Group Blog
 
All Blogs
 
สุสาน 12 ฉินหลิน 12

สุสาน 12 ฉินหลิน 12

ด้านทิศตะวันออก แต่พระพินัยกรรมของพระองค์ทรงไม่ได้รับการปฏิบัติ เมื่อพระเจ้า ฉินซี่หวาง สวรรคต
เจ้าชาย หูไห่ (โอ่วไห้) ทรงฆ่าเจ้าชาย ฟูซู และเผาพระพินัยกรรมทิ้ง เจ้าชาย หูไห่ ขึ้นครองราชย์สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อมาได้ 3 ปี ก็ทรงถูอำมาตย์ขันที จ้าวเกา (เตี่ยเก) บังคับให้ทรงฆ่าตัวตาย จ้าวเกาได้แต่งตั้งพระโอรสของ หูไห่ เป็นฮ่องเต้ลำดับที่ 3 ของราชวงศ์ ฉิน คือพระเจ้า จื่ออิน พระเจ้า จื่ออิน ทรงครองราชย์ได้เพียง 43 วันก็ทรงยอมสวามิภักดิ์ต่อเจ้า หลิวปัน (เล่าปัง) ก็เป็นอันว่าราชวงศ์ ฉิน ได้ถึงวาระแห่งพระอาทิตย์อัสสะดงเสียแล้ว
ผู้ที่กล้าเขย่าพระราชบัลลังก์ของราชวงศ์ ฉิน เป็นครั้งแรกก็คือพวกกบฏชาวนาทางทิศตะวันออก พระเจ้า ฉินซี่หวาง ถึงแม้พระองค์จะทรงปราชญ์เปรื่องทรงพระราชอำนาจเช่นใดก็ตาม ทรงพิชิตศึกเหนือใต้ปราบปรามจนราบคาบทั่วแผ่นดิน แต่พระองค์ไม่สามารถทรงพิชิตกาลที่ร่วงโรงแห่งพระสังขารของพระองค์เอง พระวรกายของพระองค์ก็ทรงเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา ตายแล้วก็เน่าเปื่อยเป็นเศษฝอยธุลี แม้ว่าพระศพจะทรงห่อหุ้มด้วยเสื้อทองเกราะเงินโลงทองสัมฤทธิ์ บรรจุด้วยแก้วแหวนเงินทองเพชรนิลจินดามากมายที่น่าเกรงขาม แต่พระองค์ก็ไม่ทรงพระราชอำนาจดั่งเมื่อทรงพระชนม์ เจ้า เซี่ยนยู่ (ฮั่งอู้) ทรงเผาพระราชวัง เสี้ยนหยาน (ฮ่ำเอี้ยง) ทรงให้ทหารขุดทำลายพระสุสานของพระองค์ แต่ ฮ่องเต้ ผู้เป็นใหญ่ ณ สุสานพระราชวังใต้ดิน ก็ทรงพระบรรทมเฉย มิลุกขึ้นมาต่อต้าน
นครหลวง เสี้ยนหยาน อยู่กึ่งกลางของประเทศ เป็นศูนย์รวมแห่งพระราชอำนาจ ประดุจเป็นดาว จี้เว่ย (จี๋มุ้ย) หรือดาวกษัตริย์บนฟากฟ้าสรวงสวรรค์ ตามความเชื่อของนักดาราศาสตร์และโหราศาสตร์
มีแม่น้ำ เว่ยสุ่ย (อุ่ยจุ้ย) เปรียบดั่งเป็นทางช้างเผือกแม่น้ำคงคาแห่งสรวงสวรรค์ มีดาวฤกษ์ล้อมรอบเป็นบริวารถึง 36 กลุ่ม ซี่หม่าเชียน (ซือม่าเชียง) ได้บันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ สื่อจี้ (ไซ้กี่) ว่า สุสานของพระเจ้า ฉินซี่หวาง ที่พระตำหนักใต้ดิน ได้เอาสารปรอทมาฉาบเป็นทางแสดงสัญลักษณะของแม่น้ำภูเขาและทะเล ส่วนบนเพดานพระสุสานได้นำอัญญะมณีที่เรียกว่า ไข่มุกราตรี หรือ เยี่ยนเจินจู (เม่เตียงจู) ซึ่งปัจจุบันเป็นของที่หายากและหายสาปสูญไปแล้ว เป็นอัญญะมณีที่มีแสงสว่างในตัวของมันเอง มาประดับแสดงดวงดาวต่าง ๆ นอกจากนี้ในพระตำหนักใต้ดิน ยังสร้างเป็นกำแพงเมืองเลียนแบกำแพงเมืองของนครหลวง เสี้ยนหยาน