All Blog
Clip การเกิดเป็นทุกข์
ศึกษาพระไตรปิฏกได้ที่.. //www.samyaek.com
และ //www.dhammahome.com/front/tipitaka/

ช่วยส่งเสริมให้ชาวพุทธ มี พุทธ ธรรม สงฆ์ เป็นที่ระลึกพึ่ง...( กลุ่มศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา )



พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 232-234

พระไตรปิฎกเล่ม 14 สัจจบรรพ - ทุกขอริยสัจ

[๒๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณา

เห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ (ของจริงแห่งพระอริยเจ้า).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

คืออริยสัจ ๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตาม

ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ ทุกขสมุทัย

(เหตุที่เกิดทุกข์)ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ ทุกขนิโรธ (ธรรม

เป็นที่ดับทุกข์) ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมที่ดับทุกข์).ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ของ

จริงแห่งพระอริยเจ้า คือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า.

แม้ชาติ ก็เป็นทุกข์ แม้ชรา ก็เป็นทุกข์ แม้มรณะ ก็เป็นทุกข์

แม้โสกะ ปริเทวะ (ความร่ำไรรำพัน) ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) โทมนัส

(ความเสียใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) ก็เป็นทุกข์

ความประสบสัตว์และสังขาร ซึ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความ

พลัดพรากจากสัตว์ และสังขาร ซึ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์

สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ข้อที่ไม่สมประสงค์นั้น ก็เป็นทุกข์

โดยย่ออุปาทานขันธ์(ขันธ์ประกอบด้วยอุปาทานความถือมั่น) ๕ เป็นทุกข์.

[๒๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติ เป็นอย่างไร ความเกิด เกิดพร้อม

ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏขึ้นแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่าชาติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชรา เป็นอย่างไร ความแก่ ความคร่ำคร่า

ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนังหดเหี่ยว เป็นเกลียวความ

เสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์

นั้น ๆ อันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ชรา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรณะ เป็นอย่างไร ความจุติ ความเคลื่อนไป

ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ

ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์

จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อันนี้กล่าวว่า มรณะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โสกะ (ความแห้งใจ) เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความโสก ความเศร้าใจ ความแห้งใจ ความผาก

ณ ภายในความโศก ณ ภายในของสัตว์ ผู้ประกอบด้วยความฉิบหาย

อันใดอันหนึ่ง และผู้มีความทุกข์อันใดอันหนึ่ง มาถูกต้องแล้ว อัน

ใดเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่า โสกะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริเทวะ (ความร่ำไรรำพัน ) เป็นอย่างไรเล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ

ความที่ร่ำไรรำพัน ความที่สัตว์คร่ำครวญ ความที่สัตว์ร่ำไรรำพัน ของสัตว์

ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่งและผู้ที่มีความทุกข์อันใดอันหนึ่ง

มาถูกต้องแล้ว อันใดเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ปริเทวะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) เป็นอย่างไรเล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เกิดในกาย ความไม่ดีเกิดในกาย

เวทนาไม่ดีเป็นทุกข์ เกิดแต่สัมผัส ทางกายอันใดเล่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย อันนี้กล่าวว่า ทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทมนัส ( ความเสียใจ ) เป็นอย่างไร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เกิดในใจ ความไม่ดีเกิดในใจ เวทนาไม่ดีเป็นทุกข์

เกิดแต่สัมผัสทางใจอันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า โทมนัส.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นอย่างไร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลายความแค้น ความคับแค้นความที่สัตว์แค้นความที่สัตว์คับแค้น

ของสัตว์ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง และผู้ที่ความทุกข์อันใด

อันหนึ่ง มาถูกต้องแล้ว อันนี้กล่าวว่า อุปายาส.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประสบสัตว์และสังขาร ซึ่งไม่เป็นที่รัก

เป็นทุกข์อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารมณ์เหล่าใดในโลกนี้ ซึ่งไม่เป็นที่

ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ปลื้มใจ คือรูป เสียง กลิ่น รส และ

โผฏฐัพพะ ย่อมมีแก่ผู้นั้น อนึ่ง หรือชนเหล่าใด ที่ใคร่ต่อความฉิบหาย

ใคร่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ใคร่ความไม่สำราญ และใคร่ความไม่เกษมจาก

