Group Blog
 
All blogs
 

วิธีปลุกป้านชาใหม่

รูปที่ลงมาจากเวปนี้นะครับ
All picture me copy form below website:
//www.gongfugirl.com/?page_id=274

ถึงตอนนี้ผมคิดว่าหลายท่านน่าจะมีป้านชาไว้ในครอบครองกันบ้างแล้วนะครับ งั้นเรามาต่อกันเรื่องการปลุกป้านชาให้ตื่นจะได้ทำให้เราได้ลิ่มรสชาติของน้ำชาที่รสเลิศกัน

ผมได้รวบรวมวิธีต่างๆเอาไว้เพื่อใครสะดวกแบบไหนก็เลือกใช้กันตามสบายครับ

วิธีที่หนึ่ง
1.เมื่อได้ป้านชาใบใหม่มาควรนำมาล้างทำความสะอาดก่อนการใช้งาน อาจจะให้ฟองน้ำหรือผ้าเช็ดถูระหว่างอย่าทำให้ป้านเป็นรอยนะครับเดี๋ยวจะทำใจไม่ได้ หลังจากเช็ดภายในภายในเรียบร้อยก็จับล้างน้ำอย่างน้อยสักหนึ่งครั้ง แล้วก็เติมน้ำใส่ในป้านชาไว้ให้เต็มทิ้งไว้สักหนึ่งคืน
2.หลังจากทิ้งไว้หนึ่งคืน เทน้ำในป้านชาออก นำบ้านชาใสในหม้อหรือภาชนะอื่นก็ได้จุดประสงค์เพื่อการต้ม เมื่อนำป้านชาใสในหม้อเรียบร้อยแล้วก็เติมน้ำให้ท่วมป้าน แล้วก็ต้มสักประมาณ 30 นาที
3.เมื่อครบ 30 นาทีแล้ว เอาป้านชาขึ้นมานำใบชาใสในป้านชาแล้วเอาป้านชากลับไปไว้ในหม้อแล้วเปิดไปต้มให้เดือดอีก 3 นาที เมื่อเรียบร้อยแล้วก็เทน้ำออก
4.เช็ดทำความสะอาดป้านชา แล้วใช้น้ำร้อนล้างป้านอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะทิ้งไว้ให้ป้านชาแห้งสนิทอย่าปิดฝาป้านให้วางฝาป้านไว้บนปากป้านชา เมื่อแห้งเรียบร้อยก็ให้ได้ครับ

วิธีที่สอง
หากท่านไม่มีเวลาหรืออยากลองป้านชาใหม่เร็วๆ หรือมีความจำเป็นด่วนต้องใช้ ง่ายๆครับนำป้านใสหม้อต้มให้เดือด 2 ชั่วโมง ก็เรียบร้อยสามารถนำป้านมาใช้ได้เลยครับ

วิธีที่สาม
1.นำป้านให้หม้อเพื่อต้ม ป้านชาจะต้องเปิดฝาทิ้งไว้ (ต้มฝาด้วยนะครับ ฝาเอาไว้ข้างป้านก็ได้)
2.นำใบชาที่จะใช้ชงกับป้านใบนี้ ไปใสไว้ในป้าน (ส่วนมากป้านชาหนึ่งใบจะไว้ใช้ชงเฉพาะกับชาแต่ละอย่างครับ สมมติว่าป้านใบนี้จะใช้สำหรับชงชาอูหลง ก็นำใบชาอูหลงไว้ในกาครับ) เทน้ำใสให้เต็ม ต้มให้เดือดช้าๆ (อย่าใช้ไฟแรง ถ้าใช้ไฟแรงน้ำเดือดเร็วอาจทำให้ป้านเสียหายได้ หรือเวลาเดือดมากๆป้านอาจกระเด้งกระดอนไปกระทบผนังหม้อทำให้ป้านเสียหายได้เช่นกัน)
3.ต้มป้านให้เดือดแบบช้าๆสักหนึ่งชั่วโมง หลังจากนั้นก็ปล่อยให้เย็นทิ้งไว้อย่างนั้นหนึ่งคืน
4.วันต่อมานำป้านชาออกมาทำความสะอาดป้านด้วยน้ำธรรมดา (อย่าเพิ่งเทน้ำในหม้อต้มทิ้งนะครับ) แล้วก็นำป้านไปต้มให้เดือดแบบช้าๆอีกครั้งหนึ่ง (ไม่ต้องใส่ใบชาลงไปแล้ว) สักประมาณหนึ่งชั่วโมง ใช้น้ำเดิมที่อยู่ในหม้อต้มแหละครับ พอครบหนึ่งชั่วโมงก็ปล่อยให้เย็น ทิ้งไว้อย่างนั้นอีกหนึ่งวัน
5.วันต่อมานำป้านชาขึ้นมาล้างด้วยน้ำเดือดอีกครั้งหนึ่ง น้ำที่อยู่ในหม้อต้มเททิ้งได้แล้วครับ ทำความสะอาดป้านชาทิ้งไว้ให้แห้งก็ใช้ได้แล้ว

วิธีที่สี่
เทน้ำเดือดใสป้านชาปิดฝาทิ้งไว้ 5 ถึง 10 นาที รินน้ำออก ใส่ใบชาที่จะใช้ชงสำหรับป้านชาใบนี้ลงไปในป้านเทน้ำเดือดปิดฝาทิ้งไว้อีก 5 ถึง 10 นาที หลังจากนั้นก็รินน้ำออก นำใบชาทิ้ง ใช้น้ำร้อนรดป้านชาอีกรอบเทน้ำในป้านทิ้ง ทำความสะอาดป้านชา ทิ้งไว้ให้แห้งก็ใช้ได้แล้วครับ

ขอปิดท้ายด้วยรูปของทางเวปต่างประเทศที่เค้าแสดงวิธีเอาไว้นะครับ












ปิดท้ายกันจริงๆอีกที่กับวิธีการทำความสะอาดป้านชาเก่า (ในกรณีที่ท่านซื้อของเก่ามา หรือว่าท่านใช้จนเก่าเองก็ได้ครับ)

1.เทน้ำอุ่นลงไปในป้านชา แล้วจับป้านวนน้ำภายใน (จะอธิบายอย่างไงดีเหมือนพยายามทำให้น้ำภายในป้านชาหมุนครับ จะหมุนซ้ายหรือขวาแล้วแต่สะดวกครับ) วนจนพอใจแล้วก็เทน้ำออก
2.รดป้านชาด้วยน้ำร้อนทั้งภายในและภายนอก
3.เตรียมป้านชาวางบนภาชนะที่กว้างพอหรือใส่ในหม้อหรือภาชนะอื่นๆ นำยาเม็ดที่ใช้สำหรับทำความสะอาดฟันปลอมใส่ลงไปในป้านชา ใช้สักหนึ่งหรือสองเม็ดแล้วแต่ขนาดของป้านครับ หรือถ้าจะทำความสะอาดถ้วยชาด้วยอาจให้สักครึ่งเม็ดก็ได้ครับ
4.เทน้ำเดือดเทไปให้ป้านปิดฝาป้านเทน้ำร้อนอีกครั้งหนึ่ง ตรงนี้มีข้อระวังนิดหน่อยตรงเวลายาทำปฏิกิริยาจะมีฟองอากาศทำให้ฝาป้านอาจกระเด็นออกมา ดังนั้นควรหาผ้าหรืออุปกรณ์อย่างอื่นมารองกันไว้
5.หลังจากนั้นหนึ่งชั่วโมงมาตรวจดูความสะอาด หากยังมีคราบอยู่ทิ้งไว้ข้ามคืน
6.เมื่อคราบหายไป เทน้ำร้อนลงป้านอีกครั้ง
7.ทำความสะอาดป้าน เช็ดป้าน แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง

หมดแล้วครับ




 

Create Date : 01 มีนาคม 2552    
Last Update : 7 มีนาคม 2552 9:29:45 น.
Counter : 3686 Pageviews.  

จูหนี กับ ฮงหนี เหมือนหรือต่าง ?

ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากเวปนี้ครับ
All story from website below

//houdeblog.com/?p=130

Zhu Ni (จูหนี) กับ Hong Ni (ฮงหนี) เหมือนหรือต่าง ?
จากเรื่องก่อนหน้าเรื่องดินกันเรื่องสีของป้านชามีใครสังเกตเรื่องสีบ้างหรือเปล่าครับ อ่ะไม่มีใครสงสัยอะไรเลย แล้วยังงี้ผมจะเล่าอย่างไงหละ งั้นเอาเป็นว่าลองสงสัยหน่อยแล้วกันนะครับ เรื่องมีอยู่ว่าสีแดงของดินเราเรียกว่าจูหนี (Zhu Ni) ส่วนสีแดงของป้านเราเรียกว่า (Hong Ni) แล้วมันเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไง มันเป็นดินตัวเดียวกันหรือเปล่า (จริงๆแล้วยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนนะครับ อย่าเพิ่งหลงเชื่อผมเป็นอันขาด)
พอได้ลองค้นหาคำว่า Zhu Ni จูหนี มากๆเข้า เพื่อที่ได้หาป้านชาจูหนีแท้ๆสักใบ ก็จะพบกับความสับสนเพิ่มขึ้น ยิ่งอ่านก็ยิ่งงง เอาเป็นว่าผมจะเล่าเท่าที่ผมเข้าใจแล้วกันนะครับ
เริ่มแรกที่มีการทำป้านชาอี๋ชิง มีดินชนิดหนึ่งเรียกว่า จูหนี มีอยู่ที่ภูเขา หวงลูง (Huang Lung) เจาซวง (Zhao Zuang) เสียวเมยเยา (Xiao Mei Yao) ฮูฟู (Hu Fu) ขุดดินขึ้นมาใช้เรื่อยๆ ดินก็เริ่มหมด ยิ่งทางการจีนสั่งห้ามขุดดินตามเหมืองที่อยู่บนภูเขา หวงลูง (Huang Lung) เจาซวง (Zhao Zuang) เสียวเมยเยา (Xiao Mei Yao) เหลือแต่ที่ฮูฟู (Hu Fu) ที่เค้าเรียกดินที่ภูเขาลูกนี้ว่าเป็นนิวจูหนี ก็เลยทำให้ดินจูหนียิ่งเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น คนทำป้านชาก็ต้องค้นหากรรมวิธีที่จะทำให้มีดินจูหนีออกมาก็เลยต้องหาดินที่มีความใกล้เคียงกับดินจูหนีเดิมแล้วนำมาผสมแร่ธาตุต่างๆเพื่อให้ได้สีที่ใกล้เคียงกับดินจูหนีมากที่สุด ผลที่ออกมาก็คือฮงหนี หรือบางทีก็เรียกว่าจูหนีสมัยใหม่ (อย่าเพิ่งงงกับคำว่านิวจูหนี (New Zhu Ni) กันจูหนีสมัยใหม่ (Modern Zhu Ni) นิวจูหนีนั้นหมายถึงดินจากภูเขาฮูฟู (Hu Fu) แต่จูหนีสมัยใหม่นั้นหมายถึงป้านชาที่มีลักษณะเหมือนทำมาจากดินจูหนี) แต่บางทีก็หมายความรวมกันไปเลยว่าจูหนีก็คือฮงหนี ฮงหนีก็คือจูหนี เหมือนกัน ซึ่งก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันตามเวปบอร์ดโดยยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด มันก็เลยทำให้ผมยิ่งงง ก็ของมันมั่วเรียกกันมาเป็นร้อยปี ใครมีของแท้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นอยู่ใครจะยอมรับได้ สำหรับคนที่ยังไม่มีจะไปหาของแท้ๆ ก็สู้ราคาไม่ไหวแถมดูไม่เป็นอีกไหนๆจะโดนหลอกโดนไอ้ที่ราคาเบาๆหน่อยก็ยังดี ความเห็นส่วนตัวผมว่ามันก็เลยกลายเป็นการยอมรับกันไปโดยปริยาย แต่ท่านผู้รู้บางราย (ไม่รวมถึงผมนะ) ท่านมีข้อสังเกตดังนี้