กำแพงเมืองชั้นในตั้งแต่ทิศเหนือจรดทิศใต้ยาว 1,355 เมตร ด้านทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกยาว 685 เมตร ส่วนกำแพงเมืองด้านนอกตั่งแต่ทิศเหนือจรดทิศใต้ยาว 2,165 เมตร ด้านทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกยาว 1,40 เมตร กำแพงเมืองด้านในทางทิศตะวันออก ทิศตัะวันตก และทิศใต้ แต่ละด้านมีประตูเมืองด้านละ 1 ประตู ส่วนทางด้านทิศเหนือมีประตูเมือง 2 ประตู และกำแพงเมืองด้านนอกแต่ละด้านมีประตูเมืองด้านละ 1 ประตู พระราชวัน เสี้ยหยานกง (ฮ่ำเอี่ยงเก็ง) อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกำแพงเมืองนคร เสี้ยนหยาน จึงสันนิษฐานได้ว่าโลงบรรจุพระศพของพระเจ้า ฉินซี่หวาง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีดาว จี้เว่ย (จี๋มุ้ย) หรือดาวพระมหากษัตริย์ประดับอยู่บนเพดานเบื้องบน และประดับเป็นสายทางช้างเผือกพาดจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตกค่อนไปทางทิศเหนือ
ดังนั้น เมื่อเดือนที่ 4 ศักราช เจ้าซิ่น ปีที่ 12 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1685 มหาอำมาตย์ ฉินไกว้ ได้กราบทูลให้พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงเลือก ฮองเฮา พระองค์ใหม่ และด้วยความเห็นชอบของพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา พระองค์ทรงเลือกพระสนมที่โปรดปรานที่สุด คือพระสนม อู๋กุ้ยเฟย (โง่วกุ้ยฮุย) เป็น ฮองเฮา
พระสนม อูสี ก็คงเป็นชนชาวเมือง ไคฟง เช่นกัน พระบิดาคือ อู๋จิ้น ((โง่วกิ๋ง) กล่าวกันว่า ก่อนที่พระนางจักเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นนางใน พระบิดาได้ฝันว่า ได้เดินทางมาพักที่ศาลาหลังหนึ่ง ภายในศาลามีอักษร 2 คำ จารึกว่า ซี่คัน (สี่คัง) ซึ่งแปลว่าปรนนิบิต เจ้าคัน ดังนั้น เมื่อพระนางมีพระชยม์ได้ 14 พรรษา ก็ถูกเลือเข้าวังถวายตัวเจ้า คันหวาง จากนั้นก็เป็นที่โปรดปรานของเจ้า คันหวาง สมดังความฝันที่เป็นจริงของพระบิดา
ศักราช ชินคัน ปีแรกนั้น เจ้า คันหวาง ต้องจากนครหลวง เปี้ยนจิน ทรงไปรบทัพจับศึกเหนือใต้ พระชายา อู๋สี ก็ทรงติดตามข้างพระกายปรนนิบัติเจ้า คันหวาง ทุกแห่งที่ทรงเสด็จ ภายหลัง เจ้า คันหวาง ทรงถูกสถาปนาเป็น ฮ่องเต้ คือพระเจ้า ซ่งเกาจง พระองค์ทรงนำกองทัพถอยร่นมาสู่ทางใต้ มุ่งยังดินแดน เจ้อเจียน (จิกกัง) ซึ่งก็คือมณฑล เจ้อเจียน ในปัจจุบัน พระนาง อู๋สี ทรงฉลองพระองค์เป็นเครื่องแบบนายทหารติดตามพระองค์ พระนางทรงพระสิริลักษณ์งดงามดั่งอัศวินผู้แกล้วกล้าในการสงคราม พระเจ้า ซ่งเกาจง นอกจากทรงพอพระทัยในความงดงามสง่าของพระนางแล้ว