บทที่ ๑ - ยุคพระเวท

ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

บทที่ ๑ - ยุคพระเวท

ยุคพระเวท เป็นยุคที่พวกอารยันอพยพมาจากใจกลางดินแดนของทวีปเอเชีย อพยพเข้ามาตั้งภูมิลำเนาในลุ่มแม่น้ำสินธุ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียปัจจุบันนี้ ได้แก่บริเวณอันเป็นที่ตั้งของประเทศปากีสถาน พวกอารยันนั้นตามนักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเป็นพวกผิวขาวที่เดิมมี ภูมิลำเนาอยู่ทางแถบทะเลสาบแคสเปี้ยนระหว่างยุโรปกับเอเซีย

เมื่อมีความขัดสนมีการเปลี่ยนแปลงทางดินฟ้าอากาศเกิดขึ้น พวกอารยันจึงได้แบ่งแยกสาขาอพยพไปหาแหล่งทำมาหากินใหม่อันเป็น ต้นตอของบรรพบุรุษชนชาติโรมัน ชนชาติกรีกในยุโรป และเป็นต้นตอของพวกอียิปต์ในอาฟริกาเหนือ

อีกพวกหนึ่งก็เพิ่งจะมาอพยพในราว ๑,๐๐๐ ปี ถึง ๑,๕๐๐ ปีก่อนพุทธกาลอพยพไปทางตะวันออก โดยถือเอาดวงอาทิตย์เป็นเป้าหมาย คือการอพยพของชาวโบราณนั้นมีอยู่ ๒ วิธีด้วยกันคือ:-

๑.อพยพไปตามตะวันออกตามดวงอาทิตย์ขึ้น

๒.อพยพไปตามแม่น้ำพยายามหาทางออกทะเล

เพราะฉะนั้นพวกอารยันที่พยายามอพยพไปตามแม่น้ำ เพื่อหาทางออกอ่าว ก็ได้แก่บรรพบุรุษของพวกกรีกและโรมัน ส่วนพวกอารยันที่อพยพไปตามดวงอาทิตย์ขึ้น ก็ได้แก่ชนชาติพวกอิหร่านกับชาวอินเดียในยุคปัจจุบันนี้

อิหร่านกับอินเดีย มีต้นตระกูลอันเดียวกัน เพิ่งจะมาแยกออกเป็น ๒ พวก ตอนที่อพยพ มาทางอัฟกานิสถาน เกิดมีความแตกแยกทางข้อคิดเห็นบางสิ่งบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อถือในพระเจ้าเกิดแตกแยกกันขึ้นไม่สามารถจะรวมเป็นพวก อยู่ร่วมกันได้อีกต่อไป จึงได้แบ่งออกเป็น ๒ สาขา คือ:-

- สาขาหนึ่งอพยพเข้ามาในเปอร์เซีย หรือประเทศอิหร่าน

- อีกพวกหนึ่งก็อพยพเข้าอินเดีย ทางช่องเขาไคเบอร์ (Khyber pass)ที่ตั้งอยู่ในปากีสถานต่อแดนอัฟกานิสถานปัจจุบันนี้

ชนชาติอารยันนั้นมีชื่อเรียกกันหลายอย่าง เรียกว่า อริยกะ บ้าง เรียกว่า อรยัน บ้าง เรียกว่า อารยะ หรือ อารยัน บ้าง ชื่อทั้งหมดนี้มีความหมายอย่างเดียวกันคือ มีความหมายว่า"เจริญ"

เนื่องจากชนชาติอารยัน เป็นชนชาติที่มีความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปวัฒนธรรม ยิ่งกว่าชนชาติดราวิเดียน (Dravidians) หรือพวก มิลักขะ ซึ่งเป็นเจ้าของถิ่นเดิม ชนชาติอารยันจึงมีอำนาจเข้าครอบงำ ปกครองอินเดียทั้งหมด พวกมิลักขะต้องตกอยู่ในอำนาจของพวกอารยันโดยสิ้นเชิง แต่ลัทธิความเชื่อของชนทั้งสองเผ่านี้ ผสมกลมกลืนเข้ากันได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีข้อแตกต่างกัน

กล่าวคือ พวกดราวิเดียน หรือพวกมิลักขะมีความเชื่อถือ และเคารพธรรมชาติเบื้องต่ำเช่น แผ่นดิน ภูเขา ต้นไม้ ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยถือว่าเป็นเทพเจ้า หรือมีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สามารถอำนวยผลที่ตนต้องการ จึงทำการบูชายัญและกราบไหว้อ้อนวอน

พวกอารยันก็มีความเชื่อถือ และเคารพบูชาธรรมชาติเบื้องบน มาก่อนเช่น ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดวงไฟ พายุ ปฐพี เป็นต้น โดยยกขึ้นเป็นเทพเจ้า ตลอดจนเชื่อวิญญาณของบรรพบุรุษ หรือพวกผีประจำตระกูล เมื่อพวกอารยันอพยพเข้ามาสู่อินเดียแล้ว ก็ได้นำเอาศาสนามาด้วย ศาสนานั้นเรียกว่า "พระเวท"

ศาสนาสมัยพระเวทคำว่า "เวทะ" แปลว่าแสงสว่าง หรือความรู้ ที่ชื่อว่าแสงสว่าง หรือ ความรู้ นั้นเพราะว่าชนชาติอารยันนั้น การบูชาพระเจ้าของเขา จะต้องอาศัย ไฟ เป็นสื่อเพื่อบูชาพระเจ้าที่สถิตอยู่ในสรวงสวรรค์ หากว่าไม่มีไฟเป็นสื่อแล้วก็ไม่สามารถจะนำสิ่งที่เราบวงสรวงไปให้พระองค์ได้

เพราะฉะนั้นพวกอารยันจึงตั้งกองฟืนก่อกองไฟไว้ แล้วเอาสิ่งที่ตนเองจะบูชาพระเจ้าเทลงไปบนกองไฟนั้น เช่น พวกขนม นม เนย ต่าง ๆ แล้วมีคำสวดอ้อนวอนให้ พระเพลิง หรือ พระอัคนี เป็นผู้นำสิ่งสักการะเหล่านี้ไปให้กับพระเจ้าที่ตนจะบูชา

เพราะฉะนั้น เมื่อไฟมีประโยชน์ต่อชนชาติอารยันทั้งในทางศาสนา ทั้งในทางขจัดความมืด ในเมื่อผู้อพยพจะอยู่ในที่ใด ๆ ก็ตามก็ต้องอาศัยกองไฟเพื่อป้องกันสัตว์ร้ายอย่างหนึ่ง และให้ความอบอุ่นเมื่อไฟเป็นประโยชน์ในทางหุงต้ม ป้องกันสัตว์ร้าย และยังเป็นสื่อที่จะนำสิ่งของที่จะสักการะบูชาไปให้พระเจ้าในสรวงสวรรค์

ดังนั้น เมื่อนับถือนานเข้า ไฟก็เป็นพระเจ้าองค์หนึ่งขึ้นมาอยู่ระหว่างโลกกับสวรรค์

พระอัคนีไม่ได้อยู่ในสวรรค์ แต่อยู่ระหว่างโลกกับสวรรค์ เป็นเทวทูตนำข่าวสาส์นต่าง ๆของมนุษย์ไปแจ้งแก่เทวดาทราบ ซึ่งเป็นต้นตอของคำว่า "เวทะ" หรือ เวท ซึ่งพวกอารยันนับถือเป็นต้นตอของคำว่าพระเวทเกิดจากไฟแสงสว่าง สมัยนั้นตัวอักษรของพวกอารยันยังไม่มีใช้ เพราะฉะนั้นคำสวดต่าง ๆ ในทางศาสนาก็ช่วยกันจำมีพราหมณ์ปุโรหิตช่วยกันจำ

คำสวดเหล่านั้นโดยมากแต่งเป็นฉันท์ ใจความนั้นเป็นไปในทำนองอ้อนวอนให้พระเจ้ารักษาสัตว์เลี้ยงพิทักษ์รักษาตนเองและครอบครัวให้ปลอดภัย เพราะคนเราเวลาบูชา มีอารมณ์กลัวในสิ่งใดก็จะตบแต่งถ้อยคำในทำนองวิงวอนในสิ่งนั้นอย่าให้มาทำร้ายตนเองได้

ภายหลังเมื่อพวกอารยันตั้งมั่นในอินเดียแล้วก็ได้รวบรวมขึ้นตั้งชื่อว่า "คัมภีร์เวท"อันเป็นปฐมยุคของพราหมณ์ที่เริ่มต้นด้วย คัมภีร์เวท คัมภีร์เวทหรือไตรเพท ถือกันว่าเป็น ศรุติ คือคัมภีร์ที่ได้รับฟังมาจากเทพเจ้าผู้สูงศักดิ์โดยตรง คัมภีร์พระเวทได้แก่

