Group Blog
 
All blogs
 

นกชายเลนน้ำจืด

นกชายเลนน้ำจืด Tringa glareola (wood sandpiper)

The Wood Sandpiper, Tringa glareola, is a small wader. It is the smallest of the shanks, and breeds in subarctic wetlands from the Scottish Highlands across Europe and Asia. It will nest on the ground, or reuse the old tree nest of another bird, such as the Fieldfare.

It resembles a longer-legged, elegant Green, or Solitary Sandpiper with a short fine bill, brown back and longer yellowish legs. It differs from the first of those species in that the white rump patch is smaller and less contrasting, and Solitary lacks a white rump anyway.

They migrate to Africa and southern Asia, particularly India. This bird is usually found on fresh water during migration and wintering.

These birds forage by probing in shallow water or on wet mud. They mainly eat insects, and similar small prey.

จาก //en.wikipedia.org/








มีรูปร่างสมส่วน ขนคลุมลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้ม มีคิ้วสีขาวเป็นแถบค่อนข้างใหญ่ตัดกับสีบนหัวอย่างชัดเจน ปากสีดำยาวประมาณเท่ากับขนาดหัว ปลายค่อนข้างแหลม ลำตัวบริเวณที่เป็นสีน้ำตาลมีจุดสีขาวลักษณะเหมือนรอยประเดินเส้นวนไปมา ตะโพกและโคนหางด้านบนสีขาว หางสีน้ำตาลอ่อนมีลายแถบสีขาวถี่ๆเห็นชัดขณะบิน ลำตัวด้านล่างสีขาว อกมีลายสีน้ำตาลหรือคล้ำจางๆ ขาสีเหลืองอ่อนค่อนข้างยาว มีขนาดความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 23 เซ็นติเมตร ตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน







นกชายเลนน้ำจืดเป็นนกอพยพมาจากพื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำชื้นแฉะทางตอนเหนือของโลกทั้งทวีปยุโรปและเอเชีย ในช่วงเดือนสิงหาคมซึ่งอุณหภูมิเริ่มลดลงต่ำ กลางวันเริ่มสั้น กลางคืนเริ่มยาว นกจะเตรียมตัวออกเดินทางเป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตร ใช้เวลาเป็นเดือน เค้าจะบินลงใต้ไปยังทวีปอาฟริกา และเอเชียใต้โดยใช้เส้นทางในแผ่นดิน แวะพักเติมอาหารไปเรื่อยๆจนถึงที่หมาย


เราจะเริ่มพบเค้าได้ในช่วงประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคมเป็นต้นไป จนกว่าเค้าจะกลับในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเมื่อกลับไปถึงที่ที่เค้าทำรังวางไข่ อากาศก็เริ่มอุ่น มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์เหมาะสมที่จะสืบต่อเผ่าพันธุ์ต่อไป







นกชายเลนน้ำจืดเป็นนกชายเลนอพยพที่พบได้มากที่สุดในบรรดานกชายเลนทั้งหมดของประเทศไทย โดยพบเค้าได้ทุกภาคทั่วประเทศทั้งในแหล่งน้ำจืดและบริเวณชายฝั่ง
อาหารของเค้าคือบรรดาแมลงเล็กๆที่พบได้ในแหล่งน้ำทั่วไป มักหากินตามที่ที่มีน้ำตื้นๆ อย่างในทุ่งนา นาเกลือ และหาดเลนทั่วไป


นกชายเลนน้ำจืดเหล่านี้พบในนาข้าวแถวลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เค้าเดินหากินไปเรื่อยๆโดยใช้ปากจิ้มลงไปในน้ำเพื่อหาอาหาร โดยจะแยกกันออกหากินแปลงละ 4-5 ตัว บางครั้งก็เล่นน้ำรวมกันกันโดยเอาหัวจุ่มน้ำแล้วขึ้นมาสะบัดตัวละหลายๆรอบเป็นเวลานานๆ ดูแล้วรู้สึกผ่อนคลายเหมือนได้อาบน้ำไปด้วยอย่างนั้นแหละ







ข้อมูล :

หนังสือคู่มือดูนก โดยรุ่งโรจน์ จุกมงคล หน้า 138
//sarakadee.net/ นกชายเลนในอ่าวไทยตอนในฯ โดย รุ่งโรจน์ จุกมงคล





 

Create Date : 29 กันยายน 2548    
Last Update : 18 กรกฎาคม 2552 15:25:15 น.
Counter : 3501 Pageviews.  

