"Be the change you want to see in the world." - महात्मा (Mahatma Gandhi)

จอมเยอะเล่า
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




สิ่งที่น่านับถือในจอมยุทธ์หาใช่วิทยายุทธไม่
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add จอมเยอะเล่า's blog to your web]
Links
 

 
Opensource: เคล็ดในการเลือกใช้โปรแกรมจากโอเพนซอร์ซ



นอกจากฟังชั่นการทำงานแล้ว ประสิทธิภาพและความเชื่อถือได้เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเลือกซอฟแวร์มาใช้

แต่ประสิทธิภาพและความเชื่อถือได้ เป็นสิ่งที่วัดได้ยาก (หรือต้องใช้ความพยายาม เวลา และ พลังงานมากในการวัด)
เวลาเลือกซอฟแวร์โอเพนซอร์ซ มีหัวข้อให้พิจารณาง่ายๆที่อาจเป็นสิ่งบ่งบอกถึง ประสิทธิภาพและความเชื่อถือได้ของซอฟแวร์แต่ละตัว

1. ชื่อเสียง Reputation
ซอฟแวร์นั้นมีชื่อเสียงที่ดีมั้ยในเรื่องประสิทธิภาพกับความเชื่อถือได้ (performance and reliability) เช่น Apache web server, GNU Compiler Collection (GCC), Linux, Samba เหล่านี้เป็นซอฟแวร์โอเพนซอร์ซที่มีชื่อเสียงที่ดี
ควรจะเปรียบซอฟแวร์โอเพนซอร์ซเทียบกับซอฟแวร์ลิขสิทธิ์ดูด้วย และถ้าเป็นไปได้ควรจะลองคุยกับคนที่เคยลองใช้ดู
ควรจะเช็คดูด้วยว่าซอฟแวร์โอเพนซอร์ซตัวที่เราสนใจนั้นยังอยู่ในสถานะแอคทีพ (ได้รับการพัฒนาอยู่) ซอฟแวร์โอเพนซอร์ซตัวที่แอคทีพอยู่นั้นปกติแล้วหน้าเวปจะได้รับการอัพเดตเรื่อยๆและมีอีเมลล์เกี่ยวกับการแก้ไขเป็นประจำ

2. มาตราฐานและการเข้ากันได้ Standards and interoperability
เลือกซอฟแวร์ตัวที่ใช้มาตราฐานเปิด (open standards) การเข้ากันได้กับซอฟแวร์อื่นๆนั้นจะเป็นการลงทุนที่คุณค่ากว่า

3. การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ใช้ Support (Community)
เลือกซอฟแวร์ตัวที่มีการสนับสนุนดี มีกลุ่มผู้ใช้ที่ช่วยตอบคำถามของเราได้เวลาเรามีปัญหา ดูที่ mailing list archive ของซอฟแวร์ตัวนั้นๆว่ามีรึเปล่า ถ้าลองโพสต์คำถามแล้วได้รับคำตอบที่รวดเร็วเป็นประโยชน์ดีรึเปล่า

4. การสนับสนุนจากธุรกิจ Support (Commercial)
ซอฟแวร์โอเพนซอร์ซบางตัวมีธุรกิจที่สนับสนุนอยู่เช่น Red Hat หรือ MySQL

5. เวอร์ชั่น Version
เมื่อไรที่ซอฟแวร์เวอร์ชั่นที่เสถียรล่าสุดถูกปล่อยออกมา
โดยทั่วไปแล้วซอฟแวร์จะมีบัค แต่ซอฟแวร์โอเพนซอร์ซตัวที่มีทีมพัฒนาที่แอคทีฟจะมีการแก้บัคและปล่อยเวอร์ชั่นใหม่ออกมาเรื่อยๆ

6. เวอร์ชั่น 1.0 (Version 1.0.)
สำหรับโอเพนซอร์ซแล้ว ตัวเลขเวอร์ชั่น 1.0 ไม่ได้มีความสำคัญอะไรมาก ต้องพิจารณาเลือกซอฟแวร์จากองค์ประกอบอื่นๆ

7. เอกสารประกอบ Documentation
ซอฟแวร์โอเพนซอร์ซอาจจะไม่ได้มีเอกสารประกอบสำหรับผู้ใช้ที่ดีนัก แต่ปกติแล้วเอกสารประกอบสำหรับนักพัฒนาโปรแกรมจะทำออกมาดีมาก เราสามารถดูประวัติการแก้บัคและเพิ่ม/เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติต่างๆของซอฟแวร์ได้จากเอกสารสำหรับนักพัฒนา

8. ทักษะ Skill set
พิจารณาทักษะของเรากับเพื่อนร่วมทีมว่ามีทักษะพอที่จะลงหรือดูแลซอฟแวร์ตัวนั้นๆได้มั้ย ถ้าไม่มีทักษะพออาจจะจ้างบริษัทอื่นมาทำให้หรือว่าจะจัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะที่จำเป็น

และเรื่องการฝึกอบรมก็จำเป็น (ไม่เฉพาะกับซอฟแวร์โอเพนซอร์ซเท่านั้น) และค่าใช้จ่ายสำหรับการฝึกอบรมก็ควรจะเตรียมไว้และนำมาพิจารณารวมเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการใช้ซอฟแวร์ด้วยเพื่อเปรียบเทียบซอฟแวร์หลายๆตัว

9. Project Development Model
การพัฒนาซอฟแวร์ควรจะเป็นระบบระเบียบ การพัฒนาซอฟแวร์โอเพนซอร์ซควรจะมีการพัฒนาที่ชัดเจนมีรายละเอียดของการทำการเปลี่ยนแปลงและการประเมินผลการทำการเปลี่ยนแปลงด้วย
ควรจะมีการระบุถึงว่านักพัฒนาใช้ความพยายามไปมากเท่าไรในการดัดแปลงซอฟแวร์ โอเพนซอร์ซบางโปรเจคมีกฏที่เข้มขวดในเรื่องการระบุความพยายามในการดัดแปลงนี้ บางโปรเจคจะยืดหยุ่นกว่า แต่อย่างไรก็ตามนโยบายเรื่องการระบุความพยายามสำหรับแต่ละการดัดแปลงนี้ควรจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน

10. ลิขสิทธิ์ Licence
อ่านลิขสิทธิ์

=== เรียบเรียงจาก ===
* //www.oss-watch.ac.uk/resources/tips.xml


Create Date : 12 กรกฎาคม 2554
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2559 10:51:14 น. 1 comments
Counter : 411 Pageviews.

 


โดย: auyza วันที่: 12 กรกฎาคม 2554 เวลา:23:14:18 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.