เครื่องประกอบแก่ผู้นั้น ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม

ร่วม ความระคนกับด้วยอารมณ์และสัตว์เหล่านั้น อันใด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ความประสบกับสัตว์และสังขาร ซึ่งไม่เป็นที่

รัก เป็นทุกข์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพลัดพรากจากสัตว์และ

สังขาร ซึ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์ อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารมณ์

เหล่าใดในโลกนี้ ซึ่งเป็นที่ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ปลื้มใจ

คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะย่อมมีแก่ผู้นั้น อนึ่ง หรือ

ชนเหล่าใด ที่ใคร่ต่อความเจริญ ใคร่ประโยชน์เกื้อกูลใคร่ความ

สำราญ และใคร่ความเกษม จากเครื่องประกอบแก่ผู้นั้น คือ

มารดา หรือบิดา พี่ชายน้องชาย หรือพี่หญิง น้องหญิง มิตร หรืออำมาตย์


ศึกษาต่อได้ที่
//www.samyaek.com/tripidok/book14/201_250.htm

ด้วยบุญนี้ข้าขอดับ



Create Date : 07 มีนาคม 2554
Last Update : 7 มีนาคม 2554 18:50:24 น.
Counter : 586 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

shada
Location :
น้ำหนาว เพชรบูรณ์ , เกาะพงัน สุราษฯ  Ghana

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นหูที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นกายที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นใจที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง

ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเปิดเผย ไม่กำบังจึงรุ่งเรือง (เล่ม ๑๐ หน้า ๔๖๕_ปกน้ำเงิน)
บัญญัติของพระพุทธเจ้า จากพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม ของมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่ม 3
(ปกสีแดง หน้า 887 ปกสีน้ำเงิน หน้า 940)
พระบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่ง ทอง-เงิน หรือยินดี ทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์(นิสสัคคียปาจิตตีย์ 1 ตัว ต้องตกโรรุวนรก 1 ชั่วอายุ คือ 4,000 ปีของนรกขุมนี้ เท่ากับ 840,960,000 ล้านปีมนุษย์)

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535
เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภาดังต่อไปนี้ มาตรา 15 ตรี มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
...(4)รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
**หยุดทำร้ายพระพุทธศาสนา(โยมควรเรียนรู้) ทำบุญแล้วเป็นบาป ตกนรกทั้งพระและโยม
1.ตักบาตรด้วยเงินและทอง
2.ตักบาตรด้วยสิ่งของที่ต้องห้าม ข้าวสารอาหารแห้ง-ดิบ
3.ทำบุญกับพระทุศีล(ผิดศีลธรรมและไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย)รับเงิน รับทอง มีบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของตนเอง มีบัตรเอทีเอ็ม มีบัตรเครดิต
4.ฯลฯ
จากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลไทยฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย 91 เล่ม
**ชาวพุทธทั้งหลาย ขอให้อธิษฐานเพื่อถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
"ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญของข้าพระพุทธเจ้าให้เข้าไปรวมเป็นพระราชกุศลของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พลังบุญทั้งหลาย ที่พระองค์ได้ทรงกระทำต่อพสกนิกรและราชอาณาจักร ขอบุญนั้นทั้งหมด จงเป็นพลังขับดันโรคภัยทั้งหลายที่กำลังเกิดในพระวรกายของพระองค์ให้อันตรธานไป"

จากหลักฐานเทียบเคียงของการใช้สัจอธิษฐาน ในพระไตรปิฎก 91 เล่ม ฉบับมหามกฎราชวิทยาลัย เล่ม 74 หน้า 447-479 ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 มาตรา 1, 3, 341, 342 และ 343 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักสงฆ์ป่าสามแยก ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ (www.samyaek.com) ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ขอจงพิจารณาเอาเถิด เพราะไม่บังคับให้ใครมาเชื่อหรือทำตาม เพียงแต่นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเปิดเผย เพื่อให้ชาวพุทธปฏิบัติได้ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ยินดีในบุญกับทุกท่านที่รวมใจกันเปิดเผยพระธรรมวินัยให้รุ่งเรือง ค่ะ

ชฎา มีโครงการ จะเปิด บ้านพักตากอากาศ ติดถนน ติดทะเล ไม่ไกลจาก ท่าเรือ ท้องศาลา บรรยากาศ เหงียบ สงบ เป็นธรรมชาติ ให้เช่าที่เกาะพงัน

"สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน blog แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยเผยแพร่และเพื่อการอ้างอิง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด"