนถ่ายมาตามลำน้ำโดยสดวก แต่พระองค์ยังทรงหวาดหวั่นพระทัยอยู่ตลอดเวลาว่า เมืองรัฐทั้งหกเดิมที่พระองค์ปราบปรามอยู่ภายใต้อุ้งพระหัตถ์ และยังมีชนชาติต่าง ๆ ที่อยู่เลยเทือกเขา ไท่หาหนซาน (ไท้ฮั่งซัว) ไปทางทิศตะวันออก ในดินแดน ซันจง (ซัวตัง) อาจจะมีวันหนึ่งเข้มเข็งเข็งข้อต่อพระองค์ พระองค์ทรงได้พยายามตรวจตรา ขับขี่พระราชรถออกตระเวนทั่วพระราชอาณาจัก ทรงสร้างถนนหนทาง ออกพระราชบัญญัติให้บรรดารถทุกชนิดให้มีความกว้างเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อที่พระองค์เสด็จประพาสเดินทางไปมาได้สะดวก
ก่อนที่พระเจ้า ฉินซี่หวาง จะเสด็จสวรรคต พระองค์ทรงพระสุบินถึงพระราชบุตร ฉู่ชี (ฉ่อชี) ซีงเป็นพระโอรสของพระราชบิดดาเจ้า ฉินจวนเซี่ยนหวาง (ชิ่งจวงเซียงอ้วง) ว่า
“พระองค์ทรงใช้พระราชอำนาจอันโหดร้ายควบคุมแผ่นดิน ยังความรุ่งโรจน์มีหน้ามีตาให้แก่ตระกูลเมือง ฉิน เรา แต่ความรุ่งโรจน์นี้จักดำรงได้เพียง 10 กว่าปี อีกพันปีให้หลังที่ไหนจะมีแผ่นดินให้พระองค์ควบคุม”
พระเจ้า ฉินซี่หวาง ทรงไม่ยอมละทิฐิ ในพระสุบินทรงถามพระบิดาเจ้า ฉินจวนเซี่ยนหวาง ว่า มีวิธีแก้ไขอย่างไร พระบิดาตอบว่า
“พระอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก แต่ภายหลังพระอาทิตย์ก็ขึ้นอีกใช่ไหม”
เมื่อทรงผ่านการปรึกษาแนะนำแก้พระสุบินจากบรรดาขุนนางผู้ใหญ่ พระองค์ทรงปักพระทักว่า
พระองค์เปรียบดั่งเช่นพระอาทิตย์ เมื่อพระองค์ทรงสิ้นสวรรคตไปแล้ว แผ่นดิน ฉิน อันยิ่งใหญ่จักต้องกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ดั่งพระอาทิตย์ขึ้นอีกทางทิศตะวันออก พระองค์ทรงมีบัญชาให้สร้างประตูใหญ่ของพระสุสานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เพื่อรับอรุณรุ่งของพระอาทิตย์ที่กลับขึ้นมาหม่ พระองค์ทรงทำพินัยกรรมให้แก่พระโอรสองค์โต เจ้าชาย ฟูซู (ฮูโซว) ให้เป็นกษัตราธิราชต่อจากพระองค์ ทรงกำชับให้ระวังพวกเจ้าและฝูงชนทาง




 

Create Date : 09 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2548 22:13:43 น.
Counter : 504 Pageviews.  

