Group Blog
 
All blogs
 
วิธีการเลือกป้านชาหรือปั้นชา

เนื้อหา และรูปภาพผมรวบรวมหามาจากเวปไม่ได้เป็นของผมเองครับ โดยมีที่มาจากเวปข้างล่างนี้ครับ ถ้าเจ้าของเนื้อหาเข้ามาพบผมขอโทษด้วยนะครับ อย่างไงก็ถือวิสาสะขออนุญาติไปในตัวเลยนะครับ
All story and picture from website below:
//cyberjoob.multiply.com/journal/item/73/73
//cyberjoob.multiply.com/journal/item/81/81
//pu-photo.spaces.live.com/blog/cns!2D270FD9D079CCB5!2495.entry?_c=BlogPart
//teaconner.thport.com/pancha5.html
//www.designparty.com/member/5115201/
//www.rishi-tea.com
//www.teamaster.blogspot.com
//www.houdeblog.com

การเลือกป้านชาหรือปั้นชา
ปั้นชานั้น ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญสุดยอดในการชงชาจีนครับ ปั้นชาที่ดีนั้น นอกจากขับรสชาติของใบชาออกมาได้อย่างเต็มที่แล้ว เรายังได้เสพงานศิลปะที่ศิลปินได้สร้างสรรค์งานปั้นนั้นออกมาด้วยครับ
การเลือกปั้นชาอี๋ซิงนั้น พอมีหลักการคร่าวๆ ดังนี้ครับ
1.ต้องมีสัดส่วนที่สมดุลย์
ปั้นชาที่ปั้นได้ดี ต้องมีรูปร่างสัดส่วนที่สมดุลย์ครับ นี่เป็นหัวใจของการเลือกปั้นชา จับปั้นชามาวางในตำแหน่งที่มองเห็นด้านข้างที่ชัดเจนก่อน จากนั้นก็จับมาดูจากทางด้านบน และก้นครับ อีกประการหนึ่งคือความสวยงาม แต่อันนี้ก็พูดยาก เพราะคนแต่ละคนก็ชอบไม่เหมือนกัน เอาเป็นว่าปั้นอันไหนมีสัดส่วนที่สมดุลย์ และมีการออกแบบที่สวยงามโดนใจคุณ ก็สามารถเก็บเอาเป็นคอลเล็กชั่นส่วนตัวได้เลยครับ
2.หูจับถือง่าย
การออกแบบหูจับปั้นชานั้น ต้องให้ได้ศูนย์ถ่วงจริงๆนะครับ มิเช่นนั้น ถ้าเราเติมน้ำร้อนไปเต็มปั้นแล้ว ผู้ปั้นออกแบบหูจับไม่ดีแล้ว เวลายกปั้นชามาจะทำให้ปั้นชาเอียง น้ำร้อนอาจลวกมือได้ อันนี้ก็สำคัญเช่นกัน ในการเลือกปั้นชาส่วนขนาดหูจับนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของปั้นชาครับ
3.น้ำต้องไหลได้ต่อเนื่อง
สำหรับข้อนี้ต้องดูที่ พวย ครับ ปั้นชาที่ดี เวลารินชา น้ำชาจะต้องไหลออกอย่างรวดเร็ว จะมาหยดติ๋งๆ หรือไหลกระปริดกระปรอย ถือว่าไม่ผ่านครับ เพราะถ้าน้ำร้อนแช่กับใบชานานเกินไป รสชาติชาจะเสียไป นักเลงชาส่วนมากจะชอบพวยกาที่เป็นเส้นตรงๆ ออกมาจากปั้นเลย เพราะเชื่อว่าจะให้รสชาติชาที่ดีกว่า พวยที่โค้งงอ ที่กรองใบชาด้านในก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้น้ำชาไหลออกเร็วหรือชาเหมือนกัน ในปัจจุบันส่วนมากก็จะมีที่กรองใบชากันหมดแล้วที่นี้เรามีดูประเภทของที่กรองชาในป้านชาหรือปั้นชากันดีกว่า
แบบลูกกอล์ฟ
แบบนี้จะกรองได้ดีที่สุด มีเศษใบชาหลุดออกมาน้อยมาก น้ำชาจะไหลออกมาเร็ว และโอกาสที่ใบชาจะมาอุดจนน้ำออกมาไม่ได้มีน้อยมาก

แบบรูตะแกง
แบบนี้มีโอกาสที่ใบชาจะอุดทางออกของน้ำได้ และการกรองอาจจะไม่ดีเท่าแบบลูกกอล์ฟ แต่ถ้าช่างบั้นผีมือดีๆก็ไม่มีปัญหาอะไร