ยังทรงพอพระทัยในพระสติปัญญาของพระนาง พระนางยังทรงโปรดการอ่านและทรงพระอักษร ในศักราช เจ้าซิ่น พระนางทรงติดตามเสด็จพระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงข้ามน้ำข้ามทะเลจากเมือง ติ้นไห่ (เตี่ยไห้) ไปยังเมือง ชานกว๋อ (เชียงกก) ในระหว่างทรงเสด็จทางทะเลนั้น มีปลาสีขาวตัวหนึ่ง กระโดดขึ่นมาบนลำเรือพระที่นั่ง พระนางทรงชี้ที่ปลาสีขาวตัวนั้น ทรงตรัสว่า
“นี่คือนิมิตรหมายที่เป็นสิริมงคลพ่ะย่ะค่ะ”
พระนางทรงหวังพระทัยว่า พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงสามารถแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เลวร้าย และต่อต้าราชวงศ์ จิน ได้สำเร็จ ต่อมาในภายหลัง มีนายทัพบางคน เป็นกบฏต่อต้านพระเจ้า ซ่งเกาจง พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงเสด็จหนีไปได้ พวกกบฏได้พยายามสอบแค้นถามพระนางว่า พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงเสด็จหลบหนีไปทางทิศใด พระนางทรงชี้ไปในทางทิศทางตรงกันข้ามกับที่พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงหลบหนีไป จึ่งเป็นการช่วยชีวิตของพระเจ้า ซ่งเกาจง
เมื่อพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ทรงเสด็จกลับจากราชอาณาจัก จิน พระนางทรงให้ความเคารพและทรงปรนนิบัติต่อพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา อย่าดียิ่ง ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย และเป็นที่โปรดปรานของพระนาง เว่ย ฮองไทเฮา
พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงมีพระราชโอรสคือเจ้าชาย จ้าวฟู (เตียวฮู) ทรงกำเนิดจากพระสนม พานกุ้ยเฟย (พัวกุ้ยฮุย) เมื่อตอนศักราช เจี้ยนย่าน (เกี่ยงเอี่ยง) ปีที่ 3 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง เมี่ยวฤู่ (เมี่ยวโป่ว) ก่อการเป็นกบฏ เจ้าชาย จ้าวฟู่ ทรงถูกแต่งตั้งเป็น ฮ่องเต้ ต่อมาภายหลัง ขุนพล หันซื่อจง (ฮั่งซี้ตง) สามารถปราบกบฏลงได้ พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงคืนสู่พระราชบัลลังก์ เจ้าชาย จ้าวฟู่ จึงทรงถูกแต่งตั้งเป็นองค์รัชทายาท แต่ทว่ามินานหลังจากนั้น พระเจ้า ซ๋งเกาจง ทรงยกพลเสด็จอพยพไป ณ นคร เจี้ยนคัน (เกี่ยงคัง) ปัจจุบันคือนคร หนานจิน (น่ำเกีย) ในระหว่างทางที่ทรงเสด็จ พระพี้เลี้ยงที่อุ้มเจ้าชาย จ้าวฟู่ ได้ทำพลาดเจ้าชายตกลงสู่พื้นดิน เจ้าชาย จ้าวฟู่ ทรงร้องออกมาได้คำเดียว ก็ทรงสิ้นพระชนม์ พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงพิโรธ ทรงมีรับสั่งให้นำนางพี่เลี้ยงนั้นมาตีตายทั้งเป็น
ศักราช เจ้าซิ่น ปี่ที่ 13 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1686 ซึ่งเป็นปีที่พระนา อู๋สี ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็น ฮองเฮา พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงมีพระชนม์ย่างเข้าสู่วัยกลางคน แต่ก็ยังทรงมิมีราชทายาทสืบสันติวงศ์ พระนาง อู๋ ฮองเฮา ทรงพระกังวลยิ่ง ทรงปรึกษากับพระเจ้า ซ่งเกาจง ถึงการแต่งตั้งองค์รัชทายาท ขณะนั้น ภายในวังหลังของราชวงศ์ หนานซ่ง มีเจ้าชายที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาท 2 พระองค์ องค์หนึ่งคือเจ้าชาย จ้าวเป๋อจง (เตียวเป๊ะจง) ซึ่งทรงถูกเลี้ยงดูเป็นโอรสบุญธรรมของพระสนม จางเสียนเฟย (เตียเหี่ยงฮุย) ทรงเป็นแหลนชั่วโคตรที่ 7 ของพระเจ้า ซ่งไท่จู่ จ้าวคันย่าน พระปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ ซ่ง อีกองค์หนึ่งคือ เจ้าชาย จ้าวป๋อจิ่ว (เตียวเป๊ะเก้า) ซึ่งทรงถูกเลี้ยงดูเป็นโอรสบุญธรรมของพระนาง อู๋ฮองเฮา พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงปรึกษาถามพระนาง
“ลูก ป๋อจง และ ป๋อจิ่ว น้องเจ้าเห็นผู้ใดเหมาะสมมีสติปัญญาดี สมควรเป็นองค์รัชทายาท”
“คือ…คือว่า…”
พระนางทรงตรัสมิออก ทรงชั่งพระทัยอยูว่า ความจริงพระนางทรงชอบชมในความขยันหมั่นเพียร และพระสติปัญญาที่เหนือกว่าของเจ้าชาย ป๋อจง กับเจ้าชาย ป๋อจิ่ว แต่ทว่า เจ้าชาย ป๋อจิ่ว ทรงเป็นโอรสบุญธรรมที่พระนางทรงเลี้ยงดูมากับพระหัตถ์ ดังนั้น ความรักความใกล้ชิดที่มีต่อเจ้าชาย ป๋อจิ่ว จึ่งมีมากกว่า พระเจ้า ซ่งเกาจง เอง ก็ทรงทราบถึงความในพระทัยของ ฮองเฮา พระองค์จึ่งยังคงพระลังเล ขณะนั้น มหาอำมาตย์ ฉินไกว้ ก็รู้เรื่องราว จึ่งถวายความเห็นต่อพระเจ้า ซ่งเกาจง ว่า การแต่งตั้งองค์รัชทายาทขณะนี้ยังมิถึงควรแก่เวลา สู้รอคอยให้ ฮองเฮา ทรงมีพระราชโอรสเอง แล้วค่อยมาแต่งตั้งก็ยังมิสาย ดั่งนั้น การดำริแต่งตั้งองค์รัชทายาทก็เป็นอันระงับ
เวลาผ่านไปดั่งติดปีก ถึงเดือนที่ 9 ศักราช เจ้าซิ่น ปีที่ 29 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1702 พระนาง เว่ย ฮองไทเฮา ทรงมีพระชนมายุ 80 พรรษา พระนางทรงพระประชวร ทรงบรรทมอยู่บนพระแท่น มิสามารถทรงเสด็จลุกขึ้น พระเจ้า ซ่งเกาจง ในพระชนมายุ 52 พรรษา ทรงเป็นห่วงในการแต่วงตั้งองค์รัชทายาทอย่างยิ่ง ทรงปรึกษากับราชอาลักษณ์ จางเทา (เตียเต้า) ว่าระหว่างเจ้าชาย ป๋อจง กับเจ้าชาย ป๋อจิ่ว ควรเลือกองค์ใดเป็นรัชทายาท แต่ จางเทา ก็มิอาจตัดสินใจให้พระองค์ได้ ได้แต่อ้ำ ๆ อึ้ง ๆ พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงจิตพิศมัยแต่งตั้งเจ้าชาย ป๋อจง แต่ก็ทรงเกรงพระทัยพระนาง อู๋ ฮองเฮา จักทรงพระพิโรธ พระองค์ทรงคิดค้นวิธีสอบถามเจ้าชายทั้งสอง พระองค์จึ่งทรงพระราชทานนางในแก่เจ้าชายทั้งสององค์ละ 20 นาง แล้วส่งคนไปสืบดูพฤติกรรมของเจ้าชายทั้งสอง ณ ตำหนักของเจ้าชายทั้งสอง ปรากฏว่า ที่วังของเจ้า พู่อันจงหวาง พระตำหนักของเจ้าชาย ป๋อจง นั้นเงียบเชียบ มิมีอะไรเกิดขึ้น แต่ที่พระตำหนักของเจ้าชาย ป๋อจิ่ว นั้น มีการฉลองงานเลี้ยงฉลองนางในทั้ง 20 เจ้าชาย ป๋อจิ่ว ทรงตระคองกอดนางในของพระองค์ทั้งซ้ายขวา พระเจ้า ซ่งเกาจง จึ่งทรงปรึกษากับพระนาง อู๋ ฮองเฮา ถึงพฤติกรรมของเจ้าชายทั้งสอง พระนาง อู๋ ฮองเฮา ทรงกราบทูลว่า ที่แท้เจ้า พู่อัน มีลักษณะสมควรเป็น ฮ่องเต้ ทั้งสองพระองค์ ตั้งพระทัยแน่นอน ทรงเลือกเจ้าชาย ป๋อจง เป็นองค์รัชทายาท เปลี่ยนพระนามว่า เจ้าชาย จ้าวกวน (เตียวก้วง)
ศักราช เจ้าซิ่น ปีที่ 32 ในรัชสมัยชขงพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1705 พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงพระตะหนักว่า พระองค์ทรงพระชรายิ่ง พระวรกายมิเข็งแรง ทรงพระดำริถอดถอนพระองค์เองออกจากตำแหน่ง ฮ่องเต้ ทรงแต่งตั้งพระองค์ในตำแหน่งพระเจ้า ไท่ซ่านหวาง (ไท้เซี่ยงอ๊วง) ทรงให้องค์รัชทายาท จ้าวจวน เสวยพระราชสมบัติว่าราชการเป็น ฮ่องเต้ ทรงพระนามว่า พระเจ้า ซ่งเสี้ยวจง (ซ้องเฮ้าจง) พระองค์และพระนาง อู๋ ฮองเฮา ทรงเสด็จเกษียรราชการอยู่ในพระราชวัง เต๋อซิ่งกง (เต็กซิ่วเก็ง) ขณะนั้น พระนาง อู๋ ฮองเฮา ทรงมีพระชนมายุ 48 พรรษา
พระเจ้า ซ่งเสี้ยวจง จ้าวจวน ทรงพระกตัญญูยิ่ง พระองค์ทรงสอบถามเยี่ยมเยือนพระเจ้า ซ่งเกาจง และพระนาง อู๋ ฮองไทเฮา ทุก ๆ วัน ดั่งเช่นที่พระองค์ทรงปฏิบัติ ขณะดำรงค์ตำแหน่ง องค์รัชทายาท พระองค์ทรงสถาปนาพระนาง อู๋ ฮองไทเฮา มีสิริพระยศว่า ซิ่วซิ่นหมินฉือไท่ซ่านหวางโฮ่ว (สิ่วเสียเม่ฝชื้อไท้เสียงอ่วงโหว) หรือ ซิ่วเซ่นจี้หมินก่วนฉือไท่ซ่านฟหวางโฮ่ว (สิ่วเสียจี่เมี้ยงก่วงชื้อไท้เสียงอ่วงโหว) และยังทรงเพิ่มพระอักษรอีก 2 คำว่า ปี่เต๋อ (ปี่เต็ก)
พระเจ้า ซ่งเกจง จ้าวเกา ทรงใช้ชีวิตที่ทรงสำราญ ณ พระราชวัง เต๋อซิ่วกง พระองค์ยังทรงมีพระสนมนางใน ติดตามปรนนิบัติพระองค์หลายนาง เช่ยพนะสนม หลิว (เล้า) กุ้ยเฟย ซึ่งเป็นที่โปรดปรานมากรองจากพระนาง ฮองเฮา นอกจากนี้ ก็ยังมีพระสนม จาง (เตีย) กุ้ยเฟย, พระสนม ฟ่งเหม่ยเหยิน (พั่งมุ่ยยิ้ง), และพระสนม หันไฉ่เหยืน (ฮั่งไช่ยิ้ง), พระสนม อูไฉ่เหยิน (โง่วไช่ยิ้ง), และพระสนม หวางไฉ่เหยิน (เฮ่งไช่ยิ้ง)
