.....ภาษาตระกูลไท เป็นวัฒนธรรมของคนไท สมควรจะเผยแพร่ให้โลกรู้จักอย่างทั่วถึง มากกว่าจะเก็บไว้สอนกันอย่างเร้นลับ ในมหาวิทยาลัย แล้วก็ปล่อยให้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา.....
Group Blog
 
All Blogs
 
อ่านไทเขิน 5

เปลี่ยนบรรยากาศไปอ่าน ภาษาไทเขิน(และ ไทลื้อ) ของจริง ตามสถานที่ต่าง ๆ กันบ้าง



วัดโหลงเจงยืน เมิงเจงตุ๋ง
(วัดหลวงเชียงยืน เมืองเชียงตุง)
การเขียนตัว "เจง" และ "ตุ๋ง" เอา ตัว ง สะกด ขึ้นไปเขียนข้างบน
เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง ของภาษาไทเขินและไทลื้อ

น่าเสียดาย ที่ผู้ทำ ฟอนต์คอมพิวเตอร์ ไทเขินและไทลื้อ ไม่ได้ทำตัว ง กับตัว ร ที่สะกดข้างบนไว้ด้วย การพิมพ์ในปัจจุบัน จึงต้องพิมพ์ตัว ง หรือตัว ร สะกดบนบรรทัดแทน ทำให้การถ่ายทอดวรรณกรรมโบราณ จากลายมือเป็นตัวพิมพ์ ไม่สามารถรักษาวิธีการเขียนแบบดั้งเดิม ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา




ยินดีต้อนฮับ ตี้มาไจย ตุ๊ก ๆ ต้าน
ปุปผาราม วัดโหลงยางกง

(ยินดีต้อนรับ ที่มาเยี่ยม ทุก ๆ ท่าน บุปผาราม วัดหลวงยางกง)
วัดหลวงยางกง อยู่ด้านนอก เหนือเวียงเชียงตุง ด้านประตูยางกง ทางถนนเก่าที่จะไปเมืองลา ส่วนถนนใหม่ ไปทางสนามบิน
คำ "ตุ๊ก ๆ ต้าน" เป็นอิทธิพลของภาษาไทย




วัดมหาราชฐานสุทธาวาส
วัดนี้อยู่ที่เมืองฮำ ทางใต้ของเชียงรุ่ง แคว้นสิบสองปันนา
เป็นภาษาไทลื้อ ที่คนไทเขิน หรือไทยล้านนา ก็อ่านออก




วัดนี้ เป็นวัดไทใหญ่ ในเชียงตุง
บรรทัดบนตัวสีแดง จึงเป็นชื่อภาษาไทใหญ่
ตัวสีเขียว เป็นภาษาพม่า
บรรทัดที่ ๓ ช่วงแรกจึงเป็นภาษาไทเขิน จองเมิงลีเปงใจ๋
"จอง" มาจากภาษาพม่า แปลว่า วัด
การเขียน "จอง" และ "เปง" เอาตัว ง สะกด เขียนข้างบน




หื้อฮักบ้านเมิงเฮา หื้อนับถือกฎหมาย
ที่เชียงตุง เมื่อก่อน จะมีประกาศภาษาพม่า ควบคู่ไปกับภาษาไทเขิน
แต่เดี๋ยวนี้ มีแต่ภาษาพม่า อย่างเดียว




จารึกที่สุสาน
ส่างปั๋น
อายุได้ ๕๔ ถึง
แก่กัมม์ เมื่อปี๋ก่า
หม้อ จุฬสักกราช
ได้ ๑๓๒๕ โต๋ เดิน ๑๐ ลง
๑๒ ค่ำ ข้าแด
1963

ปี๋ก่าหม้อ หรือ ปีเถาะ เบญจศก เป็นการนับศักราชระบบหนไท (รอบ ๖๐ ปี) ที่คนไทใช้กันมาแต่โบราณ
ก่า คือ เบญจศก และ หม้อ (ล้านนา เหม้า) คือ ปีเถาะ
ปัจจุบัน คนไต/ไท ในรัฐฉาน และยูนนาน ใช้ จุลศักราช ในการนับแบบจันทรคติ
และใช้ คริสตศักราช ในการนับแบบสุริยคติ หรือสากล




กาดโหลงเมิงลา (ตลาดใหญ่เมืองลา)
ป้ายที่ประตูทิศเหนือ ด้านใน ของตลาดเมืองลา เขตพิเศษที่ ๔
พลเมืองดั้งเดิมของเมืองลา ส่วนใหญ่เป็น ไทลื้อ เพราะอยู่ใกล้กับสิบสองปันนา




บ้านโหลง เมิงลา
ป้าย บ้านหลวง เมืองลา ของเก่าแก่ที่ยังหลงเหลืออยู่
ทางเข้าหมู่บ้าน อยู่ด้านซ้ายมือของ Lucky ภัตตาคารอาหารไทย ในเมืองลา ที่ลูกทัวร์จากไทย รู้จักดี
ส่วนป้ายสีฟ้า เป็นภาษาพม่าและจีน แปลว่า "ถนนบ้านหลวง"




ปอยแข่งขันส่ำแดงวัฑฒนธัมม์แลมอบรางวัล
โฮงเฮนภาคฮ้อน ผะจ่ำเอิ่งกาดเต้า เมิงเจงตุ๋ง
วันตี้ ๒๓-๒๔.๕.๒๐๐๗


ระหว่างปิดเทอมฤดูร้อน ทุกหมู่บ้านและทุกตำบล(เอิ่ง) รอบเวียงเชียงตุง จะเปิดการสอนภาษาและวัฒนธรรมไต แล้วมาจัดแข่งกัน โดยหมุนเวียนกันไปทุก ๆ ปี ให้วัดสำคัญของตำบล ที่มีสถานที่กว้างขวาง เป็นสถานที่จัดงาน

ครั้งที่ ๔ จัดเมื่อ ๒๓-๒๔ พ.ค.๒๕๕๐ ที่วัดกาดเต้า ต.กาดเต้า อยู่ด้านนอก เหนือเวียงเชียงตุง ด้านประตูหนองผา

"กาดเต้า" เขียนเทียบอักษร "กาดเท่า" แต่ในภาษาไทใหญ่กลับเขียน "กาดเต่า" ไม่ทราบว่าทำไมจึงเรียกผิดเสียงกันไป ขอให้เข้าใจว่าเป็นสถานที่เดียวกัน




ดูฉากหลัง กันให้ชัด ๆ




ฝ่ายประชาสัมพ้นธ์ อยู่ข้างนอกนี่เอง
ด้านหล้ง บรรทัดบน แปลว่า "สถานที่ติดต่อสอบถาม"
บรรทัดล่าง อ่านได้ว่า "ป่องเข้าจื้อ แข่งขันฟ้อนก้า......." (คำต่อไปถูกบังอยู่ เดาไม่ถูกครับ)




ก๋ารเค้เข่งส่ำแดงวัฑฒนธัมม์โฮงเฮนภาคฮ้อน ป้อกโถ้น ๕
สถานตี้ วัดบ้านหะ เอิ่งยางลอ นครเจงตุ๋ง ปี๋ ๑๓๗๐ โต๋ เดิน ๖ แฮม ๗ ค่ำ
๒๗-๔-๐๘


ครั้งที่ ๕ จัดที่ วัดบ้านหะ เอิ่งยางลอ เมื่อ ๒๗ เม.ย.๒๕๕๑
ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๖ จ.ศ.๑๓๗๐ ตามปฏิทินจันทรคติ ไทเขิน

ไทเขิน/ไทลื้อ นับเดือนทางจันทรคติ เร็วกว่าไทย ๑ เดือน และช้ากว่า ล้านนา ๑ เดือน ฉะนั้นการตกลงเรื่องวัน ควรตรวจเทียบกับปฏิทินสากล ให้ตรงกันทั้ง ๒ ฝ่าย เพราะอาจจะเข้าใจผิดเป็นคนละเดือนได้