นกปากซ่อมหางพัด

นกปากซ่อมหางพัด Gallinago gallinago (common snipe) มีขนาดยาวประมาณ 28 ซ.ม. ปากแหลมตรง ยาวประมาณ 55 -75 ม.ม ลำตัวอ้วนป้อม คอและขาสั้น หัวกลมมีสีน้ำตาลปลายดำ ลูกตาอยู่สูงเลยขึ้นไปเล็กน้อย ม่านตาสีน้ำตาล สีขนเป็นลายสีน้ำตาล กระหม่อมสีน้ำตาลเข้ม และมีเส้นสีเนื้อลากผ่านกลางกระหม่อม คิ้วยาวสีเนื้อ และมีแถบสีน้ำตาลลากจากโคนปากผ่านตาไปจนถึงท้ายทอย

ขนคลุมปีกสีน้ำตาลเข้มมีจุดและลายสีเนื้อและสีขาวกระจายอยู่ทั่ว หางส่วนใหญ่สีน้ำตาลเข้ม และมีขอบสีเทา ตรงขนหางเส้นนอก ขาสีไพล นกตัวผู้ และตัวเมีย มีลักษณะคล้ายกัน แต่ปากนกตัวเมียจะเรียวยาวกว่าเล็กน้อย ในขณะที่ขนหางเส้นนอกของนกตัวผู้จะยื่นยาวออกมา นกตัวไม่เต็มวัยจะมีลายจางกว่านกโตเต็มวัย (//www.bird-home.com)







ในประเทศไทย นกปากซ่อมหางพัดเป็นนกย้ายถิ่นเข้ามาในฤดูหนาวที่พบบ่อยมาก ตามหนองบึงโล่งๆและท้องนาทั่วประเทศ รวมทั้งตามบริเวณป่าโกงกางด้วย โดยเราจะพบพวกเค้าหากินตามที่ที่เป็นเลน ใช้ปากยาวๆที่มีจิ้มลงไปในดินถี่ๆเพื่อหาอาหาร โดยปลายปากของเค้าไม่ได้เป็นแค่วัสดุแข็งๆอย่างที่ดูเหมือนจะเป็น แต่เป็นส่วนที่มีประสาทสัมผัสที่ไวมาก ถ้าจิ้มไปแล้วเจอสัตว์เล็กๆก็จะจิกกินได้ทันที






นกปากซ่อมหางพัดไม่ได้ทำรังวางไข่ในประเทศไทย เมื่ออากาศอุ่นขึ้น เค้าก็จะบินกลับไปทำรังวางไข่ทางตอนเหนือของโลก เช่นเอเชียตอนเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เป็นต้น โดยจะทำรังตามหนองบึงที่มีหญ้าและพืชน้ำขึ้นอยู่รกๆ


แม้จะเห็นเป็นสีน้ำตาลทึมๆ แต่ถ้าได้พินิจพิจารณาดูลวดลายบนตัวของพวกเค้าแล้ว ต้องบอกว่าธรรมชาติออกแบบลายชุดของเค้ามาให้อย่างสวยงามมากทีเดียว


สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมของนกปากซ่อมหางพัด มีข้อมูลเพิ่มเติมมากมายตามลิงค์เหล่านี้เป็นต้น

//www.bird-home.com

//en.wikipedia.org/

//www.birdsbybent.com/




 

Create Date : 26 สิงหาคม 2548    
Last Update : 9 กันยายน 2548 8:31:33 น.
Counter : 2530 Pageviews.  

นกกวัก

นกกวัก Amaurornis phoenicurus ( White-breasted Waterhen) เป็นนกที่มีลักษณะเด่นเฉพาะ เมื่อได้พบเพียงครั้งเดียวก็จำได้ และไม่มีทางสับสนกับนกชนิดอื่น นกชนิดนี้มีบริเวณตั้งแต่หลังหน้าผาก ไล่ไปจนถึงหลัง ปีก และหางเป็นสีดำออกเทา อมแดงนิดๆ หน้าผาก หน้า คอ อก ท้อง เป็นสีขาวสะอาด ขนคลุมโคนหางเป็นสีน้ำตาลแกมแดง ตาสีแดง โคนปากมีสีแดงสด ปากตรงสีเหลืองอมเขียว ขาและเท้าสีเหลืองอมเขียว นิ้วยาวมาก มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 28.5-36 เซนติเมตร ทั้ง 2 เพศคล้ายคลึงกัน