สุสาน 12 ฉินหลิน 12

สุสาน 12 ฉินหลิน 12

ด้านทิศตะวันออก แต่พระพินัยกรรมของพระองค์ทรงไม่ได้รับการปฏิบัติ เมื่อพระเจ้า ฉินซี่หวาง สวรรคต
เจ้าชาย หูไห่ (โอ่วไห้) ทรงฆ่าเจ้าชาย ฟูซู และเผาพระพินัยกรรมทิ้ง เจ้าชาย หูไห่ ขึ้นครองราชย์สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อมาได้ 3 ปี ก็ทรงถูอำมาตย์ขันที จ้าวเกา (เตี่ยเก) บังคับให้ทรงฆ่าตัวตาย จ้าวเกาได้แต่งตั้งพระโอรสของ หูไห่ เป็นฮ่องเต้ลำดับที่ 3 ของราชวงศ์ ฉิน คือพระเจ้า จื่ออิน พระเจ้า จื่ออิน ทรงครองราชย์ได้เพียง 43 วันก็ทรงยอมสวามิภักดิ์ต่อเจ้า หลิวปัน (เล่าปัง) ก็เป็นอันว่าราชวงศ์ ฉิน ได้ถึงวาระแห่งพระอาทิตย์อัสสะดงเสียแล้ว
ผู้ที่กล้าเขย่าพระราชบัลลังก์ของราชวงศ์ ฉิน เป็นครั้งแรกก็คือพวกกบฏชาวนาทางทิศตะวันออก พระเจ้า ฉินซี่หวาง ถึงแม้พระองค์จะทรงปราชญ์เปรื่องทรงพระราชอำนาจเช่นใดก็ตาม ทรงพิชิตศึกเหนือใต้ปราบปรามจนราบคาบทั่วแผ่นดิน แต่พระองค์ไม่สามารถทรงพิชิตกาลที่ร่วงโรงแห่งพระสังขารของพระองค์เอง พระวรกายของพระองค์ก็ทรงเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา ตายแล้วก็เน่าเปื่อยเป็นเศษฝอยธุลี แม้ว่าพระศพจะทรงห่อหุ้มด้วยเสื้อทองเกราะเงินโลงทองสัมฤทธิ์ บรรจุด้วยแก้วแหวนเงินทองเพชรนิลจินดามากมายที่น่าเกรงขาม แต่พระองค์ก็ไม่ทรงพระราชอำนาจดั่งเมื่อทรงพระชนม์ เจ้า เซี่ยนยู่ (ฮั่งอู้) ทรงเผาพระราชวัง เสี้ยนหยาน (ฮ่ำเอี้ยง) ทรงให้ทหารขุดทำลายพระสุสานของพระองค์ แต่ ฮ่องเต้ ผู้เป็นใหญ่ ณ สุสานพระราชวังใต้ดิน ก็ทรงพระบรรทมเฉย มิลุกขึ้นมาต่อต้าน
นครหลวง เสี้ยนหยาน อยู่กึ่งกลางของประเทศ เป็นศูนย์รวมแห่งพระราชอำนาจ ประดุจเป็นดาว จี้เว่ย (จี๋มุ้ย) หรือดาวกษัตริย์บนฟากฟ้าสรวงสวรรค์ ตามความเชื่อของนักดาราศาสตร์และโหราศาสตร์
มีแม่น้ำ เว่ยสุ่ย (อุ่ยจุ้ย) เปรียบดั่งเป็นทางช้างเผือกแม่น้ำคงคาแห่งสรวงสวรรค์ มีดาวฤกษ์ล้อมรอบเป็นบริวารถึง 36 กลุ่ม ซี่หม่าเชียน (ซือม่าเชียง) ได้บันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ สื่อจี้ (ไซ้กี่) ว่า สุสานของพระเจ้า ฉินซี่หวาง ที่พระตำหนักใต้ดิน ได้เอาสารปรอทมาฉาบเป็นทางแสดงสัญลักษณะของแม่น้ำภูเขาและทะเล ส่วนบนเพดานพระสุสานได้นำอัญญะมณีที่เรียกว่า ไข่มุกราตรี หรือ เยี่ยนเจินจู (เม่เตียงจู) ซึ่งปัจจุบันเป็นของที่หายากและหายสาปสูญไปแล้ว เป็นอัญญะมณีที่มีแสงสว่างในตัวของมันเอง มาประดับแสดงดวงดาวต่าง ๆ นอกจากนี้ในพระตำหนักใต้ดิน ยังสร้างเป็นกำแพงเมืองเลียนแบกำแพงเมืองของนครหลวง เสี้ยนหยาน กำแพงเมืองชั้นในตั้งแต่ทิศเหนือจรดทิศใต้ยาว 1,355 เมตร ด้านทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกยาว 685 เมตร ส่วนกำแพงเมืองด้านนอกตั่งแต่ทิศเหนือจรดทิศใต้ยาว 2,165 เมตร ด้านทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกยาว 1,40 เมตร กำแพงเมืองด้านในทางทิศตะวันออก ทิศตัะวันตก และทิศใต้ แต่ละด้านมีประตูเมืองด้านละ 1 ประตู ส่วนทางด้านทิศเหนือมีประตูเมือง 2 ประตู