ผิวต้องย่น
(อันนี้ขอประกบภาษาอังกฤษสักหน่อยกลัวแปลผิดครับ) ย่นนี่มีย่นสองอย่างอีกนะครับ อันแรก Wrinkle คือย่นที่เกิดจากลักษณะของดิน กับอันที่สอง Shrink คือย่นแบบหดตัวของดินเมื่อผ่านกรรมวิธีในการเผา งงไหมครับผมก็งงแต่ยังมีเรื่องให้งงกันอีก มะมางงกันต่อเรื่องย่นๆ
ย่นแบบที่หนึ่ง ย่นแบบ Wrinkle เป็นเรื่องของดินมันก็มีปัญหาอีกว่าถ้าเป็นดินของภูเขาที่ชื่อว่าเจาซาง (Zhao Zuang) จะดูง่ายเป็นเอกลักษณ์ ดินจะมีลักษณะไม่เรียบออกแนวมีตะปุ่มตะปั่ม ป้านชาจูหนีของที่นี่จะดังและแพงเพราะปลอมยาก ส่วนดินที่ได้จากภูเขาหวงลูง (Huang Lung) กับ เสียวเมยเยา (Xiao Mei Yao) จะแบ่งเป็นอีกสองลักษณะก็คือดินที่ไม่ผ่านการกรอง กับดินที่ผ่านการกรอง ถ้าป้านชาจูหนีมาจากดินที่ไม่ผ่านการกรองดินก็จะออกแนวย่นมากหน่อย แต่ถ้าผ่านการกรองก็จะออกเรียบขึ้นผิวมีริ้วรอยน้อยลง อย่างหลังนี่หละสำคัญเพราะฮงหนีมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับป้านชาจูหนีแบบนี้มาก ป้านจูหนีที่ดังที่สุดมาจากภูเขาหวงลูง (Huang Lung)
ย่นแบบที่สอง Shrink คือการย่นที่เกิดจากขั้นตอนการเผาอันนี้เค้าบอกกันว่าถ้าเป็นดินจูหนีแท้ๆจะเวลาเผาจะเกิดการหดตัวของดินอันเนื่องจากแร่ต่างๆที่อยู่ในดิน (อันนี้ผมไม่ลงรายละเอียดนะครับเพราะผมก็ยังไม่เข้าใจแถมงงโคตร) ทำให้ดินหดตัวประมาณ 20 – 25% ทำให้การเผาเตาหนึ่งๆบางที่ได้ของออกมาแค่ 60% แต่ถ้าเป็นหงหนีตามที่เค้าว่ากันว่าสามารถเดิมแร่ต่างๆเข้าไปทำให้การหดตัวน้อยกว่าแบบธรรมชาติ แต่บางทีเค้าก็อาจจะไม่ผสมอะไรลงไปเหมือนกัน การหดตัวแค่ 10 – 15% ทำให้ของที่ผ่านการเผามีมากกว่าแบบธรรมชาติ ถ้าใครมีของแท้ก็ลองเอามาส่องดูก็ได้นะครับ ส่วนผมยังไม่มีสักใบก็ได้แต่เล็งๆรูปที่เค้าลงตามเวปแทนครับ ผมขอจบเรื่องย่นๆของผิวป้านแค่นี้ก่อน ก่อนที่มันจะทำให้หน้าท่านย่นตามอิอิ

สี สีครับสีต้องแดงชาด ถึงจะเป็นจูหนี ถ้าออกจืดๆนี่ไม่ใช้แน่นอนถึงแม้ว่าผิวจะย่นก็ตาม อันนี้เค้าเถียงกันแบบน้ำลายกระเด็นออกจากหน้าจอคอมฯมาโดนผมก็มี ว่ากันถึงค่าเคมี อุณหภูมิการเผา แร่ธาตุต่างๆ ยิ่งถ้าเป็นของเก่ายิ่งดูยาก แต่เราเอาแค่สรุปก็พอครับ มันขึ้นอยู่กับประสบการณ์

ผิวเงา ถ้าเป็นจูหนีผิวจะเงาเล็กน้อย แต่ฮงหนีจะเงามากกว่า บางทีจะเงาเหมือนการขัดให้เงา อันนี้ก็ดูยากเหมือนกัน ยิ่งเป็นของเก่าก็ยิ่งงง ผมว่าถ้าต้องการจริงๆ แล้วราคาสูงให้พาคนที่ดูเป็นไปช่วยตัดสินใจดีกว่านะครับ

เสียง อันนี้ต้องหูเทพครับถึงแยกออก มันมาจากดินจูหนีที่ว่ากันว่ามีส่วนผสมของเหล็กอยู่ เสียงจะสูง กว่าฮงหนีที่มีส่วนผสมของเหล็กที่น้อยกว่า แล้วถ้ามีคนถามว่าสมมติว่าเค้าใส่แร่เหล็กผสมลงไปในฮงหนีจนได้ค่าเท่ากับจูหนีแล้วจะฟังเสียงออกหรือเปล่า ถ้าเป็นแบบนี้ผมว่าก็ตัวใครตัวมันครับตอบไม่ได้เหมือนกัน

วิธีดูคราวๆที่ผมพอเค้าใจก็คงแค่นี้ถูกผิดอย่างไงก็อย่าถือสานะครับ
ส่วนผมก็พยายามหาป้านชาดีๆ ถูกใจสักใบจะเป็นจูหนีหรือฮงหนีก็ได้
สุดท้ายมาดูรูปกัน













 

Create Date : 26 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 26 กุมภาพันธ์ 2552 11:54:13 น.
Counter : 1872 Pageviews.  