๑.ฤคเวท เป็นคำฉันท์ร้อยกรองคำอ้อนวอนขอพรจากเทพเจ้า และประจบเอาใจเทพเจ้าเหล่านั้น สวดสรรเสริญเทพเจ้าต่าง ๆ ให้คุ้มครองตน สัตว์เลี้ยง ครอบครัว เป็นต้น

๒.ยชุรเวท เป็นคำร้อยแก้วว่าด้วยหลักการในการทำพิธีกรรมและบวงสรวง เทพเจ้าต่าง ๆ

๓.สามเวท เป็นคำฉันท์ใช้สวด ในพิธีบูชาถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์ และขับกล่อมเทพเจ้า

ต่อมาเมื่อถึงยุค พราหมณะ มีคัมภีร์เพิ่มขึ้นอีก ๑ คัมภีร์ เรียกว่า อาถรรพเวท เป็น คาถาอาคม มนต์ขลัง หรือ อาถรรพณ์แก้เสนียดจัญไร ป้องกันสรรพภัยพิบัติต่าง ๆ นำสิ่งอันเป็นมงคลมาแก่ผู้สวดและนำผลร้ายไปให้ศัตรู

เทพเจ้าที่สำคัญในยุคแรกสุดของพระเวทมี๔ องค์ด้วยกัน คือ :-

๑.พระสาวิตรี เทพเจ้าแห่งอาทิตย์เนื่องจากพวกอารยันนับถือพระอาทิตย์มาก่อน

๒.พระวรุณ เทพเจ้าแห่งฝน

๓.พระอินทร์ เทพเจ้าผู้สร้างโลกเพราะพวกอารยันมองเห็นความจำเป็นที่โลกจะต้องมีผู้สร้าง พระอินทร์จึงเกิดขึ้นมาเพื่อสร้างสรรพสิ่ง

๔. พระยม เทพเจ้าแห่งความตาย เป็นผู้ปกครองชีวิตในปรโลกหลังจากมนุษย์ตายไปแล้ว เป็นเทพเจ้าทำหน้าที่ลงโทษคนที่กระทำผิด

นอกจากเทพเจ้าทั้ง ๔ องค์ดังกล่าวแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปก็มีเทพเจ้าเกิดขึ้นมาตามลำดับ เช่นพระรุทระ เทพเจ้าแห่งป่า ผู้เป็นใหญ่ในเขตป่าทั้งหมดเป็นเทพเจ้าที่มีความดุร้ายมากในเวลาโกรธ จึงเป็นที่เกรงกลัวของชาวอินเดียโบราณอย่างมากพอ ๆ กับพระวรุณ และพระอัคนี เทพเจ้าแห่งไฟ

ในสมัยพระเวทนี้ พวกอารยันได้นับถือยกย่องเทิดทูนพระอินทร์ให้เป็นเทพเจ้าสูงสุด พระอินทร์นอกจากจะมีฐานะยิ่งใหญ่ เป็นผู้สร้างโลกแล้ว ยังเป็นเทพเจ้าแห่งสงครามอีกด้วย ในการทำสงคราม ก่อนจะยกกองทัพออกไปต่อสู้กับศัตรู กษัตริย์ในสมัยนั้นจะต้องทำพิธีบวงสรวงพระอินทร์เป็นพิเศษ เมื่อทำศึกชนะแล้วก็จัดพิธีบวงสรวงเป็นการเฉลิมฉลองอีกครั้งหนึ่ง

พวกพราหมณ์ผู้ทำพิธี ได้เพิ่มพูนความสุขสมบูรณ์ให้แก่พระอินทร์อย่างเต็มที่ ให้มีชายาหลายองค์ ให้เสพสุราได้ สุราชนิด นี้เรียกว่าน้ำโสม พิธีถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่มาก จะต้องมีคำสวดถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์ในคัมภีร์สามเวทเป็นพิเศษ

สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยพระเวทคือระบบวรรณะ (Caste system) พวกอารยันหรืออริยกะนั้น เป็นพวกผิวขาวเจ้าของถิ่นเดิมคือพวกดราวิเดียน หรือพวกมิลักขะนั้นเป็นพวกผิวดำ นี้เป็นต้นเหตุการแบ่งชนชั้นวรรณะของคนอินเดียซึ่งได้ขยายออกมาเป็นวรรณะ ๔ คือ