และกำแพงเมืองด้านนอกแต่ละด้านมีประตูเมืองด้านละ 1 ประตู พระราชวัน เสี้ยหยานกง (ฮ่ำเอี่ยงเก็ง) อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกำแพงเมืองนคร เสี้ยนหยาน จึงสันนิษฐานได้ว่าโลงบรรจุพระศพของพระเจ้า ฉินซี่หวาง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีดาว จี้เว่ย (จี๋มุ้ย) หรือดาวพระมหากษัตริย์ประดับอยู่บนเพดานเบื้องบน และประดับเป็นสายทางช้างเผือกพาดจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตกค่อนไปทางทิศเหนือ
ดังนั้น เมื่อเดือนที่ 4 ศักราช เจ้าซิ่น ปีที่ 12 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1685 มหาอำมาตย์ ฉินไกว้ ได้กราบทูลให้พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงเลือก ฮองเฮา พระองค์ใหม่ และด้วยความเห็นชอบของพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา พระองค์ทรงเลือกพระสนมที่โปรดปรานที่สุด คือพระสนม อู๋กุ้ยเฟย (โง่วกุ้ยฮุย) เป็น ฮองเฮา
พระสนม อูสี ก็คงเป็นชนชาวเมือง ไคฟง เช่นกัน พระบิดาคือ อู๋จิ้น ((โง่วกิ๋ง) กล่าวกันว่า ก่อนที่พระนางจักเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นนางใน พระบิดาได้ฝันว่า ได้เดินทางมาพักที่ศาลาหลังหนึ่ง ภายในศาลามีอักษร 2 คำ จารึกว่า ซี่คัน (สี่คัง) ซึ่งแปลว่าปรนนิบิต เจ้าคัน ดังนั้น เมื่อพระนางมีพระชยม์ได้ 14 พรรษา ก็ถูกเลือเข้าวังถวายตัวเจ้า คันหวาง จากนั้นก็เป็นที่โปรดปรานของเจ้า คันหวาง สมดังความฝันที่เป็นจริงของพระบิดา
ศักราช ชินคัน ปีแรกนั้น เจ้า คันหวาง ต้องจากนครหลวง เปี้ยนจิน ทรงไปรบทัพจับศึกเหนือใต้ พระชายา อู๋สี ก็ทรงติดตามข้างพระกายปรนนิบัติเจ้า คันหวาง ทุกแห่งที่ทรงเสด็จ ภายหลัง เจ้า คันหวาง ทรงถูกสถาปนาเป็น ฮ่องเต้ คือพระเจ้า ซ่งเกาจง พระองค์ทรงนำกองทัพถอยร่นมาสู่ทางใต้ มุ่งยังดินแดน เจ้อเจียน (จิกกัง) ซึ่งก็คือมณฑล เจ้อเจียน ในปัจจุบัน พระนาง อู๋สี ทรงฉลองพระองค์เป็นเครื่องแบบนายทหารติดตามพระองค์ พระนางทรงพระสิริลักษณ์งดงามดั่งอัศวินผู้แกล้วกล้าในการสงคราม พระเจ้า ซ่งเกาจง นอกจากทรงพอพระทัยในความงดงามสง่าของพระนางแล้ว ยังทรงพอพระทัยในพระสติปัญญาของพระนาง พระนางยังทรงโปรดการอ่านและทรงพระอักษร ในศักราช เจ้าซิ่น พระนางทรงติดตามเสด็จพระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงข้ามน้ำข้ามทะเลจากเมือง ติ้นไห่ (เตี่ยไห้) ไปยังเมือง ชานกว๋อ (เชียงกก) ในระหว่างทรงเสด็จทางทะเลนั้น มีปลาสีขาวตัวหนึ่ง กระโดดขึ่นมาบนลำเรือพระที่นั่ง พระนางทรงชี้ที่ปลาสีขาวตัวนั้น ทรงตรัสว่า
“นี่คือนิมิตรหมายที่เป็นสิริมงคลพ่ะย่ะค่ะ”
พระนางทรงหวังพระทัยว่า พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงสามารถแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เลวร้าย และต่อต้าราชวงศ์ จิน ได้สำเร็จ ต่อมาในภายหลัง มีนายทัพบางคน เป็นกบฏต่อต้านพระเจ้า ซ่งเกาจง พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงเสด็จหนีไปได้ พวกกบฏได้พยายามสอบแค้นถามพระนางว่า พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงเสด็จหลบหนีไปทางทิศใด พระนางทรงชี้ไปในทางทิศทางตรงกันข้ามกับที่พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงหลบหนีไป จึ่งเป็นการช่วยชีวิตของพระเจ้า ซ่งเกาจง