เสียง

All clip from website below:
//houdeasianart.com/teablog/index.php?m=10&y=06&entry=entry061006-233300
//houdeasianart.com/teablog/index.php?entry=entry061010-121944

ต่อกันครับ
คราวนี้ลองมาหัดฟังเสียงกันนะครับ บอกก่อนคลิปพวกนี้ผมโหลดมาจากเวปต่างประเทศนะครับ

เริ่มแรกเป็นดินจูหนี Zhu Ni เป็นสุดยอดของป้านชาที่ควรค่าแก่การเสาะหาครับ

60's Nam-Yan Zhu Ni Shui Pin


Early R.O.C Pear-Skinned Zhu Ni


Early R.O.C Zhu Ni


18th century (mid-Qing) "Fu Yuan Ting" Lon-Dan Zhu Ni


คราวนี้มาฟังรวมๆนะครับ











เป็นไงบ้างครับ พอเป็นแนวทางในการฟังเสียงได้บ้างหรือเปล่าครับ
อย่าไปเคาะป้านชาที่บ้านจนแตกนะครับ




 

Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2552 23:07:37 น.
Counter : 664 Pageviews.  

วิธีการเลือกป้านชาหรือปั้นชา

เนื้อหา และรูปภาพผมรวบรวมหามาจากเวปไม่ได้เป็นของผมเองครับ โดยมีที่มาจากเวปข้างล่างนี้ครับ ถ้าเจ้าของเนื้อหาเข้ามาพบผมขอโทษด้วยนะครับ อย่างไงก็ถือวิสาสะขออนุญาติไปในตัวเลยนะครับ
All story and picture from website below:
//cyberjoob.multiply.com/journal/item/73/73
//cyberjoob.multiply.com/journal/item/81/81
//pu-photo.spaces.live.com/blog/cns!2D270FD9D079CCB5!2495.entry?_c=BlogPart
//teaconner.thport.com/pancha5.html
//www.designparty.com/member/5115201/
//www.rishi-tea.com
//www.teamaster.blogspot.com
//www.houdeblog.com