พื้นที่ที่สามารถพบนกกวักได้คือตามบริเวณท้องนา หนองบึง ทุ่งหญ้า กกธูปฤษีข้างทางที่มีน้ำขัง แม่น้ำลำคลองที่มีกอหญ้า หรือที่ให้หลบซ่อนตัวได้ คนที่ขับรถไปตามเส้นทางที่มีลักษณะที่ว่าก็สามารถจะพบนกกวักเดินขึ้นมาจากข้างทางเพื่อข้ามถนนบ้าง เดินหากินบ้าง ซึ่งนกก็จะวิ่งหลบไปทันที นกชนิดนี้บินไม่ค่อยเก่ง จึงมักใช้วิธีวิ่งหนีไปซ่อนตัวในดงพืชรกๆ







อาหารของนกชนิดนี้คือลูกกุ้ง ลูกปลา ลูกกบ เขียด หนอน แมลง ตัวอ่อนของแมลง ไส้เดือน และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยตามพื้นที่ชื้นแฉะ นกจะเดินหากินไป กระดกหางไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นลักษณะที่เหมือนนกอัญชันอื่นๆที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน หากไม่ตื่นกลัว นกจะเดินหากินไปเรื่อยๆ อย่างนกกวักตัวนี้ที่เดินหากินอยู่ในพุทธมณฑล เดินไป เดินมาหากินอย่างไม่หยุดหย่อน จนคนถ่ายภาพที่นั่งแอบถ่ายภาพอยู่บนรถนั่งดูจนเบื่อไปเอง







ช่วงฤดูฝน แหล่งน้ำที่นกอาศัยมีน้ำท่าอาหารอุดมสมบูรณ์ นกก็จะจับคู่เพื่อทำรังวางไข่ ซึ่งนกชนิดนี้สามารถทำรังวางไข่ได้มากกว่าปีละ 1 ครั้ง หากว่ามีภาวะที่เหมาะสม นั่นคือแหล่งที่อาศัยมีความอุดมสมบูรณ์สูงนั่นเอง ในการจับคู่ ตัวผู้จะส่งเสียง กวัก กวัก กวัก กวักเรียกตัวเมียเข้ามาหา เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์แล้วนกก็จะทำรังโดยการคาบเอากิ่งไม้ ใบพืช ใบหญ้ามาขัดสานลวกๆตามกอพืช กอผักตบชวา บนแหล่งน้ำ หรือทำรังบนพุ่มไม้ริมฝั่งน้ำ เช่นรังนกกวักรังนี้ที่อยู่บนพุ่มไม้เตี้ยๆราว 1 เมตรเท่านั้น แต่ก็มีการดึงกิ่งไม้มาปกปิดรังเอาไว้อย่างมิดชิด นกจะวางไข่ราวรังละ 3-5 ฟอง







นกกวักเมื่อออกจากรังจะมีขนอุยสีดำสนิท ขายาวและแข็งแรงมากเมื่อเทียบกับตัว เมื่อขนแห้งดีแล้วก็ออกเดินได้เลย แม่นกก็จะพาลูกนกออกเดินหาอาหาร ท่าทางที่ลูกเดินตามแม่บ้าง เคียงแม่บ้าง ก้มลงจิกกินอาหารข้างๆแม่บ้าง เป็นภาพที่น่ารักมากจนถึงขนาดนั่งดูเพลินทีเดียว







นกชนิดนี้เป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทยซึ่งหาพบได้มาก และมีกระจายอยู่ทุกภาคตามแหล่งน้ำดังที่กล่าวไว้ จากที่ราบถึงที่ความสูงระดับ 1500 เมตรจากระดับน้ำทะเล และเป็นนกประจำถิ่นของอนุทวีปอินเดีย นกบางส่วนที่พบตามคาบสมุทรมลายูเป็นนกที่อพยพลงมาจากจีนในช่วงฤดูหนาว


ข้อมูลและอ่านเพิ่มที่ : บ้าน-นก




 

Create Date : 03 สิงหาคม 2548    
Last Update : 15 มิถุนายน 2553 17:42:29 น.
Counter : 58298 Pageviews.  

นกกระสานวล

นกกระสาเป็นนกที่เราคุ้นหูกันมาตั้งแต่เด็ก เพราะเค้าเป็นตัวละครเอกในนิทานเรื่องกบเลือกนาย
แต่นกกระสาชนิดนั้น จะเป็นกระสานวลหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ เพราะนกกระสาตามรายชื่อในหนังสือ a Guide to the Birds of Thailand ของคุณหมอบุญส่งและPhilip D. Round นั้นมีอยู่ถึง 3 ชนิดคือ

1.นกกระสาใหญ่ (great-billed heron) ขนาดตัว 114ซม.
2.นกกระสานวล (grey heron) ขนาดตัว 102 ซม.
3.นกกระสาแดง (purple heron) ขนาดตัว 97 ซม.