เมื่อพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ทรงเสด็จกลับจากราชอาณาจัก จิน พระนางทรงให้ความเคารพและทรงปรนนิบัติต่อพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา อย่าดียิ่ง ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย และเป็นที่โปรดปรานของพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา
พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงมีพระราชโอรสคือเจ้าชาย จ้าวฟู (เตียวฮู) ทรงกำเนิดจากพระสนม พานกุ้ยเฟย (พัวกุ้ยฮุย) เมื่อตอนศักราช เจี้ยนย่าน (เกี่ยงเอี่ยง) ปีที่ 3 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง เมี่ยวฤู่ (เมี่ยวโป่ว) ก่อการเป็นกบฏ เจ้าชาย จ้าวฟู่ ทรงถูกแต่งตั้งเป็น ฮ่องเต้ ต่อมาภายหลัง ขุนพล หันซื่อจง (ฮั่งซี้ตง) สามารถปราบกบฏลงได้ พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงคืนสู่พระราชบัลลังก์ เจ้าชาย จ้าวฟู่ จึงทรงถูกแต่งตั้งเป็นองค์รัชทายาท แต่ทว่ามินานหลังจากนั้น พระเจ้า ซ๋งเกาจง ทรงยกพลเสด็จอพยพไป ณ นคร เจี้ยนคัน (เกี่ยงคัง) ปัจจุบันคือนคร หนานจิน (น่ำเกีย) ในระหว่างทางที่ทรงเสด็จ พระพี้เลี้ยงที่อุ้มเจ้าชาย จ้าวฟู่ ได้ทำพลาดเจ้าชายตกลงสู่พื้นดิน เจ้าชาย จ้าวฟู่ ทรงร้องออกมาได้คำเดียว ก็ทรงสิ้นพระชนม์ พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงพิโรธ ทรงมีรับสั่งให้นำนางพี่เลี้ยงนั้นมาตีตายทั้งเป็น
ศักราช เจ้าซิ่น ปี่ที่ 13 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1686 ซึ่งเป็นปีที่พระนา อู๋สี ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็น ฮองเฮา พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงมีพระชนม์ย่างเข้าสู่วัยกลางคน แต่ก็ยังทรงมิมีราชทายาทสืบสันติวงศ์ พระนาง อู๋ ฮองเฮา ทรงพระกังวลยิ่ง ทรงปรึกษากับพระเจ้า ซ่งเกาจง ถึงการแต่งตั้งองค์รัชทายาท ขณะนั้น ภายในวังหลังของราชวงศ์ หนานซ่ง มีเจ้าชายที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาท 2 พระองค์ องค์หนึ่งคือเจ้าชาย จ้าวเป๋อจง (เตียวเป๊ะจง) ซึ่งทรงถูกเลี้ยงดูเป็นโอรสบุญธรรมของพระสนม จางเสียนเฟย (เตียเหี่ยงฮุย) ทรงเป็นแหลนชั่วโคตรที่ 7 ของพระเจ้า ซ่งไท่จู่ จ้าวคันย่าน พระปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ ซ่ง อีกองค์หนึ่งคือ เจ้าชาย จ้าวป๋อจิ่ว (เตียวเป๊ะเก้า) ซึ่งทรงถูกเลี้ยงดูเป็นโอรสบุญธรรมของพระนาง อู๋ฮองเฮา พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงปรึกษาถามพระนาง
“ลูก ป๋อจง และ ป๋อจิ่ว น้องเจ้าเห็นผู้ใดเหมาะสมมีสติปัญญาดี สมควรเป็นองค์รัชทายาท”
“คือ…คือว่า…”