แบบไม่มีกรอง
แบบนี้จะลำบากหน่อยเวลาใช้ เพราะใบชาจะเข้าไปอุดรูทางออก และมีใบชาหลุดออกมาเวลาเทน้ำชา บางที่อาจทำให้เทน้ำชาออกมาน้อยถึงขั้นไม่ออกเลยก็มี ส่วนมากผู้ที่ใช้ปั้นชาแบบนี้จะมีไม้จิ้มฟันอยู่ด้วยเพื่อเอาไว้แยงเวลาเทน้ำชาไม่ออก แต่สมัยนี้แทบจะไม่เห็นปั้นชาแบบนี้แล้ว ถ้ายังพบเห็นอยู่เดาได้เลยว่าเป็นปั้นชาเก่าแน่นอน ถ้าสวยกับราคาไม่แพงอันนี้แนะนำให้ซื้อเก็บครับ

พวยป้าน
พวยควรจะมีขนาดใหญ่เพื่อเวลาเทชาออกมา จะสะดวกและรวดเร็ว

4.ฝาต้องปิดสนิท
ฝาปั้นชาที่ปิดสนิทจะช่วยรักษากลิ่นและรสชาติของชาได้ดีครับ เวลาเลือกซื้อปั้นชาอาจจะทดสอบโดยการใส่น้ำลงไปในปั้นชา และใช้นิ้วปิดรูหายใจเล็กๆที่อยู่บนฝาและลองเทน้ำออกมาดู ถ้าฝาที่ปิดสนิทน้ำจะไม่ไหลออกมาครับ นอกจากการรักษารสชาติชาแล้ว ฝาที่ปิดสนิทยังแสดงถึงความเนี้ยบของชิ้นงานด้วยนะครับ

ฝาปั้นชา ต้องปิดสนิทกับตัวป้าน ไม่คลอนและไม่พอดีจนเกินไปทำให้จับเข้าออกยาก
ดุมฝา จะต้องถนัดมือหยิบจับได้เวลาร้อน
รูอากาศ ควรมีขนาดใหญ่เพื่อที่จะให้อากาสระบายได้สะดวกตอนเท มีผลต่อน้ำชาที่เทด้วยครับ
ลิ้นปั้น ต้องยาวพอสมควรเวลาเทฝาจะไม่หลุดออกมาง่ายเกินไป
5.สภาพของปั้นชา
ง่ายๆครับ คือสภาพต้องดีไม่มีรอยแตกครับ การเลือกปั้นชาเก่าส่วนใหญ่จะเจอรอยแตกที่พวย และบริเวณขอบปากกปั้นครับ และอย่าลืมดูภายในกาด้วยนะครับ บางทีพวกพ่อค้าจะซ่อนรอยแตกไว้ข้างในก็ได้ ต้องดูดีดี สภาพปั้นชาที่ดีมีลักษณะตามรูปครับ

ระดับของ พวยปั้น ปากปั้น และหูปั้นควรอยู่ในระนาบเดียวกัน กับระหว่างพวยปั้นและหูปั้นต้องอยู่ตรงกันไม่เอียงซ้ายหรือขวา
6.คุณภาพขอดินปั้น
อันนี้ยากครับ ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญในการดูเนื้อดิน แต่ถ้าเราอ่านมากขึ้น ศึกษาจากของจริงมากขึ้น ก็จะพอจำแนกได้ว่าเป็นดินดี ปานกลาง หรือเลว ดินเหนียวมาก ดินปนทรายมากดินเก่าดินใหม่และอื่นๆครับยากมาก
บางคนจะใช้ฝาปั้นเคาะเบาๆกับตัวปั้น เพื่อฟังเสียง อันนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการเลือกปั้นชา ปั้นที่ดีเสียงจะต้องแน่นครับ แต่ต้องระวังนะครับ ไปเคาะของเขาแตกละยุ่งเชียว ผมขอเสนอวิธีการเคาะเพื่อฟังเสียงของป้านชาหรือปั้นชาครับ
เริ่มแรกวิธีการวางปั้นชาบนมือ