หลวงพ่อวัดบ้านหะ กำลังสอนภาษาไทเขิน ให้เด็ก ๆ ชาวไทเขิน




ขยายเข้ามาใกล้ ๆ ผู้อ่าน พอจะอ่านเองได้ไหม




เด็กชาวไทเขิน ถูกบังคับให้เรียนภาษาพม่า ในโรงเรียน
จึงต้องมาเรียนภาษาไทเขิน ในวัด เท่านั้น




วัดพระเจ้าหลวง เวียงเชียงตุง




ครั้งแรกที่เห็นภาพถ่ายประกาศนี้ นึกวาเป็นป้ายขนาดใหญ่
พอได้ไปเห็นเองที่ วัดพระเจ้าหลวง
จึงพบว่าเป็นเพียง แผ่นกระดาษพิมพ์ ติดไว้ที่บานประตุทางเข้าพระวิหารเท่านั้นเอง




มีแผ่นคำแปล ภาษาไทย (และอังกฤษ ) ติดอยู่ต่ำลงมา





Create Date : 01 กันยายน 2551
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2553 19:22:46 น. 5 comments
Counter : 4217 Pageviews.

 
เปลี่ยนบรรยากาศได้ดีทีเดียวครับ เรียนจาก้ายก็สนุกดี และดีใจที่ตัวเองยังพออ่านได้บ้าง 555
ตอนไปเชียงตุงก็เหมือนเด็กๆรวมทั้งเณรน้อยเรียนไทเขินกันในวัดเหมือนกัน


โดย: A_Mong IP: 58.8.136.33 วันที่: 5 กันยายน 2551 เวลา:10:56:29 น.  

 
ขอชมและขอบคุณท่านที่นำประวัติและวัฒนธรรมเชียงตุงมาลงให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขื้น

โลกปัจจุบันต้องใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือจึงจะทันโลกเขาครับ


โดย: ทิพย์ เชียงต้าง IP: 58.9.198.77 วันที่: 10 มกราคม 2552 เวลา:9:47:59 น.  

 
หายากเน้อคนปัจจุบันนี่จะฮู้ภาษารอบๆข้างประเทศเยี่ยมๆ


โดย: เด็ดๆ IP: 58.9.92.187 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:14:30:57 น.  

 
้ ดีใจที่เห็นพี่น้องไทเขินที่เป็นเด็กรุ่นใหม่ช่วยกันอนุรักษ์อักษรล้านนาแม้แต่ชาวล้านนาเองยังรักษาไว้ไม่ได้ดีเท่าชาวไทเขินไทลื้อ ขอบคุณอย่างสุดซึ้งที่ทุกคนช่วยกันรักษาอักษรล้านนาไว้ให้ปรากฏแก่สายตาของชาวโลก มันเป็นความภาคภูมิใจของชาวล้านนา@


โดย: ครูชำนาญการพิเศษ ชาวแพร่ IP: 134.196.106.200 วันที่: 14 เมษายน 2559 เวลา:11:25:53 น.  

 
28.06.2566
เหมือนล้านนา ที่ถูก สยาม สั่งห้ามเรียนภาษาล้านนาในโรงเรียน ให้เรียนแต่ ภาษาไทย จน ภาษาล้านนามีคนรู้น้อยมาก จึงต้องมีการ รณรงค์ให้มีการเรียน เขียน อ่าน ภาษาล้านนา ให้มากขึ้น ครับ.


โดย: moonfleet วันที่: 28 มิถุนายน 2566 เวลา:11:47:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นายช่างปลูกเรือน
Location :
กาญจนบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]




ไม่สงวนลิขสิทธิ์

เพื่อเปิดกว้างการศึกษาและเผยแพร่ภาษาตระกูลไท

ข้อมูล "ในส่วนที่ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น"
ยินดีให้ ลอกเลียน, ทำซ้ำ, เพิ่มเติม, แก้ไขเปลี่ยนแปลง
หรือนำไปใช้

โดยไม่ต้องขออนุญาต หรืออ้างถึงใด ๆ ทั้งสิ้น


Copyleft
Friends' blogs
[Add นายช่างปลูกเรือน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.