พระนางทรงตรัสมิออก ทรงชั่งพระทัยอยูว่า ความจริงพระนางทรงชอบชมในความขยันหมั่นเพียร และพระสติปัญญาที่เหนือกว่าของเจ้าชาย ป๋อจง กับเจ้าชาย ป๋อจิ่ว แต่ทว่า เจ้าชาย ป๋อจิ่ว ทรงเป็นโอรสบุญธรรมที่พระนางทรงเลี้ยงดูมากับพระหัตถ์ ดังนั้น ความรักความใกล้ชิดที่มีต่อเจ้าชาย ป๋อจิ่ว จึ่งมีมากกว่า พระเจ้า ซ่งเกาจง เอง ก็ทรงทราบถึงความในพระทัยของ ฮองเฮา พระองค์จึ่งยังคงพระลังเล ขณะนั้น มหาอำมาตย์ ฉินไกว้ ก็รู้เรื่องราว จึ่งถวายความเห็นต่อพระเจ้า ซ่งเกาจง ว่า การแต่งตั้งองค์รัชทายาทขณะนี้ยังมิถึงควรแก่เวลา สู้รอคอยให้ ฮองเฮา ทรงมีพระราชโอรสเอง แล้วค่อยมาแต่งตั้งก็ยังมิสาย ดั่งนั้น การดำริแต่งตั้งองค์รัชทายาทก็เป็นอันระงับ
เวลาผ่านไปดั่งติดปีก ถึงเดือนที่ 9 ศักราช เจ้าซิ่น ปีที่ 29 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1702 พระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ทรงมีพระชนมายุ 80 พรรษา พระนางทรงพระประชวร ทรงบรรทมอยู่บนพระแท่น มิสามารถทรงเสด็จลุกขึ้น พระเจ้า ซ่งเกาจง ในพระชนมายุ 52 พรรษา ทรงเป็นห่วงในการแต่วงตั้งองค์รัชทายาทอย่างยิ่ง ทรงปรึกษากับราชอาลักษณ์ จางเทา (เตียเต้า) ว่าระหว่างเจ้าชาย ป๋อจง กับเจ้าชาย ป๋อจิ่ว ควรเลือกองค์ใดเป็นรัชทายาท แต่ จางเทา ก็มิอาจตัดสินใจให้พระองค์ได้ ได้แต่อ้ำ ๆ อึ้ง ๆ พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงจิตพิศมัยแต่งตั้งเจ้าชาย ป๋อจง แต่ก็ทรงเกรงพระทัยพระนาง อู๋ ฮองเฮา จักทรงพระพิโรธ พระองค์ทรงคิดค้นวิธีสอบถามเจ้าชายทั้งสอง พระองค์จึ่งทรงพระราชทานนางในแก่เจ้าชายทั้งสององค์ละ 20 นาง แล้วส่งคนไปสืบดูพฤติกรรมของเจ้าชายทั้งสอง ณ ตำหนักของเจ้าชายทั้งสอง ปรากฏว่า ที่วังของเจ้า พู่อันจงหวาง พระตำหนักของเจ้าชาย ป๋อจง นั้นเงียบเชียบ มิมีอะไรเกิดขึ้น แต่ที่พระตำหนักของเจ้าชาย ป๋อจิ่ว นั้น มีการฉลองงานเลี้ยงฉลองนางในทั้ง 20 เจ้าชาย ป๋อจิ่ว ทรงตระคองกอดนางในของพระองค์ทั้งซ้ายขวา พระเจ้า ซ่งเกาจง จึ่งทรงปรึกษากับพระนาง อู๋ ฮองเฮา ถึงพฤติกรรมของเจ้าชายทั้งสอง พระนาง อู๋ ฮองเฮา ทรงกราบทูลว่า ที่แท้เจ้า พู่อัน มีลักษณะสมควรเป็น ฮ่องเต้ ทั้งสองพระองค์ ตั้งพระทัยแน่นอน ทรงเลือกเจ้าชาย ป๋อจง เป็นองค์รัชทายาท เปลี่ยนพระนามว่า เจ้าชาย จ้าวกวน (เตียวก้วง)
ศักราช เจ้าซิ่น ปีที่ 32 ในรัชสมัยชขงพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1705 พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงพระตะหนักว่า พระองค์ทรงพระชรายิ่ง พระวรกายมิเข็งแรง ทรงพระดำริถอดถอนพระองค์เองออกจากตำแหน่ง ฮ่องเต้ ทรงแต่งตั้งพระองค์ในตำแหน่งพระเจ้า ไท่ซ่านหวาง (ไท้เซี่ยงอ๊วง) ทรงให้องค์รัชทายาท จ้าวจวน เสวยพระราชสมบัติว่าราชการเป็น ฮ่องเต้ ทรงพระนามว่า พระเจ้า ซ่งเสี้ยวจง (ซ้องเฮ้าจง) พระองค์และพระนาง อู๋ ฮองเฮา ทรงเสด็จเกษียรราชการอยู่ในพระราชวัง เต๋อซิ่งกง (เต็กซิ่วเก็ง) ขณะนั้น พระนาง อู๋ ฮองเฮา ทรงมีพระชนมายุ 48 พรรษา