การเลือกป้านชาหรือปั้นชา
ปั้นชานั้น ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญสุดยอดในการชงชาจีนครับ ปั้นชาที่ดีนั้น นอกจากขับรสชาติของใบชาออกมาได้อย่างเต็มที่แล้ว เรายังได้เสพงานศิลปะที่ศิลปินได้สร้างสรรค์งานปั้นนั้นออกมาด้วยครับ
การเลือกปั้นชาอี๋ซิงนั้น พอมีหลักการคร่าวๆ ดังนี้ครับ
1.ต้องมีสัดส่วนที่สมดุลย์
ปั้นชาที่ปั้นได้ดี ต้องมีรูปร่างสัดส่วนที่สมดุลย์ครับ นี่เป็นหัวใจของการเลือกปั้นชา จับปั้นชามาวางในตำแหน่งที่มองเห็นด้านข้างที่ชัดเจนก่อน จากนั้นก็จับมาดูจากทางด้านบน และก้นครับ อีกประการหนึ่งคือความสวยงาม แต่อันนี้ก็พูดยาก เพราะคนแต่ละคนก็ชอบไม่เหมือนกัน เอาเป็นว่าปั้นอันไหนมีสัดส่วนที่สมดุลย์ และมีการออกแบบที่สวยงามโดนใจคุณ ก็สามารถเก็บเอาเป็นคอลเล็กชั่นส่วนตัวได้เลยครับ
2.หูจับถือง่าย
การออกแบบหูจับปั้นชานั้น ต้องให้ได้ศูนย์ถ่วงจริงๆนะครับ มิเช่นนั้น ถ้าเราเติมน้ำร้อนไปเต็มปั้นแล้ว ผู้ปั้นออกแบบหูจับไม่ดีแล้ว เวลายกปั้นชามาจะทำให้ปั้นชาเอียง น้ำร้อนอาจลวกมือได้ อันนี้ก็สำคัญเช่นกัน ในการเลือกปั้นชาส่วนขนาดหูจับนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของปั้นชาครับ
3.น้ำต้องไหลได้ต่อเนื่อง
สำหรับข้อนี้ต้องดูที่ พวย ครับ ปั้นชาที่ดี เวลารินชา น้ำชาจะต้องไหลออกอย่างรวดเร็ว จะมาหยดติ๋งๆ หรือไหลกระปริดกระปรอย ถือว่าไม่ผ่านครับ เพราะถ้าน้ำร้อนแช่กับใบชานานเกินไป รสชาติชาจะเสียไป นักเลงชาส่วนมากจะชอบพวยกาที่เป็นเส้นตรงๆ ออกมาจากปั้นเลย เพราะเชื่อว่าจะให้รสชาติชาที่ดีกว่า พวยที่โค้งงอ ที่กรองใบชาด้านในก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้น้ำชาไหลออกเร็วหรือชาเหมือนกัน ในปัจจุบันส่วนมากก็จะมีที่กรองใบชากันหมดแล้วที่นี้เรามีดูประเภทของที่กรองชาในป้านชาหรือปั้นชากันดีกว่า
แบบลูกกอล์ฟ
แบบนี้จะกรองได้ดีที่สุด มีเศษใบชาหลุดออกมาน้อยมาก น้ำชาจะไหลออกมาเร็ว และโอกาสที่ใบชาจะมาอุดจนน้ำออกมาไม่ได้มีน้อยมาก

แบบรูตะแกง
แบบนี้มีโอกาสที่ใบชาจะอุดทางออกของน้ำได้ และการกรองอาจจะไม่ดีเท่าแบบลูกกอล์ฟ แต่ถ้าช่างบั้นผีมือดีๆก็ไม่มีปัญหาอะไร

แบบไม่มีกรอง
แบบนี้จะลำบากหน่อยเวลาใช้ เพราะใบชาจะเข้าไปอุดรูทางออก และมีใบชาหลุดออกมาเวลาเทน้ำชา บางที่อาจทำให้เทน้ำชาออกมาน้อยถึงขั้นไม่ออกเลยก็มี ส่วนมากผู้ที่ใช้ปั้นชาแบบนี้จะมีไม้จิ้มฟันอยู่ด้วยเพื่อเอาไว้แยงเวลาเทน้ำชาไม่ออก แต่สมัยนี้แทบจะไม่เห็นปั้นชาแบบนี้แล้ว ถ้ายังพบเห็นอยู่เดาได้เลยว่าเป็นปั้นชาเก่าแน่นอน ถ้าสวยกับราคาไม่แพงอันนี้แนะนำให้ซื้อเก็บครับ

พวยป้าน
พวยควรจะมีขนาดใหญ่เพื่อเวลาเทชาออกมา จะสะดวกและรวดเร็ว

4.ฝาต้องปิดสนิท
ฝาปั้นชาที่ปิดสนิทจะช่วยรักษากลิ่นและรสชาติของชาได้ดีครับ เวลาเลือกซื้อปั้นชาอาจจะทดสอบโดยการใส่น้ำลงไปในปั้นชา และใช้นิ้วปิดรูหายใจเล็กๆที่อยู่บนฝาและลองเทน้ำออกมาดู ถ้าฝาที่ปิดสนิทน้ำจะไม่ไหลออกมาครับ นอกจากการรักษารสชาติชาแล้ว ฝาที่ปิดสนิทยังแสดงถึงความเนี้ยบของชิ้นงานด้วยนะครับ

ฝาปั้นชา ต้องปิดสนิทกับตัวป้าน ไม่คลอนและไม่พอดีจนเกินไปทำให้จับเข้าออกยาก
ดุมฝา จะต้องถนัดมือหยิบจับได้เวลาร้อน
รูอากาศ ควรมีขนาดใหญ่เพื่อที่จะให้อากาสระบายได้สะดวกตอนเท มีผลต่อน้ำชาที่เทด้วยครับ
ลิ้นปั้น ต้องยาวพอสมควรเวลาเทฝาจะไม่หลุดออกมาง่ายเกินไป
5.สภาพของปั้นชา
ง่ายๆครับ คือสภาพต้องดีไม่มีรอยแตกครับ การเลือกปั้นชาเก่าส่วนใหญ่จะเจอรอยแตกที่พวย และบริเวณขอบปากกปั้นครับ และอย่าลืมดูภายในกาด้วยนะครับ บางทีพวกพ่อค้าจะซ่อนรอยแตกไว้ข้างในก็ได้ ต้องดูดีดี สภาพปั้นชาที่ดีมีลักษณะตามรูปครับ