การจับตัวป้านเพื่อเคาะคล้ายๆกับการเคาะระฆังหรือสั่นกระดิ่งที่ต้องให้มือเราสัมผัสกับตัวป้านให้น้อยที่สุด โดยการแบมือแล้ววางป้านลงบนฝ่ามือ(สำหรับผู้ที่ยังไม่ชำนาญ) หรือวางบนระหว่างฝ่ามือกับนิ้วมือ หรือวางบนนิ้วมือ(สำหรับผู้ชำนาญแล้ว) ข้อสำคัญระวังอย่าให้ตกครับ ยิ่งไปลองของคนอื่นแล้วนี่ยิ่งต้องระวังใหญ่เลยครับ
ต่อไปคือการเคาะอย่างไรเสียงที่ได้ควรเป็นเช่นใด เสียงที่เราต้องการจากการเคาะคือเสียง “กริ๊งๆ” กังวานใส คล้ายๆกับเสียงกระดิ่งโลหะ แสดงให้เห็นถึงความแกร่งไม่แตกร้าวของปั้นชาและยังเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของดินด้วย เราจะใช้ฝาเคาะกับหูปั้นอย่าเคาะกับขอบปั้นหรือตัวปั้นเพราะถ้าเกิดการกะเทาะจะสังเกตง่าย (จริงๆเคาะที่ขอบหรือตัวปั้นได้ครับในกรณีที่ปั้นชาเป็นของเราเอง หรือถ้าคิดว่าเราชำนาญแล้วก็เคาะของคนอื่นได้เช่นกันครับ) ถ้าเคาะกับหูก็อย่าเคาะแรงจนหูหักนะครับ ฝาที่เราใช้เคาะนี้ให้สังเกตดูว่าขอบฝานั้นมีลักษณะคมหรือมน ถ้ามนก็สามารถใช้ขอบฝาเคาะที่หูป้านได้แต่ถ้าขอบฝาคมห้ามใช้ขอบป้านเคาะเพราะขอบฝาอาจบิ่นได้ (แต่ถ้าเป็นปั้นของตันเองพอใจจะเคาะก็ได้ครับไม่ว่าอะไร) ให้เลี่ยงไปใช้ที่จับฝาเคาะแทน

วิธีดูว่าขอบฝาคมหรือมนนั้นให้ดูด้วยตาแล้วใช้มือลูกดูถ้ารู้สึกคมๆก็แสดงว่าเคาะแล้วบิ่นแน่ๆ หรือว่าดูแล้วฝาบางๆไม่หนาจะมนหรือกลมก็อย่าเสียงดีกว่าครับ ให้ใช้ที่จับฝาเคาะดีที่สุด จริงๆแล้วเรื่องเสียงนี้ผมยังงงๆอยู่เหมือนกันเท่าที่ลองซื้อลองถามดูผมก็ยังไม่เข้าใจท่องแท้ บางครั้งไปลองเคาะดูตามร้านเสียงดังดีราคาไม่กี่ร้อย ส่วนที่เคาะแล้วเสียงแป็กๆไม่กังวานกลับราคาหลักพัน ทั้งที่การปั้นเนื้อดินก็ไม่ได้หนาต่างกันเลย คงต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์กันต่อไปครับ
7.กลิ่นของดิน
ปั้นชาใหม่จะต้องไม่มีกลิ่น แต่ปั้นที่ทำมาไม่ดีบางครั้งก็มีกลิ่นได้ และจะไปทำให้กลิ่นรสของชาเสียได้นะครับ อันนี้ต้องระวังมากๆ ตอนซื้อต้องหยิบมาดมพิสูจน์กลิ่นกันก่อน แต่ถ้าเป็นปั้นเก่ามีกลิ่นแน่นอนครับ ปั้นเก่านี่ต้องวัดดวงครับ
น่าจะแค่นี้นะครับในการเลือกปั้นชาคร่าวๆ แต่บางคนก็มีสูตรเฉพาะของแต่ละคนในการเลือกนะครับ
ดินอี๋ซิงนั้น มีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่นที่ดี ดังนั้นต้องระวังไม่ใช้ปั้นชาอี๋ซิงในการลงชาหลายๆชนิดในปั้นเดียวกัน ใหม่ๆให้ลองใช้ปั้นชาชงชาแบบต่างๆ ถ้าชงอร่อยกับชาอันไหนก็เก็บไว้ชงกับชาชนิดนั้นเลย เพราะใช้ไปนานๆ กลิ่นชาชนิดนั้นจะติดอยู่กับตัวปั้นครับ แค่ใส่น้ำร้อนลงไป ตัวปั้นจะให้กลิ่นชานั้นออกมาเลยทีเดียว
ของให้ทุกท่านมีความสุขกับการเลือกปั้นชาสักใบเป็นของตัวเอง แต่ผมพนันได้ว่าหากท่านลองได้เลือกซื้อปั้นชาหนึ่งใบแล้วคงไม่หยุดแค่หนึ่งแน่นอนใช้ไหมครับ




Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2552 22:29:26 น. 0 comments
Counter : 7707 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมูขึ้นเขียง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add หมูขึ้นเขียง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.