พระเจ้า ซ่งเสี้ยวจง จ้าวจวน ทรงพระกตัญญูยิ่ง พระองค์ทรงสอบถามเยี่ยมเยือนพระเจ้า ซ่งเกาจง และพระนาง อู๋ ฮองไทเฮา ทุก ๆ วัน ดั่งเช่นที่พระองค์ทรงปฏิบัติ ขณะดำรงค์ตำแหน่ง องค์รัชทายาท พระองค์ทรงสถาปนาพระนาง อู๋ ฮองไทเฮา มีสิริพระยศว่า ซิ่วซิ่นหมินฉือไท่ซ่านหวางโฮ่ว (สิ่วเสียเม่ฝชื้อไท้เสียงอ่วงโหว) หรือ ซิ่วเซ่นจี้หมินก่วนฉือไท่ซ่านฟหวางโฮ่ว (สิ่วเสียจี่เมี้ยงก่วงชื้อไท้เสียงอ่วงโหว) และยังทรงเพิ่มพระอักษรอีก 2 คำว่า ปี่เต๋อ (ปี่เต็ก)
พระเจ้า ซ่งเกจง จ้าวเกา ทรงใช้ชีวิตที่ทรงสำราญ ณ พระราชวัง เต๋อซิ่วกง พระองค์ยังทรงมีพระสนมนางใน ติดตามปรนนิบัติพระองค์หลายนาง เช่ยพนะสนม หลิว (เล้า) กุ้ยเฟย ซึ่งเป็นที่โปรดปรานมากรองจากพระนาง ฮองเฮา นอกจากนี้ ก็ยังมีพระสนม จาง (เตีย) กุ้ยเฟย, พระสนม ฟ่งเหม่ยเหยิน (พั่งมุ่ยยิ้ง), และพระสนม หันไฉ่เหยืน (ฮั่งไช่ยิ้ง), พระสนม อูไฉ่เหยิน (โง่วไช่ยิ้ง), และพระสนม หวางไฉ่เหยิน (เฮ่งไช่ยิ้ง)
เมื่อพระสนม หลิวกุ้ยเฟย ทรงพระประชวรสิ้นพระชนม์ พระเจ้า จ้าวเกา ทรงอาลัยอาวรณ์เสียพระทัยยิ่ง ดั้งนั้น เมื่อศักราช ชุนซี (ชุงฮี) ปีที่ 14 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเสี้ยวจง พ.ศ. 1730 พระเจ้า ซ่งเกจง จ้าวเกา ก็ทรงเสด็จสวรรคต ก่อนสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงยังมีพระเมตตาต่อ ฮองเฮา ของพระองค์เอง ทรงแต่งตั้งพระนาง ฮองเฮา ของพระองค์ เป็นพระนาง ฮองไทเฮา จณะทรงสิ้นพระชนม์นั้ ทรงมีสิริพระขนมายุ 81 พรรษา
พระเจ้า ซ่งเสี้ยวจง ทรงเชิญเสด็จพระนาง อู๋ ฮองไทเฮา กลับไปทรงประทับ ณ พระราชวังหลวง แต่พระนางทรงอาลัยสถานที่ ที่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพระเจ้า ซ่งเกาจง พระนางทรงคงประทับที่พระราชวัง เต๋อซิ่วกง และทรงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่าพระราชวัง ฉือฟู่กง (ฉื่อฮกเก็ง) ขณะที่พีระนางทรงพระชนม์ 83 พรรษา ทรงได้รับอิสริยยศว่า เสียนเซ่นฉือเลี่ยหวางโฮ่ว (เฮี่ยงเสียชื่อเลียกอ่วงโหว)
ประวัติของราชวงศ์ หนายซ่ง หรือ ซ่งใต้ เมื่อราชวงศ์ ซ่งเหนือ ถูกโค่ทำลายลงโดยราชวงศ์ จิน เมื่อศักราช ชินคัน ปีที่ 2 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งจินจง พ.ศ. 1670 นั้น พระราชโอรสองคืที่ 9 ของพระเจ้า ซ่งเฟยจง หรือพระอนุชาต่างพระมารดาของพระเจ้า ซ่งจินจง พร้อมด้วยเหล่าเสนนาอำมาตย์ของราชวงศ์ เป๋ยซ่ง จำนวนหนึ่ง ได้เดินทางหลบหนีภัยสงครามอพยพลงทางใต้ จึ่งได้พร้อมใจกันสถาปนาเจ้า คันหวาง จ้าวเกา ขึ่นเป็น ฮ่องเต้ ทั้ง ๆ ที่ราชวงศ์ เป่ยซ่ง ยังมี ฮ่องเต้ ซึ่งทรงถูกจับตัวไปเป็นเชลย ณ แผ่นดิน จิน อีก 2 พระองค์ ทั้ง 2 พระองค์ทรงถูกกักขัง ณ เมือง อิ้นเทียนฝู่ (อิ้งเที่ยงฮู้) ปัจจุบันคือเมือง ซานคิว (เซียงคิว) ในมณฑล เหอเป่ย ทรงพระนามว่าพระเจ้า ซ่งเกาจง เปลี่ยนชื่อปีศักราชว่า เจี้ยนย่าน (เคี่ยงเอี๋ยม) จนถึงศักราช เจ้าซิ่ง (เจียวเฮง) ปีที่ 8 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1681 จึ่งทรงย้ายนครหลวงมา ณ นคร หนินอัน (หนิ่มอัง) เป็น ฮ่องเต้องค์แรกของราชวงศ์นี้ นักประวัติศาสตร์จีนเรียกราชวงศ์นี้ว่า ราชวง หนานซ่ง (น่ำซ้อง..ซ่งใต้)