ระดับของ พวยปั้น ปากปั้น และหูปั้นควรอยู่ในระนาบเดียวกัน กับระหว่างพวยปั้นและหูปั้นต้องอยู่ตรงกันไม่เอียงซ้ายหรือขวา
6.คุณภาพขอดินปั้น
อันนี้ยากครับ ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญในการดูเนื้อดิน แต่ถ้าเราอ่านมากขึ้น ศึกษาจากของจริงมากขึ้น ก็จะพอจำแนกได้ว่าเป็นดินดี ปานกลาง หรือเลว ดินเหนียวมาก ดินปนทรายมากดินเก่าดินใหม่และอื่นๆครับยากมาก
บางคนจะใช้ฝาปั้นเคาะเบาๆกับตัวปั้น เพื่อฟังเสียง อันนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการเลือกปั้นชา ปั้นที่ดีเสียงจะต้องแน่นครับ แต่ต้องระวังนะครับ ไปเคาะของเขาแตกละยุ่งเชียว ผมขอเสนอวิธีการเคาะเพื่อฟังเสียงของป้านชาหรือปั้นชาครับ
เริ่มแรกวิธีการวางปั้นชาบนมือ

การจับตัวป้านเพื่อเคาะคล้ายๆกับการเคาะระฆังหรือสั่นกระดิ่งที่ต้องให้มือเราสัมผัสกับตัวป้านให้น้อยที่สุด โดยการแบมือแล้ววางป้านลงบนฝ่ามือ(สำหรับผู้ที่ยังไม่ชำนาญ) หรือวางบนระหว่างฝ่ามือกับนิ้วมือ หรือวางบนนิ้วมือ(สำหรับผู้ชำนาญแล้ว) ข้อสำคัญระวังอย่าให้ตกครับ ยิ่งไปลองของคนอื่นแล้วนี่ยิ่งต้องระวังใหญ่เลยครับ
ต่อไปคือการเคาะอย่างไรเสียงที่ได้ควรเป็นเช่นใด เสียงที่เราต้องการจากการเคาะคือเสียง “กริ๊งๆ” กังวานใส คล้ายๆกับเสียงกระดิ่งโลหะ แสดงให้เห็นถึงความแกร่งไม่แตกร้าวของปั้นชาและยังเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของดินด้วย เราจะใช้ฝาเคาะกับหูปั้นอย่าเคาะกับขอบปั้นหรือตัวปั้นเพราะถ้าเกิดการกะเทาะจะสังเกตง่าย (จริงๆเคาะที่ขอบหรือตัวปั้นได้ครับในกรณีที่ปั้นชาเป็นของเราเอง หรือถ้าคิดว่าเราชำนาญแล้วก็เคาะของคนอื่นได้เช่นกันครับ) ถ้าเคาะกับหูก็อย่าเคาะแรงจนหูหักนะครับ ฝาที่เราใช้เคาะนี้ให้สังเกตดูว่าขอบฝานั้นมีลักษณะคมหรือมน ถ้ามนก็สามารถใช้ขอบฝาเคาะที่หูป้านได้แต่ถ้าขอบฝาคมห้ามใช้ขอบป้านเคาะเพราะขอบฝาอาจบิ่นได้ (แต่ถ้าเป็นปั้นของตันเองพอใจจะเคาะก็ได้ครับไม่ว่าอะไร) ให้เลี่ยงไปใช้ที่จับฝาเคาะแทน