โดย นกกระสาทั้งหมดอยู่ในวงศ์นกยาง ซึ่งเป็นนกที่มีขายาว คอยาว และมีปากเหมือนมีดปลายแหลม เสียงร้องแหบๆ กินอาหารพวกปลา สัตว์น้ำเล็กๆ และสัตว์เล็กอื่นๆ




นกกระสานวล มีสีเทาอ่อนเกือบทั้งตัว หัวและคอสีขาว บนหัวมีเปียยาวหนึ่งคู่สีดำ ที่ข้างลำคอด้านหน้าทั้งสองข้าง มีลายสีดำ ลากเป็นทาง ลงมาถึงหน้าอก ชอบอาศัย และหากิน ตามหนองบึง ทะเลสาบ หรือทุ่งนา โดยพบได้ทั้งที่ที่เป็นน้ำจืด และน้ำเค็ม น้ำใส และโคลนเลน ขอให้มีอาหารเพียงพอ ก็อาจจะได้พบ


ผลการประชุมของผู้เชี่ยวชาญ เรื่องนกในประเทศไทย จัดโดย สำนักนโยบาย และแผนสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสมาคมอนุรักษ์นก และธรรมชาติ แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๙ - ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ได้จัดให้เป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์ (endangered) ไปจากประเทศไทย เนื่องจากในปัจจุบันไม่พบการสร้างรังวางไข่ ในประเทศไทยอีกแล้ว และนกที่ย้ายถิ่นเข้ามา ก็ถูกล่าไปเป็นจำนวนมากทุกปี


อย่างไรก็ตาม ขณะนี้นกกระสานวลจัดเป็นนกที่หาดูได้ไม่ยากนัก เป็นนกอพยพที่พอหาดูได้ทุกภาคของประเทศที่มีแหล่งน้ำ




นกกระสานวลจอมคันตัวนี้พบเค้าที่แหลมผักเบี้ยเมื่อหนาวที่ผ่านมา ท่าทางกำลังมันเลยเชียว



หมดสภาพ "เจ้านายจอมโหด" จากเรื่องกบเลือกนายไปเลยใช่ม้า.....






สำหรับข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับกระสานวล
มีอีกลิงค์ค่ะ"นกบริเตน"




 

Create Date : 13 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 13 กรกฎาคม 2548 11:42:29 น.
Counter : 5952 Pageviews.  

นกเป็ดผีเล็ก : นกอะไรหน้าตาเหมือนเป็ด

เป็ดผี:

ชื่อนกชนิด Tachybaptus ruficollis ในวงศ์ Podicipedidae ปากแหลม นิ้วตีนแผ่ออกเป็นแผ่นแบนเป็นช่วงๆ จากโคนถึงปลายนิ้ว แต่ละนิ้วแยกกัน ไม่ติดเหมือนตีนเป็ด บินได้ในระยะทางสั้นๆ ชอบลอยอยู่ในน้ำ หากินตามบึงหรือบริเวณที่มีพืชน้ำจำนวนมาก ดำน้ำได้เหมือนเป็ด เป็นนกซึ่งคล้ายเป็ด.



ที่มา : เครือข่ายพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน



ชื่อเป็ดผีเล็กนี้ได้ยินว่ามาจากการที่นกชนิดนี้ว่ายหากินบนผิวน้ำเหมือนเป็ด และดำน้ำปุ๊ดไปโผล่อีกที่นึงได้อย่างรวดเร็วยังกะผี ก็เลยเป็นเป็ดผี และเล็ก ก็เพราะมีนกเป็ดผีใหญ่ ที่ตัวใหญ่กว่ามากอีกชนิดนึง ซึ่งนกเป็ดผีใหญ่นี้เป็นนกอพยพที่หาพบได้ยาก ต่างจากนกเป็ดผีเล็กที่เป็นนกประจำถิ่น พบได้ทุกที่ทั่วไทยตามแหล่งน้ำ แล้วยังหาง่ายมากๆอีกตะหาก


แต่ขนาดว่าหาง่าย ก็ไม่ใช่ว่าจะเจอกันทุกวันนะเออ (ยกเว้นหน้าบ้านใครมีสระ หนอง คลอง บึง ลำราง ทะเลสาบ ที่เค้าอาศัยอยู่นะ)


นกเป็ดผีไม่ใช่นกที่จะยอมให้ใครเข้าใกล้มากสักเท่าไหร่ ถ้าเห็นไม่ชอบมาพากล ก็จะดำน้ำหายไปหลายนาที ไปโผล่ไกลๆเป็น10-20เมตร