ศักราช เจี้ยนย่าน (เคี่ยงเอี๋ยม) ปีที่ 3 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งจินจง พ.ศ. 1672 พระอนุชาของพระเจ้า จินไท่จู่ หยวนเหยียนวู่ซู่ (อ่งง้วงอุกซุก) เป็นแม่ทัพ ยกกองทัพ จิน รุรานลงมาทางใต้อีก พระเจ้า ซ่งเกาจง ก็ทรงหลบหนีลงไปทางใต้อีกเช่นเคย แต่ ณ ดินแดนทางตอนเหนือ ณ ตำบล หวงเทียนทง (อึ่งเทียงทึง) กองทัพของราชวงศ์ จิน ได้ปะทะกับกองทัพของขุนพล หันซื่จง (ฮั่งซีตง) แห่งราชวงศ์ ซ่ง ทั้ง 2 ฝ่ายได้ต่อสู้รบพุ่งกันเป็นสามารถ หันซื่อจง สามารถตีกองทัพราชวงศ์ จิน แตกพ่ายถอยไปได้ ดั่งนั้น ราชวงศ์ จิน จึ่งมิอาจดูแคลนฝีมือกองทัพของราชวงศ์ ซ่ง ยกทัพข้ามลำน้ำมารุกรานราชวงศ์ ซ่ง อย่างย่ามใจได้ นอกจากยุทธการ ณ สมรภูมิ หวงเทียนทง แล้ว กองทัพราชวงศ์ ซ่ง ยังได้ต้านรับกองทัพราชวงศ์ จิน ซึ่งนำโดยขุนพล อู๋หลิน (โง่งลิ้ง), และขุนพล อู๋ไก้ (ง่วไก่), ณ มณฑล ซ่านซี และขุนพล เย่ว์เฟย (งักฮุย), ณ เมือง ซ่านเหยาน (เซียงเอี๊ยง) ทหารราชวงศ์ ซ่ง ขัดขวางการรุกรานของกองทัพราชวงศ์ จิน อย่างได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อศักราช เจ้าซิ่น ปีที่ 10 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1683 แม่ทัพราชวงศ์ จิน นำโดยเจ้า หยวนเหยียนวู่ซู่ ได้ยกกองทัพแบ่งกำลังออกเป็น 3 ทาง บุกเข้ามายังอาณาจัก ซ่ง อีก ขุนพล เยว์เฟย ได้นำกองกำลังเข้าต่อต้าน รบจนกระทั่งได้ชัยชำนะ ตีได้ดินแดนของราชวงศ์ ซ่ง กลับคืนมาหลายแห่ง และยังกลับรถล่ำเข้าไปในราชอาณาจักร จิน แต่พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงแกรงว่า ขุนพล เยว์เฟย จักมีกองกำลังอำนานมากเกินไป และถ้าราชวงศ์ ซ่ง สามารถพิชิตราชวงศ์ จิน ได้สำเร็จ พระเจ้า ซ่งเฟยจง, และพระเจ้า ซ่งจินจง ทรงสามารถกลับคืนมาสู่แผ่นดิน ซ่ง ได้ ตำแหน่ง ฮ่องเต้ ของพระองค์ก็จักมีปัญหา ดั่งนั้น พระองค์จึ่งทรงปรึกษาร่วมมือกับมหาอำมาตย์ ฉินไกว้ ทรงมีพระราชองค์การเป็นคำสั่งป้ายทอง 12 อัน เรียนขุนพล เย่ว์เฟย ถอยทัพกลับคืนมา และเมื่อขุนพล เย่ว์เฟย ยอกองกำลังกลับมาเข้าเฝ้า พระองค์และมหาอำมาตย์ ฉินไกว้ จึ่งแกล้งใส่ความประหารขุนพล เย่ว์เฟย, บุตรชาย เย่ว์หยิน (งักฮุ้ง) และนายทัพ จางเสี้ยน (เตียเหี่ยง) ด้วยข้อหา ม่อซูโหย่ว (มกซูอู๋..ไม่สมควรมี)
ต่อมา ศักราช เจ้าซิ่น ปีที่ 11 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1648 ราชวงศ์ หนานซ่ง ได้ทำสัญญามิตรภาพกับราชวงศ์ จิน ประกอบกับราชวงศ์ จิน เริ่มอ่อนแอลง ราชวงศ์ หนานซ่ง จึ่งปกครองประเทศได้อย่างสันติสุขระยะเวลาหนึ่ง ตอนปลายยุคราชวงศ์ หนานซ่ง พวกชนเผ่า มงโกล มีความเข้มเข็งยิ่ง แผ่นดินใหญ่จีนทั้งประเทศ รวมทั้งราชวงศ์ หนานซ่ง ก็ถูกชาว มงโกล ปราบโค่งลง เปลี่ยนเป็นราชวงศ์ หยวน ของชนเผ่านอกแผ่นดินใหญ่ที่สามารถยึดครองผืนแผ่นดินใหญ่ของจีนทั้งประเทศได้เป็นชนเผ่าแรก




 

Create Date : 09 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2548 22:11:57 น.