วิธีดูว่าขอบฝาคมหรือมนนั้นให้ดูด้วยตาแล้วใช้มือลูกดูถ้ารู้สึกคมๆก็แสดงว่าเคาะแล้วบิ่นแน่ๆ หรือว่าดูแล้วฝาบางๆไม่หนาจะมนหรือกลมก็อย่าเสียงดีกว่าครับ ให้ใช้ที่จับฝาเคาะดีที่สุด จริงๆแล้วเรื่องเสียงนี้ผมยังงงๆอยู่เหมือนกันเท่าที่ลองซื้อลองถามดูผมก็ยังไม่เข้าใจท่องแท้ บางครั้งไปลองเคาะดูตามร้านเสียงดังดีราคาไม่กี่ร้อย ส่วนที่เคาะแล้วเสียงแป็กๆไม่กังวานกลับราคาหลักพัน ทั้งที่การปั้นเนื้อดินก็ไม่ได้หนาต่างกันเลย คงต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์กันต่อไปครับ
7.กลิ่นของดิน
ปั้นชาใหม่จะต้องไม่มีกลิ่น แต่ปั้นที่ทำมาไม่ดีบางครั้งก็มีกลิ่นได้ และจะไปทำให้กลิ่นรสของชาเสียได้นะครับ อันนี้ต้องระวังมากๆ ตอนซื้อต้องหยิบมาดมพิสูจน์กลิ่นกันก่อน แต่ถ้าเป็นปั้นเก่ามีกลิ่นแน่นอนครับ ปั้นเก่านี่ต้องวัดดวงครับ
น่าจะแค่นี้นะครับในการเลือกปั้นชาคร่าวๆ แต่บางคนก็มีสูตรเฉพาะของแต่ละคนในการเลือกนะครับ
ดินอี๋ซิงนั้น มีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่นที่ดี ดังนั้นต้องระวังไม่ใช้ปั้นชาอี๋ซิงในการลงชาหลายๆชนิดในปั้นเดียวกัน ใหม่ๆให้ลองใช้ปั้นชาชงชาแบบต่างๆ ถ้าชงอร่อยกับชาอันไหนก็เก็บไว้ชงกับชาชนิดนั้นเลย เพราะใช้ไปนานๆ กลิ่นชาชนิดนั้นจะติดอยู่กับตัวปั้นครับ แค่ใส่น้ำร้อนลงไป ตัวปั้นจะให้กลิ่นชานั้นออกมาเลยทีเดียว
ของให้ทุกท่านมีความสุขกับการเลือกปั้นชาสักใบเป็นของตัวเอง แต่ผมพนันได้ว่าหากท่านลองได้เลือกซื้อปั้นชาหนึ่งใบแล้วคงไม่หยุดแค่หนึ่งแน่นอนใช้ไหมครับ




 

Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2552 22:29:26 น.
Counter : 7676 Pageviews.  

สีของป้านชาอี้ซิง

นอกจากดินแล้วป้านชาอี้ซิง (yixing) ยังได้แบ่งสีของป้านออกเป็นประเภทใหญ่ๆ อีก 5 ปรเภท (แต่จริงๆแล้วยังมีการเรียกชื่อเฉพาะของสีที่ได้อีกอันนี้ผมขอข้ามไปนะครับเพราะผมอ่านแล้วงงไม่รู้จะเริ่มอธิบายอย่างไงดี)


สีของป้านชาอี้ซิง (modern yixing)


ฮงหนี Hong Ni  [红泥]  สีแดง



เฮยหนี Hei Ni  [黑泥]    สีดำ



จือหนี Zi Ni  [紫泥]   สีม่วง




ตวนหนี Duan Ni  [缎泥]  สีเหลือง สีเขียว

 




ลูหนี Lu Ni  [绿泥]  สีเขียว

 




บางครั้งผู้ผลิตจะผสมเคมีหรือแร่ต่างๆ ในดินเพื่อให้ได้สีตามที่ต้องการเช่น



ผสม คอปเปอร์ (copper) เพื่อให้ได้ดินใกล้เคียงกับดินตวนหนี Duan Ni สีเหลือง


ผสม โคโบลท์ (cobalt) หรือ โครม (chrome) เพื่อให้ได้ดินใกล้เคียงกับดิน Lu Ni สีเขียว


ผสม แมงกานีส (manganese) เพื่อให้ได้ดินใกล้เคียงกับดิน Hei Ni สีดำ


ผสม เหล็ก (iron) เพื่อให้ได้ดินใกล้เคียงกับดิน Hong Ni สีแดง







Free TextEditor




 

Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2552 13:41:35 น.
Counter : 1281 Pageviews.  

1  2  

หมูขึ้นเขียง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add หมูขึ้นเขียง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.