๑. วรรณะกษัตริย์ มีหน้าที่รักษาเขตแดน และขยายเขตแดน หรือป้องกันเขตแดน เวลาถูกข้าศึกภายนอกรุกราน

๒.วรรณะพราหมณ์ มีหน้าที่ศึกษาในเรื่องไตรเพท และเป็นผู้นำทางการศึกษา และประกอบพิธีทางศาสนา

๓.วรรณะแพศย์ เป็นคนสามัญ ได้แก่ ชาวนา ชาวสวนมีหน้าที่ทางการ ค้าขาย

๔.วรรณะศูทร ได้แก่ พวกกรรมกร คนงาน ทำหน้าที่รับจ้างทั่วๆ ไป

//www.history.mbu.ac.th/buddhism/bud1-2.html




Create Date : 18 มิถุนายน 2556
Last Update : 18 มิถุนายน 2556 22:44:26 น.
Counter : 530 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Faraday
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ความสงบเรียบง่าย สอดคล้องกับธรรมชาติ
ความสดชื่นงดงาม สรรพเสียงที่ไพเราะเสนาะหู
คือสิ่งที่ควรรักษาให้ดำรงค์อยู่ ในช่วงชีวิตของเรา

ทำความเข้าใจสังคม สิ่งแวดล้อม ที่เราอาศัยอยู่
และดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องเหมาะสม
คือสิ่งดีที่สุดของการดำรงค์ชีวิต

ถ้าแม้ไม่สมที่หวัง ไม่เป็นไร ลืมมันเสีย
แล้วทำเหตุไหม่เพื่อให้มันเกิดอย่างที่ตั้งใจไว้

--------------------------------------------

สถิติ

จำนวน Blog รวม 448 Blog
จำนวนผู้ชม 200003 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 670 ครั้ง
๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ (๑๓.๐๗ น.)


จำนวน Blog รวม 445 Blog
จำนวนผู้ชม 197298 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 658 ครั้ง
๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๖ (๒๒.๑๗ น.)

จำนวน Blog รวม 423 Blog
จำนวนผู้ชม 140566 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 349 ครั้ง
๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖ (๐๙.๔๑ น.)


จำนวน Blog รวม 407 Blog
จำนวนผู้ชม 122229 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 212 ครั้ง
๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ (๐๘.๐๘ น.)

จำนวน Blog รวม 407 Blog
จำนวนผู้ชม 122024 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 212 ครั้ง
๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ (๑๘.๕๒ น.)

จำนวน Blog รวม 405 Blog
จำนวนผู้ชม 120971 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 208 ครั้ง
๒๖ มกราคม ๒๕๕๖ (๙.๓๙ น.)

จำนวน Blog รวม 398 Blog
จำนวนผู้ชม 111449 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 167 ครั้ง
๒ มกราคม ๒๕๕๖

จำนวน Blog รวม 391 Blog
จำนวนผู้ชม 102211 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 140 ครั้ง
๒ ธันวาคม ๒๕๕๕



จำนวน Blog รวม 390 Blog
จำนวนผู้ชม 92241 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 128 ครั้ง
๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

จำนวน Blog รวม 375 Blog
จำนวนผู้ชม 81537 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 107 ครั้ง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ ( ๒๑.๓๙ )

จำนวน Blog รวม 374 Blog
จำนวนผู้ชม 80228 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 107 ครั้ง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ ( ๐๙.๒๔ )

จำนวน Blog รวม 361 Blog
จำนวนผู้ชม 78077 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 101 ครั้ง
๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ ( ๑๕.๑๔ )

จำนวน Blog รวม 361 Blog
จำนวนผู้ชม 77503 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 101 ครั้ง
๒๙ กันยายน ๒๕๕๕ ( ๑๑.๑๘ )

จำนวน Blog รวม 269 Blog
จำนวนผู้ชม 38102 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 69 ครั้ง
๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ (๑๑.๒๕ น.)

จำนวน Blog รวม 210 Blog
จำนวนผู้ชม 18,049 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 65 ครั้ง
6 กรกฎาคม ๒๕๕๕ (๑๖.๓๙ น.)

จำนวน Blog รวม 62 Blog
จำนวนผู้ชม 5,278 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 65 ครั้ง
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ (๑๐.๑๙ น.)
New Comments
Group Blog