อาหารของเค้าจะเป็นพวกสัตว์น้ำเล็กๆ อย่างปลา เขียด แมลงเล็กๆเช่น แมลงปอ บางทีก็เป็นพวกสาหร่าย







ฤดูผสมพันธุ์ของนกเป็ดผีเล็กมีเกือบทั้งปี คือตั้งแต่มกราคมถึงกันยายน แต่ช่วงที่ชุกจะอยู่ในช่วงฤดูฝน มิถุนายนถึงกันยายน โดยมักทำรังวางไข่ในช่วงที่ฝนตกชุกที่สุดของปี

นกเป็ดผีเล็กเป็นนกที่จับคู่เดิมมากว่า1ฤดูผสมพันธุ์


โดยในช่วงนี้ถ้าใครพบนกเป็ดผี ก็น่าจะได้พบเค้าทำรังอยู่บนกอพืชลอยน้ำ หรือที่ขึ้นตามขอบแหล่งน้ำ รังเค้าจะทำง่ายๆจากก้านหรือใบของพืชเหล่านี้ วางสุมๆกันขึ้นเป็นรัง บริเวณที่วางไข่อาจทำเป็นหลุมเพื่อรองรับไข่ ซึ่งปกติจะมีประมาณ3-5ฟอง


แต่รังนี้ทำไมเห็นฟองเดียวไม่รู้







เมื่อจับคู่ทำรังวางไข่แล้ว หลังจากวางไข่ใบสุดท้าย ทั้งพ่อและแม่นกจะผลัดกันกกไข่ โดยไม่มีการนำอาหารมาป้อนกัน แต่เค้าจะสลับกันขึ้นกก ใครกกอยู่ อีกฝ่ายนึงก็จะไปหาอาหารกินและว่ายน้ำเล่นออกกำลังกาย

พ่อแม่นกกำลังผลัดขึ้นมากกไข่





ในเวลาที่พ่อแม่นกรู้สึกไม่ปลอดภัย จะจิกเอาต้นไม้ ใบไม้น้ำขึ้นปิดๆทับๆไข่ไว้ แล้วว่ายน้ำหนีไปทางอื่น เมื่อคิดว่าปลอดภัยแล้วจึงกลับมากกไข่ต่อ โดยใช้เวลาฟักไข่ประมาณ21วัน



เมื่อลูกนกฟักจากไข่มีน้ำหนักประมาณ 7.2 กรัม ปาก สีแดง , ขา ดำ , มีขนอุยสีดำปกคลุมลำตัว โดย มีแถบสีน้ำตาลแดงสลับขาว คาดจากกระหม่อม ถึง ท้ายทอย 4 แถบ ลูกนกเจาะ เปลือกไข่ออกมาเอง โดยใช้ฟันพิเศษที่ปลายปากบนเจาะไข่ ( ฟันพิเศษนี้จะกร่อนหายไปเมื่อลูกนกมีอายุมากขึ้น) หลังจากลูกออกจากไข่แล้ว พ่อแม่จะช่วยกันคาบเปลือกไข่ ออกไปทิ้งให้ไกล จากรัง เมื่อลูกนกออกจากไข่ได้ประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง จะแข็งแรงพอที่จะว่ายน้ำได้เอง หรือ เกาะหลังพ่อแม่ ออกไป หากินได้ ลูกนกจะหากินร่วมกับพ่อแม่ เป็นเวลาราว 3 - 4 เดือน จึงไปรวมฝูงกับนกครอบครัวอื่นเป็นฝูงใหญ่ พออายุ 1 ปี จึงจะโตพอผสมพันธุ์ได้ (จากบ้านนก)


ภาพนี้ลูกนกออกจากไข่แล้ว ยืนแอบๆอยู่ทางขวา ค่อนข้างจะไกลเกินระยะเลนส์ไปมาก



ช่วงที่ไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ นกจะไม่มีสีแดงที่คอ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเทา ลำตัวด้านล่างสีจางกว่าจนดูออกเป็น สีขาว เวลาบิน จะเห็นแถบสีขาว บริเวณปลายปีกชัดเจน (แต่ไม่เคยเห็นตอนบินสักที)





สำหรับข้อมูลที่ครบถ้วน
อ่านได้ที่ //www.bird-home.com



อ้างอิง :
A Guide to the Birds of Thailand
//www.bird-home.com





 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 11 กรกฎาคม 2552 17:53:26 น.
Counter : 7736 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

จันทร์น้อย
Location :
ปทุมธานี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Friends' blogs
[Add จันทร์น้อย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.