เมื่อพระสนม หลิวกุ้ยเฟย ทรงพระประชวรสิ้นพระชนม์ พระเจ้า จ้าวเกา ทรงอาลัยอาวรณ์เสียพระทัยยิ่ง ดั้งนั้น เมื่อศักราช ชุนซี (ชุงฮี) ปีที่ 14 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเสี้ยวจง พ.ศ. 1730 พระเจ้า ซ่งเกจง จ้าวเกา ก็ทรงเสด็จสวรรคต ก่อนสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงยังมีพระเมตตาต่อ ฮองเฮา ของพระองค์เอง ทรงแต่งตั้งพระนาง ฮองเฮา ของพระองค์ เป็นพระนาง ฮองไทเฮา จณะทรงสิ้นพระชนม์นั้ ทรงมีสิริพระขนมายุ 81 พรรษา
พระเจ้า ซ่งเสี้ยวจง ทรงเชิญเสด็จพระนาง อู๋ ฮองไทเฮา กลับไปทรงประทับ ณ พระราชวังหลวง แต่พระนางทรงอาลัยสถานที่ ที่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพระเจ้า ซ่งเกาจง พระนางทรงคงประทับที่พระราชวัง เต๋อซิ่วกง และทรงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่าพระราชวัง ฉือฟู่กง (ฉื่อฮกเก็ง) ขณะที่พีระนางทรงพระชนม์ 83 พรรษา ทรงได้รับอิสริยยศว่า เสียนเซ่นฉือเลี่ยหวางโฮ่ว (เฮี่ยงเสียชื่อเลียกอ่วงโหว)
ประวัติของราชวงศ์ หนายซ่ง หรือ ซ่งใต้ เมื่อราชวงศ์ ซ่งเหนือ ถูกโค่ทำลายลงโดยราชวงศ์ จิน เมื่อศักราช ชินคัน ปีที่ 2 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งจินจง พ.ศ. 1670 นั้น พระราชโอรสองคืที่ 9 ของพระเจ้า ซ่งเฟยจง หรือพระอนุชาต่างพระมารดาของพระเจ้า ซ่งจินจง พร้อมด้วยเหล่าเสนนาอำมาตย์ของราชวงศ์ เป๋ยซ่ง จำนวนหนึ่ง ได้เดินทางหลบหนีภัยสงครามอพยพลงทางใต้ จึ่งได้พร้อมใจกันสถาปนาเจ้า คันหวาง จ้าวเกา ขึ่นเป็น ฮ่องเต้ ทั้ง ๆ ที่ราชวงศ์ เป่ยซ่ง ยังมี ฮ่องเต้ ซึ่งทรงถูกจับตัวไปเป็นเชลย ณ แผ่นดิน จิน อีก 2 พระองค์ ทั้ง 2 พระองค์ทรงถูกกักขัง ณ เมือง อิ้นเทียนฝู่ (อิ้งเที่ยงฮู้) ปัจจุบันคือเมือง ซานคิว (เซียงคิว) ในมณฑล เหอเป่ย ทรงพระนามว่าพระเจ้า ซ่งเกาจง เปลี่ยนชื่อปีศักราชว่า เจี้ยนย่าน (เคี่ยงเอี๋ยม) จนถึงศักราช เจ้าซิ่ง (เจียวเฮง) ปีที่ 8 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1681 จึ่งทรงย้ายนครหลวงมา ณ นคร หนินอัน (หนิ่มอัง) เป็น ฮ่องเต้องค์แรกของราชวงศ์นี้ นักประวัติศาสตร์จีนเรียกราชวงศ์นี้ว่า ราชวง หนานซ่ง (น่ำซ้อง..ซ่งใต้)
ศักราช เจี้ยนย่าน (เคี่ยงเอี๋ยม) ปีที่ 3 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งจินจง พ.ศ. 1672 พระอนุชาของพระเจ้า จินไท่จู่ หยวนเหยียนวู่ซู่ (อ่งง้วงอุกซุก) เป็นแม่ทัพ ยกกองทัพ จิน รุรานลงมาทางใต้อีก พระเจ้า ซ่งเกาจง ก็ทรงหลบหนีลงไปทางใต้อีกเช่นเคย แต่ ณ ดินแดนทางตอนเหนือ ณ ตำบล หวงเทียนทง (อึ่งเทียงทึง) กองทัพของราชวงศ์ จิน ได้ปะทะกับกองทัพของขุนพล หันซื่จง (ฮั่งซีตง) แห่งราชวงศ์ ซ่ง ทั้ง 2 ฝ่ายได้ต่อสู้รบพุ่งกันเป็นสามารถ หันซื่อจง สามารถตีกองทัพราชวงศ์ จิน แตกพ่ายถอยไปได้ ดั่งนั้น ราชวงศ์ จิน จึ่งมิอาจดูแคลนฝีมือกองทัพของราชวงศ์ ซ่ง ยกทัพข้ามลำน้ำมารุกรานราชวงศ์ ซ่ง อย่างย่ามใจได้ นอกจากยุทธการ ณ สมรภูมิ หวงเทียนทง แล้ว กองทัพราชวงศ์ ซ่ง ยังได้ต้านรับกองทัพราชวงศ์ จิน ซึ่งนำโดยขุนพล อู๋หลิน (โง่งลิ้ง), และขุนพล อู๋ไก้ (ง่วไก่), ณ มณฑล ซ่านซี และขุนพล เย่ว์เฟย (งักฮุย), ณ เมือง ซ่านเหยาน (เซียงเอี๊ยง) ทหารราชวงศ์ ซ่ง ขัดขวางการรุกรานของกองทัพราชวงศ์ จิน อย่างได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อศักราช เจ้าซิ่น ปีที่ 10 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1683 แม่ทัพราชวงศ์ จิน นำโดยเจ้า หยวนเหยียนวู่ซู่ ได้ยกกองทัพแบ่งกำลังออกเป็น 3 ทาง บุกเข้ามายังอาณาจัก ซ่ง อีก ขุนพล เยว์เฟย ได้นำกองกำลังเข้าต่อต้าน รบจนกระทั่งได้ชัยชำนะ ตีได้ดินแดนของราชวงศ์ ซ่ง กลับคืนมาหลายแห่ง และยังกลับรถล่ำเข้าไปในราชอาณาจักร จิน แต่พระเจ้า ซ่งเกาจง ทรงแกรงว่า ขุนพล เยว์เฟย จักมีกองกำลังอำนานมากเกินไป และถ้าราชวงศ์ ซ่ง สามารถพิชิตราชวงศ์ จิน ได้สำเร็จ พระเจ้า ซ่งเฟยจง, และพระเจ้า ซ่งจินจง ทรงสามารถกลับคืนมาสู่แผ่นดิน ซ่ง ได้ ตำแหน่ง ฮ่องเต้ ของพระองค์ก็จักมีปัญหา ดั่งนั้น พระองค์จึ่งทรงปรึกษาร่วมมือกับมหาอำมาตย์ ฉินไกว้ ทรงมีพระราชองค์การเป็นคำสั่งป้ายทอง 12 อัน เรียนขุนพล เย่ว์เฟย ถอยทัพกลับคืนมา และเมื่อขุนพล เย่ว์เฟย ยอกองกำลังกลับมาเข้าเฝ้า พระองค์และมหาอำมาตย์ ฉินไกว้ จึ่งแกล้งใส่ความประหารขุนพล เย่ว์เฟย, บุตรชาย เย่ว์หยิน (งักฮุ้ง) และนายทัพ จางเสี้ยน (เตียเหี่ยง) ด้วยข้อหา ม่อซูโหย่ว (มกซูอู๋..ไม่สมควรมี)
ต่อมา ศักราช เจ้าซิ่น ปีที่ 11 ในรัชสมัยของพระเจ้า ซ่งเกาจง พ.ศ. 1648 ราชวงศ์ หนานซ่ง ได้ทำสัญญามิตรภาพกับราชวงศ์ จิน ประกอบกับราชวงศ์ จิน เริ่มอ่อนแอลง ราชวงศ์ หนานซ่ง จึ่งปกครองประเทศได้อย่างสันติสุขระยะเวลาหนึ่ง ตอนปลายยุคราชวงศ์ หนานซ่ง พวกชนเผ่า มงโกล มีความเข้มเข็งยิ่ง แผ่นดินใหญ่จีนทั้งประเทศ รวมทั้งราชวงศ์ หนานซ่ง ก็ถูกชาว มงโกล ปราบโค่งลง เปลี่ยนเป็นราชวงศ์ หยวน ของชนเผ่านอกแผ่นดินใหญ่ที่สามารถยึดครองผืนแผ่นดินใหญ่ของจีนทั้งประเทศได้เป็นชนเผ่าแรก


Create Date : 09 กรกฎาคม 2548
Last Update : 9 กรกฎาคม 2548 22:11:57 น. 0 comments
Counter : 844 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

[wisc] LUNA
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add [wisc] LUNA's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.