Counter : 843 Pageviews.  

ชีวะประวัติ เทพเจ้าขุนพล เย่ว์เฟย (งักฮุย)

ชีวะประวัติ เทพเจ้าขุนพล เย่ว์เฟย (งักฮุย)

สายคลื่นน้ำอันดุเดือด ไหลทับโหมพัดกระหน่ำจากทางทิศตะวันออกสูทางทิศตะวัตตก ได้กลืนกินทุกสิ่งทุกอย่า ไร่นาทาไร่และต้นไม้ใหญ่น้อย ล้วนล้มเป็นแถบ ๆ พื้นที่อันสมบูรณ์อย่างยิ่ง ล้วนกลีบกลายเป็นผืนน้ำอันเวิ้งว้าง
แม่น้ำ หวงเหอ อันตรายยิ่ง
บนระดับน้ำที่ท่วมเอ่อนี้ เต็มไปด้วยซากสัตว์ขึ้นอืดลอยตามน้ำมา ซากของต้นไม้ใบหญ้าอันเหี่ยวเฉา เหล่าผู้คนที่ใช้เรือหรือเครื่องทุ่นแรงอื่น ๆ ช่วยชีวิต ต่างลอยเท้งเต้งอยู่บนสายน้ำ
ทันใดนั้น เสียงทารำน้อยร้องดังลั่นก้องกระหึ่ม เสียงร้องก้องของทารกน้อยนี้อยู่บนเนินที่มีน้ำรายรอบ บนเนินนั้น ในอ้อมอกของหญิงวัย 30 กว่าปี ปรากฏเป็นเด็กทารกน้อย เด็กทารกน้อยนี้ ก็คือเทพเจ้าขุนพลที่ยิ่งใหญ่ต่อไปในภายหน้า เทพเจ้าขุนพล เย่ว์เฟย (งักฮุย)
ตามปฏิทินจีน วันที่ 15 เดือนที่ 2 ของศักราช จงหนิน (จงเล้ง) ปีที่ 2 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเฟยจง (ซ้งฮุยจง) พ.ศ. 1646 เย่ว์เฟย ได้ถือกำเนิดบนฝั่งเหนือของแม่น้ำ หวงเหอ (อึ่งฮ้อ) ณ เมือง เซี่ยนโจว (เซียงจิว) ตำบล ทงอินเสี้ยน (ทึงอิมกุ่ย) ปัจจุบันคือเมือง ทงอินเสี้ยน (ทึงอิมกุ่ย) ในมณฑล เหอหนาน ณ หมู่บ้าน หย่งเหอเซียน (ย่งฮั่วเฮีย) หมู่ เสี้ยวทุยหลี่ (เฮ้าทุยลี่) ณ บ้านชาวชนบทธรรมดาหลังหนึ่ง เด็กทารกคนหนึ่งเปล่งเสียงออกมาดูโลก เป็นเวลาเดียวกับที่พญาอินทรีย์ตัวหนึ่ง แผ่กางปีกผงาดบินข้ากระท่อมน้อยที่เด็กทารกถือกำเนิด สร้างความตกตะลึกแตกตื่นแก่บิดาของ เย่ว์เฟย เย่ว์เหอ (งักฮั้ว) จึ่งได้ตั้งชื่อนามแก่เด็กทารำว่า เฟย (เฟย..บิน) นามรองว่า ฟ่งจวี้ (พ่งกื๋อ)
มีใครคาดคิดว่า เมื่อเขาได้มาถือกำเนิดในโลกใบนี้ เป็นเวลาใกล้เดือนที่ 3 ซึ่งมักจะเป็นเทศกลาลน้ำท่วมจากแม่น้ำ หวงเหอ เกือบทุก ๆ ปี แต่ตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่ประสพมาทุก ๆ ปี แม่น้ำ หวงเหอ มิเคยมีประสบการณ์น้ำท่วมรุนแรงเช่นนี้
มารดาของ เย่ว์เฟย และเด็กทารก เย่ว์เฟย ได้ถูกชาวบ้านช่วยพ้นจากสภาวะน้ำท่วมเช่นนี้





 

Create Date : 09 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 24 สิงหาคม 2548 14:10:32 น.
Counter : 1100 Pageviews.  

1  2  

[wisc] LUNA
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add [wisc] LUNA's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.